รู้จักเทคนิคการแพทย์ และเภสัชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

  สวัสดีทุกคน วันนี้ Tutor VIP จะมาแนะนำคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะเภสัชศาสตร์ คณะยอดนิยมของน้องๆ สายวิทย์ ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง?, ใช้คะแนนอะไรยื่น, อาชีพที่รองรับหลังเรียนจบ รวมไปถึงสถาบันที่เปิดสอน ใครกำลังสนใจสองคณะนี้อยู่มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย!

เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ

คณะเทคนิคการแพทย์ และคณะสหเวชศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

  คณะเทคนิคการแพทย์ บางสถาบันใช้ชื่อว่าคณะสหเวชศาสตร์จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี โดยการเรียนจะใช้พื้นฐานจากวิชาคณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, เคมี, ชีววิทยาค่อนข้างมาก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์การแพทย์

  คณะเทคนิคการแพทย์ มีเนื้อหาการเรียน ตั้งแต่ปี 1-4 ดังนี้

  • ปี 1 จะเรียนวิชาทั่วไปของมหาวิทยาลัย และเรียนวิชาพื้นฐานของคณะ เช่น ฟิสิกส์พื้นฐาน, เคมีพื้นฐาน, ชีววิทยาพื้นฐาน เป็นต้น 
  • ปี 2 จะเรียนเนื้อหาวิชาเฉพาะมากขึ้น เช่น เคมีคลินิค, ปรสิตวิทยาทางการแพทย์, สรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยา เป็นต้น
  • ปี 3 จะเรียนลงลึก และมีวิชาเชิงปฏิบัติมากขึ้น เช่น โลหิตวิทยาคลินิค, ปฏิบัติการเคมีคลินิค, วิทยาภูมิคุ้มกันคลินิค เป็นต้น
  • ปี 4 จะเรียนเนื้อหาเชิงปฏิบัติ และมีฝึกงาน วิชาที่เรียน เช่น เซลล์พันธุศาสตร์ทางการแพทย์, เทคนิคการแพทย์ชุมชน, การฝึกปฏิบัติทางเทคนิคการแพทย์ เป็นต้น 

  ในส่วนของ คณะเภสัชศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี โดยการเรียนปี 1 ถึงปี 4 จะเป็นการเรียนเนื้อหาพื้นฐานของเภสัชศาสตร์ ก่อนจะต่อยอดไปในสาขาที่สนใจในปี 5 ถึงปี 6

  คณะเภสัชศาสตร์ มีเนื้อหาการเรียน ตั้งแต่ปี 1-6 ดังนี้

  • ปี 1 จะเรียนวิชาทั่วไปของมหาวิทยาลัย และเรียนวิชาพื้นฐานของคณะ เช่น เคมีทั่วไป, วิชาชีพเภสัชกรรม, เภสัชพฤกษศาสตร์ เป็นต้น 
  • ปี 2 จะเรียนเนื้อหาวิชาเฉพาะมากขึ้น เช่น เคมีของยาพื้นฐาน, เภสัชวินิจฉัย, เภสัชวิเคราะห์ เป็นต้น
  • ปี 3 จะเรียนลงลึก และมีวิชาเชิงปฏิบัติมากขึ้น เช่น เภสัชจุลชีววิทยา, ปฏิบัติการเภสัชการ, ยาจากสมุนไพร เป็นต้น
  • ปี 4 จะได้เรียนเนื้อหาของเภสัชแบบเข้มข้น วิชาที่เรียน เช่น กฎหมายและจรรยาบรรณทางเภสัชกรรม, พิษวิทยาคลินิค, ปฏิบัติการอาหารและโภชนาการ เป็นต้น 
  • ปี 5 จะเน้นเรียนเนื้อหาในสาขาที่เลือก วิชาที่เรียน เช่น เภสัชกรรมคลินิคและการรักษาโรค, การค้นพบ ออกแบบ และพัฒนายา, การประกันคุณภาพทางเภสัชภัณฑ์เป็นต้น
  • ปี 6 เป็นปีที่จะได้นำความรู้จากปี 1-5 มาปฏิบัติจริงผ่านการฝึกงาน วิชาที่เรียน เช่น การฝึกปฏิบัติงานการบริบาลทางเภสัชกรรมด้านอายุรศาสตร์, การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพด้านการผลิตยา เป็นต้น

มีสาขาอะไรบ้าง?

  คณะเทคนิคการแพทย์ระดับปริญญาตรีโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 สาขา ดังนี้ 

  1. สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ เรียนเกี่ยวกับ การนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพมาประยุกต์ใช้ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยวินิจฉัย และติดตามการรักษาโรค รวมถึงการตรวจเชื้อก่อโรค เช่น ไวรัส  เป็นต้น
  2. สาขาวิชารังสีเทคนิค เรียนเกี่ยวกับ การใช้รังสี หรือกัมมันตรังสีทางการแพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยโรค, การบำบัดโรค หรือการวิจัย รวมถึงการป้องกันโรคด้วยเทคนิคทางรังสีวิทยา เป็นต้น

  ในส่วนคณะเภสัชศาสตร์ระดับปริญญาตรีมักแบ่งเป็น 2 สาขาเช่นกัน ดังนี้ 

  1. สาขาเภสัชกรรมอุตสาหการ เรียนเกี่ยวกับชีวเคมี, สรีรวิทยา, จุลชีววิทยา เพื่อการผลิต, วิจัย และพัฒนายา เป็นต้น
  2. สาขาการบริบาลทางเภสัชกรรม เรียนเกี่ยวกับ การควบคุมดูแล, การจัดซื้อ, การประเมินและจัดระบบยารวมไปถึงการให้ข้อมูลยาแก่ผู้ป่วย เป็นต้น

  ทั้งนี้สาขาวิชาที่มีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ต้องการทราบข้อมูลของสถาบันที่ต้องการ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บของสถาบันนั้น ๆ ได้เลย

จบไปทำงานอะไร?

  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ อาทิ

  • นักเทคนิคการแพทย์
  • นักรังสีเทคนิค
  • นักทัศนมาตร
  • นักกายภาพบำบัด
  • นักวิจัยในห้องทดลอง
  • เจ้าหน้าที่ขายอุปกรณ์การแพทย์
  • อาจารย์

เป็นต้น

  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ อาทิ

  • เภสัชกรโรงพยาบาล (บริการจ่ายยา, ผสมยาให้ผู้ป่วย ฯลฯ)
  • เภสัชกรในโรงงาน (ตรวจวิเคราะห์, วิจัย และขึ้นทะเบียนยา)
  • เภสัชกรชุมชน (บริหารจัดการร้านยา ฯลฯ)
  • เภสัชกรด้านการตลาด
  • ตัวแทนจำหน่ายยา (ดีลเลอร์)
  • นักวิจัยยา
  • นักวิจัยในห้องทดลอง
  • เภสัชกรด้านการศึกษา เช่น อาจารย์, นักวิชาการ

เป็นต้น

ใช้คะแนนอะไรบ้าง?

  สำหรับ Dek66 ในรอบที่ 3 Admission คะแนนหลัก ๆ ที่ต้องใช้ในการเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ และเภสัชศาสตร์จะมี ดังนี้

  • TGAT
  • A-Level คณิต1(ประยุกต์), ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ และภาษาอังกฤษ

  ในบางมหาวิทยาลัยอาจจำเป็นต้องใช้คะแนนวิชาอื่น ๆ ด้วย ดูเกณฑ์ของสาขา และม.ที่ต้องการก่อนสมัครสอบเพิ่มเติมได้ ที่นี่ สามารถค้นหาเกณฑ์ของคณะ และมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้เลย

ที่ไหนเปิดสอนบ้าง?

  ปัจจุบันมีสถาบันทั้งรัฐ และเอกชนทั่วประเทศเปิดสอนคณะเทคนิคการแพทย์ และสหเวชศาสตร์ เช่น

  • คณะเทคนิคการแพทย์     ม.มหิดล
  • คณะเทคนิคการแพทย์     ม.ขอนแก่น
  • คณะเทคนิคการแพทย์     ม.เชียงใหม่
  • คณะเทคนิคการแพทย์     ม.สงขลานครินทร์
  • คณะเทคนิคการแพทย์     ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะเทคนิคการแพทย์     ม.รังสิต
  • คณะสหเวชศาสตร์     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะสหเวชศาสตร์     ม.ธรรมศาสตร์
  • คณะสหเวชศาสตร์     ม.นเรศวร
  • คณะสหเวชศาสตร์     ม.พะเยา   

  ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะเทคนิคการแพทย์ และสหเวชศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ คลิก

  รายชื่อสถาบันที่เปิดสอนคณะเภสัชศาสตร์ เช่น

  • คณะเภสัชศาสตร์     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.มหิดล
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.ศิลปากร
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.ขอนแก่น
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.เชียงใหม่
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.สงขลานครินทร์
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.บูรพา
  • คณะเภสัชศาสตร์     ม.วลัยลักษณ์

  ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะเภสัชศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ คลิก

  หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ที่สนใจคณะเทคนิคการแพทย์ และเภสัชศาสตร์นะ ใครกำลังเตรียมสอบอยู่ก็ขอส่งกำลังใจให้นะครับ ส่วนใครกำลังหาที่ติวก็มาปรึกษาพี่ Tutor VIP ได้นะครับ:)

  บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำคณะอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว ติวสอบเข้าคณะเทคนิคการแพทย์ และคณะเภสัชศาสตร์ ติดต่อได้ที่👇

📞โทร: 081-0541080📱Line ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP 

ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *