ศิลปศาสตร์ มธ. เรียนเกี่ยวกับอะไร? มีสาขาอะไรบ้าง?+รีวิววิธีเตรียมสอบ

ศิลปศาสตร์ มธ. เรียนเกี่ยวกับอะไร? มีสาขาอะไรบ้าง?+รีวิววิธีเตรียมสอบ

A-Level, dek66, dek67, dek68, TCAS, TGAT, TPAT, ช่วงสอบ, รีวิว, รีวิวคณะในฝัน
  こんにちは!Bonjour! สวัสดีค้าบ กลับมาพบกับแอดมินS อีกครั้ง! วันนี้แอดจะมาแนะนำคณะศิลปศาสตร์ มธ. ขอเรียกสั้น ๆ ว่า สินสาด มธ. ^^ ให้ทุกคนที่สนใจรู้จักคณะนี้ดียิ่งขึ้น โดยทั้งหมดนี้เป็นประสบการณ์ตรงของแอดเอง 555 เพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังสนใจ ศิลปศาสตร์ มธ. บอกเลยห้ามพลาด! ถ้าพร้อมแล้วก็ตามมาดูไปพร้อมกันเลย!! (more…)
Read More
รีวิวเตรียมตัวสอบเข้าอักษรญี่ปุ่น🇯🇵 จุฬา

รีวิวเตรียมตัวสอบเข้าอักษรญี่ปุ่น🇯🇵 จุฬา

Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, รีวิวคณะในฝัน, เคล็ดลับการเรียน, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
 สวัสดีค่ะทุกคนน ไหนมีใครอยากเข้าอักษรจุฬาบ้างเอ่ยยย🙌 วันนี้เราจะมาบอกข้อมูลว่าใช้คะแนนอะไรบ้าง เตรียมตัวตั้งแต่ตอนไหน เรียนพิเศษที่ไหนบ้างโดยคร่าวๆค่ะ!!!😆 (more…)
Read More
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, รีวิวคณะในฝัน, อาชีพ
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร             สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนก็คงจะยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้านกันกับครอบครัวใช่ไหมคะ แล้วบทสนทนาส่วนใหญ่ที่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่จะคุยก็หนีไม่พ้นไปจากถามว่า “โตขึ้นอยากทำอะไร” “จบม.ปลายไปจะไปเรียนอะไร” “จบมหาลัยแล้วจะทำงานอะไร” ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คน (รวมถึงผู้เขียน) พอโดนถามก็ตอบไม่ถูก เพราะก็ยังไม่รู้ว่าอยากทำอะไรจริง ๆ หรือยังค้นหาตัวเองไม่เจอ และคำตอบนี้ของเราก็ไม่ใช่แค่ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ คิดว่าเราเป็นคนไม่มีเป้าหมายเท่านั้น แต่ตัวเราเองก็เกิดความไม่มั่นใจกับอนาคตตัวเองด้วย             จริง ๆ แล้วผู้เขียที่ตอนนี้ก็ยังเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่ Clearnote และเป็นหนึ่งในคนที่โดนถามด้วยคำถามเหล่านี้ ก็ยังไม่มีแผนการที่แน่ชัดกับอนาคตตัวเอง แต่ในฐานะที่เคยตัดสินใจเส้นทางชีวิตสำคัญ ๆ ของตัวเองมา 2 ครั้ง คือ 1.ตอนที่เลือกสายการเรียนและโรงเรียนม.ปลาย กับ 2. ตอนที่เลือกคณะ มหาวิทยาลัย ป.ตรี เรามีวิธียังไงที่จะช่วยค้นหาตัวตนได้ ไปดูกันเลย !             1. สังเกตตัวเองว่าชอบอะไร             เรียกได้ว่าเป็นวิธีเบสิคที่สุดเลยทีเดียว โดยเราอาจสังเกตดูก็ได้ว่าเราชอบเรียนวิชาอะไร (หรือถ้าไม่รู้ตัวเอง เราอาจดูก็ได้ว่าวิชาไหนที่เรารอ อยากจะเรียนคาบต่อไป) หรือถ้าไม่มีวิชาที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจจะหาวิชาที่ทำได้ดี ได้รับคำชมเยอะ หรือก็คือวิชาที่ถนัดนั่นเอง วิธีนี้แน่นอนว่าใช้ได้ไม่ใช่แค่กับวิชาเท่านั้น ยังใช้ได้กับกิจกรรมต่าง ๆ ก็ได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม เล่นดนตรี ทำขนม ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ             เมื่อเรารู้ตัวเองแล้วว่าชอบอะไรก็ลองตั้งคำถามกับตัวเองก็ได้ว่า เราจะสามารถเอาสิ่งนี้มาเป็นงานได้ไหม หรือสิ่งนี้ ทักษะนี้สามารถเอาไปพัฒนา ต่อยอดเป็นอาชีพอะไรได้บ้าง             2. สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร             จากข้อที่แล้วที่ให้สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร แล้วก็มาดูข้อตรงข้ามกันบ้างก็คือสังเกตว่าตัวเองไม่ชอบ ไม่ถนัด หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง อย่างผู้เขียนเป็นคนที่เรียนเลขได้ แต่เรียนวิทย์ หรืออะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ได้เลย ดังนั้นผู้เขียนเลยเลือกเรียนสายศิลป์ซึ่งเป็นทางที่ผู้เขียนมั่นใจและถนัด นอกจากนี้อาจสังเกตว่าเรากลัวอะไรก็ได้ เช่น ถ้าเป็นคนกลัวเลือดก็อาจจะต้องทำใจว่าถ้าเรียนหมอก็ต้องเจอเลือดอีกเยอะ ถ้าใครใจฮึดสู้ก็ไปเลย แต่ใครไม่ไหวก็อาจต้องลองคำนึงถึง choice อาชีพอื่น ๆ             แต่แน่นอนว่าถ้าน้องคนไหนรู้ว่าตัวเองไม่ถนัด แต่ก็ยังชอบ อยากลองท้าทาย ก็แนะนำว่าลุยเลยยย ถึงเราจะไม่ได้ตอนนี้ แต่ความเก่งสร้างกันได้ ดังนั้นถ้าน้องมีความอดทน มีความพยายาม อะไรก็ไม่ยากเกินเอื้อม!             3. ถามตัวเองว่าให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต             อยู่ ๆ ก็มาถึงเรื่องที่ดูจริงจังขึ้นมา แต่ในชีวิตจริงเราอาจลองถามตัวเองดูว่าในอีก10 20 ปีข้างหน้า เราอยากให้ตัวเองเป็นแบบไหน อยากเป็นคนที่มีเงิน อยากเป็นคนที่มีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองรัก อยากเป็นคนมีเวลา ไม่ต้องมีชีวิตรีบเร่ง อยากเป็นคนมีชื่อเสียง อยากเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน  แต่เมื่อเรารู้ได้แล้วว่าในอนาคตเราต้องการอะไร เราให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุดในชีวิตการทำงาน และเมื่อเรารู้แล้วกรอบของอาชีพที่ตรงกับเงื่อนไขที่เราคิดก็จะแคบลง…
Read More
กว่าจะเป็นนิสิตอักษร แชร์ทุกกระบวนท่าเคล็ดลับสู่คณะที่ใฝ่ฝัน

กว่าจะเป็นนิสิตอักษร แชร์ทุกกระบวนท่าเคล็ดลับสู่คณะที่ใฝ่ฝัน

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, TCAS, รีวิวคณะในฝัน
สวัสดีจ้าน้อง ๆ ทุกคน ขอแนะนำตัวสักหน่อยพี่ชื่อแอดมิน S น้า เชื่อว่า อักษร เป็น 1 ในคณะที่น้อง ๆ ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ต่างใฝ่ฝันอยากจะเข้าไปเรียน วันนี้แอดเลยจะพาไปสัมภาษณ์รุ่นพี่จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีเคล็ดลับ หรือวิธีการเตรียมตัวในการพิชิตคณะในฝันอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จักกับพี่เขาเลยดีกว่า! 1. แนะนำตัวหน่อยจ้า สวัสดีจ้าเราชื่อแพรว เป็นเด็ก 60 ปัจจุบันเพิ่งจบจาก คณะอักษรจุฬา เอกภาษาอังกฤษ โทภาษาจีนจ้า 2. ทำไมถึงอยากเข้า อักษร เริ่มรู้ตัวเองว่าอยากเข้าตั้งแต่เมื่อไหร่? ขอบอกก่อนเลยว่าจริงๆแล้วเราไม่ค่อยถูกกับวิชาเลขหรือคณิตมาตั้งแต่ต้นแล้วเลยเลือกที่จะเรียนสายศิลป์มาตั้งแต่ตอนมปลาย และก็เริ่มลองหาว่าตัวเองชอบอะไรตั้งแต่ช่วงม. 4 เลยคือลองไปเข้าค่ายเยอะมากๆ ตอนแรกๆนึกว่าตัวเองจะชอบเรียนกฎหมายนะแต่ว่าพอเหมือนเรารู้ว่าถ้าจะเรียนต่อในสาขานี้ จริงๆอาจจะไม่ค่อยสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เราเท่าไหร่ เลย รอไปงาน open house ของจุฬาฯดูแล้วก็ได้เห็นว่าคณะอักษรได้เรียนอะไรบ้างเลยรู้สึกคลิกกับคณะนี้มากๆ  บรรยากาศงาน Open House อักษร จุฬา 3. เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไหร่? เริ่มเตรียมตัววางแผนอนาคตการสอบเข้าตั้งแต่ม 5 เทอม 2 เลยค่ะ จะเรียกว่าเตรียมตัวได้ไหมนะจริง ๆ แค่ เริ่มฝึกท่องศัพท์เฉย ๆ อ่ะค่ะ ฮ่าๆๆ 4. มีเคล็ดลับในการเตรียมสอบเข้า อักษร ยังไงบ้าง? เคล็ดลับในการเตรียมสอบของเราหลัก ๆ เลยคือเรื่องของวินัยค่ะอย่างแรกเลยเพราะหลังจากเราวางแผนเสร็จแล้วคือมันเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ที่แผนของเราจะล่มภายในไม่กี่อาทิตย์ เราเริ่มพยายามสร้างวินัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะคือ การเอาขนมไปแทรกไว้ตรงหน้าหนังสือที่เราตั้งไว้ว่าเป็นเป้าหมายว่าจะต้องอ่านไปให้ถึงให้ได้พอเราเห็นขนมเป็นรูปเป็นร่างกำลังรอคอยเราอยู่ในหน้าหนังสือที่เป็นเป้าหมายนั้นไม่ว่ายังไงเราก็ต้องอ่านหนังสือให้ไปถึงเป้าหมายในแต่ละวันของเราค่ะ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่อย่างนึงนะคะก็คือว่ากว่าจะอ่านจนหมดเล่มก็น้ำหนักขึ้นไปหลายโลแล้วค่ะ ฮ่าๆ 😂 แต่วิธีนี้ได้ผลกับเรามากๆจนสามารถอ่านหนังสือตามเป้าหมายได้ไปหลายเล่มเลย ถ้าน้องหรือเพื่อนๆคนไหนสนใจก็สามารถนำไปใช้กันได้นะคะ ไม่หวงค่ะ! และที่สำคัญเลยที่เราอยากจะแชร์ก็คือเราสอบเข้าอักษรจุฬามาโดยอ่านโน้ตจากในแอป Clear เนี่ยแหละค่ะ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าส่วนตัวเรียนสายศิลป์ภาษาเยอรมันมาแต่เนื่องจากคะแนน PAT ภาษาเยอรมันนั้นฝืดเสียเหลือเกินเลยเปลี่ยนใจมาสอบเป็น PAT ภาษาญี่ปุ่นแทนค่ะ ที่นี้ก็เลยต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านโน้ตของเพื่อนในแอป Clear นี่แหละค่ะ และจะบอกว่ามันช่วยได้จริงๆนะคะเพราะว่าเมื่ออ่านโน้ตของเพื่อนๆหลายๆคนแล้วแต่ละคนก็เหมือนมาแชร์ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อนแล้วเราพอเราอ่านไปหลายๆเล่มก็ทำให้เรามีชุดความรู้ในหัวที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์สามารถสอบได้เลยค่ะ! ที่นี้สำหรับน้องที่อยากเข้าอักษรโดยเฉพาะเลย เราขอเน้นย้ำว่าคะแนนภาษาอังกฤษ คะแนนสังคม ภาษาไทยและคะแนนในส่วนของ PATภาษาต่างประเทศนั้นสำคัญมาก ๆ ค่ะ และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราในการอ่านวิชาพวกนี้ก็คือการเก็บเนื้อหาให้ได้มากๆค่ะไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้รอบตัวหรือว่าทางด้านคำศัพท์มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องทยอยอ่านไปเรื่อย ๆ บางทีก็จะรู้สึกว่าเก็บเท่าไหร่ก็เก็บไม่หมด เลยจะแอบมากระซิบว่าอย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปก่อนจะเก็บเนื้อหาหมดนะคะ! 5. เคยเหนื่อย หรือท้อบ้างมั้ย จัดการกับความรู้สึกของตัวเองยังไง? ถ้าถามว่าเคยเหนื่อย หรือเคยท้อบ้างไหมขอบอกเลยว่าก็จะมีความคิดแบบนี้แว็บเข้ามาในหัวบ่อยๆตอนที่อ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ หรือว่าต้องแบกรับภาระหน้าที่อะไรหลายๆอย่างไปในเวลาเดียวกัน จริงๆส่วนใหญ่ช่วงเวลาแบบนั้นขึ้นก็จะเลือกที่จะคุยกับเพื่อนเยอะๆเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกดาวน์ไปมากกว่านี้ เรารู้สึกว่าการเปิดใจคุยกับใครสักคนไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัวเพื่อนหรือครอบครัวมันจะทำให้เรารู้สึกโล่งและก็ทำให้เราถอยหลังออกมาจากปัญหา มามองปัญหาในภาพรวมกว้างๆมากขึ้น ทำให้เราไม่หมกมุ่นจนเสียสุขภาพจิตจนเกินไปค่ะ นอกจากนี้เองเราก็อาจจะหันไปหาที่พึ่งทางใจคือการทำงานอดิเรกหรือว่าหาสิ่งที่เราชอบ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของเรา เราก็จะชอบดูพวกอนิเมะและอ่านมังงะมาก ๆ เราก็พยายามทำสิ่งนั้นเพื่อทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมาเยอะๆค่ะ อ่ะ พอพูดถึงฮอร์โมนแห่งความสุขจะบอกว่าช่วงม. 6 นอกจากอ่านหนังสือแล้ว เราก็แบ่งเวลามาตีแบตกับเพื่อนด้วยค่ะ ช่วงเวลาหลังจากออกกำลังกายก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้นนะคะ ถือเป็นการได้พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจเลยค่ะ! 6.…
Read More