ตั้งเป้าหมายช่วยให้ทำสำเร็จมากขึ้นจริงเหรอ?!

ตั้งเป้าหมายช่วยให้ทำสำเร็จมากขึ้นจริงเหรอ?!

Uncategorized, กิจกรรม, ปิดเทอม, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สุขภาพและความงาม, อาชีพ
  สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน แล้วก็ Merry Christmas And Happy New Year ด้วย ขอให้ปี 2022 เป็นปีที่ดีของน้องๆ ทุกคนจ้า    ใกล้จะปีใหม่แล้ว น้องๆ หลายคนคงจะเริ่มคิด Goal หรือ New Year's Resolution กันบ้างแล้ว ว่าปีหน้าจะตั้งใจทำเรื่องอะไรให้ดีขึ้น ทำเรื่องอะไรให้สำเร็จ แต่บางที (หรือหลายที) เราก็ไม่สามารถทำเป้าหมายเหล่านั้นให้สำเร็จได้เลย หรือสำเร็จแค่ส่วนน้อย ทำให้บางคนอาจสงสัยว่า การตั้ง Goal หรือ Resolution ช่วยให้เราทำเรื่องต่างๆ สำเร็จมากขึ้นจริงรึเปล่า? และด้วยเหตุผลอะไร? วันนี้ Clearnote จะมาไขข้อสงสัยให้น้องๆ กัน!   การตั้งเป้าหมายช่วยให้ทำสำเร็จมากขึ้นจริงรึเปล่า? ภาพโดย Mediamodifier จาก Pixabay   คำตอบก็คือ จริงจ้า การตั้งเป้าหมายช่วยเราทำเรื่องต่างๆ สำเร็จได้มากขึ้นจริง   จากผลการวิจัยพบว่าการตั้งเป้าหมายมีผลต่อการทำงานของสมอง เมื่อเราตั้งเป้าหมายบางอย่าง สมองส่วนที่รับผิดชอบด้านอารมณ์จะประเมินว่าเป้าหมายนี้มีความสำคัญต่อตัวเราขนาดไหน ต่อมาสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความคิด การแก้ปัญหา ก็จะประมวลว่าเป้าหมายนั้นทำให้เกิดผลอย่างไร สมองทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกัน ทำให้เราทำตามเป้าหมายนั้นๆ จนสำเร็จได้ในที่สุด ตั้งเป้าหมายยังไงถึงจะมีแนวโน้มสำเร็จมากขึ้น ภาพโดย gabrielle_cc จาก Pixabay   แต่มันก็มีเงื่อนไขอยู่ เพราะไม่ใช่ว่าเป้าหมายทุกเป้าหมายที่เราตั้งจะส่งผลต่อสมองเหมือนกัน เพราะผลการวิจัยพบว่า เป้าหมายที่เราอยากทำให้สำเร็จจริงๆ เป้าหมายที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเราเป็นอย่างมากจะมีแนวโน้มจะสำเร็จมากกว่า (อะไรที่ออกมาจากความตั้งใจแน่วแน่ของเราเองก็มีโอกาสสำเร็จมากกว่าอยู่แล้วเนอะ ^^)   นอกจากนี้เป้าหมายที่ทำสำเร็จได้ยากก็จะส่งผลต่อการทำงานของสมองมากกว่าเป้าหมายที่สำเร็จได้ง่าย เป้าหมายที่ยากเลยอาจมีแนวโน้มที่จะสำเร็จได้มากกว่าเป้าหมายที่ง่ายเกินไป เช่น อยากสอบผ่านวิชาคณิต กับ อยากได้คะแนนดีๆ ในวิชาคณิต เป้าหมายหลังก็จะส่งผลต่อสมองมากกว่าเป้าหมายแรก   ถ้าแค่นี้ยังรู้สึกว่ายังไม่พอ อยากในทุกคนลองเขียนเป้าหมายของตัวเองออกมาเป็นตัวอักษรดู เพราะผลการวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า คนที่เขียนเป้าหมายของตัวเองออกมาเป็นตัวอักษร มีเปอร์เซ็นต์ที่จะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากกว่า คนที่คิดภาพไว้ในหัวเฉยๆ ถึง 33% ด้วยกัน   สรุปก็คือ การตั้งเป้าช่วยให้เราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากขึ้นจริง เพราะการตั้งเป้าหมายส่งผลต่อการทำงานของสมอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกเป้าหมายจะส่งผลต่อสมองเท่ากันหมด เป้าหมายที่เราตั้งใจแน่วแน่จากใจว่าอยากทำได้มีส่งผลต่อสมองมากกว่า จึงมีเปอร์เซ็นต์ที่จะสำเร็จเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การตั้งเป้าหมายให้ยากหน่อยและการเขียนเป้าหมายออกมาให้เป็นลายลักษณ์อักษรก็เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จให้มากขึ้นเช่นกัน   ได้รู้แบบนี้แล้วน้องๆ คงได้รู้แล้วว่าควรจะตั้งเป้าหมายในปีใหม่นี้อย่างไร ต้องทำแบบไหน เป้าหมายที่ตั้งจึงจะมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ปีหน้าก็ขอให้น้องๆ พยายามต่อไป Clearnote เชื่อว่าต้องมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นบ้างแน่ๆ 😊✨    References James, G. (2019). 5 What Goal-Setting Does to Your Brain and Why It's Spectacularly Effective. Retrieved from https://www.inc.com/geoffrey-james/what-goal-setting-does-to-your-brain-why-its-spectacularly-effective.html Mitchell, P.M. (2018). Goal-Setting…
Read More
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, รีวิวคณะในฝัน, อาชีพ
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร             สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนก็คงจะยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้านกันกับครอบครัวใช่ไหมคะ แล้วบทสนทนาส่วนใหญ่ที่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่จะคุยก็หนีไม่พ้นไปจากถามว่า “โตขึ้นอยากทำอะไร” “จบม.ปลายไปจะไปเรียนอะไร” “จบมหาลัยแล้วจะทำงานอะไร” ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คน (รวมถึงผู้เขียน) พอโดนถามก็ตอบไม่ถูก เพราะก็ยังไม่รู้ว่าอยากทำอะไรจริง ๆ หรือยังค้นหาตัวเองไม่เจอ และคำตอบนี้ของเราก็ไม่ใช่แค่ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ คิดว่าเราเป็นคนไม่มีเป้าหมายเท่านั้น แต่ตัวเราเองก็เกิดความไม่มั่นใจกับอนาคตตัวเองด้วย             จริง ๆ แล้วผู้เขียที่ตอนนี้ก็ยังเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่ Clearnote และเป็นหนึ่งในคนที่โดนถามด้วยคำถามเหล่านี้ ก็ยังไม่มีแผนการที่แน่ชัดกับอนาคตตัวเอง แต่ในฐานะที่เคยตัดสินใจเส้นทางชีวิตสำคัญ ๆ ของตัวเองมา 2 ครั้ง คือ 1.ตอนที่เลือกสายการเรียนและโรงเรียนม.ปลาย กับ 2. ตอนที่เลือกคณะ มหาวิทยาลัย ป.ตรี เรามีวิธียังไงที่จะช่วยค้นหาตัวตนได้ ไปดูกันเลย !             1. สังเกตตัวเองว่าชอบอะไร             เรียกได้ว่าเป็นวิธีเบสิคที่สุดเลยทีเดียว โดยเราอาจสังเกตดูก็ได้ว่าเราชอบเรียนวิชาอะไร (หรือถ้าไม่รู้ตัวเอง เราอาจดูก็ได้ว่าวิชาไหนที่เรารอ อยากจะเรียนคาบต่อไป) หรือถ้าไม่มีวิชาที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจจะหาวิชาที่ทำได้ดี ได้รับคำชมเยอะ หรือก็คือวิชาที่ถนัดนั่นเอง วิธีนี้แน่นอนว่าใช้ได้ไม่ใช่แค่กับวิชาเท่านั้น ยังใช้ได้กับกิจกรรมต่าง ๆ ก็ได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม เล่นดนตรี ทำขนม ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ             เมื่อเรารู้ตัวเองแล้วว่าชอบอะไรก็ลองตั้งคำถามกับตัวเองก็ได้ว่า เราจะสามารถเอาสิ่งนี้มาเป็นงานได้ไหม หรือสิ่งนี้ ทักษะนี้สามารถเอาไปพัฒนา ต่อยอดเป็นอาชีพอะไรได้บ้าง             2. สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร             จากข้อที่แล้วที่ให้สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร แล้วก็มาดูข้อตรงข้ามกันบ้างก็คือสังเกตว่าตัวเองไม่ชอบ ไม่ถนัด หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง อย่างผู้เขียนเป็นคนที่เรียนเลขได้ แต่เรียนวิทย์ หรืออะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ได้เลย ดังนั้นผู้เขียนเลยเลือกเรียนสายศิลป์ซึ่งเป็นทางที่ผู้เขียนมั่นใจและถนัด นอกจากนี้อาจสังเกตว่าเรากลัวอะไรก็ได้ เช่น ถ้าเป็นคนกลัวเลือดก็อาจจะต้องทำใจว่าถ้าเรียนหมอก็ต้องเจอเลือดอีกเยอะ ถ้าใครใจฮึดสู้ก็ไปเลย แต่ใครไม่ไหวก็อาจต้องลองคำนึงถึง choice อาชีพอื่น ๆ             แต่แน่นอนว่าถ้าน้องคนไหนรู้ว่าตัวเองไม่ถนัด แต่ก็ยังชอบ อยากลองท้าทาย ก็แนะนำว่าลุยเลยยย ถึงเราจะไม่ได้ตอนนี้ แต่ความเก่งสร้างกันได้ ดังนั้นถ้าน้องมีความอดทน มีความพยายาม อะไรก็ไม่ยากเกินเอื้อม!             3. ถามตัวเองว่าให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต             อยู่ ๆ ก็มาถึงเรื่องที่ดูจริงจังขึ้นมา แต่ในชีวิตจริงเราอาจลองถามตัวเองดูว่าในอีก10 20 ปีข้างหน้า เราอยากให้ตัวเองเป็นแบบไหน อยากเป็นคนที่มีเงิน อยากเป็นคนที่มีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองรัก อยากเป็นคนมีเวลา ไม่ต้องมีชีวิตรีบเร่ง อยากเป็นคนมีชื่อเสียง อยากเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน  แต่เมื่อเรารู้ได้แล้วว่าในอนาคตเราต้องการอะไร เราให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุดในชีวิตการทำงาน และเมื่อเรารู้แล้วกรอบของอาชีพที่ตรงกับเงื่อนไขที่เราคิดก็จะแคบลง…
Read More
เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!

เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!

Uncategorized, รีวิว, อาชีพ
เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!   สวัสดีจ้า น้องๆ ผู้อ่านที่น่ารักทุกคน เรื่องเส้นทางอนาคตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก น้องๆ บางคนอาจหาตัวเองจนเจอและตัดสินใจเลือกอนาคตของตัวเองไว้แล้ว แต่ก็ยังมีน้องๆ บางคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังกังวลและลังเล เพราะไม่รู้ว่าแต่ละอาชีพเขาทำอะไรกันแน่ เลือกไปแล้วเราจะชอบไหม จะทำได้ไหม ไม่แน่ใจตัวเอง   แต่!   ก็ขอให้น้องๆ ไม่ต้องหนักใจไป เพราะวันนี้ CLEARNOTE มีตัวช่วยมาให้น้องๆ ค้นหาตัวเองอย่างไม่น่าเบื่อ เพราะบล็อกของเราวันนี้จะมาแนะนำ 5 อนิเมะที่นำเสนอเกี่ยวกับ 5 อาชีพต่างๆ ที่น่าสนใจกัน พี่เชื่อว่าต้องช่วยน้องๆ ผู้อ่านตัดสินใจได้บ้างแน่ๆ   ว่าแล้วเราก็ไปดูกันเลย! 1.คุณครู: GTO คุณครูพันธุ์หายาก ขอบคุณรูปภาพจาก:https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Great_Teacher_Onizuka_episodes   GTO คุณครูพันธุ์หายาก (great teacher Onizuka) เป็นเรื่องของ โอนิซึกะ เอคิจิ หนุ่มนักเลงที่มีความฝันว่าอยากจะเป็นครู จึงได้มาฝึกสอนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โอนิซึกะ ต้องเจอกับปัญหาและเรื่องราวมากมายของนักเรียนในโรงเรียนที่ผู้ใหญ่ส่วนมากเบือนหน้าหนี   อนิเมะเรื่องนี้จะทำให้น้องๆ เห็นว่าเป็นคุณครูแล้วต้องเจออะไร แล้วนอกจากสอนหนังสือแล้วคุณครูต้องทำอะไรบ้าง ปัญหาต่างๆ ที่คุณครูต้องเจอเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ความคิดไม่ตรงกันกับคุณครูคนอื่น นักเรียนที่มีปัญหา (แม้ว่าพฤติกรรมบางอย่างของโอนิซึกะจะไม่ควรลอกเลียนแบบก็ตาม) 2.ข้าราชการ: Servant x Sevice ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/   อาชีพข้าราชการดูเหมือนเป็นอาชีพที่ธรรมดาๆ พบเห็นได้ทั่วไป แต่น้องๆ หลายคนอาจยังคิดไม่ออกว่าจริงๆ แล้วข้าราชการเขาทำอะไร ทำงานกันแบบไหนกันแน่ อนิเมะเรื่อง Servant x Service จะพาน้องๆ ไปรู้จักกับอาชีพนี้เอง!    Servant x Service เป็นเรื่องของ ยามากามิ ลูซี่ ที่เพิ่งเรียนจบและได้เข้าทำงานในสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในฮอกไกโด พร้อมๆ กับตัวละครเอกอีกสองคนคือ มิโยชิ ซายะ และ ฮาเซเบะ ยูทากะ เรื่องป่วนๆ ในสำนักงานเขตจึงได้เริ่มต้นขึ้น! ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/    อนิเมะเรื่องนี้จึงจะเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ที่ลูซี่ ตัวเอกของเรื่องนี้เริ่มเข้าทำงาน น้องๆ จึงจะได้เห็นว่าเข้าทำงานแล้วเป็นอย่างไร ในสำนักงานเขตแบ่งเป็นแผนกอะไรบ้าง แล้วปกติข้าราชการทำงานกันยังไงบ้าง มีคนแบบไหนมารับบริการที่สำนักงานเขตด้วยเรื่องอะไรบ้างด้วย (แน่นอนว่าวิธีการทำงานของข้าราชการไทยกับญี่ปุ่นอาจแตกต่างกันบ้าง) ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/ 3.นักเขียนการ์ตูน: Bakuman ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.nhk.or.jp/anime/bakuman/index.html   เรื่องของเด็กมัธยมปลายสองคน ทาคากิ อาคิโตะ และ มาชิโร่ โมริทากะ ที่มีความฝันจะเป็นนักเขียนการ์ตูนอาชีพ พวกเขาจึงร่วมมือกันเขียนเขียนการ์ตูนขึ้น!   Bakuman จะเริ่มเล่าตั้งแต่ตอนที่ตัวละครเอกทั้งสองคนอยู่มัธยมปลาย และจุดเริ่มต้นที่ตั้งสองคนเริ่มมาเขียนการ์ตูน อาชีพนักเขียนการ์ตูนเป็นยังไง จะเขียนการ์ตูนต้องเริ่มต้นยังไง ใช้อุปกรณ์อะไรวาดการ์ตูน เนมคืออะไร ต้องทำอย่างไรการ์ตูนจึงได้ตีพิมพ์และกลายเป็นนักเขียนชื่อดัง อะไรคือตัวตัดสิน ปัญหาต่างๆ ที่นักเขียนการ์ตูนต้องเจอ  ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.nhk.or.jp/anime/bakuman/3rd/story/08.html   ถึงแม้ว่าในประเทศไทย…
Read More