รวมสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์

  บทความนี้พี่ TUTOR VIP จะมาแนะนำการสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นการสอบที่สำคัญมากสำหรับน้องๆ ที่ต้องการศึกษาต่อในด้านทัศนศิลป์ดนตรี และนาฏศิลป์ เพื่อให้น้องๆ ที่สนใจได้รู้จักข้อสอบ และเตรียมความพร้อมไปด้วยกัน!

เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ

โครงสร้างข้อสอบ TPAT2 ?

   TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ คือ ข้อสอบวัดความถนัดที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาใน คณะศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทัศนศิลป์, ดนตรี และนาฏศิลป์ โดยข้อสอบแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  1. TPAT21 ทัศนศิลป์                         50 ข้อ    100 คะแนน
  2. TPAT22 ดนตรี                              50 ข้อ    100 คะแนน
  3. TPAT23 นาฏศิลป์                         50 ข้อ    100 คะแนน

ทั้ง 3 ส่วนมีทั้งหมด 150 ข้อ คะแนนรวม 100 คะแนน (คำนวณจากการเฉลี่ยทั้ง 3 ส่วน)

*น้อง ๆ สามารถเลือกสอบเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้คะแนนได้
 ซึ่งเปิดให้สอบเพียง 1 ครั้ง เท่านั้น! ดังนั้นยิ่งเตรียมความพร้อมมากเท่าไหร่ยิ่งดี

TPAT21 ทัศนศิลป์ สอบอะไรบ้าง?

  TPAT21 ทัศนศิลป์ แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยได้ ดังนี้

1. พื้นฐานทางทัศนศิลป์

    มีทั้งหมด 30 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 60 คะแนน ประกอบด้วย

  • หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์
  • การวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์งานทัศนศิลป์
  • ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
  • การเห็นคุณค่าและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกที่มีต่องานทัศนศิลป์

2. ทัศนศิลป์กับการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน      

    มีทั้งหมด 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 40 คะแนน ประกอบด้วย

  • การเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์
  • การนำศิลปะ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน

TPAT22 ดนตรี สอบอะไรบ้าง?

TPAT22 ดนตรี แบ่งเป็น 2 ส่วนย่อยได้ ดังนี้

1. องค์ประกอบดนตรี

    มีทั้งหมด 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ประกอบด้วย

  • จังหวะ (Rhythm)
  • ทำนอง (Melody)
  • เสียงประสาน (Harmony)
  • รูปพรรณ (Texture)
  • สีสันของเสียง (Tone Color)
  • ลักษณะของเสียง
  • รูปแบบ (Form)

2. บริบทที่เกี่ยวข้องทางดนตรี

    มีทั้งหมด 25 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 50 คะแนน ประกอบด้วย

  • ประวัติและวรรณคดีดนตรี
  • เครื่องดนตรีและแหล่งกำเนิดของเสียง
  • ระดับของการฟัง
  • หลักในการปฏิบัติทักษะดนตรี
  • ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมและการประยุกต์ใช้ดนตรีในชีวิต

TPAT23 นาฏศิลป์ สอบอะไรบ้าง?

TPAT23 นาฏศิลป์ แบ่งเป็น 4 ส่วนย่อยได้ ดังนี้

1. พื้นฐานการใช้ร่างกายทางด้านนาฏศิลป์

    มีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 20 คะแนน ประกอบด้วย

  • การเตรียมพร้อมร่างกายเพื่อปฏิบัตินาฏศิลป์
  • พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกาย

2. การสื่อสารด้วยท่าทาง

    มีทั้งหมด 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน ประกอบด้วย

  • อารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก เช่น ดีใจ มีความสุข เบิกบาน
  • อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบ เช่น เสียใจ เจ็บปวด สิ้นหวัง
  • การสื่อความหมาย
  • การแสดงออกทางสีหน้าแววตา

3. หลักการใช้พื้นที่ทางด้านนาฏศิลป์

    มีทั้งหมด 15 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 30 คะแนน ประกอบด้วย

  • ทิศทาง
  • ระดับ
  • ขนาด
  • การใช้พื้นที่ในการแสดง
  • การเคลื่อนที่และแปรแถว

4. ปฏิภาณไหวพริบสำหรับผู้แสดงนาฏศิลป์

    มีทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน คะแนนเต็ม 20 คะแนน ประกอบด้วย

  • การแก้ไขสถานการณ์ก่อนการแสดง
  • การแก้ไขสถานการณ์ระหว่างการแสดง

ข้อสอบทั้ง 3 ส่วนหลักมี 150 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน และมีเวลาทำข้อสอบ 180 นาที

สามารถดูแนวข้อสอบ และทดลองทำข้อสอบเพิ่มเติมได้ที่ คลิก!

คณะไหนที่ต้องใช้ TPAT2 ?

น้องๆ สามารถใช้ผลการสอบ TPAT2 ยื่นเข้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องได้   โดยมีสถาบันที่เข้าร่วม อาทิ

  1. มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
    1. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
    2. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบสื่อนวัตกรรม
    3. หลักสูตรศิลปกรรมศาตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
  2. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศิลปกรรมศาสตร์
    1. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์
  3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี คณะศิลปกรรมศาสตร์
    1. ศป.บ.ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
  4. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์
    1. (การออกแบบ) หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) สาขาวิชานิเทศศิลป์ ภาคปกติ
  5. มหาวิทยาลัยบูรพา คณะดนตรีและการแสดง
    1. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) สาขาวิชาศิลปะการแสดง เอกศิลปะการละคร ภาคปกติ
  6. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
    1. ศป.บ. ทัศนศิลป์
    2. ศป.บ. ศิลปะการแสดง (TPAT20, TPAT23 นาฏศิลป์)
  7. มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
    1. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี และนาฏศิลป์ (แขนงดนตรี) (TPAT22 ดนตรี)
    2. หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (TPAT 21 ทัศนศิลป์)
  8. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
    1. ศศ.บ. สาขาวิชาดนตรีไทย (TPAT22 ดนตรี)
  9. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะศึกษาศาสตร์
    1. ศษ.บ.ศิลปศึกษา (TPAT 21 ทัศนศิลป์)

เป็นต้น


ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยและจำนวนที่รับเพิ่มเติมได้ที่ คลิก (ค้นหาด้วยชื่อคณะ ตามด้วยชื่อสถาบันที่อยากเข้าได้เลย)

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้น้องๆ รู้จักการสอบ TPAT2 ได้ดีขึ้นนะ  พี่เป็นกำลังใจให้ทุกคนเสมอ

สำหรับน้องๆ ที่กำลังมองหาที่ติว หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็มาปรึกษาพี่ Tutor VIP ได้นะ ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ:)

บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว ติวสอบ TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP 

ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *