ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS

ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, PAT7, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, เรียนภาษาญี่ปุ่น
ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS            สวัสดีค่ะ ช่วงนี้น้อง ๆ หลายคนคงได้เห็นคลิปไอดอลวง BTS เป็นทูตวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ไปขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงาน Sustainable Develoopment Goals Moment (SDG Moment) ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 76 และได้เต้นเพลง Permission to Dance กลางที่ประชุมสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ประจำกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา https://www.youtube.com/watch?v=jzptPcPLCnA https://www.youtube.com/watch?v=jzptPcPLCnA https://www.youtube.com/watch?v=9SmQOZWNyWE https://www.youtube.com/watch?v=9SmQOZWNyWE             ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่วง BTS ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ โดยในครั้งแรกที่คิมนัมจุน ลีดเดอร์วง BTS ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ในปี 2018 ก็ได้เรียกเสียงฮือฮาถึงความสกิลภาษาระดับเทพของนัมจุน ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงจะขอมาตีแผ่ (จริง ๆ คืออยากมาอวย5555) วิธีเรียนของนัมจุนให้น้อง ๆ ลองเอาไปปรับใช้กันดู https://www.youtube.com/watch?v=oTe4f-bBEKg https://www.youtube.com/watch?v=oTe4f-bBEKg ประวัติการศึกษา             ก่อนที่จะมาพูดถึงวิธีการเรียนของนัมจุน เรามาดูโปรไฟล์การศึกษากันก่อนว่าเทพขนาดไหน จบการศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมปลายอัพกูจอง (Apgujeong High School) โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนเกียรตินิยมม.2 ทำคะแนนTOEIC ได้คะแนนสูง 850/990 คะแนน โดยต่อมาปี 2020 นัมจุนได้ลองสอบอีกครั้ง แล้วได้คะแนนสูงถึง 915/990คะแนน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคะแนนตอนม.2 หรือตอนปี 2020 ก็ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของคนเกาหลีที่จะอยู่ที่ 675 คะแนน (ส่วนคะแนนเฉลี่ยของทั้งโลกคือ 500 คะแนน)อายุ 15 ปี สอบวัดระดับความสามารถภาษาอังกฤษ TEPS (Test of English Proficiency) ได้คะแนน 797/990 คะแนน โดยอยู่ในเกณฑ์ 2+ (สูงสุดคือ 1+) ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงสำหรับเด็กอายุ 15 ปีติดท็อป 1.3% ของประเทศในการสอบเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ในวิชาภาษาเกาหลี คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษาไอคิว 148 ซึ่งถือเป็นท็อป 0.1% ของประชากรทั้งโลก             หลังจากเห็นโปรไฟล์ความเก่งของนัมจุนแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงอยากรู้เคล็ดลับการเรียนของนัมจุนกันแล้วใช่ไหมคะ งั้นเราไปดูกันเลย! 1. ฝึกภาษาด้วยการเสพซีรีส์ https://www.youtube.com/watch?v=IOuFE-6Awos https://www.youtube.com/watch?v=IOuFE-6Awos             นัมจุนได้ฝึกภาษาผ่านทางการดูซีรีส์เรื่อง Friends ซึ่งเป็นซีรีส์อเมริกันซึ่งมีมากถึง 10 ซีซั่น (เรียกได้ว่าดูกันจนตาแฉะเลย) โดยวิธีการฝึกภาษาของนัมจุนจะแบ่งการดูซีรีส์ออกเป็น 3 รอบ             รอบที่ 1: ดูด้วยภาษาแม่            …
Read More
4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, PAT7, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, เรียนภาษาญี่ปุ่น
4 เทคนิคอัพสกิลภาษาที่ 3 แบบก้าวกระโดด ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้           สวัสดีค่ะ เชื่อว่าน้อง ๆ ที่คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้หลาย ๆ คนคงกำลังเรียนภาษาที่ 3 อยู่ใช่ไหมคะ และก็เชื่อว่ามีหลายคนที่รู้สึกว่าพอเรียนไปสักพักแล้วก็รู้สึกว่าทำไมสกิลเรานิ่งจัง มันไม่ค่อยพัฒนาเลย ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหานี้เป็นปัญหายอดฮิตของผู้เรียนภาษาที่ 3 เลยก็ว่าได้ ดังนั้นวันนี้ผู้เขียน ซึ่งอยู่ในฐานะคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ 3 อยู่ ก็ขอแชร์เทคนิคง่าย ๆ ที่ เราใช้แล้วรู้สึกว่าเวิร์กมาให้น้องทุก ๆ คนลองปรับใช้ดู รับรองได้ว่าทำแล้วสกิลภาษาพุ่งขึ้นรัว ๆ แน่นอน เทคนิคที่ 1 : เปลี่ยนสื่อที่เสพทุกอย่างเป็นภาษานั้น ๆ           วิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้เขียนทำแล้วเวิร์กที่สุด โดยวิธีทำก็ตามชื่อเลยก็คือให้น้อง ๆ เปลี่ยนสื่อที่ตัวเองเสพอยู่ ไม่ว่าจะเป็น เพลง ละคร หนัง เกม นิยาย Youtube หรือแม้แต่Twitter เป็นสื่อภาษาที่เราเรียนอยู่ น้อง ๆ หลายคนอาจรู้สึกเอียน รู้สึกว่าเรียนจากในชั่วโมงมาตั้งเยอะแล้ว นอกชั่วโมงเรียนยังต้องมาเจอภาษานี้อีกเหรอ แต่เราขอบอกเลยว่าถ้าทำแล้ว สกิลภาษาของน้อง ๆ จะก้าวกระโดดไม่ได้เยอะมาก ๆ ค่ะ ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่อง Input Hypothesis เอาไว้ในบทความ เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที (ขออนุญาตขายของ 5555) ว่าสิ่งที่สำคัญในการเรียนภาษาที่ 2 (หรือ 3 4 5 ฯลฯ) คือการรับข้อมูล หรือInput เข้ามา โดย Inputที่จะทำให้การเรียนรู้ภาษามีประสิทธิภาพนั้น นอกจากจะต้องมีความยากพอดี ระดับความยากไม่มากกว่าความรู้ของผู้เรียนมากจนเกินไป (i+1)แล้ว Inputนั้นยังต้องมีจำนวนมากด้วย           ดังนั้นการที่เราเปลี่ยนสื่อที่ตัวเองเสพอยู่ (ซึ่งการเสพหรือรับเข้ามาก็คือ Input) เป็นภาษาที่เราเรียนอยู่ ก็จะทำให้เรามีโอกาสที่ได้ Input กลับไปเป็นจำนวนมาก           นอกจากนี้การเรียนรู้ภาษาผ่านทางสื่ออื่น ๆ นอกหนังสือเรียนก็จะทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการใช้ภาษานั้น ๆ แบบเป็นธรรมชาติแบบฉบับnative เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเรียนจากหนังสือเรียนก็อาจเป็นทางการหรือเจ้าของภาษาไม่ค่อยได้ใช้ https://www.tiktok.com/@imsparkzz/video/6922049372511390978?_d=secCgYIASAHKAESPgo89%2BwjJ5E7Idfy0L0WR%2FNHfy9vF%2F9baLhpig8%2FRqxx7DZW1ng9nx28WRUA5eHeQlPqv1LR5zKAwMY9qbw1GgA%3D&checksum=424d745ad9ab797f3a7a75e63f641450c04f0ee1e80826fb18c6b13c5d8616c6&language=en&mid=6922049369302633218&preview_pb=0&region=TH&sec_user_id=MS4wLjABAAAAK7vZnk5YLELH6erulTW6KLahqCy1_Q1eLZBRSlE-QV32FLd3jdQOA0_6IOo4RrsY&share_app_id=1180&share_item_id=6922049372511390978&share_link_id=394F99C0-C04E-437E-B63B-29D3D8E3991D&source=h5_t&timestamp=1632205311&tt_from=copy&u_code=df3ekb71ki7m4a&user_id=6884667380674855937&utm_campaign=client_share&utm_medium=ios&utm_source=copy&_r=1 https://www.tiktok.com/@michaela_sato/video/7004091252979322114?_d=secCgYIASAHKAESPgo86EOi64HvMrnDdgyDQ%2FpwkVBFFkPADyWpyfXYjclMAedz2iOWRLNuxGglJ4CbHfGs23VGYnCG1yGLIRdaGgA%3D&checksum=988fa60626bcbf203ab8111f97cf9e646c047689fe6d50f6a995ed407ca5009d&language=en&mid=7004091210025847554&preview_pb=0&region=TH&sec_user_id=MS4wLjABAAAAK7vZnk5YLELH6erulTW6KLahqCy1_Q1eLZBRSlE-QV32FLd3jdQOA0_6IOo4RrsY&share_app_id=1180&share_item_id=7004091252979322114&share_link_id=9ECEE1B7-49E5-4905-8A3F-8785F6FF4E44&source=h5_t&timestamp=1632205351&tt_from=copy&u_code=df3ekb71ki7m4a&user_id=6884667380674855937&utm_campaign=client_share&utm_medium=ios&utm_source=copy&_r=1           จากคลิปข้างบนก็จะเห็นว่าถึงเราจะเรียนคำว่า ありがとうございます (Arigatou gozaimasu) หรือคำขอบคุณในภาษาญี่ปุ่นจากในตำรา แต่ในชีวิตจริงก็อาจเป็นทางการมากเกินไป หรืออาจมีวิธีการพูดคำนี้ในหลาย ๆ แบบ ดังนั้นถ้าน้อง ๆ ได้เรียนรู้จากสื่อ ก็จะทำให้สามารถใช้ภาษานั้น ๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ใกล้เคียงเจ้าของภาษาไปอีกเสต็ป           อีกทั้งถ้าน้อง ๆ เสพสื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น น้อง ๆ…
Read More
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

Uncategorized, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!   น้องๆ สงสัยกันไหม จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง วันนี้ Clearnote จะมาชี้แจ้งแถลงไขประโยชน์ของการจดโน้ตให้น้องๆ ได้รู้กันเอง! 1.ช่วยให้เราเรียนรู้เรื่อง   การจดโน้ตช่วยให้น้องๆ ต้องตั้งใจฟังคุณครูโดยอัตโนมัติ เพราะถ้าจะจดโน้ตก็ต้องทำความเข้า กลั่นกรอง สิ่งที่อาจารย์พูดเพื่อจะจด เพราะน้องๆ คงไม่สามารถจดคำพูดทุกคำที่อาจารย์พูดได้ทัน และต่อให้จดทัน ก็มีงานวิจัยบอกว่าการที่น้องๆ ได้คิดวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะจดลงไป ไม่จดทุกคำพูดที่อาจารย์พูดนั้นให้ผลดีกว่า!    นอกจากนี้การจดโน้ตยังทำให้น้องๆ ไม่พลาดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจารย์สอนและอาจจำได้ไม่หมดถ้าไม่จดไว้ การจดโน้ตจึงทำให้เรียนรู้เรื่องมากกว่าการนั่งฟังครูอธิบายผ่านไปเฉยๆ มาก 2.ช่วยให้เรามาทวนทีหลังได้   การจดโน้ตไม่ได้มีประโยชน์แต่ตอนที่จดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กลับมาทวนเนื้อหาทีหลังได้โดยไม่ลืม การจดโน้ตจะทำให้น้องๆ กลับมาทวนเนื้อหาที่อาจารย์สอนเมื่อไรก็ได้ กี่รอบก็ได้ แถมทวนได้ง่ายกว่าด้วย เพราะไม่ต้องมานั่งอ่านหนังสือใหม่ทั้งเล่มตลอดเวลา   ที่สำคัญจากผลการวิจัย การจดโน้ตจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการทวนซ้ำๆ ย้ำๆ หลายๆ รอบเท่านั้น น้องๆ จึงควรทบทวนโน้ตที่จดไว้ให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ไม่ใช่แค่จดแล้วเก็บเข้ากรุเฉยๆ!   นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า ไม่ใช่แค่การจดโน้ตเท่านั้น แต่การไฮไลท์ และการเขียนทวนสิ่งที่เคยเรียนแล้วอีกรอบ ก็จะช่วยให้น้องๆ คิด วิเคราะห์ และทำความเข้าใจสิ่งที่เราเรียนมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดี ก็ควรทำทั้ง 3 อย่างเลย จะได้จำได้แม่น แถมเอามาใช้ได้จริง! 3.ช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีกว่า   การจดโน้ตแบบที่ใช้ลูกศร รูปร่างรูปทรงต่างๆ ช่วย เช่น Mind maping ทำให้ให้สิ่งที่เราจด อยู่ใน long term memory (ความทรงจำระยะยาว) ได้ดีกว่า   การจดโน้ตต้องอาศัยความพยายามในการจด ไม่ใช่แค่ฟังหรืออ่านให้ผ่านไปเฉยๆ  นอกจากนี้การมีรูป มีลูกศร ในโน้ตยังช่วยแสดงความสัมพันธ์ แสดงคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาให้อยู่ในลักษณะที่เป็นภาพ ทำให้สิ่งที่เราเรียนเข้าไปอยู่ในสมองทั้งในลักษณะคำศัพท์และรูป ช่วยให้น้องๆ ดึงสิ่งที่เรียนจากความทรงจำระยะยาวได้ดีกว่า ทำให้ไม่ลืมสิ่งที่เรียนไปง่ายๆ 4.ช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น   การจดโน้ตช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory (ความทรงจำเพื่อใช้งาน) ซึ่งเป็นความทรงจำระยะสั้นๆ ระยะเวลาหนึ่ง เช่น การจดจำที่อยู่ขณะที่คิดว่าจะไปที่นั่นได้ยังไงเป็นต้น    การจดโน้ตทำให้เราไม่ต้องจดจำสิ่งที่เรียนทั้งหมดทุกอย่างภายในคราวเดียว จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory ตรงนี้ จึงช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนขึ้นได้ดีกว่าเดิม เช่น แก้โจทย์เลขยากๆ ซับซ้อนๆ เพราะไม่ต้องแบกข้อมูลไว้ในสมองจำนวนมาก 5.ช่วยให้ชีวิตมีระเบียบมากขึ้น   การจดโน้ตไม่ใช่จำกัดแค่การจดโน้ตตอนเรียนเท่านั้น แต่การจดโน้ตสิ่งที่เราจะทำหรือ to-do list ยังช่วยให้น้องๆ ไม่ลืมสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ลืมว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง วางแผนชีวิตได้ มีชีวิตที่มีระเบียบมากขึ้นกว่าการไม่จดโน้ตอีกด้วยนะ    การจดโน้ตมีประโยชน์มากมายจริงๆ เพราะฉะนั้นตอนเรียนก็ไม่ควรฟังอาจารย์แบบผ่านๆ แต่ควรจะจดโน้ตสิ่งที่น้องๆ ได้เรียนไว้ด้วยนะ เพราะจะทำให้เก็บเกี่ยวความรู้ได้มากกว่ากันเยอะเลย!!! Reference Boch, F. & Piolat, A. (2005). Note Taking and Learning: A…
Read More
เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

9วิชาสามัญ, English, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาอังกฤษ, หนังสือ
        เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที          สวัสดีค่า ช่วงนี้คลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ผู้เขียนยังอยู่บ้าน Work From Home อยู่ นอกเวลางานก็ไถโซเชียลดูเพลิน ๆ แต่บางครั้งก็รู้สึกเบื่อโลกโซเชียล เลยถือโอกาสนี้มาฝึกสกิลภาษาอังกฤษด้วยการหานิยายภาษาอังกฤษอ่าน           แต่ปัญหาก็คือเราหาหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ภาษาอังกฤษเราไม่ได้สักที บางเล่มก็รู้สึกว่าง่ายไปไม่ค่อยได้ฝึกคำศัพท์ใหม่ ๆ บางเล่มก็ยากเกินเหมือนภาษาต่างดาว5555 จนเร็ว ๆ นี้เราบังเอิญได้ไปเจอคนที่พูดถึงเรื่องนี้ในyoutube https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0           จากในคลิป คุณUSAiko พูดถึงเรื่องหลัก Five Finger Rule ซึ่งเป็นหลักง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถหาหนังสือภาษาต่างประเทศที่เหมาะกับระดับของเราได้           Five Finger Rule           วิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนที่จะซื้อหนังสือ ให้น้อง ๆ สุ่มเปิดมาหนึ่งหน้า จากนั้นก็ลองกวาดสายตาอ่านดู และเมื่อเจอคำศัพท์ที่เราไม่รู้ก็ให้ชูนิ้วขึ้นมา โดยจำนวนนิ้วที่เราชูขึ้นมาจะบ่งบอกว่าระดับภาษาในหนังสือเล่มนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า           0-1 นิ้ว : ระดับภาษาในหนังสือง่ายเกินไป           2 นิ้ว : ระดับภาษาที่เหมาะสมกับน้อง ๆ ที่สุด (คำศัพท์ไม่ยาก ไม่ง่ายเกินไป และน้อง ๆ ยังสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้แบบไม่กดดัน)           3 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เหมาะกับคนที่ต้องการท้าทาย อยากเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เยอะ ๆ           4 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกระดับ ไม่ค่อยแนะนำเพราะอ่านไปนาน ๆ อาจรู้สึกเหนื่อย ถอดใจไปได้           5 นิ้วขึ้นไป : ระดับภาษายากเกินไป ควรเปลี่ยนเล่มใหม่เป็นเล่มที่ง่ายกว่านี้ ที่มา: https://www.asiabooks.com/breasts-and-eggs-249270.html           อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนลังเลอยู่ว่าจะซื้อหนังสือเรื่อง BREASTS AND EGGS ดีไหม (แต่พออ่านแล้วก็ขอขายว่าเรื่องนี้ดีจริง สะท้อนด้านมืดของสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงต้องเจอ น้องคนไหนสนใจก็ไปตำได้จ้า) เพราะเป็นคนถอดใจง่าย ถ้าศัพท์ยากเกินไป ความอยากอ่านก็จะลดลง เราเลยเอาหลัก Five Finger Rule มาใช้ โดยสุ่มเปิดมาหน้าหนึ่งแล้วอ่าน นับจำนวนคำที่ตัวเองไม่รู้           จากในภาพจะเห็นว่ามีคำศัพท์ที่ผู้เขียนไม่รู้ 3 คำตามที่ได้ขีดเส้นใต้สีแดงเอาไว้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะยากกว่าความสามารถของผู้เขียนนิดหนึ่ง แต่ก็เหมาะจะเอาไว้ใช้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ (ดังนั้นผู้เขียนก็รีบคว้าไปจ่ายตังค์เลยค่ะ5555)           น้อง ๆ ผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตอนนี้แล้วอาจจะคิดว่า แล้วถ้าตัวน้องอยากรู้ภาษาต่างประเทศไว ๆ ไม่ได้ขี้เกียจหรือถอดใจกับการหาคำศัพท์ง่าย ๆ…
Read More