เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

9วิชาสามัญ, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT7, PAT7, บทความสัมภาษณ์, ภาษาอังกฤษ, เคล็ดลับการเรียน
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่ สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสัมภาษณ์พี่ทราย สาวจบใหม่ดีกรีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งน่าจะเป็นคณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ว่าแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ทรายมีเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนสอบอะไรบ้าง Q: แนะนำตัวกันหน่อย ทราย: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อทรายนะคะ ตอนนี้ก็เพิ่งเรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า “AD (แอด)” แต่ต้องบอกน้อง ๆ ก่อนว่าคณะของเรามีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรตั้งแต่ปี2561ทำให้ชื่อสาขานี้เปลี่ยนไปเป็น “สาขาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า หรือABC” นั่นเองค่า ละครนิเทศ จุฬาฯ เรื่อง THE VILLA SMARIS ละครที่เป็นแรงบันดาลใจของทราย ที่มา: https://teen.mthai.com/activities/104835.html Q: ทำไมอยากเข้าคณะนี้ ทราย: ที่จริงเราไม่ได้มีเป้าหมายชัดเจนขนาดนั้นว่าอยากทำงานแบบไหน แต่ตอนม.ปลายเราเอนจอยกับการทำงานที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ชอบถ่ายรูป งานที่ต้องตัดต่อถ่ายคลิปวิดิโอ เลยคิดว่าถ้าได้เรียนได้ทำนู่นทำนี่คงจะสนุกดี พอดีกับที่เราได้ไปดูละครนิเทศ จุฬาฯ ตอนม.5 ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้สนใจและอยากเรียนต่อที่คณะนี้ Q: เล่าเรื่องภาค AD ให้ฟังหน่อย ทราย: เราก็จะเรียนตั้งแต่พฤติกรรมผู้บริโภค การวางแผนสื่อ การวิจัยตลาด ทำแคมเปญ การเขียนบท งานศิลป์ ไปจนถึงงานกราฟฟิคโฆษณา เป็นสาขาที่ทำให้ได้เรียนรู้สกิลหลาย ๆ อย่าง อย่างเราเป็นคนที่ก่อนหน้านี้ใช้Photoshop AIไม่เป็นเลย แต่หลังจากที่ลองเรียนเทอมเดียว เราก็ใช้เป็นและมีประโยชน์กับเรามาจนถึงทุกวันนี้ Q: เริ่มเตรียมตัวสอบตอนไหน ทราย: คือนิเทศ จุฬาฯ ใช้คะแนน GPAX+GAT+PAT7 (หรือPAT1) ซึ่งตัวเราก็รู้ตัวว่าวิชาหลัก ๆ อย่างวิชาภาษาอังกฤษ แล้วก็ภาษาที่ 3 เป็นวิชาหลักของเราที่จะต้องใช้การยื่นสมัคร เราก็เลยเริ่มเรียนพิเศษตั้งแต่ม.4เลย แต่ว่าเพิ่งจะมาเริ่มทำโจทย์เตรียมตัวจริงจังตอนม.6 Q: มีเคล็ดลับยังไงบ้าง ทราย: เราไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษ เตรียมตัวตามปกติเลย อย่างมากก็เขียนศัพท์ลง post-it หลาย ๆ ใบแล้วไว้ที่ผนังข้างเตียง พอเราเห็นบ่อย ๆ ก็จำได้เอง แล้วก็ตอนทำโจทย์ก็จับเวลาจริง พยายามปิดโทรศัพท์ เอาไปไว้ไกล อยู่ในห้องคนเดียวไม่ให้ใครรบกวน เราเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะ ๆ แล้วก็ไม่ชอบจดโน้ตยาว ๆ เราก็เลยเน้นทำโจทย์ข้อสอบเก่าบ่อย ๆ อย่ากลัวที่จะตอบผิด เพราะยิ่งผิดบ่อย ๆ เรายิ่งจำ พวกแพทเทิร์นข้อสอบข้าวของไทยจะไม่ค่อยเปลี่ยนพอเราทำบ่อย ๆ เราก็จะจับทางได้เอง ถึงเวลาสอบจริงเราก็จะไม่ตื่นข้อสอบด้วยนอกจากนี้เวลาเราผิดเราก็จะเอาปากกาแดงวงไว้ตัวใหญ่ ๆ แล้วกลับมาเปิดทบทวนประเด็นนั้น พอตรวจเสร็จแล้วก็จดคะแนนแล้วเว้นไปแล้วกลับมาทำอีกครั้ง Q: ช่วงนั้นเครียดไหม มีวิธีจัดการกับความเครียดยังไง ทราย: ช่วงเตรียมสอบเราค่อนข้างเครียดน้อย เพราะมีเวลาเตรียมตัวมาเรื่อย ๆ…
Read More
6 แอปฟรีไว้ฝึกภาษาอังกฤษที่มีไว้ปังแน่นอน!

6 แอปฟรีไว้ฝึกภาษาอังกฤษที่มีไว้ปังแน่นอน!

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สอบเข้าม.ปลาย
  พูดได้แต่อ่อนแกรมม่า? เก่งแกรมม่าแต่พูดไม่ได้? จำคำศัพท์ไม่ได้? ใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ดีเท่าที่ควร?   น้องๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเก่งภาษาอังกฤษให้มากขึ้นกว่านี้ใช่รึเปล่า??    แต่โควิดแบบนี้ไม่สะดวกออกไปเรียนพิเศษข้างนอก ไม่รู้จะทบทวนยังไงให้เก่งดี?   ถ้าใช่ ก็ขอให้อ่านบทความนี้ต่อเลย ไม่ต้องกลุ้มใจไป! (more…)
Read More
รวมโน้ตสรุป GATเชื่อมโยง ไม่กลัว 99H!

รวมโน้ตสรุป GATเชื่อมโยง ไม่กลัว 99H!

GAT, GAT/PAT, TCAS, ภาษาไทย, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้า มาพบกับบล็อก Clearnote กันอีกแล้ว อีกไม่นานเท่าไรก็ใกล้วันสอบ GATPAT แล้ว GAT อิ้ง นี่คงไม่ต้องพูดถึง เชื่อว่าคงมีหลายคนตั้งใจอ่านกันอยู่แน่ๆ แต่อย่าเพิ่งลืม GAT เชื่อมโยงกันนะ มีหลายคณะที่ใช้เจ้าคะแนนแกทเชื่อมโยงนี้ยื่นเหมือนกัน   วันนี้บล็อกของเราเลยจะมาแนะนำโน้ตสรุป GAT เชื่อมโยง ในแอปฯ Clearnote กัน! 1.Gat เชื่อมโยง 🚀 วิธีทำ/ข้อควรระวัง🌋 โดย maiipcm_   ใครยังไม่รู้วิธีทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง มาทางนี้เลย เพราะสรุปนี้เขาอธิบายวิธีทำไว้หมดแล้ว ทั้ง เกรด A, D, F และ 99H ชวนงงต่างๆ แถมมีตัวอย่างกระดาษคำตอบให้ดูด้วยนะว่าจะตอบอะไรต้องฝนกระดาษคำตอบแบบไหน ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: Gat เชื่อมโยง 🚀 วิธีทำ/ข้อควรระวัง🌋 2.สรุปgatเชื่อมโยงในสองหน้า✨ โดย Who am I :)   สรุปนี้นอกจากจะอธิบายวิธีทำ GAT เชื่อมโยงว่าอะไรเป็นยังไงแล้ว เขายังสรุปข้อควรระวังไว้ด้วยนะ ดีมากๆ เลย เพราะข้อสอบ GAT เชื่อมโยงมักจะชอบออกมาให้เรางงว่าตรงนี้มันสัมพันธ์ยังไงกันแน่ จะ A ก็ได้ D ก็ดูดี จนสุดท้ายก็ไม่รู้จะตอบอันไหนดี   นอกจากนี้ สรุปนี้ยังมีแบบฝึกหัดให้น้องๆ ได้ลองฝึกทำตามดูด้วยนะ รับรองต้องเข้าใจมากขึ้นอีกนิดแน่ๆ ! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: สรุปgatเชื่อมโยงในสองหน้า✨ 3.[GAT/PAT63] Gat เชื่อมโยง โดย bt_cc♡   ใครอยากอ่านสรุปสั้นๆ อ่านสบายๆ มาทางนี้เลย โน้ตสรุป "[GAT/PAT63] Gat เชื่อมโยง" โดย bt_cc♡   โน้ตสรุปนี้สรุปคำที่เป็นคำใบ้ในโจทย์ของ GAT เชื่อมโยงและวิธีวาดสัญลักษณ์ลงในโจทย์ให้ไม่งง อ่านง่ายๆ มาให้แล้ว (แถมมีตัวอย่างประโยคด้วย) อ่านแล้วเห็นภาพมากๆ แถมเวลาฝึกทำโจทย์ ถ้าเอาโน้ตสรุปนี้มากางดู ก็จะทำได้ง่ายขึ้นนะ เพราะมีแต่วิธีทำให้ดูโดยเฉพาะ ไม่ตาลาย! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GAT/PAT63] Gat เชื่อมโยง 4.