แนะนำช่อง Youtube สอนภาษาญี่ปุ่น🎌🎎

แนะนำช่อง Youtube สอนภาษาญี่ปุ่น🎌🎎

GAT/PAT, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, เคล็ดลับการเรียน, เรียนภาษาญี่ปุ่น
สวัสดีค่ะทุกคน~ กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ🥰 เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะมีอนิเมะในดวงใจ หรือไม่ก็ซีรีส์ญี่ปุ่นในดวงใจที่จุดประกายความอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นใช่ไหมคะ^^ หลาย ๆ คนอาจไม่รู้ว่าควรจะเริ่มเรียนจากตรงไหนดี วันนี้เราจึงจะมาแนะนำช่อง Youtube สอนภาษาญี่ปุ่น เรียนฟรี แถมสอนเข้าใจง่ายด้วยค่ะ มาดูกันว่าจะมีช่องอะไรบ้าง✨ (more…)
Read More
แนะนำสรุปสำหรับเด็กสายศิลป์ญี่ปุ่น🎎

แนะนำสรุปสำหรับเด็กสายศิลป์ญี่ปุ่น🎎

GAT/PAT, PAT7, PAT7, Uncategorized, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ, เคล็ดลับการเรียน, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
สวัสดีค่าทุกคน ช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมใช่ไหมคะ ? หลาย ๆ คนอาจมีเวลาว่าเพิ่มมากขึ้น วันนี้เราจึงเอาสรุปและข้อแนะนำในการเรียนต่าง ๆ สำหรับเด็กสายศิลป์ญี่ปุ่นมาฝากค่ะ หรือใครที่สนใจอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นก็สามารถอ่านได้เช่นกันนะคะ💖🍙 มาดูกันเลยว่าจะมีสรุปที่น่าสนใจเล่มไหนบ้าง~✨ (more…)
Read More
วิธีท่องศัพท์ ‘ฉบับสายขี้เกียจ’

วิธีท่องศัพท์ ‘ฉบับสายขี้เกียจ’

English, GAT ENG, GAT/PAT, PAT7, Uncategorized, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, เคล็ดลับการเรียน
  สวัสดีทุกๆคนค่ะ🥰 ทุกคนเคยประสบปัญหากับการท่องศัพท์กันบ้างมั้ยคะ?🤔 ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาจีน ทุกภาษาก็ล้วนมีคำศัพท์ให้ท่องเป็นร้อยเป็นพันคำ แค่คิดถึงกองคำศัพท์เห็นเรียงรายเต็มหน้ากระดาษก็รู้สึกอยากจะหลับแล้ว โดยเฉพาะการท่องศัพท์เพื่อไปสอบแล้วด้วยเนี่ย แค่คิดก็รู้สึกจิตใจก็ห่อเหี่ยว เบื่อจนอยากจะหนีไปนอนแล้วใช่มั้ยล่ะคะ5555 ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีท่องศัพท์สนุกๆกันค่ะ!!! (more…)
Read More
มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกัน ผ่านแอป CLEARNOTE !

มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกัน ผ่านแอป CLEARNOTE !

PAT7, PAT7, Uncategorized, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, เคล็ดลับการเรียน, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
สวัสดีค่ะทุก ๆ คน ^^ สำหรับหลาย ๆ คนอาจเป็นช่วงปิดเทอมกันแล้วใช่ไหมคะ ว่าง ๆ ช่วงนี้ มาเรียนภาษาที่สามเพิ่มกันเถอะ ได้ทั้งความรู้และได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยน้า~ วันนี้เราเอาสรุปภาษาญี่ปุ่นดี ๆ 5 เล่ม จากแอป CLEARNOTE มาฝากค่ะ สนใจอยากอ่านสรุปเล่มไหนแบบเต็ม ๆ สามารถคลิกที่ลิงก์ได้เลย^^ 1. ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น By คุณ X1 สรุปไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้นจากคุณ X1 โดยเรื่องหลัก ๆ จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประโยคร่วมเงื่อนไขค่ะ สรุปนี้อ่านง่าย สบายตา ลายมือน่ารัก อ่านแล้วเข้าใจอย่างแน่นอน อ่านสรุปแบบเต็ม ๆ คลิกที่นี่เลย! 2. คำช่วยญี่ปุ่น By คุณ ちふゆくん สรุปคำช่วยภาษาญี่ปุ่นแบบเข้าใจง่าย มีรูปภาพประกอบ สวยงาม อ่านง่ายมาก ๆ เลย ^^ อ่านสรุปแบบเต็ม ๆ คลิกที่นี่เลย! 3. คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น By คุณ Himeko🐰🍭 สรุปคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันเล่มนี้สีสันสวยงาม อ่านง่าย เขียนได้น่ารักมาก ๆ เลย อ่านแล้วจะต้องจำได้อย่างแน่นอน ! อ่านสรุปแบบเต็ม ๆ คลิกที่นี่เลย! 4. ตารางคานะและตัวเลข ❤️🤏🏼 By คุณ Tara สรุปนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวอักษรฮิรางานะและคาตาคานะ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนค่ะ สรุปเขียนเป็นระเบียบอ่านง่าย แล้วยังมีคำศัพท์เกี่ยวกับตัวเลขภาษาญี่ปุ่นมาไว้ให้ฝึกท่องด้วยนะ~ อ่านสรุปแบบเต็ม ๆ คลิกที่นี่เลย! 5. ภาษาญี่ปุ่น (โรมันจิ) By คุณ TEAR สรุปภาษาญี่ปุ่นแบบมีคำโรมันจิสะกดให้ด้วย! เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเรียนมากเลยค่ะ คำศัพท์สามารถนำมาฝึกใช้ในชีวิตประจำวันได้ และรูปแบบสรุปก็น่ารักมาก ๆ ด้วย^^ อ่านสรุปแบบเต็ม ๆ คลิกที่นี่เลย! เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับสรุปที่นำมาแบ่งปันให้ในวันนี้? ^^ ยังไงก็ลองไปอ่านสรุปแบบเต็ม ๆ จากลิงก์ในหน้านี้ได้เลยนะคะ สำหรับวันนี้ก็ขอลาไปก่อน またね!ไว้เจอกันใหม่ค่ะ~
Read More
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

9วิชาสามัญ, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT7, PAT7, บทความสัมภาษณ์, ภาษาอังกฤษ, เคล็ดลับการเรียน
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่ สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสัมภาษณ์พี่ทราย สาวจบใหม่ดีกรีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งน่าจะเป็นคณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ว่าแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ทรายมีเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนสอบอะไรบ้าง Q: แนะนำตัวกันหน่อย ทราย: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อทรายนะคะ ตอนนี้ก็เพิ่งเรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า “AD (แอด)” แต่ต้องบอกน้อง ๆ ก่อนว่าคณะของเรามีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรตั้งแต่ปี2561ทำให้ชื่อสาขานี้เปลี่ยนไปเป็น “สาขาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า หรือABC” นั่นเองค่า ละครนิเทศ จุฬาฯ เรื่อง THE VILLA SMARIS ละครที่เป็นแรงบันดาลใจของทราย ที่มา: https://teen.mthai.com/activities/104835.html Q: ทำไมอยากเข้าคณะนี้ ทราย: ที่จริงเราไม่ได้มีเป้าหมายชัดเจนขนาดนั้นว่าอยากทำงานแบบไหน แต่ตอนม.ปลายเราเอนจอยกับการทำงานที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ชอบถ่ายรูป งานที่ต้องตัดต่อถ่ายคลิปวิดิโอ เลยคิดว่าถ้าได้เรียนได้ทำนู่นทำนี่คงจะสนุกดี พอดีกับที่เราได้ไปดูละครนิเทศ จุฬาฯ ตอนม.5 ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้สนใจและอยากเรียนต่อที่คณะนี้ Q: เล่าเรื่องภาค AD ให้ฟังหน่อย ทราย: เราก็จะเรียนตั้งแต่พฤติกรรมผู้บริโภค การวางแผนสื่อ การวิจัยตลาด ทำแคมเปญ การเขียนบท งานศิลป์ ไปจนถึงงานกราฟฟิคโฆษณา เป็นสาขาที่ทำให้ได้เรียนรู้สกิลหลาย ๆ อย่าง อย่างเราเป็นคนที่ก่อนหน้านี้ใช้Photoshop AIไม่เป็นเลย แต่หลังจากที่ลองเรียนเทอมเดียว เราก็ใช้เป็นและมีประโยชน์กับเรามาจนถึงทุกวันนี้ Q: เริ่มเตรียมตัวสอบตอนไหน ทราย: คือนิเทศ จุฬาฯ ใช้คะแนน GPAX+GAT+PAT7 (หรือPAT1) ซึ่งตัวเราก็รู้ตัวว่าวิชาหลัก ๆ อย่างวิชาภาษาอังกฤษ แล้วก็ภาษาที่ 3 เป็นวิชาหลักของเราที่จะต้องใช้การยื่นสมัคร เราก็เลยเริ่มเรียนพิเศษตั้งแต่ม.4เลย แต่ว่าเพิ่งจะมาเริ่มทำโจทย์เตรียมตัวจริงจังตอนม.6 Q: มีเคล็ดลับยังไงบ้าง ทราย: เราไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษ เตรียมตัวตามปกติเลย อย่างมากก็เขียนศัพท์ลง post-it หลาย ๆ ใบแล้วไว้ที่ผนังข้างเตียง พอเราเห็นบ่อย ๆ ก็จำได้เอง แล้วก็ตอนทำโจทย์ก็จับเวลาจริง พยายามปิดโทรศัพท์ เอาไปไว้ไกล อยู่ในห้องคนเดียวไม่ให้ใครรบกวน เราเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะ ๆ แล้วก็ไม่ชอบจดโน้ตยาว ๆ เราก็เลยเน้นทำโจทย์ข้อสอบเก่าบ่อย ๆ อย่ากลัวที่จะตอบผิด เพราะยิ่งผิดบ่อย ๆ เรายิ่งจำ พวกแพทเทิร์นข้อสอบข้าวของไทยจะไม่ค่อยเปลี่ยนพอเราทำบ่อย ๆ เราก็จะจับทางได้เอง ถึงเวลาสอบจริงเราก็จะไม่ตื่นข้อสอบด้วยนอกจากนี้เวลาเราผิดเราก็จะเอาปากกาแดงวงไว้ตัวใหญ่ ๆ แล้วกลับมาเปิดทบทวนประเด็นนั้น พอตรวจเสร็จแล้วก็จดคะแนนแล้วเว้นไปแล้วกลับมาทำอีกครั้ง Q: ช่วงนั้นเครียดไหม มีวิธีจัดการกับความเครียดยังไง ทราย: ช่วงเตรียมสอบเราค่อนข้างเครียดน้อย เพราะมีเวลาเตรียมตัวมาเรื่อย ๆ…
Read More
มาเรียนภาษาจีนกับแอปฯ Clearnote กันเถอะ! -รวมโน้ตสรุปภาษาจีนในแอป Clearnote-

มาเรียนภาษาจีนกับแอปฯ Clearnote กันเถอะ! -รวมโน้ตสรุปภาษาจีนในแอป Clearnote-

GAT/PAT, PAT7, PAT7, TCAS, ภาษาที่3, แอป Clearnote
สวัสดีจ้า กลับมาพบกับบล็อก Clearnote กันอีกแล้ว! ตอนนี้ภาษาจีนเป็นภาษาที่ฮิตมาก มีประโยชน์มากๆ ด้วย ไม่ว่าจะเรียนไปไว้ไปเที่ยว เรียนไปทำงานในอนาคต หรือเรียนไว้ติ่งซีรี่ส์ นิยาย อนิเมะ วันนี้ Clearnoteเลย จะมาแนะนำโน้ตสรุปมาจีนในแอปฯ Clearnote กัน! 1.ภาษาจีนแบบเริ่มต้น🧺💘💝💖 โดย taselikedarknesses   สรุปนี้เหมาะกับคนที่ยังไม่มีพื้นภาษาจีนมาก เพราะเป็นสรุปภาษาจีนเบื้องต้นแบบเบื้องต้นกันตั้งแต่ตัวอักษรกันเลยทีเดียว มีบอกตั้งแต่ชื่อตัวขีดแบบต่างๆ ในภาษาจีน ตัวอักษร สระ และวิธีการออกเสียง วิธีเขียนไว้ให้หมดแล้ว ดีมากๆ สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเรียน ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: ภาษาจีนแบบเริ่มต้น🧺💘💝💖 2.พินอินจบครบในหน้าเดียว โดย TheJu   สรุปนี้มีเพียงหน้าเดียวเท่านั้น ไม่ต้องอ่านเยอะ สรุปนี้เหมาะสำหรับคนที่อยากได้โพยไว้ท่องจำตัวพินอินมากเลย เพราะสรุปทั้งตัวอักษรและเสียงอ่านไว้ในหน้าเดียวแล้ว เวลาท่องก็จะได้ไม่ท่องพลิกไปพลิกมา ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: พินอินจบครบในหน้าเดียว 3.ผลไม้ในภาษาจีน ep.1 และ ep.2 โดย Soyasameen   มากันใหญ่ แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม และอื่นๆ อีกมากมาย คำศัพท์สารพัดผลไม้ทั้งตัวจีนและพินอิน พร้อมรูปประกอบ จากนี้ใครไปเที่ยวจีนก็ชี้เอาได้เลย! 我要苹果! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: ผลไม้ในภาษาจีน ep.1 ผลไม้ในภาษาจีน ep.2 4.สรุปแกรมม่าจีน และ สรุปแกรมม่าจีน2 โดย yourdione   คราวนี้มาดูสรุปไวยากรณ์กันบ้าง สรุปแกรมม่าภาษาจีนพร้อมประโยคตัวอย่างและคำแปลภาษาไทย เข้าใจง่ายมาก แต่สรุปนี้อาจเหมาะกับคนที่เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วเพราะไม่มีพินอินให้ แต่สรุปได้ดีและน่ารักน่าอ่านมากๆ เลย ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: สรุปแกรมม่าจีน สรุปแกรมม่าจีน2 5.100 ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวัน โดย petchphring zhao🌷   ใครเน้นพูดสรุปนี้เหมาะมาก สรุป 100 ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวัน มีตัวจีน พินอิน และคำแปลให้เรียบร้อย จำไว้ไปคุยกับคนจีนได้เลย ทักทาย ขอบคุณ แนะนำตัว ขอบคุณ ขอโทษ กี่โมงแล้ว และอื่นๆ อีกมากมาย ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: 100 ประโยคภาษาจีนในชีวิตประจำวัน ใครที่ยังอยากอ่านสรุปภาษาจีนในแอปฯ อีก สามารถ search "ภาษาจีน" "คำศัพท์ ภาษจีน" "ไวยากรณ์ภาษาจีน" และคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เลย ยังมีสรุปภาษจีนอีกเยอะให้อ่านในแอปฯ!
Read More
รวมเด็ด! 6 โน้ตสรุปภาษาญี่ปุ่นในแอป Clearnote

รวมเด็ด! 6 โน้ตสรุปภาษาญี่ปุ่นในแอป Clearnote

GAT/PAT, PAT7, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, รีวิว, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน รู้รึเปล่าว่าแอป Clearnote ไม่ได้มีแต่สรุปวิชา คณิค วิทย์ เคมี ชีวะ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยนะ แต่ยังมีสรุปวิชาอื่นๆ และภาษาอื่นๆ อีกด้วย!   วันนี้บล็อก Clearnote ของเราจะขอมาแนะนำ "โน้ตสรุปภาษาญี่ปุ่น" สุดปัง น่าอ่าน แถมยังได้ความรู้ไปสอบกลางภาค สอบปลายภาค Pat 7.3 สอบวัดระดับกันแบบเต็มๆ ไปเลย 1.Click To Learn[เรียนออนไลน์]สำนวนทักทาย,แนะนำตัว โดย TOEY_🌚tone   โน้ตสรุปนี้เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มเรียน เพราะรวมสำนวนแนะนำตัว ทักทาย ขอโทษ แสดงความยินดี ตอบรับอย่างง่ายๆ ไว้ครบ แถมมีคำอ่านเป็นโรมาจิให้ด้วย เพราะฉะนั้นถึงจะอ่านตัวฮิรางานะไม่ออกก็ไม่เป็นไร แถมรูปประกอบยังน่ารักด้วย (น้งหมี!) ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: Click To Learn[เรียนออนไลน์]สำนวนทักทาย,แนะนำตัว 2.คำช่วยญี่ปุ่น は を が/ に へ で/と の から~まで โดย ちふゆくん   คำช่วยเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้ในการใช้ภาษาญี่ปุ่น แต่ก็ใช้ยากใช้เล่น ใครที่ยังสับสน งงๆ กับวิธีใช้คำช่วยก็ขอให้ลองไปอ่านสรุปนี้กันเลย เพราะสรุปได้เข้าใจง่าย สวยน่าอ่านมากๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: 1.คำช่วยญี่ปุ่น は を が/ 2.คำช่วยญี่ปุ่น に へ で/ 3.คำช่วยญี่ปุ่น と の から~まで 3.สรุปมินนะ เล่ม 1-2-3 โดย IG : bxstudy_   ใครใช้มินนะเรียนแล้วอยากได้สรุปไวยากรณ์คร่าวๆ ว่ามีอะไรบ้าง สั้นๆ อ่านทบทวนง่ายๆ คลิกเข้าไปอ่านโลด สรุปได้เข้าใจง่าย สะอาด สวยงามมากๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: 1.สรุปมินนะ เล่ม 1 /2.สรุปมินนะ เล่ม 2 /3.สรุปมินนะ เล่ม 3 4.แนวข้อสอบภาษาญี่ปุ่น7.3พร้อมเฉลยข้อสอบอย่างละเอียด(1) โดย Clicktolearn   อ่านเนื้อหาไปแล้ว มาลองทำข้อสอบกันบ้าง โน้ตสรุปนี้เป็นโน้ตสรุปเฉลยข้อสอบ Pat 7.3 เก่าจากติวเตอร์โดยตรงเลย ใครอยากดูแนวข้อาอบ แนวคำตอบก่อนฝึกทำโจทย์จริงด้วยจัวเอง ควรเข้ามาอ่านมากๆ เพราะจะทำให้จับแนวข้อสอบได้มากขึ้น! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: แนวข้อสอบภาษาญี่ปุ่น7.3พร้อมเฉลยข้อสอบอย่างละเอียด(1) 5.ตารางสกรรมกริยาอกรรมกริยาที่ออกข้อสอบPAT7.3 โดย Clicktolearn   เชื่อว่าใครเรียนภาษาญี่ปุ่นต้องมีตอนที่จำไม่ได้หรือสับสน สกรรมกริยา อกรรมกริยาตัวร้าย!โน้ตสรุปนี้ได้รวบรวมสกรรม อกรรมกริยาที่มักออกสอบในPat7.3มาให้ดูง่ายๆ แล้ว พร้อมคำแปลแบบครบๆ แถมตัวอย่างการใช้ อ่านแล้วฝึกใช้บ่อยๆ รับรองต้องจำได้มากขึ้นแน่ๆ…
Read More
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part2: แนะนำหนังสือ+เว็บ เตรียมสอบ N5-N4)

วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part2: แนะนำหนังสือ+เว็บ เตรียมสอบ N5-N4)

GAT/PAT, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ, เรียนภาษาญี่ปุ่น
  สวัสดีจ้า กลับมาพบกับวิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษรกันอีกแล้ว วันนี้ก็เข้าสู่ part 2 แล้ว part นี้ เราจะแนะนำหนังสือ เว็บที่เราใช้ตอนอ่านสอบ N5-N4 กัน! (N3 กับ Pat 7.3 ข้อแบ่งไป Part หน้า เพราะเนื้อหาเยอะมาก) สอบวัดระดับ N5   สอบวัดระดับ N5 ค่อนข้างเบสิค เนื้อหาที่ออกสอบมีแค่คำศัพท์พยางค์สองพยางค์ (แต่มีทั้งคาตาคานะและฮิรางานะ นะ)ไวยากรณ์ไม่ซับซ้อน คันจิวัน คันจิตัวเลข ใหม่ เก่า ตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน พาร์ทฟังก็มีแต่ทักทาย วลีแบบเบสิค ไม่ค่อยยาก แต่เราก็กลัวสอบไม่ผ่าน ก็เลยอ่านไปเผื่อๆ อ่าน มินนะ โนะ นิฮงโกะ เล่ม 1 กับ เล่ม 2 แล้วก็อะกิโกะ โตะ โทะโมะดะจิ เล่ม 1-3   คันจิก็ยึดจากในอะกิโกะเป็นส่วนใหญ่ เพราะมินนะไม่ได้มีสอนวิธีเขียนคันจิให้ คือไม่ใช่ว่ามินนะไม่มีคันจิเลย แต่มินนะโยนคำศัพท์ที่มีคันจิให้จำทั้งดุ้น โดยที่ไม่มีที่มาที่ไป ถ้าไม่ได้เรียนภาษาจีนมาก่อน เราว่ามันเข้าใจยากมากเลยนะ   เทียบกันแล้วอะกิโกะอาจจะมีคันจิให้น้อยว่า แต่ว่ามีลำดับขีด ตัวอย่างคำศัพท์ ความหมาย เสียงอ่านให้ ดูแล้วเข้าใจง่ายกว่ามาก ทางซ้ายคือหนังสืออะกิโกะ ทางขวาคือหนังสือมินนะ   แต่เวลาคัดคันจิรวมๆ ก่อนไปสอบ จะให้มานั่งเปิดหนังสือก็ขี้เกียจ เราเลยดู list คันจิ N5 จากใน เว็บนี้   เว็บนี้มี list Grammar คำศัพท์ วลีที่ใช้บ่อยๆ แยกตามระดับ N5-N2 ให้ด้วย Quiz ก็มีแต่อาจจะไม่เยอะเท่าไร เดี๋ยวนี้ Jeducation เขาทำรวมคันจิ N5 เวอร์ชั่นภาษาไทยแล้วด้วย ถ้าใครไม่ถนัดอิ้งก็ลองดูอันนี้ได้ คลิกดู (แต่เวอร์ชั่นนี้ไม่มีตัวอย่างคำศัพท์ให้)   ส่วนศัพท์ระดับ 5 ภาษาญี่ปุ่นสำหรับ JLPT เล่มนี้ไม่ได้แบบว่าต้องมีขนาดนั้น แต่ว่าเวลาไปโรงเรียน เดินทางไม่มีอะไรทำนอกจากเล่นโทรศัพท์ เราก็เลยลองซื้อหนังสือรวมคำศัพท์ N5 มาท่องดู เพราะเล่มเล็ก พกสะดวก เราว่าใช้ได้เลย มีตัวอย่างการใช้ คำที่เกี่ยวข้องให้ด้วย   ส่วนก่อนสอบอาจจะมีอารมณ์ไม่มั่นใจ อยากทวนเนื้อหาทั้งหมดแล้วก็ทำข้อสอบ เราอ่าน TRY! เตรียมสอบวัดระดับ JLPT N5 เพราะเขารวมเนื้อหาไว้ค่อนข้างครบ ทั้งไวยากรณ์ คำศัพท์ คำช่วย ตัวอย่างข้อสอบ มีข้อสอบฟัง มี CD แถมมาให้ด้วย ลิงก์ไปซื้อหนังสือ TRY! เตรียมสอบวัดระดับ…
Read More
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)

วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)

GAT/PAT, PAT7, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)   สวัสดีจ้า กลับมาพบกลับบล็อก Clearnote กันอีกแล้ว บล็อกของเราก็กลับมาที่ซีรีส์เด็กอักษรกันอีกแล้ว โดยวันนี้เราก็จะมาบอกวิธีการเรียนภาษาญี่ปุ่นของเด็กอักษร จุฬา เอกญี่ปุ่นกัน ว่ารับมือกับการสอบ N5 N4 N3 Pat7.3 ยังไง!   ที่เรารวม N5-N3 กับ Pat 7.3 ไว้ด้วยกันเพราะ Pat7.3 หรือ Pat ภาษาญี่ปุ่นครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ N5-N3(นิดหน่อย)นั่นเอง หนังสือที่อ่าน วิธีทบทวนก็เลยคล้ายๆ กันไปด้วย วิธีการอ่านไวยากรณ์ให้เข้าใจ   วิธีการอ่านของเราคือจะไม่อ่านหนังสือเล่มเดียว แต่จะอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ที่มีหัวข้อเดียวกัน แล้วก็เทียบเนื้อหาของหนังสือหลายๆ เล่มที่อ่านไปว่ามีจุดเหมือน จุดต่างกันยังไง เสร็จแล้วก็สรุปเป็นภาษาของตัวเอง ให้ตัวเองเข้าใจ เวลาที่กลับมาทบทวนตอนหลังก็จะไม่ต้องกลับไปเปิดหนังสือหลายๆ เล่มให้ปวดหัว ทำเหมือนเป็นคัมภีร์ของตัวเองไปเลย   ในรูปจะเป็นพวกคำศัพท์ ความรู้รอบตัว Idiom เพราะหาโน้ตสรุปไวยากรณ์ไม่เจอแล้ว หลายปีจัด 555 แต่จดประมาณนี้ วาดรูปได้วาดเลย เอายังไงก็ได้ให้ตัวเองเข้าใจง่ายที่สุด   อย่างตอนแรกๆ ที่เราเรียนภาษาญี่ปุ่นสมัย ม.ปลาย ตอนแรกๆ คือเรียนไม่เข้าใจเลย พวกไวยากรณ์งี้ เพราะมันก็ต่างจากภาษาไทยเยอะอยู่ ผ่านมาเทอมหนึ่งก็เริ่มตามเพื่อนไม่ทัน อาจารย์สอนอะไรเนี่ย ตอนปิดเทอมเลยอ่านทวนที่เคยเรียนมา (โรงเรียนเราใช้ Akiko to tomodachi เรียน) ทั้งเล่ม แล้วก็ไปซื้อหนังสือ Minna no nihongo มาอ่านด้วย พอเปิดเทอมไปเรียนก็เข้าใจมากขึ้นเยอะ พอเข้าใจก็เรียนสนุกมากขึ้น ชอบภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นกว่าเดิมอีก คำศัพท์กับคันจิ ทำยังไงให้จำได้   คำตอบคือ ต้องใช้ ต้องผ่านตา เท่านั้นเลยถึงจะจำได้ ถ้าเราไม่ใช่อัจฉริยะ ถ้าไม่ได้ใช้สักสองอาทิตย์ รับรองเลยว่าต้องมีลืมบ้างจริงๆ (จนตอนนี้ได้ N1 แล้วยังลืมคันจิอยู่เลย 5555)   แต่สำหรับน้องๆ มัธยม ไม่ได้มีเพื่อนญี่ปุ่น ไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง จะทำยังไงให้จำได้ดีล่ะ?   สมัยเราเมื่อสัก 5-6 ก่อน(อดีต dek60 นี่กี่ปีแล้วเนี่ย 555) ก็คือคัดเลยจ้า คัดไปเลยเยอะๆ คัดวนไปให้มันได้ผ่านตา วิธีคัดของเราก็คือ เอากระดาษ A4 หันด้านข้าง มาพับเป็นครึ่งไปสัก 2 รอบ แบ่งกระดาษ 4 ส่วน ทำให้เราคัดได้เยอะๆ โดยไม่เปลืองกระดาษมาก   สำหรับเราเราว่ามันเป็นวิธีที่ดีนะ เพราะตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นมันเป็นตัวฮิรางานะกับคันจิ ที่มันมีลำดับขีด มีวิธีการเขียนที่ค่อนข้างตายตัว การคัดเลยไม่ใช่แค่ทำให้เราจำศัพท์ได้ แต่ยังทำให้เราลายมือสวยขึ้นมากๆๆๆ (อย่าลืมเขียนตามลำดับขีดนะ!)   ตอนแรกๆ ที่เรียน เราเขียนตัวคันจิไม่สวยด้วย…
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More