ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!
สวัสดีจ้าทุกคน วันนี้ก็มาพบกับบล็อกของ Clearnote กันอีกแล้วนะ ช่วงสอบแบบนี้น้องๆ หลายคนอาจจะเบื่อๆ เหนื่อย ไม่มีแรงอ่านหนังสือ น้องๆ บางคนก็อาจจะหาเพลงมาเปิดระหว่างอ่านหนังสือ จะได้มีสมาธิอ่านหนังสือมากขึ้น แต่การฟังเพลงของอ่านหนังสือช่วยให้อ่านหนังสือรู้เรื่องขึ้นจริงรึเปล่านะ? บล็อก Clearnote ของเราวันนี้จะพาไปดูกัน!
ตกลงฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นไหม?
การฟังเพลง (โดยเฉพาะเพลงที่ชอบ) ช่วยให้รู้สึกดีขึนจริง เพราะพอน้องๆ ฟังเพลงสมองจะหลั่งสารโดปามีนออกมา ช่วยให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้รู้สึกเครียดน้อยลง
แต่เมื่อเราฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ สมองจะรับรู้ว่าเพลงไปด้วย ทำให้สมองแก้ปัญหาหรือเรียกสิ่งที่จำไว้ออกมาใช้ได้น้อยลง(อาการนึกไม่ค่อยออก) เพราะสมองกำลังประมวลผลเพลงที่เราฟังไปด้วยไม่ว่าเราจะต้องการหรือไม่ (นึกถึง CPU คอมที่อาจจะร้อนๆ ค้างๆ ถ้าเราเปิดเกมหลายเกมพร้อมกัน)
เพราะฉะนั้นก็อาจพูดได้ว่า อ่านหนังสือแบบเงียบๆ อาจจะดีกว่าถ้าเทียบกับอ่านโดยเปิดเพลงไปด้วยนะ! (แต่อาจต้องใช้พลังใจในการอ่านมากหน่อย เพราะต้องพยายามไม่เบื่อ ไม่หลับ)
แล้ว Mozart effect ล่ะ ตกลงเป็นเรื่องจริงรึเปล่า
Mozart effect หรือความคิดที่ว่าการฟังเพลงของ Mozart ช่วยให้ฉลาดขึ้น ช่วยให้เรียนดีขึ้น หรือคุณแม่ที่ท้องควรเปิดเพลงของ Mozart ให้เด็กฟัง จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ฉลาดขึ้นนั่นเอง
แล้วเจ้า Mozart effect นี่เป็นเรื่องจริงเหรอ?
คำตอบ คือ ไม่จริงจ้า (แป่ว) การฟังเพลงของ Mozart หรือเพลงคลาสสิคไม่ได้มีประโยชน์มากกว่าเพลงของศิลปินคนอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญอะไรเลย ประโยชน์ก็เหมือนกับเพลงอื่นๆ ทั่วไปคือช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นเฉยๆ
งั้นฟังเพลงตอนไหนถึงจะดี
ถึงแม้งานวิจัยจะบอกว่าการฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียน จะทำให้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา (เช่น แก้โจทย์เลข) ลดลง และเรียกซึ่งที่จดจำไว้ออกมาใช้ได้น้อยลงทำ
แต่การฟังเพลงระหว่างช่วงพักเบรคก็ยังให้ผลดีอยู่นะ เพราะทำให้สมองหลั่งโดปามีนอย่างที่บอกไป ช่วยให้มีความสุข ผ่อนคลาย ช่วยเปลี่ยนอารมณ์ที่เบื่อๆ ง่วงๆ เพราะอ่านหนังสือได้ดีเลย ทำให้มีแรง มีไฟกลับมาอ่านหนังสือต่อได้ดีขึ้นกว่าพักเฉยๆ เบื่อๆ
ถ้าอยากฟังเพลงตอนเรียน ควรฟังเพลงแบบไหน
ถ้าน้องๆ ยังอยากฟังเพลงตอนเรียน เพราะเบื่อไม่ไหวจริงๆ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cambridge บอกว่า น้องๆ ควรฟังเพลงช้า ใช้คอร์ดไมเนอร์ในเพลงและให้ความรู้สึกเศร้าๆ นิดหน่อย เช่น prelude in E major ของ Chopin
นอกจากนี้เพลงไม่มีเนื้อร้องก็ไม่รบกวนสมาธิระหว่างอ่านหนังสือมากเท่ากับเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง แต่ถ้าน้องๆ ไม่ได้ชอบเพลงบรรเลงก็ไม่ต้องฝืนฟังนะ เดี๋ยวจะได้ผลตรงกันข้าม ถ้าน้องๆ ชอบเพลงที่มีคำร้อง อาจจะลองเปลี่ยนไปฟังเวอร์ชั่น off-vocal ดู ก็อาจจะช่วยได้เหมือนกัน ยังได้ฟังเพลงที่ชอบโดยไม่รบกวนสมาธิ
หรือถ้าไม่มีศิลปินที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจลองค้นหาใน Youtube หรือ Spotify ว่า “Music for study” ดูก็อาจจะเจอเพลงที่เหมาะกับการเรียนก็ได้นะ!
สรุปแล้ว การฟังเพลงก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง อาจจะขึ้นอยู่กับตัวน้องๆ เองว่าถนัดแบบไหนด้วย แล้วก็ขึ้นอยู่กับเพลงที่ฟังด้วย เราอาจไม่ต้องเชื่อตามที่งานวิจัยว่าไว้ทั้งหมด เลือกทำบางอย่างตามความถนัดและความสบายใจของตัวเองก็ใช้ได้แล้วแหละ!
Reference
Byron, T. (2019). Is it OK to listen to music while studying?. Retrieved from https://www.uow.edu.au/media/2019/is-it-ok-to-listen-to-music-while-studying.php
Cambridge Brain Sciences. (n.d.). Can Listening to Music Actually Help You Concentrate?. Retrieved from https://www.cambridgebrainsciences .com/more/articles/can-listening-to-music-actually-help-you-concentrate
Florida National University. (2019). The Benefits of Studying with Music. Retrieved from https://www.fnu.edu/benefits-studying-music/
King’s Christian College. (n.d.). Study in Silence or Listen to Music?. Retrieved from https://blog.kingscollege.qld.edu.au/study-in-silence-or-listen-to-music
Raypole, C. (2020). Music and Studying: It’s Complicated. Retrieved from https://www.healthline.com/health/does-music-help-you-study#benefits-of-music-for-studying