แนะนำคณะประมง คณะนี้เรียนอะไรบ้าง?

  สวัสดีน้องๆ ทุกคน หากพูดถึงคณะประมงแล้ว หลายคนคงสงสัยว่าคณะนี้เรียนอะไร? เรียนจบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?  บทความนี้พี่ Tutor VIP จะมาแนะนำคณะประมงให้น้อง ๆ ได้รู้จักคณะนี้ให้ดียิ่งขึ้นกัน

เลือกอ่านเนื้อหาที่ต้องการ

คณะประมง เรียนอะไรบ้าง?

  คณะประมง จะเรียนทั้งหมด 4 ปี มีเนื้อหาการเรียน ตั้งแต่ปี 1-4 ดังนี้

  • ปี 1 จะเรียนวิชาพื้นฐานทั่วไปของคณะ เช่น การประมงพื้นฐาน, สัตววิทยาทั่วไป, เคมีอินทรีย์ เป็นต้น 
  • ปี 2 จะเรียนเนื้อหาในสาขาวิชามากขึ้น เช่น หลักนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม, หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, หลักการดูแลหลังการจับและเทคโนโลยีทางผลิตภัณฑ์ประมง, โภชนศาสตร์ผลิตภัณฑ์ประมง เป็นต้น
  • ปี 3 จะเรียนเนื้อหาที่ลงลึกในสาขาวิชามากขึ้น เช่น หลักการแปรรูปสัตว์น้ำ, การเพาะและอนุบาลสัตว์ทะเล, สมุทรศาสตร์กายภาพ เป็นต้น
  • ปี 4 จะเน้นเรียนเนื้อหาเชิงปฏิบัติ วิชาที่เรียน เช่น นิเวศวิทยาทางทะเล, การออกแบบและการจัดการโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ, การจัดการแหล่งน้ำและทรัพยากรประมงน้ำจืด เป็นต้น

มีสาขาอะไรบ้าง?

  คณะประมง แบ่งเป็นสาขาต่าง ๆ ได้ ดังนี้

  1. สาขาวิชาการจัดการประมง เรียนเกี่ยวกับ หลักเศรษฐศาสตร์ประมง, กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการประมง, การจัดการธุรกิจประมง, การส่งเสริมการประมง เป็นต้น
  2. สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง เรียนเกี่ยวกับหลักการดูแลหลังการจับและเทคโนโลยีทางผลิตภัณฑ์ประมง, หลักการแปรรูปสัตว์น้ำ, การออกแบบและการจัดการโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ เป็นต้น
  3. สาขาวิชาชีววิทยาประมง เรียนเกี่ยวกับ จุลชีววิทยาทั่วไป, แพลงก์ตอนวิทยา, สรีรวิทยาของสัตว์น้ำ เป็นต้น
  4. สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เรียนเกี่ยวกับ หลักนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมทางน้ำ, พรรณสัตว์น้ำ, การเพาะและอนุบาลสัตว์น้ำจืด, โรคและปรสิตของสัตว์น้ำ เป็นต้น
  5. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล เรียนเกี่ยวกับ สมุทรศาสตร์ทั่วไป, วิชาการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทางทะเลเบื้องต้น, ธรณีวิทยาทางทะเล เป็นต้น

  ทั้งนี้สาขาวิชาที่มีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย หากน้อง ๆ ต้องการทราบข้อมูลของสถาบันที่ต้องการ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บของสถาบันนั้น ๆ ได้เลย

จบไปทำงานอะไร?

  อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษาคณะประมง อาทิ

  • ทำงานในธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับการประมง
    • นักวิชาการฟาร์ม
    • ผู้จัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
    • เจ้าหน้าที่วางแผนและควบคุมการผลิตสัตว์น้ำ
    • เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพฟาร์ม
    • เจ้าหน้าที่ส่งเสริมธุรกิจการประมงและการเกษตร
  • พนักงานในส่วนราชการและภาครัฐอื่น ๆ
    • นักวิชาการประมง
    • นักวิจัย
    • นักวิชาการประจำห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์
  • นักธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปลาสวยงาม และพรรณไม้น้ำ
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระและธุรกิจส่วนตัวด้านการประมง

เป็นต้น

ใช้คะแนนอะไรบ้าง?

  สำหรับ Dek66 ในรอบที่ 3 Admission เกณฑ์คะแนนที่ต้องใช้ในการยื่นเข้าคณะประมง มีดังนี้

  • TGAT (ความถนัดทั่วไป)
  • A-Level คณิตศาสตร์ 1 (ประยุกต์), วิทยาศาสตร์ประยุกต์


  เกณฑ์อาจแตกต่างกันไปตามคณะ สาขา ของแต่ละสถาบัน น้อง ๆ สามารถดูเกณฑ์ของสาขา และสถาบันที่ต้องการก่อนสมัครสอบเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ค้นหาเกณฑ์ของคณะ และมหาวิทยาลัยที่ต้องการได้เลย!

ที่ไหนเปิดสอนบ้าง?

  ปัจจุบันมีสถาบันที่เปิดสอนคณะและสาขาด้านการประมง เช่น

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    • คณะประมง สาขาวิชาประมง
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    • คณะเกษตรศาสตร์ – ประมง
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต เพชรบุรี
    • คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร – ประมง
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี
    • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี – ประมง
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขต เชียงใหม่
    • คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ – ประมง
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    • คณะเทคโนโลยีการเกษตร – ประมง

เป็นต้น


  ดูรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะประมง เพิ่มเติมได้ที่ คลิก (พิมพ์คำว่า “ประมง” ในช่องค้นหาได้เลย)

  หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้อง ๆ และทำให้รู้จักคณะประมงได้มากขึ้นนะ 

  ใครกำลังค้นหาตัวเองอยู่ก็ขอส่งกำลังใจให้นะครับ ส่วนใครกำลังหาที่ติวเตรียมสอบก็มาปรึกษาพี่ Tutor VIP กันได้เลย ยินดีให้คำปรึกษาเสมอ:)

บทความต่อไป Tutor VIP จะมาแนะนำคณะอะไรอีกนั้น ฝากติดตามกันด้วยนะ

ด้วยความร่วมมือของ TUTOR-VIP X Clearnote Thailand

สนใจเรียนพิเศษตัวต่อตัว ติวสอบเข้าคณะประมง ติดต่อได้ที่👇

Line logo LINE ID: @tutorvip หรือคลิ๊ก https://lin.ee/UQ3gQwP 

ดูอัตราค่าเรียนพิเศษได้ที่ : https://tutor-vip.com/course/learning-price/

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *