เรียนต่อที่ญี่ปุ่น: 5เคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับไปเรียนต่อ
เรียนต่อที่ญี่ปุ่น: 5 เคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับไปเรียนต่อ โดย Nicole Warintarawet ถ้าน้อง ๆ ยังไม่แน่ใจว่าฐานะการเงินทางบ้านพอจะส่งน้อง ๆ ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นได้รึเปล่า มาลองอ่านบทความเพื่อค้นหาคำตอบกันเลย! ในปัจจุบัน มีนักเรียน นักศึกษาที่อยากไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาระทางการเงินถือว่าเป็นอุปสรรคที่ค่อนข้างใหญ่ทีเดียว ซึ่งสินเชื่อเพื่อการศึกษาของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเปิดรับแค่นักเรียน นักศึกษาในประเทศ (ซึ่งก็คือคนญี่ปุ่น) ไม่ค่อยมีที่เปิดรับให้นักเรียนชาวต่างชาติอย่างเรา ๆ ทำให้ถ้าที่บ้านของน้อง ๆ ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะซัพพอร์ทได้ ก็อาจไปเรียนต่อได้ค่อนข้างยาก เว้นแต่จะได้ทุนการศึกษาแบบเต็มจำนวนที่จะครอบคลุมตั้งแต่ค่าเล่าเรียนไปจนถึงค่าครองชีพสำหรับนักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติ อย่างทุนมง (ทุนMonbukagakushou หรือทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตามถึงน้อง ๆ จะไม่ได้ทุนมง ก็อย่าเพิ่งถอดใจไป เพราะยังมีทุนการศึกษาอีกมากมายที่จะออกค่าเล่าเรียนให้เรา100% และบางทุนยังให้เงินช่วยเหลือสำหรับค่าครองชีพในแต่ละเดือนอีกด้วย ดังนั้นน้อง ๆ จะสามารถอยู่ญี่ปุ่นได้แบบชิว ๆ โดยไม่ต้องทำงานพิเศษเพื่อหางานเพิ่ม ซึ่งทุนดี ๆ เหล่านี้สามารถหาข้อมูลได้จากลิงก์บทความนี้เลยยยย ! ตอนนี้น้อง ๆ บางคนอาจสงสัยว่าแล้วถ้าทุนที่เราได้เป็นทุนไม่เต็มจำนวน เป็นแค่ทุนที่ออกค่าเล่าเรียนให้บางส่วนแล้วมันจะโอเคไหม? บทความนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยนั้น และเอาเคล็ดลับ ทริคดี ๆ ที่จะช่วยให้การเงินของเราในช่วงที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยรอดไปได้ด้วยดี 1. ประเมินค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นตามความเป็นจริง อ้างอิงจากข้อมูลขององค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JASSO) ค่าครองชีพที่ญี่ปุ่น (รวมค่าเช่าที่พัก) จะอยู่ที่เดือนละ 89,000 เยน (ประมาณ 26,488 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 สิงหาคม 64) ทั้งนี้ค่าครองชีพนั้นจะแตกต่างไปตามแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค เช่น ค่าครองชีพที่กรุงโตเกียว (ที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสบาย ๆ )จะอยู่ที่เดือนละ 100,000 เยน (ประมาณ 29,762 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 สิงหาคม 64) โดยจากประสบการณ์ของเราแล้ว ถ้าเราทำอาหารกินเองก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้ประเมินงบไว้เผื่อ ๆ หน่อย เพราะถ้าตึงจนเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเครียดได้ถ้าอยู่ในระยะยาว ส่วนตัวเราแนะนำให้เผื่องบไว้ 100,000 เยน (ประมาณ 29,762 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 สิงหาคม 64) ต่อเดือนเป็นอย่างต่ำ ถ้าน้อง ๆ ได้ทุนการศึกษาที่สามารถลดหย่อนค่าเทอมได้แค่บางส่วน ก็ต้องเอาค่าเทอมที่เหลือมาคำนวณเพิ่มด้วย โดยค่าธรรมเนียมแรกเข้ามหาวิทยาลัยจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 - 400,000 เยน (ประมาณ 59,523 – 119,047 บาทตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่26 สิงหาคม 64) ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย และค่าเล่าเรียนต่อปีจะอยู่มีตั้งแต่ 535,800…