เรียนภาษาตอนเด็กดีกว่าตอนโตจริงหรือ ?

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมเด็กเล็ก ๆ ถึงมีพัฒนาการทางภาษาได้ไวโดยที่ไม่ต้องเข้าคอร์สเรียนภาษาแน่น ๆ เท่าผู้ใหญ่ วันนี้เราจะมาให้คำตอบกันว่า ทำไมการเรียนภาษาที่สองไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาใดก็ตาม ตั้งแต่ยังเด็ก ถึงมีประโยชน์ต่อวิวัฒนาการทางภาษาและช่วยส่งเสริมพัฒนาการของน้องๆ ให้เก่งมากขึ้น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

สมองมนุษย์ในวัยเด็กเรียนรู้ภาษาได้เก่งกว่าตอนโต

ถ้าพูดกันในแง่ของวิทยาศาสตร์จริงๆ แล้ว ผลการศึกษาปรากฏว่า พัฒนาการด้านภาษาของเด็กจะมีมากที่สุดตั้งแต่ช่วงแรกเกิดไปจนถึงอายุประมาณ 6 ขวบ จากนั้นพัฒนาการด้านนี้จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเติบโตขึ้น ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนภาษาอื่นๆ เพราะต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ สมองของเด็กจึงเปรียบได้กับฟองน้ำ ที่พร้อมจะดูดซับสิ่งต่างๆ รอบตัวไว้ให้มากที่สุดนั่นเอง

เรียนรู้ได้ง่ายดาย

โดยธรรมชาติแล้วเราทุกคนต่างเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการเรียนรู้ภาษา  ในวัยทารกเราสามารถได้ยินเสียงพยัญชนะทั้ง 600 เสียง และเสียงสระ 200 เสียงของภาษาต่าง ๆ ในโลก แม้แต่เด็กแรกเกิดยังร้องไห้โดยเน้นเสียงตามสำเนียงภาษาแม่ที่พวกเขาได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยในช่วง 1 ปีแรก สมองของเราจะเริ่มมีความเจาะจงขึ้น และจะให้ความสนใจกับเสียงที่เราได้ยินบ่อยที่สุด

เด็กในวัยหัดเดินจะเริ่มพูดอ้อแอ้ในภาษาแม่ของพวกเขา แม้แต่เด็กแรกเกิดยังร้องไห้โดยเน้นเสียงตามสำเนียงภาษาแม่ที่พวกเขาได้ยินมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

ความเจาะจงดังกล่าว ยังหมายถึงการละทิ้งทักษะที่เราไม่จำเป็นต้องมี เช่น ทารกญี่ปุ่นสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียง L กับเสียง R ในภาษาอังกฤษได้โดยง่าย แต่นี่กลับเป็นเรื่องยากกว่าสำหรับผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่น

ศาสตราจารย์ โซเลซ กล่าวว่า ช่วงขวบปีแรก ๆ มีความสำคัญในการเรียนรู้ภาษาแม่

งานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาเด็กที่ถูกทอดทิ้ง หรือถูกปล่อยทิ้งไว้ตามลำพัง พบหลักฐานบ่งชี้ว่า หากเราไม่ได้เรียนภาษามนุษย์ตั้งแต่เล็ก ๆ ก็จะเรียนรู้ในภายหลังได้ยากขึ้น

เสริมสร้างความมั่นในการพูดได้ดีมาก

สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเด็กกับวัยผู้ใหญ่คือ ผู้ใหญ่ในบางครั้งไม่สามารถพูดออกมาได้ตรงๆ หรือมีสิ่งที่ต้องคิดคำนึงถึงเต็มไปหมดว่า จะพูดผิดแกรมมาร์หรือไม่ จะเสียหน้าหรือไม่ถ้าพูดผิด แต่ในวัยเด็ก น้องๆ มักจะพูดออกมาตามความรู้สึกของตัวเอง แล้วถ้าน้องๆ กล้าพูดผ่านทางการเล่นกิจกรรม หรือสิ่งที่ทำให้เขาสนุกสนาน เขาจะยิ่งกล้าพูดมากกว่าเดิม และเป็นการสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาให้แบบเต็มที่อีกด้วย

สายเกินไปไหมถ้าจะเรียนภาษาตอนโต ?

คณะนักวิจัยจากอิสราเอลชี้ว่า 

คนที่เริ่มเรียนภาษาใหม่ในตอนโต มักมีความรู้รอบตัวอยู่ก่อนแล้ว และใช้ความรู้เหล่านี้ในการประมวลข้อมูลการเรียนรู้ใหม่ ๆ

ส่วนเรื่องที่คนอายุน้อยทำได้ดีกว่าก็คือ “การเรียนทางอ้อม” นั่นคือ การฟังเจ้าของภาษาพูดแล้วเลียนแบบพวกเขา แต่การเรียนประเภทนี้จะต้องใช้เวลานานอยู่กับเจ้าของภาษา

“ไม่ใช่ว่าอะไร ๆ จะแย่ไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น” ศาสตราจารย์ อันโตเนลลา โซเลซ ผู้อำนวยการ Bilingualism Matters Centre ศูนย์ข้อมูลและการวิจัยระบบการเรียนการสอนแบบสองภาษาแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ในสกอตแลนด์ กล่าว

เธอยกตัวอย่างสิ่งที่เรียกว่า “การเรียนรู้แบบชัดแจ้ง” (explicit learning) ซึ่งหมายถึงการศึกษาในห้องเรียนที่มีครูคอยอธิบายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งผู้ใหญ่ดูเหมือนจะเรียนได้ดีกว่าเด็กในข้อนี้

“เด็กเล็กทำได้ไม่ดีนักในการเรียนรู้ลักษณะนี้ เพราะพวกเขายังไม่มีความสามารถในการควบคุมด้านความคิด สมาธิ และความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

แต่ผู้ใหญ่มีทักษะด้านนี้ดีกว่ามาก

“นี่คือปัจจัยที่ดีขึ้นเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น” ศาสตราจารย์ข โซเลซ กล่าว

งานวิจัยชิ้นหนึ่งในอิสราเอลพบหลักฐานบ่งชี้ว่า ผู้ใหญ่สามารถทำความเข้าใจกับกฎเกณฑ์ทางภาษาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ แล้วนำมาใช้กับคำศัพท์ใหม่ ๆ ในห้องเรียนได้ดีกว่า

นักวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาเปรียบเทียบคนวัยต่าง ๆ คือ เด็กอายุ 8 ขวบ เด็กอายุ 12 ปี และผู้ใหญ่ตอนต้น พบว่า กลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้นทำคะแนนด้านนี้ได้ดีกว่าเด็กทั้งสองกลุ่ม ส่วนเด็กอายุ 12 ปี ก็ทำได้ดีกว่าเด็กอายุ 8 ขวบ

ดังนั้น  คนที่เริ่มเรียนภาษาใหม่ในตอนโต มักมีความรู้รอบตัวอยู่ก่อนแล้ว และใช้ความรู้เหล่านี้ในการประมวลข้อมูลการเรียนรู้ใหม่ ๆ จึงไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ

กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผลการศึกษาของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) เมื่อช่วงต้นปี โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากการเล่นเกมตอบคำถามออนไลน์ของผู้เข้าร่วมการศึกษาเกือบ 670,000 คน พบว่า การจะใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษให้ได้ระดับเดียวกับเจ้าของภาษานั้น จะต้องเริ่มเรียนตอนอายุประมาณ 10 ปี จึงจะดีที่สุด และเมื่อเกินจากนั้นความสามารถก็จะค่อย ๆ ลดลง

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่าเราสามารถพัฒนาทักษะด้านภาษาของเราให้ดีขึ้นได้เรื่อย ๆ ซึ่งรวมถึงภาษาแม่ด้วย แม้แต่คนที่เป็นเจ้าของภาษายังเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เพิ่มวันละ 1 คำ ไปจนเข้าสู่ช่วงวัยกลางคนและเราจะมีความเชี่ยวชาญเรื่องไวยากรณ์ในภาษาแม่ของเราได้อย่างเต็มที่ตอนอายุประมาณ 30 ปี

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.bbc.com/thai/features-53406152

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *