
สวัสดีค่า! เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปีแล้วนะคะ ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทบทวนตัวเองตลอดในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ว่าเราทำอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง และมีอะไรบ้างที่เรายังทำไม่สำเร็จบ้าง วันนี้Clearnote จะพาทุกคนมาทบทวนเป้าหมายของตนเอง พร้อมกับแนะนำวิธีการตั้งเป้าหมายด้วยหลัก SMART ที่จะช่วยให้บรรลุทุกเป้าหมายแบบเห็นผล!
เช็กลิสต์ลักษณะเป้าหมายของเราเป็นแบบนี้หรือไม่
ก่อนอื่นขอให้ทุกคนมาลองทบทวนเป้าหมายของตนเองด้วยเช็กลิสต์นี้กันก่อนนะคะ มาดูว่ามีข้อไหนตรงกับของตัวเองบ้าง
- ระบุเป้าหมายไว้ชัดเจนหรือไม่
- สามารถวัดผลเป้าหมายเป็นตัวเลขได้หรือไม่
- มีวิธีการที่จะไปถึงเป้าหมายหรือไม่
- เป้าหมายที่ตั้งไว้เหมาะสมกับสถานการณ์ของเราหรือไม่
- มีขอบเขตระยะเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจนหรือไม่
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ลักษณะเป้าหมายของทุกคนตรงกับเช็กลิสต์ข้างบนไหมเอ่ย หากตรงทุกข้อ ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ เป้าหมายที่เพื่อน ๆ ตั้งไว้นั้นชัดเจนเพียงพอแล้ว ขอแค่มุ่งมั่นตั้งใจ ก็จะสามารถทำได้สำเร็จแน่นอน
หากยังมีบางข้อที่ไม่ตรงกันก็ไม่เป็นไรนะคะ Clearnote ขอเสนอหลัก SMART ที่จะช่วยเสริมจุดที่ขาดหายไปในเป้าหมายค่ะ เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการวางแผนการเงิน แต่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเป้าหมายต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้นะคะ หลัก SMART จะเป็นอย่างไร และเราจะนำมาประยุกต์กับอะไรได้บ้าง ไปดูกัน!
SMART คืออะไร?

SMART หลักการในการตั้งเป้าหมายสุดฉลาด ที่นิยมใช้ในการวางแผนทางการเงิน ซึ่งคำว่า SMART นี้สามารถแยกออกเป็น 5 ตัวอักษร โดยอักษรแต่ละตัวนั้นเป็นอักษรย่อจากคำต่าง ๆ ดังนี้ค่ะ
Specific : เจาะจง

S-Specific เป้าหมายที่ดีต้องระบุอย่างชัดเจนและเจาะจง เป็นรูปธรรม รู้ว่าเราต้องการอะไร เช่น อยากเก็บเงินไปคอนเสิร์ต อยากวิ่งมาราธอน อยากลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม ยิ่งเป้าหมายมีความชัดเจนและเจาะจงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เรารู้ว่าเราควรต้องทำอย่างไรให้สามารถบรรลุได้นั่นเองค่ะ
Measurable : วัดผลได้

M-Measurable การจะรู้ว่าเราทำสำเร็จหรือไม่ ควรมีการติดตามวัดผลได้ ยิ่งระบุเป็นตัวเลขได้ ยิ่งดีเลยค่ะ จะทำให้เราทราบได้ว่า ปัจจุบันทำตามเป้าหมายไปถึงขั้นไหนแล้ว ระหว่างกระบวนการนั้น เราได้Feedbackอะไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราทราบปัญหาได้ตลอดและแก้ไขได้ทันค่ะ
Achievable : บรรลุผลได้

A-Achievable เมื่อมีเป้าหมาย เราก็ต้องมีวิธีการไปให้ถึงเป้าหมายด้วย จะทำอย่างไรให้เราบรรลุถึงเป้าหมายได้ตามต้องการ และวิธีการนั้นจะต้องไม่เกินความสามารถของเราด้วย เช่น เป้าหมายที่ตั้งไม่รบกวน
Relevant : สมเหตุสมผล

R-Relevant เป้าหมายที่ดีจะต้องสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่เราต้องการ เช่น เราต้องการสอบผ่านกลางภาควิชาวิทยาศาสตร์ เป้าหมายที่ควรตั้งอาจจะเป็นสอบให้ได้ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน โดยทบทวนเนื้อหาวันละ 1 เรื่อง ซึ่งการตั้งเป้าหมายให้สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ต้องการจะช่วยให้เราไม่ไขว้เขวไประหว่างทางนั่นเองค่ะ
Time-bound : มีกรอบระยะเวลา

T-Time-bound การตั้งเป้าหมายควรระบุด้วยว่า จะทำสำเร็จภายในขอบเขตระยะเวลาเท่าใด โดยต้องคำนึงถึงสถานการณ์และความสอดคล้องกับเป้าหมายด้วยนะคะ เพื่อให้ฝืนตัวเองมากเกินไป
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายด้วยหลัก SMART
หลัก SMART สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกเป้าหมายค่ะ มาลองดูกันว่าเราจะใช้ SMART ในเรื่องใดได้บ้าง ไปดูกันเลย!
หลัก SMART กับการลดน้ำหนัก

เมื่อลองแยกตาม SMART ก็จะได้เป็นตามนี้ค่ะ
S-Specific : ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม
M-Measurable : ชั่งน้ำหนักและบันทึกผล
A-Achievable : วิ่งในช่วงที่เวลาที่สะดวก เช่น วิ่งในช่วงเช้า หรือวิ่งในช่วงเย็น
R-Relevant : วิ่งเพื่อให้น้ำหนักลดลง
T-Time-bound : กำหนดภายใน 2 เดือน
หลัก SMART กับการออมเงิน

การออมเงินฉบับSMART สามารถทำได้ตามนี้ค่ะ
S-Specific : ออมเงิน 1000 บาท
M-Measurable : หักจากยอดค่าขนมวันละ 15 บาท
A-Achievable : หักเงินจากค่าขนมวันละ 15 บาทจากเงิน 100 บาท ไม่ทำให้เดือดร้อนมากนัก
R-Relevant : มีเงินเก็บจากการออมเงิน
T-Time-bound : กำหนดภายใน 2 เดือน
หลัก SMART กับการเรียน

สำหรับการเรียนในรายวิชาต่าง ๆ เราอาจปรับไปตามเนื้อหาของวิชานั้น ๆ ได้ ในกรณีนี้เป็นการตั้งเป้าหมายกับวิชาภาษาต่างประเทศ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ตามหลัก SMART ได้ดังนี้
S-Specific : จำคำศัพท์ 300 คำ
M-Measurable : ท่องวันละ 10 คำ
A-Achievable : ท่องคำศัพท์ในช่วงเวลาว่าง เช่น ช่วงพัก ช่วงเช้าก่อนเริ่มงานหรือเรียน
R-Relevant : เพิ่มพูนคำศัพท์ด้วยการท่องศัพท์
T-Time-bound : กำหนดภายใน 30 วัน
ในการตั้งเป้าหมายตามหลัก SMART เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการไปให้ถึงสิ่งที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อน ๆ สามารถประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม และที่สำคัญคือต้องมีวินัยในการทำตามเป้าที่วางไว้ให้สำเร็จด้วยค่ะ เป้าหมายในครึ่งปีหลังจากนี้ก็มาพยายามทำให้สำเร็จไปด้วยกันนะคะ
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก: