สวัสดีน้องๆ ทุกคน พี่เชื่อว่ามีหลายคนที่มีความสนใจเรียนต่อด้านดนตรีแต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนสอนบ้าง และเรียนจบไปแล้วสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง บทความนี้พี่ Tutor VIP จะมาแนะนำคณะดนตรี ให้น้อง ๆ ที่สนใจ ได้รู้จักคณะนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากขึ้นกัน
เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ
คณะดนตรี เรียนอะไรบ้าง?
คณะดนตรี จะเรียนทั้งหมด 4 ปี มีเนื้อหาการเรียน ตั้งแต่ปี 1-4 ดังนี้
- ปี 1 จะเรียนวิชาพื้นฐานและวิชาปฏิบัติทั่วไป เช่น ทฤษฎีดนตรีตะวันตก, ขับร้องกลุ่ม, ดนตรีพื้นบ้านไทย เป็นต้น
- ปี 2 จะเรียนเนื้อหาในสาขาวิชามากขึ้น เช่น โสตทักษะสำหรับดนตรีแจ๊สและดนตรีสมัยนิยม, การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา, ประวัติละครเพลงเป็นต้น
- ปี 3 จะเรียนเนื้อหาที่ลงลึกในสาขาวิชามากขึ้น เช่น การจัดเวทีและแสงเบื้องต้น, การแสดงบนเวที, รูปแบบและการวิเคราะห์เพลงไทย เป็นต้น
- ปี 4 จะเรียนเนื้อหาเชิงปฏิบัติมากขึ้น วิชาที่เรียน เช่น การฝึกงานด้านธุรกิจดนตรี, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูดนตรี, การจัดการแสดงดนตรี เป็นต้น
มีสาขาอะไรบ้าง?
คณะดนตรี เปิดสอนในสาขาวิชา ดังนี้
- สาขาวิชาปฏิบัติดนตรีคลาสสิก เรียนเกี่ยวกับ ทฤษฎีดนตรีตะวันตก, การฝึกโสตและการอ่านโน้ต, การอบรมเชิงปฏิบัติการขับร้องโอเปร่า เป็นต้น
- สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส เรียนเกี่ยวกับ ทฤษฎีดนตรีแจ๊ส, ประวัติดนตรีแจ๊ส, การประพันธ์ดนตรีแจ๊ส เป็นต้น
- สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม เรียนเกี่ยวกับ โสตทักษะสำหรับดนตรีแจ๊สและดนตรีสมัยนิยม, การเขียนเนื้อเพลงดนตรีสมัยนิยม, การผลิตสำหรับการแสดงดนตรีบนเวที เป็นต้น
- สาขาวิชาละครเพลง เรียนเกี่ยวกับ การแสดง, การเต้นรำ, การกำกับการแสดง, เสื้อผ้าและการแต่งหน้า เป็นต้น
- สาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก เรียนเกี่ยวกับ ทฤษฎีดนตรีไทย, ประวัติและพัฒนาการดนตรีไทย, ศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น
- สาขาวิชาการประพันธ์ดนตรี เรียนเกี่ยวกับ การฝึกโสตและการอ่านโน้ต, การประพันธ์ดนตรี, รูปแบบและการวิเคราะห์ดนตรี เป็นต้น
- สาขาวิชาธุรกิจดนตรี เรียนเกี่ยวกับ หลักการตลาด, กฎหมายในธุรกิจดนตรี, การสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการสื่อสารในธุรกิจดนตรี เป็นต้น
- สาขาวิชาดนตรีศึกษาและการสอน เรียนเกี่ยวกับ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสอนดนตรี, การสอนดนตรีในระบบโรงเรียน, การสอนดนตรีและการประเมินผล เป็นต้น
- สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรี เรียนเกี่ยวกับ วิศวกรรมการบันทึกเสียงเชิงภาพรวม, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในสตูดิโอ, การปรับแต่งเสียงในการแสดงดนตรี เป็นต้น
ทั้งนี้สาขาวิชาที่มีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ต้องการทราบข้อมูลของสถาบันที่ต้องการ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บของสถาบันนั้น ๆ ได้เลย
จบไปทำงานอะไร?
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาคณะดนตรี อาทิ
- นักดนตรี
- นักร้อง
- นักแสดงละครเวที
- นักออกแบบฉาก และจัดแสง
- นักประพันธ์เพลง
- อาจารย์สอนดนตรี
- นักวิชาการ และนักวิจัยด้านดนตรี
- วิศวกรด้านเสียง (Sound Engineer)
- ผู้บริหารสถาบันสอนดนตรี
เป็นต้น
ใช้คะแนนอะไรบ้าง?
สำหรับ Dek66 ในรอบที่ 3 Admission เกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้ในการยื่นเข้าคณะดนตรี มี ดังนี้
- เกรดเฉลี่ย
- TGAT
- TPAT2 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ทัศนศิลป์, ดนตรี, นาฏศิลป์)
อย่างไรก็ตาม คณะดนตรี ส่วนใหญ่จะเน้นเปิดรับในรอบ Portfolio และรอบโควตาสำหรับผู้มีความสามารถทางด้านดนตรี ทำให้มีบางมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เปิดรับในรอบที่ 3 Admission น้อง ๆ สามารถดูเกณฑ์ของสาขา และม.ที่ต้องการก่อนสมัครสอบเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ค้นหาเกณฑ์ของคณะ และมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้เลย!
ที่ไหนเปิดสอนบ้าง?
ปัจจุบันมีสถาบันที่เปิดสอนคณะดนตรี เช่น
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
- คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีศึกษา
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะดุริยางคศาสตร์
- มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะดนตรีและการแสดง
- มหาวิทยาลัยรังสิต
- วิทยาลัยดนตรี
เป็นต้น
ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะดนตรี เพิ่มเติมได้ที่ คลิก (พิมพ์คำว่า “ดนตรี” ในช่องค้นหาได้เลย)
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ และทำให้รู้จักคณะดนตรีได้มากขึ้นนะ
ใครกำลังค้นหาตัวเองอยู่ก็ขอส่งกำลังใจให้นะครับ ส่วนใครกำลังหาที่ติวเตรียมสอบก็มาปรึกษาพี่ Tutor VIP กันได้เลย ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ:)
บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำคณะอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ
ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand
สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว ติวสอบเข้าคณะดนตรี ติดต่อได้ที่👇
📞โทร: 081-0541080📱Line ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP
ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/