
ใกล้ถึงช่วงสอบA-level ของ dek68 กันแล้ว รวมถึงน้อง ๆ ที่เตรียมสอบเข้าชั้นมัธยม จึงอยากจะมาแชร์วิธีการเตรียมตัวในช่วงโค้งสุดท้าย ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีคือ การทำข้อสอบเก่า เพราะนอกจากการเตรียมตัวกับเนื้อหาที่ใช้สอบแล้ว แนวข้อสอบเก่า ก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ได้คะแนนดีขึ้นเช่นกัน
ข้อสอบเก่า หรือที่เรียกว่า Past Papers คือ ข้อสอบที่เคยออกมาแล้วในปีก่อน ๆ ซึ่งรวมถึงข้อสอบจริงที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย ข้อสอบวิชาสามัญ หรือแม้กระทั่งข้อสอบทดลอง (Mock Exam) ที่มีรูปแบบและความยากใกล้เคียงกับข้อสอบจริง การทำข้อสอบเก่า นอกจากจะทำให้คุ้นเคยกับรูปแบบและโครงสร้างของข้อสอบ แล้ว ยังช่วยให้เตรียมตัวได้ตรงจุด มากขึ้น มาดูกันว่า วิธีเริ่มฝึกทำข้อสอบเก่า ให้มีประสิทธิภาพต้องทำอย่างไรบ้าง!
1. เลือกข้อสอบเก่าให้ตรงกับวิชาที่สอบ

ก่อนอื่น ค้นหาข้อสอบเก่าจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์ที่รวมข้อสอบเก่า หนังสือรวมข้อสอบเก่าที่มีเฉลยอย่างละเอียด จากนั้น ทำข้อสอบเก่าของ ปีล่าสุด ก่อนปีที่สอบ เพราะแนวข้อสอบมักไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก การทำข้อสอบปีล่าสุดจะช่วยให้คุ้นเคยกับรูปแบบและแนวทางของข้อสอบที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันที่สุด
2. ฝึกทำข้อสอบเก่าแบบจำลองสถานการณ์จริง

การจำลองทำข้อสอบเก่า โดยจับเวลาเหมือนสอบจริง ซึ่งจะฝึกการจัดการเวลาและลดความตื่นเต้นในวันสอบจริงได้ เช่น ใช้เวลาสอบ 90 นาที ให้จับเวลาจริง 90 นาทีโดยไม่หยุดพัก การจัดสรรเวลา ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่สำคัญ เช่น หากข้อสอบมี 50 ข้อ ควรทำข้อละไม่เกิน 2 นาที หรือสามารถปรับตามความถนัดของแต่ละคนเพื่อไม่ให้กดดันเกินไป นอกจากนี้ เพื่อให้ บรรยากาศเหมือนวันสอบจริง ควรทำในที่เงียบสงบ ปิดการแจ้งเตือนบนมือถือ หรือวางมือถือให้ห่างจากตัว เพื่อฝึกสมาธิและความกดดันให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด
3. ตรวจคำตอบและวิเคราะห์ข้อผิดพลาด

หลังจากทำข้อสอบเสร็จแล้ว สิ่งสำคัญอย่างมากคือ การตรวจคำตอบ แม้ว่าจะเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาพอสมควร แต่ช่วยให้เข้าใจข้อผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น โดยวิเคราะห์ข้อผิดว่าผิดเพราะอะไร และเขียนกำกับไว้ แนะนำให้จดบันทึกลงในสมุดโน้ต ใช้ปากกาสีต่าง ๆ เน้นจุดที่พลาด เพื่อให้สังเกตได้ง่ายเมื่อกลับมาอ่านทบทวน วิธีนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำ ๆ และช่วยเสริมความจำในเนื้อหาที่ไม่แม่นยำได้
4. ทำซ้ำและวิเคราะห์แนวข้อสอบ

ฝึกทำข้อสอบเก่าหลาย ๆ ชุด เพื่อดูแนวโน้มของข้อสอบและฝึกความคล่องตัวในการทำข้อสอบ แนะนำให้ ทำข้อสอบชุดเดิมมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อทดสอบพัฒนาการของตัวเอง โดยอาจเว้นช่วงเวลา 1-2 วัน หรือหนึ่งสัปดาห์ก่อนกลับมาทำใหม่ จากนั้นลอง วิเคราะห์แนวข้อสอบที่ออกบ่อย โดยจดบันทึกหัวข้อหรือประเภทคำถามที่มักออกซ้ำ เพื่อให้สามารถเตรียมตัวและทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนนั้นได้อย่างละเอียด
การฝึกทำ ข้อสอบเก่า เป็นเทคนิคที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะทำให้คุ้นเคยกับข้อสอบแล้ว ยังช่วยฝึกจัดการเวลา วิเคราะห์แนวข้อสอบ และเก็งเนื้อหาที่ออกสอบได้ตรงจุด ผลลัพธ์ของการจำลองทำข้อสอบ เป็นส่วนหนึ่งจะช่วยให้นักเรียนเตรียมตัวพร้อมและมั่นใจมากขึ้นก่อนถึงวันสอบจริง อย่างไรก็ตาม การทำข้อสอบเก่าไม่ใช่แค่การทำซ้ำ ๆ เท่านั้น แต่ต้องลอง ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ และฝึกบริหารเวลา
เป็นกำลังใจให้เพื่อน ๆ ทุกคนที่กำลังสู้กันอย่างเต็มที่ อย่าลืมพักผ่อน ดูแลสุขภาพด้วยน้าาา
ขอบคุณข้อมูลจาก