วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)

วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)

GAT/PAT, PAT7, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)   สวัสดีจ้า กลับมาพบกลับบล็อก Clearnote กันอีกแล้ว บล็อกของเราก็กลับมาที่ซีรีส์เด็กอักษรกันอีกแล้ว โดยวันนี้เราก็จะมาบอกวิธีการเรียนภาษาญี่ปุ่นของเด็กอักษร จุฬา เอกญี่ปุ่นกัน ว่ารับมือกับการสอบ N5 N4 N3 Pat7.3 ยังไง!   ที่เรารวม N5-N3 กับ Pat 7.3 ไว้ด้วยกันเพราะ Pat7.3 หรือ Pat ภาษาญี่ปุ่นครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ N5-N3(นิดหน่อย)นั่นเอง หนังสือที่อ่าน วิธีทบทวนก็เลยคล้ายๆ กันไปด้วย วิธีการอ่านไวยากรณ์ให้เข้าใจ   วิธีการอ่านของเราคือจะไม่อ่านหนังสือเล่มเดียว แต่จะอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ที่มีหัวข้อเดียวกัน แล้วก็เทียบเนื้อหาของหนังสือหลายๆ เล่มที่อ่านไปว่ามีจุดเหมือน จุดต่างกันยังไง เสร็จแล้วก็สรุปเป็นภาษาของตัวเอง ให้ตัวเองเข้าใจ เวลาที่กลับมาทบทวนตอนหลังก็จะไม่ต้องกลับไปเปิดหนังสือหลายๆ เล่มให้ปวดหัว ทำเหมือนเป็นคัมภีร์ของตัวเองไปเลย   ในรูปจะเป็นพวกคำศัพท์ ความรู้รอบตัว Idiom เพราะหาโน้ตสรุปไวยากรณ์ไม่เจอแล้ว หลายปีจัด 555 แต่จดประมาณนี้ วาดรูปได้วาดเลย เอายังไงก็ได้ให้ตัวเองเข้าใจง่ายที่สุด   อย่างตอนแรกๆ ที่เราเรียนภาษาญี่ปุ่นสมัย ม.ปลาย ตอนแรกๆ คือเรียนไม่เข้าใจเลย พวกไวยากรณ์งี้ เพราะมันก็ต่างจากภาษาไทยเยอะอยู่ ผ่านมาเทอมหนึ่งก็เริ่มตามเพื่อนไม่ทัน อาจารย์สอนอะไรเนี่ย ตอนปิดเทอมเลยอ่านทวนที่เคยเรียนมา (โรงเรียนเราใช้ Akiko to tomodachi เรียน) ทั้งเล่ม แล้วก็ไปซื้อหนังสือ Minna no nihongo มาอ่านด้วย พอเปิดเทอมไปเรียนก็เข้าใจมากขึ้นเยอะ พอเข้าใจก็เรียนสนุกมากขึ้น ชอบภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นกว่าเดิมอีก คำศัพท์กับคันจิ ทำยังไงให้จำได้   คำตอบคือ ต้องใช้ ต้องผ่านตา เท่านั้นเลยถึงจะจำได้ ถ้าเราไม่ใช่อัจฉริยะ ถ้าไม่ได้ใช้สักสองอาทิตย์ รับรองเลยว่าต้องมีลืมบ้างจริงๆ (จนตอนนี้ได้ N1 แล้วยังลืมคันจิอยู่เลย 5555)   แต่สำหรับน้องๆ มัธยม ไม่ได้มีเพื่อนญี่ปุ่น ไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง จะทำยังไงให้จำได้ดีล่ะ?   สมัยเราเมื่อสัก 5-6 ก่อน(อดีต dek60 นี่กี่ปีแล้วเนี่ย 555) ก็คือคัดเลยจ้า คัดไปเลยเยอะๆ คัดวนไปให้มันได้ผ่านตา วิธีคัดของเราก็คือ เอากระดาษ A4 หันด้านข้าง มาพับเป็นครึ่งไปสัก 2 รอบ แบ่งกระดาษ 4 ส่วน ทำให้เราคัดได้เยอะๆ โดยไม่เปลืองกระดาษมาก   สำหรับเราเราว่ามันเป็นวิธีที่ดีนะ เพราะตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นมันเป็นตัวฮิรางานะกับคันจิ ที่มันมีลำดับขีด มีวิธีการเขียนที่ค่อนข้างตายตัว การคัดเลยไม่ใช่แค่ทำให้เราจำศัพท์ได้ แต่ยังทำให้เราลายมือสวยขึ้นมากๆๆๆ (อย่าลืมเขียนตามลำดับขีดนะ!)   ตอนแรกๆ ที่เรียน เราเขียนตัวคันจิไม่สวยด้วย…
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS

ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, PAT7, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, เรียนภาษาญี่ปุ่น
ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS            สวัสดีค่ะ ช่วงนี้น้อง ๆ หลายคนคงได้เห็นคลิปไอดอลวง BTS เป็นทูตวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ไปขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงาน Sustainable Develoopment Goals Moment (SDG Moment) ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 76 และได้เต้นเพลง Permission to Dance กลางที่ประชุมสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ประจำกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา https://www.youtube.com/watch?v=jzptPcPLCnA https://www.youtube.com/watch?v=jzptPcPLCnA https://www.youtube.com/watch?v=9SmQOZWNyWE https://www.youtube.com/watch?v=9SmQOZWNyWE             ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่วง BTS ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ โดยในครั้งแรกที่คิมนัมจุน ลีดเดอร์วง BTS ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ในปี 2018 ก็ได้เรียกเสียงฮือฮาถึงความสกิลภาษาระดับเทพของนัมจุน ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงจะขอมาตีแผ่ (จริง ๆ คืออยากมาอวย5555) วิธีเรียนของนัมจุนให้น้อง ๆ ลองเอาไปปรับใช้กันดู https://www.youtube.com/watch?v=oTe4f-bBEKg https://www.youtube.com/watch?v=oTe4f-bBEKg ประวัติการศึกษา             ก่อนที่จะมาพูดถึงวิธีการเรียนของนัมจุน เรามาดูโปรไฟล์การศึกษากันก่อนว่าเทพขนาดไหน จบการศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมปลายอัพกูจอง (Apgujeong High School) โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนเกียรตินิยมม.2 ทำคะแนนTOEIC ได้คะแนนสูง 850/990 คะแนน โดยต่อมาปี 2020 นัมจุนได้ลองสอบอีกครั้ง แล้วได้คะแนนสูงถึง 915/990คะแนน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคะแนนตอนม.2 หรือตอนปี 2020 ก็ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของคนเกาหลีที่จะอยู่ที่ 675 คะแนน (ส่วนคะแนนเฉลี่ยของทั้งโลกคือ 500 คะแนน)อายุ 15 ปี สอบวัดระดับความสามารถภาษาอังกฤษ TEPS (Test of English Proficiency) ได้คะแนน 797/990 คะแนน โดยอยู่ในเกณฑ์ 2+ (สูงสุดคือ 1+) ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงสำหรับเด็กอายุ 15 ปีติดท็อป 1.3% ของประเทศในการสอบเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ในวิชาภาษาเกาหลี คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษาไอคิว 148 ซึ่งถือเป็นท็อป 0.1% ของประชากรทั้งโลก             หลังจากเห็นโปรไฟล์ความเก่งของนัมจุนแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงอยากรู้เคล็ดลับการเรียนของนัมจุนกันแล้วใช่ไหมคะ งั้นเราไปดูกันเลย! 1. ฝึกภาษาด้วยการเสพซีรีส์ https://www.youtube.com/watch?v=IOuFE-6Awos https://www.youtube.com/watch?v=IOuFE-6Awos             นัมจุนได้ฝึกภาษาผ่านทางการดูซีรีส์เรื่อง Friends ซึ่งเป็นซีรีส์อเมริกันซึ่งมีมากถึง 10 ซีซั่น (เรียกได้ว่าดูกันจนตาแฉะเลย) โดยวิธีการฝึกภาษาของนัมจุนจะแบ่งการดูซีรีส์ออกเป็น 3 รอบ             รอบที่ 1: ดูด้วยภาษาแม่            …
Read More
แนะนำ 5 เว็บไซต์ฝึกอ่านภาษาญี่ปุ่น

แนะนำ 5 เว็บไซต์ฝึกอ่านภาษาญี่ปุ่น

GAT/PAT, PAT7, PAT7, Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, หนังสือ, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
  สำหรับเพื่อนๆ ที่เรียนกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ มีใครมีปัญหากับการอ่านภาษาญี่ปุ่นบ้างไหมคะ ?   การอ่านเป็นพาร์ทที่ต้องใช้ทั้งความรู้ด้านคำศัพท์ คันจิ ไวยากรณ์ ครบเลยทีเดียว เราเองก็เคยมีปัญหาในการอ่านภาษาญี่ปุ่นเช่นเดียวกันค่ะ แค่เปิดหนังสือก็เรียกได้ว่ากำลังใจหดไปเสียแล้ว รู้สึกว่าเนื้อหาในหนังสือเรียนไม่สนุกเลยย    แต่แล้วเราก็ได้พบวิธีฝึกอ่านอย่างได้ผล และยังเพลิดเพลินไปกับการอ่านได้อีกด้วย จึงอยากจะมาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้ลองเข้าไปอ่านกันค่ะ นี่เลย ! เว็บไซต์สำหรับฝึกอ่านภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราจะแนะนำในครั้งนี้จะเป็นเว็บไซต์ที่สามารถเข้าไปอ่านกันได้แบบฟรีๆ เลยค่ะ ไปดูกันเลยย 1.MATCHA   MATCHA เป็นเว็บไซต์ที่มีบทความภาษาญี่ปุ่นมากมายให้เพื่อนๆ ได้เลือกอ่านกัน ซึ่งเราสามารถเลือกหมวดหมู่บทความตามความสนใจได้ด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะพูดถึงเรื่องต่างๆ ในญี่ปุ่น คล้ายๆ กับนิตยสารท่องเที่ยวค่ะ เลือกหวดหมู่ในแถบด้านซ้าย   ส่วนใครที่กังวลว่าไม่ถนัดคันจิเลย จะอ่านได้ไหมนะ ไม่ต้องกังวลไป ในบทความจะมีฟุริกานะกำกับไว้ด้านบนค่ะ เช่นบทความนี้เกี่ยวกับซูชิ ก็จะมีฟุริกานะกำกับทั้งบทความเลย แค่เห็นภาพก็หิวขึ้นมาแล้วค่ะ เราชอบอ่านเรื่องอาหารบนเว็บไซต์นี้ค่ะ อาหารในบทความน่ากินไปหมดเลย อ่านไปหิวไปค่ะ(ฮา) ตัวอย่างบทความบนเว็บไซต์ MATCHA นอกจากนี้ยังมีภาษาอื่นๆ ให้เลือกอ่าน รวมไปถึงภาษาไทยด้วยค่ะ โดยกดเลือกได้ตรงด้านล่างเว็บไซต์ค่ะ แถบกดเลือกภาษา อ่านได้ที่นี่ 👉 https://matcha-jp.com/easy 2.Hukumusume   สำหรับเว็บไซต์Hukumusume จะรวมนิทานต่างๆ เช่น นิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นสมัยต่างๆ นิทานอีสป นิทานจากรอบโลก หรือเนื้อหาเรื่องราวที่มักจะเน้นไปทางเนื้อหาสำหรับเด็ก โดยมีทั้งแบบ ฮิรากานะล้วน หรือแบบฟุริกานะกำกับคันจิ และแบบไม่มีฟุริกานะ ตัวอย่างนิทานในเว็บไซต์ Hukumusume   บางเรื่องมีคำแปลภาษาอังกฤษด้วยนะ นอกจากนี้เพื่อนๆ ยังสามารถฝึกฟังไปได้ด้วย เพราะส่วนใหญ่แล้วมีไฟล์เสียงประกอบค่ะ   คนที่ยังอ่านไม่คล่องก็ฝึกอ่านได้ง่าย ถึงจะเป็นนิทานสำหรับเด็ก แต่ก็อ่านเพลินมากเลยค่ะ อ่านได้ที่นี่ 👉 http://hukumusume.com/douwa/index.html 3.NHK Web Easy   หลายๆ คนอาจจะคุ้นชื่อ NHK news ของญี่ปุ่นกันใช่ไหมล่ะคะ ทาง NHK นอกจากจะลงข่าวตามปกติแล้ว ยังมีเว็บไซต์สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาภาษาญี่ปุ่น โดยจะเป็นข่าวต่างๆ ในภาษาญี่ปุ่นที่เข้าใจง่ายค่ะ ตัวอย่างข่าวจากเว็บไซต์ NHK Web Easy ในข่าวมีฟุริกานะประกอบ นอกจากนี้ยังงมีคำอธิบายประกอบคำศัพท์ในบทความเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วยค่ะ และมีสีตัวอักษรที่บ่งบอกชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่อีกด้วย สะดวกมากๆเลย อ่านได้ที่นี่ 👉 https://www3.nhk.or.jp/news/easy/ 4.Yomujp   เว็บไซต์นี้เนื้อหาบทความจะคล้ายกับเว็บไซต์ MATCHA แต่ Yomujp จะแบ่งเนื้อหาตามระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT ค่ะ มีตั้งแต่ N5-N1 ขึ้นไปเลยย ตัวอย่างบทความจากเว็บไซต์ Yomujp เว็บไซต์นี้ก็มีเสียงประกอบด้วยนะ อ่านได้ที่นี่ 👉 https://yomujp.com/ 5.monogatary   เว็บไซต์นี้แนะนำสำหรับคนที่มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นมามากพอตัวแล้ว อยากเริ่มอ่านเนื้อหาที่ยากขึ้นมาหน่อย แต่ก็สามารถอ่านอย่างเพลิดเพลินได้อย่างไม่เครียด   monogatary เป็นเว็บไซต์รวมนิยายสั้นๆ จึงอ่านจบได้อย่างไม่เบื่อและไม่ยากจนเกินไป เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเริ่มขยับไปอ่านเนื้อหาที่คนญี่ปุ่นอ่านกันจริงๆ มีการใช้ภาษาที่สละสลวยขึ้น…
Read More
4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, PAT7, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, เรียนภาษาญี่ปุ่น
4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้           สวัสดีค่ะ เชื่อว่าน้อง ๆ ที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้หลาย ๆ คนคงกำลังเรียนภาษาที่ 3 อยู่ใช่ไหมคะ และก็เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้สึกว่าพอเรียนไปสักพักแล้วก็รู้สึกว่าทำไมสกิลเรานิ่งจัง มันไม่ค่อยพัฒนาเลย ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหานี้เป็นปัญหายอดฮิตของผู้เรียนภาษาที่ 3 เลยก็ว่าได้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียน ซึ่งอยู่ในฐานะคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ 3 อยู่ ก็ขอแชร์เทคนิคง่าย ๆ ที่ เราใช้แล้วรู้สึกว่าเวิร์กมาให้น้องทุก ๆ คนลองปรับใช้ดู รับรองได้ว่าทำแล้วสกิลภาษาพุ่งขึ้นรัว ๆ แน่นอน เทคนิคที่ 1 : เปลี่ยนสื่อที่เสพทุกอย่างเป็นภาษานั้น ๆ           วิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้เขียนทำแล้วเวิร์กที่สุด โดยวิธีทำก็ตามชื่อเลยก็คือให้น้อง ๆ เปลี่ยนสื่อที่ตัวเองเสพอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เพลง ละคร หนัง เกม นิยาย Youtube หรือแม้แต่Twitter เป็นสื่อภาษาที่เราเรียนอยู่ น้อง ๆ หลายคนอาจรู้สึกเอียน รู้สึกว่าเรียนจากในชั่วโมงมาตั้งเยอะแล้ว นอกชั่วโมงเรียนยังต้องมาเจอภาษานี้อีกเหรอ แต่เราขอบอกเลยว่าถ้าทำแล้ว สกิลภาษาของน้อง ๆ จะก้าวกระโดดไม่ได้เยอะมาก ๆ ค่ะ ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่อง Input Hypothesis เอาไว้ในบทความ เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที (ขออนุญาตขายของ 5555) ว่าสิ่งที่สำคัญในการเรียนภาษาที่ 2 (หรือ 3 4 5 ฯลฯ) คือการรับข้อมูล หรือInput เข้ามา โดย Inputที่จะทำให้การเรียนรู้ภาษามีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะต้องมีความยากพอดี ระดับความยากไม่มากกว่าความรู้ของผู้เรียนมากจนเกินไป (i+1)แล้ว Inputนั้นยังต้องมีจำนวนมากด้วย           ดังนั้นการที่เราเปลี่ยนสื่อที่ตัวเองเสพอยู่ (ซึ่งการเสพหรือรับเข้ามาก็คือ Input) เป็นภาษาที่เราเรียนอยู่ ก็จะทำให้เรามีโอกาสที่ได้ Input กลับไปเป็นจำนวนมาก           นอกจากนี้การเรียนรู้ภาษาผ่านทางสื่ออื่น ๆ นอกหนังสือเรียนก็จะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการใช้ภาษานั้น ๆ แบบเป็นธรรมชาติแบบฉบับnative เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเรียนจากหนังสือเรียนก็อาจเป็นทางการหรือเจ้าของภาษาไม่ค่อยได้ใช้ https://www.tiktok.com/@imsparkzz/video/6922049372511390978?_d=secCgYIASAHKAESPgo89%2BwjJ5E7Idfy0L0WR%2FNHfy9vF%2F9baLhpig8%2FRqxx7DZW1ng9nx28WRUA5eHeQlPqv1LR5zKAwMY9qbw1GgA%3D&checksum=424d745ad9ab797f3a7a75e63f641450c04f0ee1e80826fb18c6b13c5d8616c6&language=en&mid=6922049369302633218&preview_pb=0&region=TH&sec_user_id=MS4wLjABAAAAK7vZnk5YLELH6erulTW6KLahqCy1_Q1eLZBRSlE-QV32FLd3jdQOA0_6IOo4RrsY&share_app_id=1180&share_item_id=6922049372511390978&share_link_id=394F99C0-C04E-437E-B63B-29D3D8E3991D&source=h5_t&timestamp=1632205311&tt_from=copy&u_code=df3ekb71ki7m4a&user_id=6884667380674855937&utm_campaign=client_share&utm_medium=ios&utm_source=copy&_r=1 https://www.tiktok.com/@michaela_sato/video/7004091252979322114?_d=secCgYIASAHKAESPgo86EOi64HvMrnDdgyDQ%2FpwkVBFFkPADyWpyfXYjclMAedz2iOWRLNuxGglJ4CbHfGs23VGYnCG1yGLIRdaGgA%3D&checksum=988fa60626bcbf203ab8111f97cf9e646c047689fe6d50f6a995ed407ca5009d&language=en&mid=7004091210025847554&preview_pb=0&region=TH&sec_user_id=MS4wLjABAAAAK7vZnk5YLELH6erulTW6KLahqCy1_Q1eLZBRSlE-QV32FLd3jdQOA0_6IOo4RrsY&share_app_id=1180&share_item_id=7004091252979322114&share_link_id=9ECEE1B7-49E5-4905-8A3F-8785F6FF4E44&source=h5_t&timestamp=1632205351&tt_from=copy&u_code=df3ekb71ki7m4a&user_id=6884667380674855937&utm_campaign=client_share&utm_medium=ios&utm_source=copy&_r=1           จากคลิปข้างบนก็จะเห็นว่าถึงเราจะเรียนคำว่า ありがとうございます (Arigatou gozaimasu) หรือคำขอบคุณในภาษาญี่ปุ่นจากในตำรา แต่ในชีวิตจริงก็อาจเป็นทางการมากเกินไป หรืออาจมีวิธีการพูดคำนี้ในหลาย ๆ แบบ ดังนั้นถ้าน้อง ๆ ได้เรียนรู้จากสื่อ ก็จะทำให้สามารถใช้ภาษานั้น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ใกล้เคียงเจ้าของภาษาไปอีกเสต็ป           อีกทั้งถ้าน้อง ๆ เสพสื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น น้อง ๆ…
Read More
ปัญหายอดฮิตที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอ

ปัญหายอดฮิตที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอ

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, บทความสัมภาษณ์, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แบบสอบถาม ออนไลน์
Amarlin Amarsaikhan | April 01, 2019 โดยสังเขป   ถ้าเพื่อนๆกำลังวางแพลนจะไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ก่อนที่จะไป มาเตรีนมพร้อมกันไว้ก่อนว่านักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักจะต้องพบเจอปัญหาอะไรบ้าง และจะผ่านไปได้อย่างไร   ในที่สุดจดหมายตอบรับเข้าเรียนก็มาถึง หลังจากผ่านกระบวนการต่างๆในการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างยาวนาน ตอนนี้ชีวิตบทใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว นั่นก็คือการย้ายไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นนั่นเอง เพื่อนๆเคยทั้งตื่นเต้นและกังวลไปพร้อมๆกันไหมคะ? ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้จะมาพูดถึงปัญหาที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอกัน และจะรับมือกับมันได้อย่างไรบ้าง   เราได้สร้างแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับปัญหาทีมักพบ และสิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนต่างชาติจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ, มหาวิทยาลัยเคโอ, และมหาวิทยาลัยโตเกียว 1.กำแพงภาษา   จากแบบสอบถาม ปัญหาที่พบได้มากที่สุดคือเรื่องกำแพงภาษา มีนักเรียนต่างชาติจำนวนมากที่ได้กล่าวว่า หวังว่าจะเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานก่อนที่จะมาเรียนที่ญี่ปุ่น เนื่องจากที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้ภาษาอังกฤษเท่าไหร่ การเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานมาก่อนจึงช่วยได้มาก 2.สร้างบัญชีธนาคาร   ปัญหาต่อมาที่มักพบเจอ คือการสร้างบัญชีธนาคารนั่นเองค่ะ การเปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารใหญ่ของญี่ปุ่น (Mizuho, Mitsubishi UFJ, Sumitomo Mitsuiฯลฯ)เป็นที่รู้กันว่ายากมาก สำหรับนักเรียนที่เพิ่งเข้ามาใหม่มักจะมีธนาคารที่จัดให้เปิดบัญชีได้ที่มหาวิทยาลัย (Japan Post Bank, Resona Bank ฯลฯ) Rakuten Bank เป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นธนาคารที่สามารถใช้บัตร VISA/JCB ผ่านทางออนไลน์ และสะสมแต้ม Rakuten points ได้ สิ่งที่เป็นปัญหาในการเปิดบัญชีธนาคารคือ นักเรียนต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารด้วยตัวเองได้ จำเป็นจะต้องมีผู้ร่วมลงนามในการเปิดบัญชีเพื่อความปลอดภัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ทราบเรื่องนี้ดี และจะช่วยเราค่ะ แต่ถึงอย่างนั้นก็อยากให้ทุกคนรู้เรื่องนี้เอาไว้ค่ะ 3.การหาเพื่อน   มาถึงปัญหาที่สามกันแล้วคะ อันดับที่สามได้แก่ปัญหาการหาเพื่อนค่ะ วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาเพื่อนในญี่ปุ่นคือการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมค่ะ เป็นโอกาสที่จะได้พบเพื่อนใหม่ ได้เข้าสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นมักจะมีชมรมมากมายเลยทีเดียว สิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่น   เราได้รับคำตอบที่หลากหลายในหัวข้อ 'สิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่น' เราจึงเรียบเรียงลิสต์คำตอบที่ได้รับไว้ ดังนี้ ระบบการทำงานพาร์ทไทม์ นักเรียนจะทำงานได้ไม่เกิน 28 ชม./สัปดาห์วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มากมายที่แตกต่างจากประเทศเรา จึงควรศึกษาก่อนไปสังคมสูงอายุ ที่ญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุอยู่มากวัฒนธรรมการดื่มของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นดื่มเพื่อเป็นการเข้าสังคมควรนำเสื้อผ้าสำหรับฤดูกาลต่างๆมา ฤดูกาลที่ญี่ปุ่นมักมีความสุดขั้วค่ะ ร้อนก็ร้อนมากก หนาวก็หนาวมากก การย้ายไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่หากเตรียมตัวดีๆก่อนเดินทางแล้วล่ะก็ ชีวิตในญี่ปุ่นจะเป็นช่วงเวลาที่ลืมไม่ลงเลยทีเดียว และอย่าลืม work hard and have fun นะคะทุกคน ! ผู้เขียน Amarlin Amarsaikhan สวัสดีค่ะ! เราชื่ออมาลิน มาจากอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลียค่ะ ตอนนี้กำลังศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะค่ะ SchooLynk : Most Common Problems for International Students in Japan | SchooLynk Media
Read More
วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น

วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น

Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น โดย Janessa Roque   เริ่มก่อนได้เปรียบ! มาเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นกันก่อนไปเรียนที่ญี่ปุ่นดีกว่า Janessa Roque นักศึกษาฝึกงานจาก SchoolLynk media เธอคนนี้มีดีกรีนักศึกษาปริญญาเอกจากโตเกียวแถมพ่วงด้วยตำแหน่งอาจารย์ จะมาบอกเคล็ดลับการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้เริ่ดสุด น้องๆ นักเรียนและคนที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเองเตรียมตัวอ่านต่อกันได้เลย!   ตอนที่เพิ่งย้ายมาอยู่โตเกียว ตัวเราโชคดีที่มีเพื่อนหลายๆ คนอาศัยอยู่ที่นี่อยู่แล้ว มาช่วยให้เราตั้งหลักได้ แถมยังได้รู้คำทักทายภาษาญี่ปุ่น ประโยคภาษาญี่ปุ่นที่ใช้บ่อยๆ ภาษาปากต่างๆ มากมายจากพวกเพื่อนๆ อีกด้วย   แต่ก็มีเพื่อนๆ หลายคนเหมือนกันที่มาเรียนต่อที่ญี่ปุ่นทั้งๆ ที่แทบจะไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นเลยเหมือนกัน   มันก็เข้าใจได้ เพราะพวกเราส่วนใหญ่เรียนหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ถึงเราจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักเวลาเรียน ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานกับคำทักทายในชีวิตประจำวันก็ยังสำคัญอยู่ดี ถ้าเตรียมตัวมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เช่น การอ่าน-เขียน ตัวฮิรางานะ คาตาคานะ (เรียกรวมๆ ว่าตัวอักษรคานะ) ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็ช่วยได้มากแล้ว ถ้าฝึกบ่อยๆ สัก 2-3 อาทิตย์ ก็น่าจะพอจะอ่านเขียนได้แล้ว   ถึงน้องๆ จะเขียนหรืออ่านได้ช้ามากๆ ก็ไม่เป็นไรเลย เป็นเรื่องปกติมากๆ เพราะน้องๆ กำลังอยู่ในช่วงจดจำคำศัพท์ใหม่อยู่ เลยจะยังเดาไม่ได้ว่าแต่ละคำอ่านว่ายังไง ก็เลยอ่านได้ช้า ในภาษาแม่ถ้าเราเจอคำใหม่ที่เราไม่รู้จักมาก่อน หรือเราอ่านหนังสือที่เก่ามากๆ อ่านข้อความที่ซับซ้อน มีคำยาวๆ มีวลีที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน เราก็จะอ่านได้ช้าแบบนี้เหมือนกัน ที่สำคัญกว่าคือถ้าน้องๆ อ่านตัวอักษรคานะได้ น้องๆ ก็ใกล้จะเข้าใจโลกรอบๆ ตัวเวลามาเรียนที่ญี่ปุ่นขึ้นอีกหนึ่งเสต็ปแล้วนะ   ไม่ใช่แค่นั้นนะ ถ้าน้องๆ อ่านเขียนตัวคานะได้ ก็จะหาเพื่อนได้ง่ายขึ้น แล้วก็เข้าถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้มากกว่าด้วย ทำให้การมาเรียนต่อขอน้องๆ เต็มไปด้วยประสบการณ์ดีๆ มากมายที่ญี่ปุ่น เราทำงานเป็นครูอยู่ที่ประเทศตนเอง เพราะงั้นเราก็หวังว่าเคล็ดลับพวกนี้จะช่วยทุกคนที่อ่าน เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นได้! ถามตัวเองก่อนเลย : แรงจูงใจในการมาเรียนต่อญี่ปุ่นคืออะไร   สิ่งแรกที่น้องๆ จะต้องทำถามตัวเองให้ดีคือ ทำไมถึงอยากเรียนภาษาญี่ปุ่น เพราะอยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ก็เป็นเหตุผลที่ดีแล้วแหละ แต่น้องๆ ก็ต้องถามตัวเองต่อด้วยว่า ทำไมถึงอยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ทำไมต้องเป็นญี่ปุ่น   น้องๆ ต้องรู้ว่าอะไรคือแรงจูงใจของเรา เพราะแรงจูงใจนี่แหละที่จะช่วยให้เราผ่านการเรียนภาษาใหม่ไปได้ เพราะการเรียนภาษาใหม่ โดยเฉพาะถ้าภาษานั้นต่างจากภาษาแม่ของเรามากๆ มันจะยากแล้วก็ทรมานในหลายๆ ช่วง (เช่น คนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จะเรียนภาษาเยอรมันได้ง่ายกว่า เพราะทั้งสองภาษา เป็นภาษาที่แยกมาจากภาษาเดียวกัน แต่ภาษาญี่ปุ่นอาจจะยากกว่าสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เพราะสองภาษานี้แทบไม่มีอะไรเหมือนกันเลย ยกเว้นที่ภาษาญี่ปุ่นยืมคำบางคำมาจากภาษาอังกฤษ) ยิ่งเรียนก็จะรู้สึกยากขึ้น ทรมานขึ้น แรงจูงใจของน้องๆ แล้วก็เป้าหมายที่จะไปเรียนต่อญี่ปุ่นจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้น้องๆ ไม่ยอมแพ้ไปก่อน   รู้จักตนเอง: รู้ว่าตนเองจะเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีไหน   ถ้าน้องๆ ผู้อ่านรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองจะเรียนรู้ จดจำได้ดีด้วยวิธีไหนแล้วละก็ ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย! เพราะสิ่งนี้จะมีประโยชน์มากๆ ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น (แล้วก็การเรียนสิ่งอื่นๆ ด้วย) ถ้ายังไม่รู้ เราก็จะมาบอกเคล็ดลับให้น้องๆ เอง การรู้ว่าตนเองเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีไหน เรียกว่า “การรู้คิด” วิธีนี้เป็นวิธีที่จะทำให้น้องๆ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ   ลองคิดดูว่าน้องๆ เป็นยังไง หรือเคยเป็นยังไง…
Read More
เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น โดย Janessa Roque          การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในระบบการศึกษาญี่ปุ่น อาจเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่บทความนี้จะมาเจาะลึกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนค่าเล่าเรียนต่างกันแค่ไหน ความสามารถและชื่อเสียงทางวิชาการเป็นอย่างไร           เชื่อว่ามีน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่สนใจเลือกเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ด้วยระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมีหลายจุดที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ๆ  ซึ่งอาจทำให้น้องบางคนรู้สึกไม่คุ้นเคย ดังนั้นถ้าน้องคนไหนกำลังมองหาทุนการศึกษา หรือกำลังคิดอยู่ว่าจะออกเงินไปเรียนเองแบบไม่พึ่งทุน การทำความรู้จักประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยตัดสินใจว่าควรวางแผนอย่างไรบ้าง เมื่อน้อง ๆ อ่านบทความนี้จบและได้เอาปัจจัยเรื่องค่าเล่าเรียน ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ และการดูแล supportนักเรียนต่างชาติ มาพิจารณาแล้ว น้อง ๆ ก็จะสามารถเลือกประเภทมหาวิทยาลับยที่เข้ากับตัวเองได้!           ประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น           มหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ(国立大学) มหาวิทยาลัยท้องถิ่น(公立大学) และมหาวิทยาลัยเอกชน(私立大学)           มหาวิทยาลัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นล้วนเป็นองค์กรการศึกษาของรัฐบาล แต่จะต่างกันตรงที่ระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารโดยตรง ในขณะที่คณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นจะจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองตนเองส่วนท้องถิ่น ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชน จัดตั้งโดยเอกชน รัฐบาลจะไม่เข้ามาบริหารจัดการ แต่จะให้เงินอุดหนุน           ประเทศญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 782 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติมีจำนวน 93 แห่ง มหาวิทยาลัยท้องถิ่นมีจำนวน 86 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนมีจำนวน 603 แห่ง               ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ           จุดหลัก ๆ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละประเภทแตกต่างกันคือค่าการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่น้อง ๆ ควรเอามาพิจารณาในการเลือกมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าเล่าเรียนน้อยที่สุดใน 3 ประเภทข้างต้น โดยค่าเล่าเรียนรวมค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ สำหรับนักศึกษาป.ตรี จะอยู่ที่ประมาณ 820,00 0เยน (ประมาณ 241,785 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) ในขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 930,000 เยน (ประมาณ 274,220 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564)           ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ ประมาณ1,100,000-1,640,000 เยน (ประมาณ 324,346–483,570 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) จะเห็นได้ว่าค่อนข้างสูงกว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 2 ประเภทที่ได้พูดถึงไปด้านบน ทั้งนี้โดยทั่วไปค่าการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ทันตศาสตร์ และเภสัชศาสตร์จะสูงกว่าจำนวนเงินข้างต้น…
Read More
เรียนที่ญี่ปุ่นแพงจริงไหม?

เรียนที่ญี่ปุ่นแพงจริงไหม?

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น
Nicole Warintarawet | March 27,2020 โดยสังเขป          การเรียนต่อระดับสูงขึ้นในต่างประเทศ ฟังดูเหมือนจะต้องแพงแน่ๆใช่ไหมคะ แต่มันต้องจ่ายแพงแบบนั้นจริงๆหรอ มาหาคำตอบกันในบทความนี้เลย! เรียนที่ญี่ปุ่นแพงจริงไหม?          การเรียนต่อต่างประเทศแพงก็จริง แต่ไม่เสมอไป! การใช้ชีวิตในต่างประเทศเพียงไม่กี่ปีนั้นเพียงพอที่จะทำให้เพื่อนๆได้รับประสบการณ์สุดล้ำค่าที่หาจากไหนไม่ได้เลยทีเดียว ถ้าพูดถึงข้อดี อย่างแรกที่นึกออกได้เลยก็คือ การออกจากคอมฟอร์ทโซนไปผจญภัยในต่างแดนใช่ไหมคะ แต่ปัญหาตามมาที่หลายๆคนกังวลก็คือ ‘จะจ่ายไหวได้ยังไงล่ะ?’ ถ้าเพื่อนๆกังวลใจกับปัญหานั้น ญี่ปุ่นเป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว นอกจากญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่สวยงาม การศึกษามีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นอันดับต้นๆของโลกแล้ว ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยยังถูกกว่าที่คิดอีกด้วย! ในฐานะที่เคยเป็นนักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมาเกือบ 4 ปี จะมาแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้เพื่อนๆฟังกันค่ะ สรุปสั้นๆ (สำหรับคนไม่อยากอ่านยาว) เฉลี่ยรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปี : •ค่าเทอม       •มหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 1,000,000 เยน – 2,000,000 เยน ต่อปี       •มหาวิทยาลัยรัฐบาล 535,800 เยน ต่อปี •ค่าธรรมเนียมแรกเข้า(จ่ายครั้งเดียว)       •มหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 200,000 – 1,000,000 เยน (ขึ้นอยู่กับคณะที่เรียน,หากเป็นคณะแพทยศาสตร์จะค่าใช้จ่ายสูง)       •มหาวิทยาลัยรัฐบาล 282,000 เยน(แห่งชาติ) – 393,618 เยน(ท้องถิ่น) •ค่าใช้จ่ายรายเดือน ประมาณ 72,000 เยน – 100,000 เยน ต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่อยู่)       •ค่าเช่า และ ค่าน้ำค่าไฟ 23,000 เยน – 43,000 เยน สำหรับค่าเช่า + 7,000 เยน สำหรับค่าน้ำค่าไฟ       •ค่าเดินทาง 5000 เยน       •ค่าใช่จ่ายอื่นๆ 16,000 เยน ฉบับเต็ม ค่าเทอม          อย่างแรกทีเราต้องพูดถึงคือ ค่าเทอม จริงๆแล้วค่าเทอมมีหลากหลายราคา ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน หรือรัฐบาล อ้างอิงจาก JASSO มหาวิทยาลัยรัฐบาลค่าเทอมจะอยู่ที่ประมาณ 535,800 เยน ต่อปี ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนค่าเทอมจะสูงอยู่ที่ราวๆ 1-2 ล้านเยน เพื่อให้เพื่อนๆเห็นภาพมากขึ้น เราเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Sophia เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเทอมประมาณ 1.5 ล้านเยน ต่อปี และในปีแรกนักศึกษาใหม่จะต้องจ่ายค่าแรกเข้า ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 200,000 เยน ไปจนถึง 400,000 เยน ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยค่ะ อย่างมหาวิทยาลัยที่เราอยู่ ค่าเทอมในปีแรกสูงถึงประมาณ 1.7…
Read More
5 เหตุผลทำไมถึงควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น!?

5 เหตุผลทำไมถึงควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น!?

Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เรามีตัวเลือกมากมายให้เลือกเมื่อต้องศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ก็ยังเหนื่อยที่จะมานั่งคิดว่าจะเรียนที่ไหนดี ถ้ายังมีปัญหาในการเลือกสถานที่เรียนต่อต่างประเทศ มาอ่านบทความนี้เลยย ต่อไปนี้คือเหตุผล 5 ประการที่เราควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น 1) ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานการครองชีพสูง เหตุผลแรกที่เราควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น ก็คือว่ายอมรับเถอะว่า มีสถานที่ไม่มากในโลกที่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ในแง่ของอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำ ในฐานะนักเรียนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญมาก ยิ่งไปกว่านั้นการเดินทางรอบเมืองและสำรวจสถานที่ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วและราคาไม่แพงก็ทำได้ง่ายมาก ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพของญี่ปุ่น ต้องการวางแผนการพักผ่อนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ชายหาดเหรอ? – แค่จองโรงแรม กระโดดขึ้นรถไฟ ก็พร้อมเที่ยวเลย! อาหารในญี่ปุ่นก็อร่อยมากกกกกก ถ้าหิวตอนตีสองก็แค่แค่หยิบเบนโตะอร่อยๆ สักกล่องจากร้านสะดวกซื้อ! และถ้าคุณคิดว่าอาหารในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเนี้ยอร่อยแล้ว แต่อาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหารก็ยิ่งอร่อยกว่านั้นอีก! ลองโอสึมามิสิ (อาหารหลากหลายประเภทเสิร์ฟในจานเล็กๆ ที่บาร์อิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น) 2) การศึกษาคุณภาพราคาไม่แรง พร้อมทุนการศึกษามากมาย เหตุผลต่อมาที่เราควรมาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะว่าการศึกษาระดับวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยรัฐในญี่ปุ่นมักมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า 600,000 เยนต่อปี ซึ่งคร่าวๆ ก็ประมาณ 162,250 บาท แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000,000 เยนต่อปี แต่ก็มีโอกาสในการมอบทุนการศึกษามากมายสำหรับนักศึกษาต่างชาติ นอกจากทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงจาก MEXT และ JASSO แล้ว ยังมีทุนการศึกษาอื่น ๆ อีกมากมายที่มอบให้โดยตรงจากมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน ลองอ่านบทความนี้เพื่อรับทุนการศึกษาเต็มทุนสำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยนะ!? 3) โอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตในการเรียนรู้ภาษาใหม่ในสภาพแวดล้อมที่สนุกสนาน เหตุผลข้อที่สามที่เราควรเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะว่าการเรียนรู้ภาษาใหม่จะง่ายขึ้นถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่พูดภาษาเป้าหมายที่จะเรียน เราเองก็ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับจุดนี้โดยตรงด้วยการเรียนหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สอนด้วยภาษาอังกฤษในญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าเราจะพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยเมื่อมาถึงที่นี่ครั้งแรก แต่ทักษะภาษาญี่ปุ่นก็พัฒนาขึ้นอย่างมากภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ฉันผ่าน JLPT N2 ได้ภายในสามปี ต้องขอบคุณสภาพแวดล้อมที่รายล้อมด้วยผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ช่วยอดทนต่อความผิดพลาดของฉันนะคะ! เราคงไม่สามารถบรรลุผลทั้งหมดนี้ได้หากตัดสินใจไปเรียนที่อื่น จากประสบการณ์ส่วนตัว แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นมากนักในชั้นเรียน (ยกเว้นหลักสูตรภาษาภาคบังคับ) แต่ก็ได้เรียนรู้มากขึ้นจากการสื่อสารในชีวิตประจำวันกับเพื่อนและผู้คน เราคิดว่าเราได้เรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัวเวลาฟังเสียงรอบข้างในที่สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ 4) โอกาสทางอาชีพที่ดีหลังเรียนจบ ถัดมาที่เราควรเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยโอกาส ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง รัฐบาลญี่ปุ่นจึงพยายามดึงดูดเยาวชนที่มีความสามารถจากทั่วโลก อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำอย่างน่าสนใจ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ระเบียบการขอวีซ่าได้รับการแก้ไขเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้น มีกิจกรรมหางานมากมายสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะ! ถ้ากำลังมองหาอาชีพใหม่ในต่างประเทศ การเรียนที่ญี่ปุ่นถือเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยมเลยนะ 5) ความแน่นแฟ้นในสังคม ตรงกันข้ามกับที่หลายคนอาจคิดไปเองว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ จริง ๆ หากอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น โตเกียว นาโกย่า หรือโอซาก้า การหาการชุมนุมทางสังคมและกิจกรรมประเภทอื่นๆ ที่จัดโดยชุมชนชาวต่างชาติในพื้นที่นั้นมีเยอะมาก ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากคนญี่ปุ่นเริ่มให้ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมขึ้นเป็นประจำ และถ้าสนใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม อย่าลืมดูตารางกิจกรรมประจำปีด้วยนะคะ การเข้าร่วมกิจกรรมในญี่ปุ่นจะช่วยให้ดื่มด่ำกับวัฒนธรรมและทำความรู้จักกับผู้คนนอกวิทยาลัยได้มากขึ้น แล้วยังช่วยเพิ่มสีสันในชีวิตให้ด้วยนะคะ เพราะเราอาจเจอกลุ่มต่างๆ ที่เหมาะกับความสนใจของเราค่ะ! Credit by SchooLynk: https://schoolynk.com/media/articles/d710d0ec-944d-4d50-8bce-14612b6a7065
Read More