[styfit]Gatไทย / เชื่อมโยง โดย plln.x_   สรุปนี้เขามีบอกตั้งแต่ลักษณะข้อสอบ GAT เชื่อมโยง เวลาท่ีใช้ในการสอบ จำนวนคะแนนเต็มเลย อ่านสรุปนี้รับรองไม่พลาดข้อมูลเกี่ยวกับข้อสอบ GAT เชื่อมโยงแน่ๆ   นอกจากนี้ยังอธิบายเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ A, D, F และ 99H จุดหลอกต่างๆ รวมไปถึง ตัวอย่างโจทย์ ในเนื้อหาเพียง 2 หน้าเท่านั้น เหมาะกับคนที่รีบๆ…
Read More
10 โน้ตสรุป! เตรียมพิชิต Gatอิ้ง

10 โน้ตสรุป! เตรียมพิชิต Gatอิ้ง

English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, TCAS, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน สำหรับน้องๆ ม.6 จากนี้จะเป็นช่วงสำคัญแล้ว เพราะเป็นช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนวันสอบ GatPat จะมาถึง วันนี้บล็อกของเราเลยจะมาแนะนำโน้ตสรุปไว้อ่านเตรียมสอบ Gat ภาษาอังกฤษกัน! เทคนิคการทำข้อสอบ GAT อิ้ง/ เนื้อหาในการสอบ GAT อิ้ง 1.[GAT/PAT60] ชำแหละGATอิ้ง โดย Peem   ก่อนอื่นมาดูโครงสร้างข้อสอบ Gat ภาษาอังกฤษกันก่อนดีกว่าว่าข้อสอบ Gat มีกี่พาร์ทกันแน่ แล้วมีพาร์ทอะไรบ้าง แล้วควรรับมือยังไง ใช้เวลาทำประมาณไหนถึงจะดี เพราะการรู้โครงสร้างข้อสอบจะทำให้เรารู้ว่าควรอ่านหนังสือยังไง ถึงจะทำให้ได้คะแนนตามเป้าหมายที่ต้องการ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GAT/PAT60] ชำแหละGATอิ้ง 2.เทคนิคจำศัพท์ GAT ENG แบบไม่ต้องท่อง โดย MyLearnVille ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: เทคนิคจำศัพท์ GAT ENG แบบไม่ต้องท่อง   สำหรับคนที่ไม่ชอบท่องคำศัพท์ จำคำศัพท์ไม่ได้ อยากให้ลองมาดูวิดิโอนี้เลย เพราะ MylearnVille จะมาแนะนำวิธีจำคำศัพท์แบบไม่ต้องท่องให้ ไม่แน่ วิธีนี้อาจจะเหมาะกับน้องๆ ก็ได้นะ! 3.[GAT/PAT60] เทคนิคเดาศัพท์ โดย iampanan   ในข้อสอบ ต่อให้ท่องคำศัพท์ยังไง ก็มักจะมีคำศัพท์ที่ไม่รู้โผล่มาอยู่เรื่อยๆ แต่สรุปนี้จะมาช่วยน้องๆ เอง เพราะสรุปนี้จะมาแนะนำวิธีเดาความหมายเข้าศัพท์จาก Prefix Root Suffix ทำให้เราสามารถเดาความหมายของคำศัพท์ได้มากขึ้น แม้จะไม่เคยเห็นคำสัพท์เหล่านั้นมาก่อนก็ตาม ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GAT/PAT60] เทคนิคเดาศัพท์ คำศัพท์ GAT อิ้ง 4.[GAT/PAT] Idioms ที่ออกสอบบ่อย โดย B.justshare   Gat อิ้ง พาร์ท Conversation มักชอบให้เติมสำนวนสั้นๆ ถ้าน้องๆ รู้สำนวนมาก่อนก็สามารถเติมคำตอบลงไปได้อย่างรวดเร็วและข้ามไปทำพาร์ทอื่นได้เลย เพราะฉะนั้นการท่องสำนวน Idioms สะสมไว้ก็อาจจะดีกว่า   โน้ตสรุปนี้รับรองตอบโจทย์สุดๆ เพราะรวม Idioms ที่ออกสอบบ่อยๆ มาไว้เยอะมาก อ่านไว้รับรองไม่เสียหลายแน่นอน! ฟันเฟิร์มได้เลย ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GAT/PAT] Idioms ที่ออกสอบบ่อย 5.รวมศัพท์ ม.6 ออก GAT Eng (ชุด1) (ชุดที่2) และ (ปีล่าสุด) โดย MyLearnVille   โน้ตสรุปที่เหมาะกับน้องๆ ทุกคนที่จะสอบ Gat อิ้ง ขาดไม่ได้เลยโน้ตสรุปรวมคำศัพท์ เพราะไม่ว่าพาร์ทไหนของข้อสอบก็ออก การได้รู้คำศัพท์ที่เคยออกมาในข้อสอบมาก่อนจะช่วยให้เรารู้ว่าความยากของข้อสอบจะออกมาประมาณไหน แถมคำศัพท์ที่เคยออกสอบก็อาจวนมาออกอีกก็เป็นได้นะ ท่องเก็บไว้ มีโอกาสได้ใช้เห็นๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: รวมศัพท์ ม.6 ออก GAT Eng (ชุด1)…
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More
Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป

Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, TCAS, Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
  Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป          สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนอาจเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ เพราะอ่านหนังสือเตรียมสอบไฟนอลกัน  แต่บางครั้งคงรู้สึกกันว่าถึงอ่านหนังสือหนัก เรียนหนักแล้ว แต่เนื้อหาก็ไม่เข้าหัว เบลอ ๆ ไปทำข้อสอบ ทำสอบ คะแนนก็ไม่ดี ไม่คุ้มกับเวลาที่อ่านหนังสือไป           วันนี้ผู้เขียนเลยจะมาแนะนำเทคนิคการบริหารเวลาแบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ล้าอีกต่อไป นั่นก็คือ Pomodoro Technique           Pomodoro Technique คืออะไร?           น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นชื่อกับPomodoro Technique ดังนั้นผู้เขียนขออธิบายที่มาที่ไปของเทคนิคนี้ง่าย ๆ ว่าเทคนิค Pomodoro เป็นเทคนิคการบริหารเวลาที่คิดค้นขึ้นมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อ Francesco Cirillo ซึ่งตอนนั้นเขาที่กำลังหาทางที่จะทำให้ตัวเองเรียนและทำงานให้เสร็จภายใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัด จนไอเดียก็มาปิ๊งตอนที่ Cirillo ได้เจอนาฬิกาจับเวลารูปมะเขือเทศที่ห้องครัว ทำให้ไป ๆ มา ๆ ก็เกิดเทคนิค Pomodoroนี้ขึ้นมา (Pomodoro แปลว่า มะเขือเทศ ในภาษาอิตาลี)           โดยเทคนิคPomodoro เป็นเทคนิคการบริหารเวลาที่จะแบ่งช่วงเวลาทำงานหรืออ่านหนังสือออกเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 25 นาที โดยในแต่ละช่วงจะมีช่วงพัก 5 นาที ซึ่งCirillo เชื่อว่าการทำแบบนี้จะทำให้สมองสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ล้าจนเกินไป           How to อ่านหนังสือด้วยเทคนิค Pomodoro           1. ให้เขียน list หนังสือ แบบฝึกหัด หรืองานที่เราต้องทำ           2. ตั้งนาฬิกาจับเวลา 25 นาที และระหว่างนั้นให้ตั้งใจอ่านหนังสือหรือทำงานตามแผนจนกว่าจะครบ 25 นาที ถือว่าจบ 1 เซ็ต           3. พัก 5 นาที (จะเดินไปดื่มน้ำ กินขนม เล่นกับน้องหมาน้องแมว หรือยืดเส้นยืดสายก็ได้ตามใจชอบ แต่ไม่แนะนำให้เล่นโซเชียลหรือเล่นเกม เพราะอาจยาว555)           4. กลับไปอ่านหนังสืออีก 25 นาที ทำวนข้อ2 3 ให้ครบ 4 เซ็ต           5. เมื่อครบ 4 เซ็ตแล้ว…
Read More
4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, PAT7, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, เรียนภาษาญี่ปุ่น
4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้           สวัสดีค่ะ เชื่อว่าน้อง ๆ ที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้หลาย ๆ คนคงกำลังเรียนภาษาที่ 3 อยู่ใช่ไหมคะ และก็เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้สึกว่าพอเรียนไปสักพักแล้วก็รู้สึกว่าทำไมสกิลเรานิ่งจัง มันไม่ค่อยพัฒนาเลย ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหานี้เป็นปัญหายอดฮิตของผู้เรียนภาษาที่ 3 เลยก็ว่าได้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียน ซึ่งอยู่ในฐานะคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ 3 อยู่ ก็ขอแชร์เทคนิคง่าย ๆ ที่ เราใช้แล้วรู้สึกว่าเวิร์กมาให้น้องทุก ๆ คนลองปรับใช้ดู รับรองได้ว่าทำแล้วสกิลภาษาพุ่งขึ้นรัว ๆ แน่นอน เทคนิคที่ 1 : เปลี่ยนสื่อที่เสพทุกอย่างเป็นภาษานั้น ๆ           วิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้เขียนทำแล้วเวิร์กที่สุด โดยวิธีทำก็ตามชื่อเลยก็คือให้น้อง ๆ เปลี่ยนสื่อที่ตัวเองเสพอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เพลง ละคร หนัง เกม นิยาย Youtube หรือแม้แต่Twitter เป็นสื่อภาษาที่เราเรียนอยู่ น้อง ๆ หลายคนอาจรู้สึกเอียน รู้สึกว่าเรียนจากในชั่วโมงมาตั้งเยอะแล้ว นอกชั่วโมงเรียนยังต้องมาเจอภาษานี้อีกเหรอ แต่เราขอบอกเลยว่าถ้าทำแล้ว สกิลภาษาของน้อง ๆ จะก้าวกระโดดไม่ได้เยอะมาก ๆ ค่ะ ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่อง Input Hypothesis เอาไว้ในบทความ เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที (ขออนุญาตขายของ 5555) ว่าสิ่งที่สำคัญในการเรียนภาษาที่ 2 (หรือ 3 4 5 ฯลฯ) คือการรับข้อมูล หรือInput เข้ามา โดย Inputที่จะทำให้การเรียนรู้ภาษามีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะต้องมีความยากพอดี ระดับความยากไม่มากกว่าความรู้ของผู้เรียนมากจนเกินไป (i+1)แล้ว Inputนั้นยังต้องมีจำนวนมากด้วย           ดังนั้นการที่เราเปลี่ยนสื่อที่ตัวเองเสพอยู่ (ซึ่งการเสพหรือรับเข้ามาก็คือ Input) เป็นภาษาที่เราเรียนอยู่ ก็จะทำให้เรามีโอกาสที่ได้ Input กลับไปเป็นจำนวนมาก           นอกจากนี้การเรียนรู้ภาษาผ่านทางสื่ออื่น ๆ นอกหนังสือเรียนก็จะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการใช้ภาษานั้น ๆ แบบเป็นธรรมชาติแบบฉบับnative เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเรียนจากหนังสือเรียนก็อาจเป็นทางการหรือเจ้าของภาษาไม่ค่อยได้ใช้ https://www.tiktok.com/@imsparkzz/video/6922049372511390978?_d=secCgYIASAHKAESPgo89%2BwjJ5E7Idfy0L0WR%2FNHfy9vF%2F9baLhpig8%2FRqxx7DZW1ng9nx28WRUA5eHeQlPqv1LR5zKAwMY9qbw1GgA%3D&checksum=424d745ad9ab797f3a7a75e63f641450c04f0ee1e80826fb18c6b13c5d8616c6&language=en&mid=6922049369302633218&preview_pb=0&region=TH&sec_user_id=MS4wLjABAAAAK7vZnk5YLELH6erulTW6KLahqCy1_Q1eLZBRSlE-QV32FLd3jdQOA0_6IOo4RrsY&share_app_id=1180&share_item_id=6922049372511390978&share_link_id=394F99C0-C04E-437E-B63B-29D3D8E3991D&source=h5_t&timestamp=1632205311&tt_from=copy&u_code=df3ekb71ki7m4a&user_id=6884667380674855937&utm_campaign=client_share&utm_medium=ios&utm_source=copy&_r=1 https://www.tiktok.com/@michaela_sato/video/7004091252979322114?_d=secCgYIASAHKAESPgo86EOi64HvMrnDdgyDQ%2FpwkVBFFkPADyWpyfXYjclMAedz2iOWRLNuxGglJ4CbHfGs23VGYnCG1yGLIRdaGgA%3D&checksum=988fa60626bcbf203ab8111f97cf9e646c047689fe6d50f6a995ed407ca5009d&language=en&mid=7004091210025847554&preview_pb=0&region=TH&sec_user_id=MS4wLjABAAAAK7vZnk5YLELH6erulTW6KLahqCy1_Q1eLZBRSlE-QV32FLd3jdQOA0_6IOo4RrsY&share_app_id=1180&share_item_id=7004091252979322114&share_link_id=9ECEE1B7-49E5-4905-8A3F-8785F6FF4E44&source=h5_t&timestamp=1632205351&tt_from=copy&u_code=df3ekb71ki7m4a&user_id=6884667380674855937&utm_campaign=client_share&utm_medium=ios&utm_source=copy&_r=1           จากคลิปข้างบนก็จะเห็นว่าถึงเราจะเรียนคำว่า ありがとうございます (Arigatou gozaimasu) หรือคำขอบคุณในภาษาญี่ปุ่นจากในตำรา แต่ในชีวิตจริงก็อาจเป็นทางการมากเกินไป หรืออาจมีวิธีการพูดคำนี้ในหลาย ๆ แบบ ดังนั้นถ้าน้อง ๆ ได้เรียนรู้จากสื่อ ก็จะทำให้สามารถใช้ภาษานั้น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ใกล้เคียงเจ้าของภาษาไปอีกเสต็ป           อีกทั้งถ้าน้อง ๆ เสพสื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น น้อง ๆ…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More