เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น โดย Janessa Roque

         การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในระบบการศึกษาญี่ปุ่น อาจเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่บทความนี้จะมาเจาะลึกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนค่าเล่าเรียนต่างกันแค่ไหน ความสามารถและชื่อเสียงทางวิชาการเป็นอย่างไร


          เชื่อว่ามีน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่สนใจเลือกเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ด้วยระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมีหลายจุดที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ๆ  ซึ่งอาจทำให้น้องบางคนรู้สึกไม่คุ้นเคย ดังนั้นถ้าน้องคนไหนกำลังมองหาทุนการศึกษา หรือกำลังคิดอยู่ว่าจะออกเงินไปเรียนเองแบบไม่พึ่งทุน การทำความรู้จักประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยตัดสินใจว่าควรวางแผนอย่างไรบ้าง เมื่อน้อง ๆ อ่านบทความนี้จบและได้เอาปัจจัยเรื่องค่าเล่าเรียน ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ และการดูแล supportนักเรียนต่างชาติ มาพิจารณาแล้ว น้อง ๆ ก็จะสามารถเลือกประเภทมหาวิทยาลับยที่เข้ากับตัวเองได้!

          ประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น

          มหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ(国立大学) มหาวิทยาลัยท้องถิ่น(公立大学) และมหาวิทยาลัยเอกชน(私立大学)

          มหาวิทยาลัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นล้วนเป็นองค์กรการศึกษาของรัฐบาล แต่จะต่างกันตรงที่ระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารโดยตรง ในขณะที่คณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นจะจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองตนเองส่วนท้องถิ่น ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชน จัดตั้งโดยเอกชน รัฐบาลจะไม่เข้ามาบริหารจัดการ แต่จะให้เงินอุดหนุน

          ประเทศญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 782 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติมีจำนวน 93 แห่ง มหาวิทยาลัยท้องถิ่นมีจำนวน 86 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนมีจำนวน 603 แห่ง

              ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

          จุดหลัก ๆ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละประเภทแตกต่างกันคือค่าการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่น้อง ๆ ควรเอามาพิจารณาในการเลือกมหาวิทยาลัย

          มหาวิทยาลัยท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าเล่าเรียนน้อยที่สุดใน 3 ประเภทข้างต้น โดยค่าเล่าเรียนรวมค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ สำหรับนักศึกษาป.ตรี จะอยู่ที่ประมาณ 820,00 0เยน (ประมาณ 241,785 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) ในขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 930,000 เยน (ประมาณ 274,220 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564)

          ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ ประมาณ1,100,000-1,640,000 เยน (ประมาณ 324,346–483,570 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) จะเห็นได้ว่าค่อนข้างสูงกว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 2 ประเภทที่ได้พูดถึงไปด้านบน ทั้งนี้โดยทั่วไปค่าการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ทันตศาสตร์ และเภสัชศาสตร์จะสูงกว่าจำนวนเงินข้างต้น เนื่องจากมีค่าอุปกรณ์และห้องแล็บรวมอยู่ด้วย

          อย่างไรก็ดี ค่าเล่าเรียนที่ใช้ในการไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นนั้นต่ำกว่าค่าการศึกษาที่อเมริกาหรืออังกฤษ จากข้อมูลขององค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JASSO) ในปี 2019–2020 พบว่าค่าเล่าเรียนทั้งมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเอกชน ของอเมริกาและอังกฤษนั้น สูงกว่าญี่ปุ่น 2–3 เท่า

          ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ

          มหาวิทยาลัยแห่งชาติถือเป็นมหาวิทยาลัยแถวหน้าของประเทศญี่ปุ่น ตัวอย่างชัด ๆ เห็นได้จาก “มหาวิทยาลัยแห่งชาติทั้ง 7” (国立七大学)หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “มหาวิทยาลัยแห่งจักรวรรดิ” หรือ “มหาวิทยาลัยหลวง”(帝国大学)ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงปี 1886-1939 และอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลแห่งจักรวรรดิจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมหาวิทยาลัยเหล่านี้ถือเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำชื่อดังซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานทั้งสำหรับประเทศญี่ปุ่น หรือสำหรับทวีปเอเชียเอง มหาวิทยาลัยแห่งชาติทั้ง 7 ได้แก่ มหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) มหาวิทยาลัยโทโฮกุ (Tohoku University) มหาวิทยาลัยคิวชู (Kyushu University) มหาวิทยาลัยฮอกไกโด (Hokkaido University) มหาวิทยาลัยโอซากา (Osaka University) มหาวิทยาลัยนาโกยา (Nagoya University) โดยจะเป็นที่รู้กันว่าการสอบเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติทั้ง 7 นั้นมีอัตราการแข่งขันที่สูงมาก

          แม้มหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการ แต่ก็มีมหาวิทยาลัยท้องถิ่นหรือมหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่ในอันดับสูงในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย

          จากข้อมูลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยญี่ปุ่นประจำปี 2020 ขององค์กร Times Higher Education (THE) จะพบว่าแม้อันดับส่วนใหญ่จะเป็นของมหาวิทยาลัยแห่งชาติ แต่ก็มีมหาวิทยาลัยเอกชน 4 แห่ง และมหาวิทยาท้องถิ่น 1 แห่งติด 20 อันดับแรก  เช่น มหาวิทยาลัยICU (International Christian University) มหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) มหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) และมหาวิทยาลัยโจฌิ (Sophia University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน อยู่ในอันดับ 11-20

          มหาวิทยาลัยนานาชาติอากิตะ (Akita International University) เป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นที่ติดอันดับ 10 นอกจากนี้จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) และมหาวิทยาลัยโทโฮกุ (Tohoku University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ขึ้นหิ้ง 3 อันดับมหาวิทยาลัยท็อปของญี่ปุ่น

          การเปิดรับและการดูแลนักศึกษาชาวต่างชาติ

          สำหรับนักศึกษาชาวต่างชาติถือ ปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกว่ามหาวิทยาลัยไหนเหมาะให้นักศึกษาต่างชาติไปเรียน

          หลายปีมานี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการเปิดรับให้นักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติมาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2008 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนนักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติในประเทศญี่ปุ่นให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยเป้าหมายดังกล่าวได้ทำสำเร็จในปี 2019 ซึ่งมีจำนวนนักเรียนชาวต่างชาติที่กำลังเรียนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นถึง 312,214 คน (ข้อมูลวันที่ 1 พฤษภาคม 2019) ทั้งนี้ก็อาจเนื่องมาจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการจ้างงานนักศึกษาชาวต่างชาติหลังจบการศึกษาในตลาดแรงงานญี่ปุ่น

          นอกจากนี้ในปี 2014 กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (หรือที่รู้จักกันในชื่อ MEXT) ได้ริเริ่มโครงการ Top Global University Project ซึ่งเป็นโครงการที่กระทรวงจะให้ความช่วยเหลือและเงินทุนสนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยแนวหน้าที่นำสังคมญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์  โดยโครงการ Top Global University Project นั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภท A (Type A) หรือที่เรียกกันว่า Top Type เป็นมหาวิทยาลัยซึ่งดำเนินการเรียนการสอน รวมถึงงานวิจัยชั้นนำระดับโลก โดยมีจำนวนมหาวิทยาลัยที่อยู่ในประเภท A อยู่ทั้งหมด 13 แห่ง และประเภท B (Type B) หรือที่เรียกกันว่า Global Traction Type เป็นมหาวิทยาลัยที่จะนำพาสังคมญี่ปุ่นเข้าสู่ความเป็นสากลและโลกาภิวัตน์ โดยมหาวิทยาลัยประเภท B จะมีอยู่ 24 แห่ง

          จากตารางด้านบน จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยประเภท A หรือTop Type ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เห็นว่ามีศักยภาพที่จะติดใน 100 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยโลกนั้น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติเป็นส่วนมาก ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยประเภท A มี 2 แห่ง คือมหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) และมหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University)

          จากข้อมูลจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติที่มาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2018 พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่จะเรียนที่มหาวิทยาลัยเอกชน (นักศึกษาระดับปริญญาตรีชาวต่างชาติซึ่งเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเอกชนมีจำนวน 70,448 คน จากทั้งหมด 84,857 คน) ในขณะที่จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาโทอยู่จะเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติเป็นส่วนมาก (นักศึกษาระดับปริญญาโทชาวต่างชาติซึ่งเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติมีจำนวน 31,715 คน จากทั้งหมด 50,184 คน)

          ในประเทศหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยเอกชนมักจะเป็นตัวท็อปในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก เช่น กลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีก (Ivy League Schools) ที่รวมมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังระดับโลก เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) แต่ที่ประเทศญี่ปุ่น ความสามารถและชื่อเสียงทางด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติ มหาวิทยาลัยท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยเอกชนค่อนข้างจะสูสีกัน จุดที่มหาวิทยาลัยรัฐได้เปรียบกว่าคือการที่ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ต่ำกว่า (แต่การสอบเข้าก็ยากกว่าด้วยเพราะจำนวนนักศึกษาที่เปิดรับน้อย) แต่มหาวิทยาลัยเอกชนก็ถือเป็นตัวเลือกที่โอเคถ้าน้อง ๆ ได้ทุนการศึกษาหรือมีกำลังทรัพย์เพียงพอ

          ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแนวหน้าของญี่ปุ่นสามารถหาได้เพิ่มเติมที่ Global Top University Project Japan ซึ่งได้รวบรวมงานวิจัย โครงการ และเป้าหมายของมหาวิทยาลัยชั้นนำ

          เราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้อง ๆ เข้าใจระบบการศึกษาของญี่ปุ่นและเป็นตัวช่วยให้น้อง ๆ สามารถตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยที่เข้ากับตัวเอง ไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นกันเถอะ! 頑張ってください!


บรรณานุกรม

“Best Universities in Japan.” Times Higher Education (THE), 18 Jun. 2020, https://www.timeshighereducation.com/rankings/japan-university/2020#!/page/0/length/25/sort_by/rank/sort_order/asc/cols/stats

“Result of an Annual Survey of International Students in Japan 2018.” JASSO, Jan. 2019, https://www.jasso.go.jp/en/about/statistics/intl_student_e/2018/index.html.

Journal of International and Advanced Japanese Studies, vol. 7, Mar. 2015, pp. 241–251., http://japan.tsukuba.ac.jp/research/.Ministry of Education, Culture, Sports, and Technology.

“Higher Education.” MEXT, https://www.mext.go.jp/en/policy/education/highered/.“The Japan Association of National Universities.”

The Japan Association of National Universities <Current Situation of National Universities in Japan>, https://www.janu.jp/eng/national_universities/.Top Global University Project|Top Global University Project, https://tgu.mext.go.jp/en/about/index.html.

“Student Guide to Japan 2019 – 2020.” JASSO. n.d. https://www.jasso.go.jp/en/study_j/__icsFiles/afieldfile/2019/05/16/sgtj_2019_e.pdf

“Number of foreign students in Japan reaches record high” The Japan Times. Apr. 2019. https://www.japantimes.co.jp/news/2020/04/23/national/foreign-students-record/

ประวัติผู้เขียน

Janessa Roque

Nessa Roque เป็นทั้งนักแสดง นักเขียน นักการศึกษา และนักสร้างสรรค์ จากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ Roque มาทำตามฝันด้วยการมาเรียนปริญญาโทที่ Tokyo University of the Arts(東京藝術大学)และจบการศึกษาจากสาขา Global Arts

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *