เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น โดย Janessa Roque          การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในระบบการศึกษาญี่ปุ่น อาจเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่บทความนี้จะมาเจาะลึกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนค่าเล่าเรียนต่างกันแค่ไหน ความสามารถและชื่อเสียงทางวิชาการเป็นอย่างไร           เชื่อว่ามีน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่สนใจเลือกเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ด้วยระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมีหลายจุดที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ๆ  ซึ่งอาจทำให้น้องบางคนรู้สึกไม่คุ้นเคย ดังนั้นถ้าน้องคนไหนกำลังมองหาทุนการศึกษา หรือกำลังคิดอยู่ว่าจะออกเงินไปเรียนเองแบบไม่พึ่งทุน การทำความรู้จักประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยตัดสินใจว่าควรวางแผนอย่างไรบ้าง เมื่อน้อง ๆ อ่านบทความนี้จบและได้เอาปัจจัยเรื่องค่าเล่าเรียน ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ และการดูแล supportนักเรียนต่างชาติ มาพิจารณาแล้ว น้อง ๆ ก็จะสามารถเลือกประเภทมหาวิทยาลับยที่เข้ากับตัวเองได้!           ประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น           มหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ(国立大学) มหาวิทยาลัยท้องถิ่น(公立大学) และมหาวิทยาลัยเอกชน(私立大学)           มหาวิทยาลัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นล้วนเป็นองค์กรการศึกษาของรัฐบาล แต่จะต่างกันตรงที่ระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารโดยตรง ในขณะที่คณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นจะจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองตนเองส่วนท้องถิ่น ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชน จัดตั้งโดยเอกชน รัฐบาลจะไม่เข้ามาบริหารจัดการ แต่จะให้เงินอุดหนุน           ประเทศญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 782 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติมีจำนวน 93 แห่ง มหาวิทยาลัยท้องถิ่นมีจำนวน 86 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนมีจำนวน 603 แห่ง               ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ           จุดหลัก ๆ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละประเภทแตกต่างกันคือค่าการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่น้อง ๆ ควรเอามาพิจารณาในการเลือกมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าเล่าเรียนน้อยที่สุดใน 3 ประเภทข้างต้น โดยค่าเล่าเรียนรวมค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ สำหรับนักศึกษาป.ตรี จะอยู่ที่ประมาณ 820,00 0เยน (ประมาณ 241,785 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) ในขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 930,000 เยน (ประมาณ 274,220 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564)           ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ ประมาณ1,100,000-1,640,000 เยน (ประมาณ 324,346–483,570 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) จะเห็นได้ว่าค่อนข้างสูงกว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 2 ประเภทที่ได้พูดถึงไปด้านบน ทั้งนี้โดยทั่วไปค่าการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ทันตศาสตร์ และเภสัชศาสตร์จะสูงกว่าจำนวนเงินข้างต้น…
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
“โน้ตพรีเมี่ยม” ฟังก์ชั่นที่เกิดมาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบทำสรุป

“โน้ตพรีเมี่ยม” ฟังก์ชั่นที่เกิดมาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบทำสรุป

บทความสัมภาษณ์, แอป Clearnote
  สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน วันนี้แอดมิน S จะมาแนะนำฟังก์ชั่น"โน้ตพรีเมี่ยม" ให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น คิดว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงจะเคยเห็น หรือรู้จักฟังก์ชั่นนี้กันอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบอย่างละเอียดว่าฟังก์ชั่นนี้มีดีอย่างไรบ้าง?   พอดีกับที่ผ่านมาแอดได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้เขียนโน้ตพรีเมี่ยมทั้ง 2 ท่านคือคุณ "Lecture4u" และคุณ"Pphamaiii_" เลยจะนำบางส่วนของการสัมภาษณ์มาแชร์เพื่อน ๆ กัน เรื่องราวของผู้เขียนโน้ตพรีเมี่ยมทั้ง 2 ท่านนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามไปชมกันเลย! (more…)
Read More
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

English, Uncategorized, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา   อยากเริ่มตั้งใจเรียน แต่ทำยังไงๆ ก็เรียนไม่รู้เรื่อง เกรดไม่ดีขึ้น ไม่มีแรงจูงใจอ่านหนังสือ ไม่รู้จะทำยังไงให้รอดจากสอบไปให้ได้!    ถ้าน้องๆ กำลังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ขอให้เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลย!   เพราะวันนี้ Clear จะขอมาแชร์เทคนิคการเรียนแบบอักษ๊ร อักษรจากเด็กอักษร จุฬา คณะที่เขาว่าเรียนหนัก อ่านหนังสือเยอะกันจ้า! แนะนำตัว   ก็ขอแนะนำตัวกันสักหน่อย พี่ชื่อกิ๊บ เพิ่งจบปี 4 จาก เอกภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬามาหมาดๆ ต้องขอบอกก่อนว่าเราไม่ได้เรียนเก่งถึงมากถ้าเทียบกับคนอื่นๆ ในคณะ แต่เราอาศัยว่าเราได้อยู่ท่ามกลางคนเก่งๆ ขยันๆ ทำให้เราได้เห็นว่าคนเก่งๆ ได้เกรดดีๆ เขาเรียนกันยังไง เราก็เลยได้รู้วิธีเรียนดีๆ เยอะแยะจากทั้งเพื่อนๆ และอาจารย์ในคณะ ที่ทำให้เราเรียนได้ดีขึ้นแถมยังไม่เบื่อด้วย วันนี้เราก็เลยจะขอมาแชร์เทคนิคที่เราลองทำตามแล้วได้ผลให้น้องๆ ทุกคนลองนำไปทำตามดู   ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย! 1.ตั้งใจฟังอาจารย์ สงสัยให้รีบถาม    เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่น้องๆ ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าในชีวิตจริง ก็ยังคงมีหลายๆ คนที่รู้สึกว่า ไม่อยากฟังอาจารย์พูดแล้ว! เดี๋ยวค่อยไปอ่านเอาเองทีหลังก็ได้ แต่การไปอ่านเอาเองทีหลังก็อาจทำให้น้องๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาเท่าที่อาจารย์สอน เพราะอาจมีเนื้อหาบางส่วนที่อาจารย์เน้นเป็นพิเศษเพราะออกสอบเยอะด้วย แถมถ้าน้องๆ ไม่ฟังอาจารย์ในคาบ ก็จะถามตรงจุดที่สงสัยไม่ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ยอมฟังแล้วไปอ่านเอาเองก็อาจไม่ได้คะแนนเท่าคนที่ตั้งใจฟังอาจารย์สอนก็ได้นะ! 2.อ่านหนังสือแล้วไม่เคลียร์ให้รีบจดคำถามไว้กันลืม   เวลาที่น้องๆ อ่านหนังสือทบทวนด้วยตัวเอง แน่นอนว่าคงมีหลายจุดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ สงสัยขึ้นมา ขอแนะนำให้รีบจดคำถามนั้นใส่กระดาษหรือโน้ตไว้เลย เพราะถ้าเราอ่านหนังสือนานๆ จนเกิดข้อสงสัยหลายๆ จุดขึ้นมา กว่าจะอ่านจบ น้องๆ ก็อาจจะลืมสิ่งที่ตัวเองสงสัยไปแล้วหรือสับสนว่าเราสงสัยอะไรกันแน่ ถ้าเรารีบจดไว้ ก็จะทำให้ไม่ลืม แล้วก็ไปหาคำตอบเองทีหลังได้ หรือถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ก็ยังเอาคำถามพวกนี้ไปถามอาจารย์ต่อได้อีกด้วย วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดูพื้นๆ เป็นวิธีอุดจุดบอดที่ดีมากๆ เลย 3.อ่านหนังสือหลายๆ เล่มเทียบกัน ไม่อ่านเล่มเดียว   ในคณะอักษร เราถูกสอนมาให้ตรวจสอบแหล่งข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ ทำให้เด็กอักษรมักไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมักหาข้อมูลจากหลายๆ ที่ เวลาอ่านหนังสือก็มักจะอ่านหลายๆ เล่ม แม้จะเป็นเนื้อหาเดียวกันก็ตาม   แต่จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันหลายๆ เล่มยังมีประโยชน์มากกว่าการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกนะ! เพราะการอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ทำให้เราวิเคราะห์เนื้อหาที่เรามีอยู่แล้วในหัวโดยอัตโนมัติว่า ตรงนี้ที่เราเคยอ่านมาแล้วสินะ ตรงนี้อธิบายคล้ายกับเล่มนั้นเลยนะ ทำให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้มากขึ้น เพราะไม่ได้แค่อ่านให้ผ่านๆ ไป เฉยๆ แต่ยังคิดตามเนื้อหาที่อ่านอยู่เสมอโดยอัตโนมัติด้วย   ยังไม่พอนะ การอ่านแบบนี้น้องๆ ยังจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะหนังสือแต่ละเล่มก็จะมีจุดที่แตกต่างกัน หนังสือเล่มนั้นอาจจะเขียนข้อมูลบางส่วนละเอียดกว่าหนังสืออีกเล่ม หนังสืออีกเล่มอาจไม่มีข้อมูลที่เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ รับรองเลยว่าอ่านไปสัก 3-4 เล่ม จะต้องเก่งขึ้นอย่างแน่นอน 4.หาวิธีสนุกกับการเรียน   เวลาที่เราทำอะไรแล้วรู้สึกสนุก ไม่ฝืน เราก็จะทำสิ่งนั้นได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน การเรียนก็เหมือนกัน น้องๆ ทุกคนควรหาวิธีเรียนที่ทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเรียนให้ได้ แน่นอนว่ากับบางวิชาที่เราไม่ชอบ การหาวิธีสนุกกับมันก็อาจจะยาก แต่ถ้าน้องๆ หาเจอ ก็อาจจะเริ่มสนุกกับวิชาที่เราเคยเกลียดและอาจจะไปถึงขั้นชอบวิชานั้นขึ้นมาก็ได้นะ   วันนี้เราก็จะมาขอแนะนำวิธีที่เคยเห็นเพื่อนๆ ใช้กัน เปิดวิดิโอ study with me เรียนไปพร้อมๆ…
Read More
เรียนที่ญี่ปุ่นแพงจริงไหม?

เรียนที่ญี่ปุ่นแพงจริงไหม?

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น
Nicole Warintarawet | March 27,2020 โดยสังเขป          การเรียนต่อระดับสูงขึ้นในต่างประเทศ ฟังดูเหมือนจะต้องแพงแน่ๆใช่ไหมคะ แต่มันต้องจ่ายแพงแบบนั้นจริงๆหรอ มาหาคำตอบกันในบทความนี้เลย! เรียนที่ญี่ปุ่นแพงจริงไหม?          การเรียนต่อต่างประเทศแพงก็จริง แต่ไม่เสมอไป! การใช้ชีวิตในต่างประเทศเพียงไม่กี่ปีนั้นเพียงพอที่จะทำให้เพื่อนๆได้รับประสบการณ์สุดล้ำค่าที่หาจากไหนไม่ได้เลยทีเดียว ถ้าพูดถึงข้อดี อย่างแรกที่นึกออกได้เลยก็คือ การออกจากคอมฟอร์ทโซนไปผจญภัยในต่างแดนใช่ไหมคะ แต่ปัญหาตามมาที่หลายๆคนกังวลก็คือ ‘จะจ่ายไหวได้ยังไงล่ะ?’ ถ้าเพื่อนๆกังวลใจกับปัญหานั้น ญี่ปุ่นเป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว นอกจากญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่สวยงาม การศึกษามีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูงเป็นอันดับต้นๆของโลกแล้ว ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยยังถูกกว่าที่คิดอีกด้วย! ในฐานะที่เคยเป็นนักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมาเกือบ 4 ปี จะมาแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้เพื่อนๆฟังกันค่ะ สรุปสั้นๆ (สำหรับคนไม่อยากอ่านยาว) เฉลี่ยรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อปี : •ค่าเทอม       •มหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 1,000,000 เยน – 2,000,000 เยน ต่อปี       •มหาวิทยาลัยรัฐบาล 535,800 เยน ต่อปี •ค่าธรรมเนียมแรกเข้า(จ่ายครั้งเดียว)       •มหาวิทยาลัยเอกชน ประมาณ 200,000 – 1,000,000 เยน (ขึ้นอยู่กับคณะที่เรียน,หากเป็นคณะแพทยศาสตร์จะค่าใช้จ่ายสูง)       •มหาวิทยาลัยรัฐบาล 282,000 เยน(แห่งชาติ) – 393,618 เยน(ท้องถิ่น) •ค่าใช้จ่ายรายเดือน ประมาณ 72,000 เยน – 100,000 เยน ต่อเดือน (ขึ้นอยู่กับภูมิภาคที่อยู่)       •ค่าเช่า และ ค่าน้ำค่าไฟ 23,000 เยน – 43,000 เยน สำหรับค่าเช่า + 7,000 เยน สำหรับค่าน้ำค่าไฟ       •ค่าเดินทาง 5000 เยน       •ค่าใช่จ่ายอื่นๆ 16,000 เยน ฉบับเต็ม ค่าเทอม          อย่างแรกทีเราต้องพูดถึงคือ ค่าเทอม จริงๆแล้วค่าเทอมมีหลากหลายราคา ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน หรือรัฐบาล อ้างอิงจาก JASSO มหาวิทยาลัยรัฐบาลค่าเทอมจะอยู่ที่ประมาณ 535,800 เยน ต่อปี ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนค่าเทอมจะสูงอยู่ที่ราวๆ 1-2 ล้านเยน เพื่อให้เพื่อนๆเห็นภาพมากขึ้น เราเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Sophia เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเทอมประมาณ 1.5 ล้านเยน ต่อปี และในปีแรกนักศึกษาใหม่จะต้องจ่ายค่าแรกเข้า ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 200,000 เยน ไปจนถึง 400,000 เยน ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยค่ะ อย่างมหาวิทยาลัยที่เราอยู่ ค่าเทอมในปีแรกสูงถึงประมาณ 1.7…
Read More
5 เหตุผลทำไมถึงควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น!?

5 เหตุผลทำไมถึงควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น!?

Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เรามีตัวเลือกมากมายให้เลือกเมื่อต้องศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ก็ยังเหนื่อยที่จะมานั่งคิดว่าจะเรียนที่ไหนดี ถ้ายังมีปัญหาในการเลือกสถานที่เรียนต่อต่างประเทศ มาอ่านบทความนี้เลยย ต่อไปนี้คือเหตุผล 5 ประการที่เราควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น 1) ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานการครองชีพสูง เหตุผลแรกที่เราควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น ก็คือว่ายอมรับเถอะว่า มีสถานที่ไม่มากในโลกที่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ในแง่ของอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำ ในฐานะนักเรียนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญมาก ยิ่งไปกว่านั้นการเดินทางรอบเมืองและสำรวจสถานที่ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วและราคาไม่แพงก็ทำได้ง่ายมาก ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพของญี่ปุ่น ต้องการวางแผนการพักผ่อนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ชายหาดเหรอ? – แค่จองโรงแรม กระโดดขึ้นรถไฟ ก็พร้อมเที่ยวเลย! อาหารในญี่ปุ่นก็อร่อยมากกกกกก ถ้าหิวตอนตีสองก็แค่แค่หยิบเบนโตะอร่อยๆ สักกล่องจากร้านสะดวกซื้อ! และถ้าคุณคิดว่าอาหารในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเนี้ยอร่อยแล้ว แต่อาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหารก็ยิ่งอร่อยกว่านั้นอีก! ลองโอสึมามิสิ (อาหารหลากหลายประเภทเสิร์ฟในจานเล็กๆ ที่บาร์อิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น) 2) การศึกษาคุณภาพราคาไม่แรง พร้อมทุนการศึกษามากมาย เหตุผลต่อมาที่เราควรมาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะว่าการศึกษาระดับวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยรัฐในญี่ปุ่นมักมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า 600,000 เยนต่อปี ซึ่งคร่าวๆ ก็ประมาณ 162,250 บาท แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000,000 เยนต่อปี แต่ก็มีโอกาสในการมอบทุนการศึกษามากมายสำหรับนักศึกษาต่างชาติ นอกจากทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงจาก MEXT และ JASSO แล้ว ยังมีทุนการศึกษาอื่น ๆ อีกมากมายที่มอบให้โดยตรงจากมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน ลองอ่านบทความนี้เพื่อรับทุนการศึกษาเต็มทุนสำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยนะ!? 3) โอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตในการเรียนรู้ภาษาใหม่ในสภาพแวดล้อมที่สนุกสนาน เหตุผลข้อที่สามที่เราควรเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะว่าการเรียนรู้ภาษาใหม่จะง่ายขึ้นถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่พูดภาษาเป้าหมายที่จะเรียน เราเองก็ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับจุดนี้โดยตรงด้วยการเรียนหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สอนด้วยภาษาอังกฤษในญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าเราจะพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยเมื่อมาถึงที่นี่ครั้งแรก แต่ทักษะภาษาญี่ปุ่นก็พัฒนาขึ้นอย่างมากภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ฉันผ่าน JLPT N2 ได้ภายในสามปี ต้องขอบคุณสภาพแวดล้อมที่รายล้อมด้วยผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ช่วยอดทนต่อความผิดพลาดของฉันนะคะ! เราคงไม่สามารถบรรลุผลทั้งหมดนี้ได้หากตัดสินใจไปเรียนที่อื่น จากประสบการณ์ส่วนตัว แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นมากนักในชั้นเรียน (ยกเว้นหลักสูตรภาษาภาคบังคับ) แต่ก็ได้เรียนรู้มากขึ้นจากการสื่อสารในชีวิตประจำวันกับเพื่อนและผู้คน เราคิดว่าเราได้เรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัวเวลาฟังเสียงรอบข้างในที่สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ 4) โอกาสทางอาชีพที่ดีหลังเรียนจบ ถัดมาที่เราควรเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยโอกาส ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง รัฐบาลญี่ปุ่นจึงพยายามดึงดูดเยาวชนที่มีความสามารถจากทั่วโลก อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำอย่างน่าสนใจ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ระเบียบการขอวีซ่าได้รับการแก้ไขเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้น มีกิจกรรมหางานมากมายสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะ! ถ้ากำลังมองหาอาชีพใหม่ในต่างประเทศ การเรียนที่ญี่ปุ่นถือเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยมเลยนะ 5) ความแน่นแฟ้นในสังคม ตรงกันข้ามกับที่หลายคนอาจคิดไปเองว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ จริง ๆ หากอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น โตเกียว นาโกย่า หรือโอซาก้า การหาการชุมนุมทางสังคมและกิจกรรมประเภทอื่นๆ ที่จัดโดยชุมชนชาวต่างชาติในพื้นที่นั้นมีเยอะมาก ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากคนญี่ปุ่นเริ่มให้ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมขึ้นเป็นประจำ และถ้าสนใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม อย่าลืมดูตารางกิจกรรมประจำปีด้วยนะคะ การเข้าร่วมกิจกรรมในญี่ปุ่นจะช่วยให้ดื่มด่ำกับวัฒนธรรมและทำความรู้จักกับผู้คนนอกวิทยาลัยได้มากขึ้น แล้วยังช่วยเพิ่มสีสันในชีวิตให้ด้วยนะคะ เพราะเราอาจเจอกลุ่มต่างๆ ที่เหมาะกับความสนใจของเราค่ะ! Credit by SchooLynk: https://schoolynk.com/media/articles/d710d0ec-944d-4d50-8bce-14612b6a7065
Read More
เรียนต่อญี่ปุ่น: 6 เคล็ดลับสำหรับการเตรียมตัว

เรียนต่อญี่ปุ่น: 6 เคล็ดลับสำหรับการเตรียมตัว

English, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, อาหารและเครื่องดื่ม, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เรียนต่อญี่ปุ่น: 6 เคล็ดลับสำหรับการเตรียมตัว โดย Tamaki Hoshi น้องๆ คือคนหนึ่งที่อยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นใช่ไหม! มาดู 6 เคล็ดลับจากนักเรียนต่างชาติที่ไปเรียนต่อ ณ มหาวิทยาลัยประเทศญี่ปุ่นกัน! เคล็ดลับจากนักศึกษาต่างชาติสำหรับการเตรียมตัวไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น สวัสดี เราชื่อทามากิ เป็นนักศึกษาต่างชาติที่อยู่ในกรุงโตเกียว   ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีทั้งความแปลกใหม่และความสะดวกสบายผสมผสานกันอย่างลงตัว ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นจุดหมายยอดฮิตสำหรับนักศึกษาที่ต้องการไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ บางทีอาจเป็นเพราะขนมไทยากิ โอโคโนมิยากิ หรือเสื้อผ้าและเครื่องเขียนที่สุดแสนจะน่ารักคาวาอี้ ความสุภาพและบรรยากาศที่เป็นมิตรในสังคมญี่ปุ่นที่ดึงดูดนักเรียนต่างชาติเกือบ 300,000 คน ให้มาเรียนต่อที่นี่ ในฐานะที่เป็นนักเรียนต่างชาติซึ่งเรียนอยู่ณ มหาวิทยาลัยในโตเกียว ผู้เขียนขอรับรองได้เลยว่าทุกสิ่งที่คาดหวังไว้ด้านบนเป็นเรื่องจริงของญี่ปุ่นที่น่าประทับใจมาก   ทั้งอาหารและโอกาสต่างๆ ในญี่ปุ่นต่างไม่ทำให้ผิดหวัง แต่ผู้เขียนก็พบเคล็ดลับบางอย่างที่จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ จากการลองผิดลองถูก เป็นเคล็ดลับแบบที่ถ้ารู้มาก่อนก็คงจะดี    เพราะฉะนั้นเพื่อให้น้องๆ ผู้อ่านที่วางแผนจะมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาแบบผู้เขียน เราก็จะขอแนะนำ 6 เคล็ดลับสำหรับการเตรียมตัวมาเรียนต่อญี่ปุ่นอย่างมีประสิทธิภาพกันเลย! 1.หาหลักสูตรที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ   ตอนที่ผู้เขียนค้นหามหาวิทยาลัยที่จะมาเรียนต่อ สิ่งแรกที่ทำคือการหาหลักสูตรที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษเป็นหลักของแต่ละมหาวิทยาลัย เป็นวิธีที่ดีในการเริ่มต้น แต่ปัญหาก็คือการที่ผู้เขียนไม่ยอมหาข้อมูลให้ลึกลงไปกว่านี้    ผู้เขียนข้อแนะนำว่าไม่ควรเช็คแค่หลักสูตรทั่วไปหลักๆ ของคณะที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ แต่ควรจะเช็คประมวลรายวิชาของแต่ละวิชาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษด้วย เพราะหลังจากที่ผู้เขียนเรียนมา 3 เทอมในมหาวิทยาลัย ผู้เขียนก็รู้ว่าเกือบครึ่งของวิชาเรียนที่ลงเรียนเป็นวิชาเรียนของภาควิชาอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือหลักสูตรของภาควิชาที่ผู้เขียนสังกัดอยู่   ผู้เขียนยังโชคดีเพราะมหาวิทยาลัยมีวิชาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษหลายวิชา แล้วยังเป็นวิชาของภาควิชาที่ผู้เขียนสังกัดด้วย แต่ผู้เขียนก็เห็นว่ามีบางมหาวิทยาลัยมักจะเปิดวิชาที่สอนเป็นภาษาอังกฤษเพียงไม่กี่วิชาเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจว่าน้องๆ จะมีอิสระในการลงเรียนวิชาต่างๆ บ้างตอนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ขอแนะนำมากๆ ให้น้องๆ หาข้อมูลจำนวนวิชาที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยน่าจะเปิดไว้ 2.ทำตัวให้คุ้นเคยกับภาษาญี่ปุ่น   ในฐานะนักศึกษาที่สมัครเรียนในหลักสูตรภาษาอังกฤษและอาศัยอยู่ในโตเกียว ผู้เขียนรับรองได้เลยว่าสกิลภาษาญี่ปุ่นไม่จำเป็นตอนเรียน เฮ้อ! รอดไป!   แต่ก็มีสถานการณ์นอกห้องเรียนที่ผู้เขียนถูกทดสอบสกิลภาษาญี่ปุ่นเหมือนกัน เช่นสถานการณ์ต่อไปนี้ - ถามทางอย่างเร็วๆ บนถนน -อ่านป้ายต่างๆ ในสถานนีรถไฟ -สั่งอาหารในร้านอาหาร -คุยกับเจ้าของห้องเช่า -คุยโทรศัพท์กับบริษัทที่ให้บริการสาธารนูปโภคอย่างน้ำประปา แก๊ส และไฟฟ้า -หาเพื่อนคนญี่ปุ่น   การเข้าใจภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ช่วยแค่ในสถานการณ์เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้เขียนเข้าร่วมกิจกรรมท้องถิ่นกับคนในชุมชน ผู้เขียนตัดสินใจมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่นเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ แล้วการได้ภาษาก็ทำให้การค้นหา เข้าถึง และมีโอกาสทำสิ่งต่างๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนนั้นง่ายมากขึ้น   เคล็ดลับง่ายๆ ข้อหนึ่งก็คงจะเป็นการจดจำเอกลักษณ์ของเมืองใหญ่เมืองเล็กที่น้องๆ ผู้อ่านจะไปบ่อยๆ วิธีนี้จะช่วยให้น้องๆ ได้เมื่อน้องๆ พยายามหาจุดที่ตัวเองอยู่ในแผนที่หรือป้ายสัญญาณรถไฟ   ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยใช่ไหม? แต่ไม่เป็นไร! ลองไปอ่านบทความในนี้ดูนะ บทความเกี่ยวกับการเรียนภาษาญี่ปุ่น - SchooLynk|MEDIA 3.เตรียมเงินสกุลญี่ปุ่นไว้บ้าง   สกุลเงินเยน (JPY) เป็นสกุลเงินที่ใช้กันในประเทศญี่ปุ่น 100 เยน เท่ากับประมาณ 30 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวนขึ้นลงแล้วแต่ช่วง) ร้านค้าใหญ่ๆ รับบัตรเครดิตก็จริง แต่ว่าร้านค้าทั่วไปหลายๆ ร้านกับขนส่งสาธารณะรับแต่เงินสดเท่านั้น เช่น รถบัสรับแค่เหรียญหรือ IC card ที่เติมเงินไว้ก่อนเท่านั้น ผู้เขียนเรียนรู้วิธีนี้ด้วยวิธีที่ยากลำบากทีเดียวเชียว…   การเอาเงินสดไปให้พอจะทำให้น้องๆ มั่นใจได้ว่าน้องๆ จะไม่ต้องเจอกับเรื่องน่าปวดหัวหรือพลาดโอกาสอะไร ซื้อกระเป๋าใส่เศษเหรียญไว้ก็เป็นไอเดียที่ดีเหมือนกัน เพราะญี่ปุ่นมีทั้งเหรียญ 1 เยน 10 เยน 50…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More
เรียนต่อที่ญี่ปุ่น: 5เคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับไปเรียนต่อ

เรียนต่อที่ญี่ปุ่น: 5เคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับไปเรียนต่อ

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เรียนต่อที่ญี่ปุ่น: 5 เคล็ดลับการบริหารเงินสำหรับไปเรียนต่อ โดย Nicole Warintarawet ถ้าน้อง ๆ ยังไม่แน่ใจว่าฐานะการเงินทางบ้านพอจะส่งน้อง ๆ ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นได้รึเปล่า มาลองอ่านบทความเพื่อค้นหาคำตอบกันเลย! ในปัจจุบัน มีนักเรียน นักศึกษาที่อยากไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าภาระทางการเงินถือว่าเป็นอุปสรรคที่ค่อนข้างใหญ่ทีเดียว ซึ่งสินเชื่อเพื่อการศึกษาของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเปิดรับแค่นักเรียน นักศึกษาในประเทศ (ซึ่งก็คือคนญี่ปุ่น) ไม่ค่อยมีที่เปิดรับให้นักเรียนชาวต่างชาติอย่างเรา ๆ ทำให้ถ้าที่บ้านของน้อง ๆ ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะซัพพอร์ทได้ ก็อาจไปเรียนต่อได้ค่อนข้างยาก เว้นแต่จะได้ทุนการศึกษาแบบเต็มจำนวนที่จะครอบคลุมตั้งแต่ค่าเล่าเรียนไปจนถึงค่าครองชีพสำหรับนักเรียน นักศึกษาชาวต่างชาติ อย่างทุนมง (ทุนMonbukagakushou หรือทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) อย่างไรก็ตามถึงน้อง ๆ จะไม่ได้ทุนมง ก็อย่าเพิ่งถอดใจไป เพราะยังมีทุนการศึกษาอีกมากมายที่จะออกค่าเล่าเรียนให้เรา100% และบางทุนยังให้เงินช่วยเหลือสำหรับค่าครองชีพในแต่ละเดือนอีกด้วย ดังนั้นน้อง ๆ จะสามารถอยู่ญี่ปุ่นได้แบบชิว ๆ โดยไม่ต้องทำงานพิเศษเพื่อหางานเพิ่ม ซึ่งทุนดี ๆ เหล่านี้สามารถหาข้อมูลได้จากลิงก์บทความนี้เลยยยย ! ตอนนี้น้อง ๆ บางคนอาจสงสัยว่าแล้วถ้าทุนที่เราได้เป็นทุนไม่เต็มจำนวน เป็นแค่ทุนที่ออกค่าเล่าเรียนให้บางส่วนแล้วมันจะโอเคไหม? บทความนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยนั้น และเอาเคล็ดลับ ทริคดี ๆ ที่จะช่วยให้การเงินของเราในช่วงที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยรอดไปได้ด้วยดี 1. ประเมินค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นตามความเป็นจริง อ้างอิงจากข้อมูลขององค์การสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น (JASSO) ค่าครองชีพที่ญี่ปุ่น (รวมค่าเช่าที่พัก) จะอยู่ที่เดือนละ 89,000 เยน (ประมาณ 26,488 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 สิงหาคม 64) ทั้งนี้ค่าครองชีพนั้นจะแตกต่างไปตามแต่ละจังหวัด แต่ละภูมิภาค เช่น ค่าครองชีพที่กรุงโตเกียว (ที่จะใช้ชีวิตได้อย่างสบาย ๆ )จะอยู่ที่เดือนละ 100,000 เยน (ประมาณ 29,762 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 สิงหาคม 64) โดยจากประสบการณ์ของเราแล้ว ถ้าเราทำอาหารกินเองก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้ประเมินงบไว้เผื่อ ๆ หน่อย เพราะถ้าตึงจนเกินไปก็อาจทำให้เกิดความเครียดได้ถ้าอยู่ในระยะยาว ส่วนตัวเราแนะนำให้เผื่องบไว้ 100,000 เยน (ประมาณ 29,762 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 26 สิงหาคม 64) ต่อเดือนเป็นอย่างต่ำ ถ้าน้อง ๆ ได้ทุนการศึกษาที่สามารถลดหย่อนค่าเทอมได้แค่บางส่วน ก็ต้องเอาค่าเทอมที่เหลือมาคำนวณเพิ่มด้วย โดยค่าธรรมเนียมแรกเข้ามหาวิทยาลัยจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 - 400,000 เยน (ประมาณ 59,523 – 119,047 บาทตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่26 สิงหาคม 64) ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย และค่าเล่าเรียนต่อปีจะอยู่มีตั้งแต่ 535,800…
Read More
3 ขนม-เครื่องดื่มยอดฮิต ขวัญใจเด็กเตรียมสอบ

3 ขนม-เครื่องดื่มยอดฮิต ขวัญใจเด็กเตรียมสอบ

Uncategorized, แบบสอบถาม ออนไลน์
สวัสดีค่ะทุกคนหลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ กันไปมากมายในบทความที่แล้วนะคะในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าในเด็ก ๆ ระดับชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายรวมไปถึงระดับชั้นมหาลัยทั้งหมด 466 คนที่ทำการตอบแบบสอบถามออนไลน์กับทางแอพพลิเคชั่นเคลียร์มาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564 จะมีขนมและเครื่องดื่มแบบไหนบ้างที่เป็นเพื่อนคู่ซี้ยามอ่านหนังสือถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยนะคะว่าน้อง ๆ 466 คนนี้ ปกติแล้วทานของว่างเวลาอ่านหนังสือกันบ่อยแค่ไหน โดยเราจะสามารถเห็นได้จากกราฟนี้นะคะว่านักเรียนส่วนมากเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์เลย จะทานขนมและอาหารว่างเป็นบางครั้งระหว่างการอ่านหนังสือ รองจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มนักเรียนที่ทานบ่อยแต่ไม่ได้ทานทุกครั้งระหว่างอ่านหนังสือ และจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มนักเรียนที่ไม่ค่อยทานและทานทุกครั้งตามลำดับค่ะ ถ้าดูเผิน ๆ แล้วจะเห็นว่านักเรียนที่มักจะทานขนมระหว่างการอ่านหนังสือนั้นก็จะมีเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างมากเลยนะคะโดยเหตุผลส่วนมากที่น้อง ๆ เลือกจะรับประทานขนมและอาหารว่างส่วนมากก็คือเหตุผลที่น้อง ๆ มักจะรู้สึกหิวระหว่างการอ่านหนังสือ ส่วนเหตุผลลำดับถัดมาคือเหตุผลที่ว่าน้อง ๆ ต้องการพักระหว่างการอ่านหนังสือจึงหาอะไรทำเพื่อเป็นการพัก และเหตุผลลำดับที่สามก็คือเมื่อน้อง ๆรู้สึกเครียดหรือหมดหงิดน้องๆก็จะรู้สึกว่าต้องการคบเคี้ยวอะไรบางอย่างเพื่อระบายความเครียดนั้นด้วย แต่ก็ยังมีนักเรียนบางส่วนที่ให้เหตุผลว่าพวกเขามักที่จะรับประทานอาหารว่างเมื่อรู้สึกง่วงและรู้สึกว่าไม่มีสมาธิกับการอ่านหนังสือด้วยค่ะ เมื่อเรารู้แล้วว่า น้องๆในแอปของเราทานขนมกันค่อนข้างที่จะบ่อยในระหว่างการอ่านหนังสือแล้วเราไปดูกันต่อเลยว่าขนมที่ทุกคนมักจะเลือกรับประทานบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือนั้น ได้แก่อะไรบ้าง โดยกลุ่มขนมยอดฮิตอันดับ 1 ที่น้องๆนักเรียนมักจะรับประทานระหว่างการอ่านหนังสือก็คือขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ รองไปจากนั้นก็จะเป็นขนมกลุ่มประเภทช็อกโกแลตและขนมพวกคุกกี้บิสกิต รวมไปถึงลูกอมตามลำดับค่ะ แต่ถ้ามาดูกันในส่วนของอาหารว่างแล้วเราจะเห็นว่าอาหารว่างอันดับ 1 ที่น้อง ๆ มักจะรับประทานระหว่างการอ่านหนังสือก็คือขนมประเภทขนมปังและแซนวิช และนอกจากนี้เองน้อง ๆ ยังนิยมรับประทานขนมอาหารว่างประเภทซีเรียลและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันเป็นจำนวนมากนะคะ และตอนนี้ก็ถึงช่วงเวลาที่หลายๆคนรอคอยนะคะหลังจากนี้ก็จะเป็นการเรียงลำดับ 3 อันดับขนมที่เพื่อน ๆ มักจะเลือกทานระหว่างการอ่านหนังสือนั่นเองค่ะเราไปดูที่อันดับแรกกันเลยนะคะ  อันดับที่ 1 เลย์ อันดับแรกสุดเลยก็จะเป็นในส่วนของขนมขบเคี้ยวซึ่งก็คือเลย์ นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ก็เพราะน้องๆส่วนมากให้เหตุผลว่าในนั้นมีความอร่อยเคี้ยวเพลิน และความกรอบนั้นเองทำให้รู้สึกหายง่วงระหว่าง การอ่านหนังสืออีกด้วยค่ะ นอกจากนี้เองเลยยังมีรสชาติให้เลือกหลากหลายรสชาติมาก ๆ ทำให้เมื่อต้องกินบ่อย ๆ แล้วก็ไม่เบื่อเพราะว่าเราสามารถเปลี่ยนรสชาติไปตามอารมณ์ของเราได้ ส่วนรสชาติที่เพื่อน ๆ ให้คำแนะนำก็คือรสชาติที่มีลักษณะจัดจ้านหน่อย ๆเพราะว่าจะทำให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้นค่ะ หากสนใจชิมสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จาก ที่นี่ อันดับที่ 2 เลย์ ลำดับที่สองก็คือโกโก้ครั้นช์ทั้งนี้ก็เพราะว่าน้อง ๆ เห็นว่าโกโก้ครั้นช์เนี่ยเป็นขนมที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลตซึ่งช็อกโกแลตเนี่ยน้อง ๆ ให้เหตุผลว่าเป็นขนมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วช่วยลดความเครียดได้อีกด้วยนอกจากนี้ลักษณะของโกโก้ครั้นนั้นยังทานง่ายอร่อยและยังทำให้เพลิดเพลินเวลาอ่านหนังสืออีกด้วยและยังมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเกิดว่าเราหรือรับประทานโกโก้ครั้นระหว่างการอ่านหนังสือก็จะทำให้มือไม่เลอะอีกด้วย หากสนใจชิมสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จาก ที่นี่ อันดับที่ 3 Haribo และขนมอันดับที่ 3 ที่เป็นที่ยอดฮิตของ น้องๆเตรียมสอบก็คือเยลลี่ Haribo รูปหมีนั่นเองค่ะ โดยน้องๆให้เหตุผลว่าเยลลี่ตัวนี้มีรสหวานของผลไม้ที่จะรับประทานตอนไหนก็ได้และยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย ทำให้แก้เครียดและบางคนก็ยังเคี้ยวเจ้าหมีนี้เพื่อกันง่วงอีกด้วย เรียกได้ว่าเคี้ยวเพลินจนลืมความง่วงไปเลย หากสนใจชิมสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จาก ที่นี่ ที่นี้เรามาดูกันในฝั่งของเครื่องดื่มยอดฮิตที่ เพื่อน ๆ มักจะเลือกดื่มกันระหว่างการอ่านหนังสือกันดีกว่าค่ะ จากกราฟนะคะเราจะเห็นว่าเครื่องดื่มที่เพื่อนๆมักจะดื่มบ่อยๆขณะอ่านหนังสือก็คือเครื่องดื่มประเภทน้ำเปล่าและน้ำแร่ค่ะ อันนี้ก็จะไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่นะคะเพราะว่าหลาย ๆ คนให้ความเห็นตรงกันเขาว่าน้ำเปล่าและน้ำแร่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเมื่อดื่มแล้วยังทำให้รู้สึกสดชื่นคลายง่วงได้ระดับหนึ่งค่ะและที่สำคัญเป็นเครื่องดื่มที่สามารถหาดื่มได้ง่ายที่สุด จึงได้รับความนิยมที่สุดระหว่างการอ่านหนังสือนั่นเอง นอกจากนี้แล้ว เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอันดับ 2 ก็คือเครื่องดื่มประเภทนมนั่นเองค่ะ เพราะเครื่องดื่มประเภทนม ให้ประโยชน์มากมายแก่ร่างกายค่ะและนอกจากนั้นเองถ้านำนมไปแช่เย็น ๆ ก็ยังทำให้รู้สึกสดชื่นได้ไม่แพ้น้ำเปล่าหรือน้ำแร่เลยนั่นเอง และ ลำดับที่ 3 ก็คือนมเปรี้ยว ต่าง ๆ…
Read More