ทำข้อสอบได้ชัวร์! กับสรุปชีวะ 9วิชาใน CLEARNOTE

ทำข้อสอบได้ชัวร์! กับสรุปชีวะ 9วิชาใน CLEARNOTE

9วิชาสามัญ, PAT2, ชีวะ
    สวัสดีค่าน้องๆทุกคน วันนี้บล็อคของเราก็ได้เอาสรุปในแอป Clearnote วิชาชีวะที่น่าสนใจมาให้น้องๆได้เอาไปใช้ทบทวนกันดูค่ะ พี่คิดว่าการอ่านสรุปของเพื่อนหลายๆคนก็ช่วยให้เราได้เก็บตกในจุดที่เราลืมหรือขาดหายไปได้ด้วยนะคะ พร้อมแล้วก็ไปดูกันค่าา💓💓 (more…)
Read More
PAT 2 ไม่ต้องกลัว! รวมโน้ตสรุป PAT 2 ใน Clearnote

PAT 2 ไม่ต้องกลัว! รวมโน้ตสรุป PAT 2 ใน Clearnote

GAT/PAT, PAT2, TCAS, แอป Clearnote
PAT 2 ไม่ต้องกลัว! รวมโน้ตสรุป PAT 2 ใน Clearnote   สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน กลับมาพบกับบล็อก Clearnote กันอีกแล้วเนอะ! วันนี้ Clearnote จะมาแนะนำโน้ตสรุป PAT 2 สุดปังในแอปฯ Clearnote ให้น้องๆ ไปอ่านเตรียมสอบกันเลย (เพราะอีกไม่ถึง 100 วันก็จะถึงวันสอบแล้ว กรี๊ด TT) 1.[Gat/Pat63] PAT2 รวมชีวะ โดย Aof   สรุปรวมชีวะสั้นๆ เน้นๆ สำหรับสอบ PAT 2 สรุปนี้รวมหลายเรื่องไว้ในสรุปเดียว ทำให้ทบทวนได้หลายหัวข้อเลย ทำให้ไม่พลาดหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งไป แถมบอกด้วยนะว่าหัวข้อนี้เคยออกในข้อสอบปีก่อนๆ กี่ข้อ เก็งข้อสอบง่ายขึ้นเยอะเลย! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [Gat/Pat63] PAT2 รวมชีวะ 2.[Pat2]ระบบต่อมไร้ท่อ โดย Sirada•.•   สรุปเรื่องต่อมไร้ท่อแบบสั้นๆ เข้าใจง่าย ไม่ต้องอ่านเยอะ เหมาะไว้ท่องตอนไม่มีเวลา ตอนเร่งๆ มากๆ เพราะสรุปได้กระชับจริงๆ (3 หน้าเท่านั้น!) ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [Pat2]ระบบต่อมไร้ท่อ 3.[studygram] พันธุศาสตร์ ม.4-6 โดย niwakung สายวิดน้ำ62   สรุปพันธุศาสตร์เนื้อหาแน่นมากกกก แถมมีรูปประกอบ แยกหัวข้อด้วยสีอีก ลายมือก็อ่านง่าย แนะนำให้อ่านอย่างยิ่ง ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [studygram] พันธุศาสตร์ ม.4-6 4.ออกแน่ PAT2 เคมี โดย เคมีครูนาส   โน้ตสรุปนี้ไม่เชิงว่าสรุปเนื้อหา แต่เป็นการเก็งหัวข้อออกสอบ บอกว่าข้อสอบ PAT 2 น่าจะออกเรื่องไหนบ้าง ทำให้น้องๆ รู้ว่าควรจะอ่านหนังสือยังไง มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ได้คะแนนดีๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: ออกแน่ PAT2 เคมี 5.[GAT/PAT] ฟิสิกส์ สรุปๆ โดย Raviola   โน้ตสรุปฟิสิกส์แบบเน้นสอบ PAT 2 โดยเฉพาะ โดยจะเน้นไปที่แนวทางการทำโจทย์ สมการที่ควรจำ แนวคิดสั้นๆ เหมาะสำหรับไว้อ่านทบทวนช่วงก่อนสอบมากๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GAT/PAT] ฟิสิกส์ สรุปๆ ในแอปฯ Clearnote ยังมีสรุปอีกเยอะให้อ่านนะ ถ้ายังอยากอ่านอีก น้องๆ สามารถค้นหาด้วย Keyword ที่ต้องการได้เลย เช่น PAT2 ก็จะมีสรุปขึ้นให้น้องๆ รอเข้าไปอ่านอีกเยอะเลย!
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More
Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป

Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, TCAS, Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
  Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป          สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนอาจเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ เพราะอ่านหนังสือเตรียมสอบไฟนอลกัน  แต่บางครั้งคงรู้สึกกันว่าถึงอ่านหนังสือหนัก เรียนหนักแล้ว แต่เนื้อหาก็ไม่เข้าหัว เบลอ ๆ ไปทำข้อสอบ ทำสอบ คะแนนก็ไม่ดี ไม่คุ้มกับเวลาที่อ่านหนังสือไป           วันนี้ผู้เขียนเลยจะมาแนะนำเทคนิคการบริหารเวลาแบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ล้าอีกต่อไป นั่นก็คือ Pomodoro Technique           Pomodoro Technique คืออะไร?           น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นชื่อกับPomodoro Technique ดังนั้นผู้เขียนขออธิบายที่มาที่ไปของเทคนิคนี้ง่าย ๆ ว่าเทคนิค Pomodoro เป็นเทคนิคการบริหารเวลาที่คิดค้นขึ้นมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อ Francesco Cirillo ซึ่งตอนนั้นเขาที่กำลังหาทางที่จะทำให้ตัวเองเรียนและทำงานให้เสร็จภายใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัด จนไอเดียก็มาปิ๊งตอนที่ Cirillo ได้เจอนาฬิกาจับเวลารูปมะเขือเทศที่ห้องครัว ทำให้ไป ๆ มา ๆ ก็เกิดเทคนิค Pomodoroนี้ขึ้นมา (Pomodoro แปลว่า มะเขือเทศ ในภาษาอิตาลี)           โดยเทคนิคPomodoro เป็นเทคนิคการบริหารเวลาที่จะแบ่งช่วงเวลาทำงานหรืออ่านหนังสือออกเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 25 นาที โดยในแต่ละช่วงจะมีช่วงพัก 5 นาที ซึ่งCirillo เชื่อว่าการทำแบบนี้จะทำให้สมองสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ล้าจนเกินไป           How to อ่านหนังสือด้วยเทคนิค Pomodoro           1. ให้เขียน list หนังสือ แบบฝึกหัด หรืองานที่เราต้องทำ           2. ตั้งนาฬิกาจับเวลา 25 นาที และระหว่างนั้นให้ตั้งใจอ่านหนังสือหรือทำงานตามแผนจนกว่าจะครบ 25 นาที ถือว่าจบ 1 เซ็ต           3. พัก 5 นาที (จะเดินไปดื่มน้ำ กินขนม เล่นกับน้องหมาน้องแมว หรือยืดเส้นยืดสายก็ได้ตามใจชอบ แต่ไม่แนะนำให้เล่นโซเชียลหรือเล่นเกม เพราะอาจยาว555)           4. กลับไปอ่านหนังสืออีก 25 นาที ทำวนข้อ2 3 ให้ครบ 4 เซ็ต           5. เมื่อครบ 4 เซ็ตแล้ว…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More