ทำข้อสอบได้ชัวร์! กับสรุปชีวะ 9วิชาใน CLEARNOTE

ทำข้อสอบได้ชัวร์! กับสรุปชีวะ 9วิชาใน CLEARNOTE

9วิชาสามัญ, PAT2, ชีวะ
    สวัสดีค่าน้องๆทุกคน วันนี้บล็อคของเราก็ได้เอาสรุปในแอป Clearnote วิชาชีวะที่น่าสนใจมาให้น้องๆได้เอาไปใช้ทบทวนกันดูค่ะ พี่คิดว่าการอ่านสรุปของเพื่อนหลายๆคนก็ช่วยให้เราได้เก็บตกในจุดที่เราลืมหรือขาดหายไปได้ด้วยนะคะ พร้อมแล้วก็ไปดูกันค่าา💓💓 (more…)
Read More
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

9วิชาสามัญ, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT7, PAT7, บทความสัมภาษณ์, ภาษาอังกฤษ, เคล็ดลับการเรียน
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่ สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสัมภาษณ์พี่ทราย สาวจบใหม่ดีกรีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งน่าจะเป็นคณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ว่าแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ทรายมีเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนสอบอะไรบ้าง Q: แนะนำตัวกันหน่อย ทราย: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อทรายนะคะ ตอนนี้ก็เพิ่งเรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า “AD (แอด)” แต่ต้องบอกน้อง ๆ ก่อนว่าคณะของเรามีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรตั้งแต่ปี2561ทำให้ชื่อสาขานี้เปลี่ยนไปเป็น “สาขาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า หรือABC” นั่นเองค่า ละครนิเทศ จุฬาฯ เรื่อง THE VILLA SMARIS ละครที่เป็นแรงบันดาลใจของทราย ที่มา: https://teen.mthai.com/activities/104835.html Q: ทำไมอยากเข้าคณะนี้ ทราย: ที่จริงเราไม่ได้มีเป้าหมายชัดเจนขนาดนั้นว่าอยากทำงานแบบไหน แต่ตอนม.ปลายเราเอนจอยกับการทำงานที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ชอบถ่ายรูป งานที่ต้องตัดต่อถ่ายคลิปวิดิโอ เลยคิดว่าถ้าได้เรียนได้ทำนู่นทำนี่คงจะสนุกดี พอดีกับที่เราได้ไปดูละครนิเทศ จุฬาฯ ตอนม.5 ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้สนใจและอยากเรียนต่อที่คณะนี้ Q: เล่าเรื่องภาค AD ให้ฟังหน่อย ทราย: เราก็จะเรียนตั้งแต่พฤติกรรมผู้บริโภค การวางแผนสื่อ การวิจัยตลาด ทำแคมเปญ การเขียนบท งานศิลป์ ไปจนถึงงานกราฟฟิคโฆษณา เป็นสาขาที่ทำให้ได้เรียนรู้สกิลหลาย ๆ อย่าง อย่างเราเป็นคนที่ก่อนหน้านี้ใช้Photoshop AIไม่เป็นเลย แต่หลังจากที่ลองเรียนเทอมเดียว เราก็ใช้เป็นและมีประโยชน์กับเรามาจนถึงทุกวันนี้ Q: เริ่มเตรียมตัวสอบตอนไหน ทราย: คือนิเทศ จุฬาฯ ใช้คะแนน GPAX+GAT+PAT7 (หรือPAT1) ซึ่งตัวเราก็รู้ตัวว่าวิชาหลัก ๆ อย่างวิชาภาษาอังกฤษ แล้วก็ภาษาที่ 3 เป็นวิชาหลักของเราที่จะต้องใช้การยื่นสมัคร เราก็เลยเริ่มเรียนพิเศษตั้งแต่ม.4เลย แต่ว่าเพิ่งจะมาเริ่มทำโจทย์เตรียมตัวจริงจังตอนม.6 Q: มีเคล็ดลับยังไงบ้าง ทราย: เราไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษ เตรียมตัวตามปกติเลย อย่างมากก็เขียนศัพท์ลง post-it หลาย ๆ ใบแล้วไว้ที่ผนังข้างเตียง พอเราเห็นบ่อย ๆ ก็จำได้เอง แล้วก็ตอนทำโจทย์ก็จับเวลาจริง พยายามปิดโทรศัพท์ เอาไปไว้ไกล อยู่ในห้องคนเดียวไม่ให้ใครรบกวน เราเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะ ๆ แล้วก็ไม่ชอบจดโน้ตยาว ๆ เราก็เลยเน้นทำโจทย์ข้อสอบเก่าบ่อย ๆ อย่ากลัวที่จะตอบผิด เพราะยิ่งผิดบ่อย ๆ เรายิ่งจำ พวกแพทเทิร์นข้อสอบข้าวของไทยจะไม่ค่อยเปลี่ยนพอเราทำบ่อย ๆ เราก็จะจับทางได้เอง ถึงเวลาสอบจริงเราก็จะไม่ตื่นข้อสอบด้วยนอกจากนี้เวลาเราผิดเราก็จะเอาปากกาแดงวงไว้ตัวใหญ่ ๆ แล้วกลับมาเปิดทบทวนประเด็นนั้น พอตรวจเสร็จแล้วก็จดคะแนนแล้วเว้นไปแล้วกลับมาทำอีกครั้ง Q: ช่วงนั้นเครียดไหม มีวิธีจัดการกับความเครียดยังไง ทราย: ช่วงเตรียมสอบเราค่อนข้างเครียดน้อย เพราะมีเวลาเตรียมตัวมาเรื่อย ๆ…
Read More
สรุปวิชาสังคม 9 วิชาในแอป CLEARNOTE Part 2!

สรุปวิชาสังคม 9 วิชาในแอป CLEARNOTE Part 2!

9วิชาสามัญ, สังคม
    สวัสดีค่าน้องๆกลับมาพบกับบล็อกของ Clearnote อีกแล้วว จากครั้งที่แล้วที่ได้เอาโน้ตสรุป 9 วิชาสังคมมาแชร์ อาทิตย์นี้เราก็เอามาแชร์เพิ่มให้น้องๆอีกค่า เพื่อที่จะได้ทวนกันอย่างเต็มที่! เรามาดูกันดีกว่าค่าว่าสรุปที่เอามาแชร์เพิ่มให้น้องๆในวันนี้มีอะไรบ้าง! (more…)
Read More
สอบครั้งนี้ไม่มีพลาด! กับโน้ตสรุปอิ้ง 9 วิชาในแอป Clearnote

สอบครั้งนี้ไม่มีพลาด! กับโน้ตสรุปอิ้ง 9 วิชาในแอป Clearnote

9วิชาสามัญ, English, TCAS, ภาษาอังกฤษ, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน กลับมาพบกับบล็อกของ Clearnote กันอีกแล้ว อาทิตย์นี้ บล็อกของเราก็จะยังมาแนะนำสิ่งดีๆ ให้กับน้องๆ ทุกคนอีกเช่นเคย และเนื่องจากคราวนี้วันสอบ 9 วิชาสามัญก็ใกล้เข้ามาแล้ว หัวข้ออาทิตย์นี้เลยเป็นการแนะนำโน้ตสรุป 9 วิชาสามัญภาษาอังกฤษนั่นเอง ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย! 1.เทคนิค Eng 9 สามัญ โดย 🌊2197_c🐋   เหมาะกับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับข้อสอบมาก เพราะสรุปนี้จะมาบอกเทคนิคกันแบบหมดเปลือกไปเลย ทั้งพาร์ทสนทนาว่าควรเลือกตอบยังไง มีคำไหนที่จะเป็นคำใบ้บอกให้เรารู้ได้ แถมยังมี idioms ที่น่าสนใจให้ลองท่องไปด้วยนะ เผื่อออกสอบ ส่วนแกรมม่ามีบอกส่วนประกอบของประโยค วิธีแยกส่วนประโยคจะได้ไม่งง ไม่รู้จะเริ่มทำจากตรงไหนดี ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: เทคนิค Eng 9 สามัญ 2.80+ ENG (9วิชา) ใครๆก็ทำได้ 🤓 โดย Heremeow   สรุปคำศัพท์ที่มักออกและมีโอกาสออกใน 9 วิชาภาษาอังกฤษ มีหลายหมวดมาก ท่องกันไปให้จุใจได้เลย แถมยังมี suffix ที่เจอบ่อยๆ ให้ด้วย ไม่ต้องกลัวเลยเวลาเจอคำที่ไม่รู้จัก เดาศัพท์แบบมีหลักการ เพิ่มโอกาสได้คะแนนไปอีก! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: 80+ ENG (9วิชา) ใครๆก็ทำได้ 3.[GATENG][9วิชา] conversation โดย Short.note2u   ใครไม่ค่อยมีโอกาสได้พูดหรืออ่อนพาร์ทบทสนทนาสรุปนี้เหมาะมากๆ เพราะรวมวลีและประโยคที่มักใช้ในการพูดคุยเอาไว้หลายสถานการณ์เลย สวัสดี ลาก่อน ชื่ออะไร ทำงานที่ไหน รับอะไรไหมคะ มีหมดเลยจ้า ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GATENG][9วิชา] conversation 4.[9วิชา]Tenses12Tenses โดย MynoteJ   อันนี้ขาดไม่ได้เลย 12 Tenses ออกแน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์ สรุป 12 tenses พร้อมวิธีใช้ และคำบอกเวลาที่ใช้กับ Tense นั้นๆ สั้น กระชับ ใช้เวลาอ่านไม่นาน แต่เข้าใจได้ง่ายๆ อ่านไว้รับรองมีประโยชน์เพราะต้องใช้ในการทำข้อสอบทุกพาร์ทเลย! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [9วิชา]Tenses12Tenses 5.ϟ 「ท่องจำ」♡Connectors☻ โดย buzz.lightyear   สรุปคำเชื่อมประโยคพร้อมความหมาย แบบเยอะมากจริงๆ เต็มๆ สองหน้า เข้าใจง่าย ไม่งง เพราะแยกเป็น group ตามความหมายให้เสร็จเลย จำไว้มีประโยชน์แน่นอน ใช้สอบได้ แถมพอใช้พูดใช้เขียนก็ยังดูเก่งภาษาอังกฤษขึ้นมาสุดๆ เลย ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: ϟ 「ท่องจำ」♡Connectors☻   นอกจากสรุปภาษาอังกฤษ 9 วิชาแล้ว ในแอป Clearnote ก็ยังมีสรุปภาษาอังกฤษอื่นๆ อีกนะ ทั้งสรุป GAT ENG สรุปเพิ่มเกรดภาษาอังกฤษและอื่นๆ…
Read More
6 แอปฟรีไว้ฝึกภาษาอังกฤษที่มีไว้ปังแน่นอน!

6 แอปฟรีไว้ฝึกภาษาอังกฤษที่มีไว้ปังแน่นอน!

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สอบเข้าม.ปลาย
  พูดได้แต่อ่อนแกรมม่า? เก่งแกรมม่าแต่พูดไม่ได้? จำคำศัพท์ไม่ได้? ใช้ภาษาอังกฤษได้ไม่ดีเท่าที่ควร?   น้องๆ เป็นคนหนึ่งที่อยากเก่งภาษาอังกฤษให้มากขึ้นกว่านี้ใช่รึเปล่า??    แต่โควิดแบบนี้ไม่สะดวกออกไปเรียนพิเศษข้างนอก ไม่รู้จะทบทวนยังไงให้เก่งดี?   ถ้าใช่ ก็ขอให้อ่านบทความนี้ต่อเลย ไม่ต้องกลุ้มใจไป! (more…)
Read More
วิชานี้ไม่ควรทิ้ง! รวมสรุปสังคม 9 วิชาในแอป Clearnote

วิชานี้ไม่ควรทิ้ง! รวมสรุปสังคม 9 วิชาในแอป Clearnote

9วิชาสามัญ, สังคม, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้าทุกคน อีกไม่นานจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันแล้ว ทั้ง Gat Pat ทั้ง 9 วิชาสามัญ เข้ามาทีเดียวจนน่าปวดหัว จนอาจทำให้น้องๆ บางคนตัดสินใจทิ้งบางวิชาที่อ่านไม่ทันไป เช่น สังคม 9 วิชา (ที่มักโดนทิ้งอยู่เสมอ เพราะออกกว้างมากกกก จนไม่รู้จะอ่านอะไรดี...) (more…)
Read More
Podcast แนะนำสำหรับเรียกกำลังใจ

Podcast แนะนำสำหรับเรียกกำลังใจ

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สอบเข้าม.ปลาย
Podcast แนะนำสำหรับเรียกเสริมกำลังใจ สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ผู้เขียนค่อนข้างเหนื่อย ๆ หมดกำลังใจ ทำอะไรก็รู้สึกหมดแรงไปหมด ผู้เขียนเลยพยามยามลดการเข้า Social Media ดู แต่พองดแล้วก็กลายเป็นว่าเวลาเหลือเยอะขึ้น ทำให้เราเอาเวลานั้นไปคิดฟุ้งซ่านอีก วนลูปแบบนี้ไปประมาณ 2 วัน ก็คิดว่าไม่ได้การแล้ว เลยลองไปเปิด Podcast ฟังแทน ปรากฏว่าพอฟังแล้ว จากที่เครียด ๆ อยู่ก็รู้สึกได้รับพลัง แง่คิดและแรงบันดาลใจ เลยคิดว่าช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงที่น้อง ๆ หลาย ๆ คนเริ่มเปิดเรียน และเริ่มอ่านหนังสือเพื่อสอบGat/Pat อาจต้องการกำลังใจเป็นพิเศษ เลยเอา podcast ที่ชอบโดยส่วนตัวมาแชร์ Coming of Age - The Cloud Podcast ที่มา: https://readthecloud.co/column/coming-of-age/ เป็น Podcast ที่ผู้เขียนพูดได้เลยว่าสามารถดึงผู้เขียนออกจากความเศร้าเลย โดยPodcastนี้จะนำเสนอเรื่องราวแง่คิด บทเรียนจากชีวิตที่ผ่านมาของแขกรับเชิญต่าง ๆ มาให้ได้ฟัง ซึ่งตอนแรกที่ฟังก็คิดว่าฟังขำ ๆ คงไม่ตรงกับตัวเองเพราะดูจากหัวข้อแล้วก็ไม่เกี่ยวกับตัวเอง แต่พอฟังดูแล้วก็ทำให้รู้ได้ว่าถึงหัวข้อไม่ตรง แต่เราก็สามารถนำวิธีคิด หรือวิธีการใช้ชีวิตของแขกรับเชิญมาปรับให้เข้ากับตัวเองได้ โดยตอนที่ผู้เขียนชอบที่สุดคือตอนของซิลวี่ ภาวิดาEP. 71 “เราเคยผอม แต่ในวันที่ผอม มันก็ยังไม่พอ” คุยกับ SILVY วัย 25 ที่ภูมิใจกับไซส์ ‘XL’ที่นอกจากจะพูดถึงการต่อสู้กับ Beauty Standard แล้ว ยังสอนให้กลับมารักตัวเอง และใช้ชีวิตเดินไปตามความฝัน https://www.youtube.com/watch?v=ZmE-w_teVxI ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=ZmE-w_teVxI ศิลปะการต่อสู้- The Cloud Podcast ที่มา: https://readthecloud.co/column/resistanceart/ คิดว่าหลาย ๆ คนถ้าอ่านแค่ชื่อ Podcast ก็อาจคิดว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับมวยไทย เทควันโดต่าง ๆ ใช่ไหมคะ แต่จริง ๆ แล้ว Podcast นี้จะเป็นเรื่องราวการต่อสู้ผ่านงานศิลปะของศิลปะและนักสร้างสรรค์หลายยุคหลายสมัย ซึ่งจริง ๆ แล้ว ช่องPodcast นี้เป็นช่องที่เราฟังอยู่แล้วก่อนหน้านี้ และรู้สึกว่าได้รับกำลังใจจากคนที่คอยยืนหยัดต่อสู้เพื่อความฝันหรือต่อสู้กับปัญหาสังคมในยุคนั้น ๆ ถ้าถามว่าตัวผู้เขียนชอบEp.ไหนที่สุด ก็ขอตอบเลยว่าคือEP. 50 Yayoi Kusama ความเศร้าที่ซ่อนอยู่ภายใต้ศิลปะสีสันสดใส ซึ่งคอยสร้างสรรค์ผลงานเพื่อทำตามความฝันของตัวเอง นอกจากนี้ผลงานแต่ละงานยังสื่อถึงบาดแผลในวัยเด็กและการต่อสู้กับสังคมปิตาธิปไตยด้วย เรียกได้ว่าเป็นไอดอลคนหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นได้ถึงความเข้มแข็งและอดทนเพื่อความฝัน https://www.youtube.com/watch?v=oNhWyb_FLCU ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=oNhWyb_FLCU ฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน ที่มา: https://istudyfashioninmilan.podbean.com/ จริง ๆ แล้ว ผู้เขียนติดตามผลงานของเจ้าของ Podcast นี้ ตั้งแต่หนังสือฉันเรียนแฟชั่นที่มิลาน (หรือถ้าใครสนใจก็ลองไปดูในเพจ Facebook:…
Read More
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, รีวิวคณะในฝัน, อาชีพ
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร             สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนก็คงจะยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้านกันกับครอบครัวใช่ไหมคะ แล้วบทสนทนาส่วนใหญ่ที่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่จะคุยก็หนีไม่พ้นไปจากถามว่า “โตขึ้นอยากทำอะไร” “จบม.ปลายไปจะไปเรียนอะไร” “จบมหาลัยแล้วจะทำงานอะไร” ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คน (รวมถึงผู้เขียน) พอโดนถามก็ตอบไม่ถูก เพราะก็ยังไม่รู้ว่าอยากทำอะไรจริง ๆ หรือยังค้นหาตัวเองไม่เจอ และคำตอบนี้ของเราก็ไม่ใช่แค่ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ คิดว่าเราเป็นคนไม่มีเป้าหมายเท่านั้น แต่ตัวเราเองก็เกิดความไม่มั่นใจกับอนาคตตัวเองด้วย             จริง ๆ แล้วผู้เขียที่ตอนนี้ก็ยังเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่ Clearnote และเป็นหนึ่งในคนที่โดนถามด้วยคำถามเหล่านี้ ก็ยังไม่มีแผนการที่แน่ชัดกับอนาคตตัวเอง แต่ในฐานะที่เคยตัดสินใจเส้นทางชีวิตสำคัญ ๆ ของตัวเองมา 2 ครั้ง คือ 1.ตอนที่เลือกสายการเรียนและโรงเรียนม.ปลาย กับ 2. ตอนที่เลือกคณะ มหาวิทยาลัย ป.ตรี เรามีวิธียังไงที่จะช่วยค้นหาตัวตนได้ ไปดูกันเลย !             1. สังเกตตัวเองว่าชอบอะไร             เรียกได้ว่าเป็นวิธีเบสิคที่สุดเลยทีเดียว โดยเราอาจสังเกตดูก็ได้ว่าเราชอบเรียนวิชาอะไร (หรือถ้าไม่รู้ตัวเอง เราอาจดูก็ได้ว่าวิชาไหนที่เรารอ อยากจะเรียนคาบต่อไป) หรือถ้าไม่มีวิชาที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจจะหาวิชาที่ทำได้ดี ได้รับคำชมเยอะ หรือก็คือวิชาที่ถนัดนั่นเอง วิธีนี้แน่นอนว่าใช้ได้ไม่ใช่แค่กับวิชาเท่านั้น ยังใช้ได้กับกิจกรรมต่าง ๆ ก็ได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม เล่นดนตรี ทำขนม ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ             เมื่อเรารู้ตัวเองแล้วว่าชอบอะไรก็ลองตั้งคำถามกับตัวเองก็ได้ว่า เราจะสามารถเอาสิ่งนี้มาเป็นงานได้ไหม หรือสิ่งนี้ ทักษะนี้สามารถเอาไปพัฒนา ต่อยอดเป็นอาชีพอะไรได้บ้าง             2. สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร             จากข้อที่แล้วที่ให้สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร แล้วก็มาดูข้อตรงข้ามกันบ้างก็คือสังเกตว่าตัวเองไม่ชอบ ไม่ถนัด หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง อย่างผู้เขียนเป็นคนที่เรียนเลขได้ แต่เรียนวิทย์ หรืออะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ได้เลย ดังนั้นผู้เขียนเลยเลือกเรียนสายศิลป์ซึ่งเป็นทางที่ผู้เขียนมั่นใจและถนัด นอกจากนี้อาจสังเกตว่าเรากลัวอะไรก็ได้ เช่น ถ้าเป็นคนกลัวเลือดก็อาจจะต้องทำใจว่าถ้าเรียนหมอก็ต้องเจอเลือดอีกเยอะ ถ้าใครใจฮึดสู้ก็ไปเลย แต่ใครไม่ไหวก็อาจต้องลองคำนึงถึง choice อาชีพอื่น ๆ             แต่แน่นอนว่าถ้าน้องคนไหนรู้ว่าตัวเองไม่ถนัด แต่ก็ยังชอบ อยากลองท้าทาย ก็แนะนำว่าลุยเลยยย ถึงเราจะไม่ได้ตอนนี้ แต่ความเก่งสร้างกันได้ ดังนั้นถ้าน้องมีความอดทน มีความพยายาม อะไรก็ไม่ยากเกินเอื้อม!             3. ถามตัวเองว่าให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต             อยู่ ๆ ก็มาถึงเรื่องที่ดูจริงจังขึ้นมา แต่ในชีวิตจริงเราอาจลองถามตัวเองดูว่าในอีก10 20 ปีข้างหน้า เราอยากให้ตัวเองเป็นแบบไหน อยากเป็นคนที่มีเงิน อยากเป็นคนที่มีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองรัก อยากเป็นคนมีเวลา ไม่ต้องมีชีวิตรีบเร่ง อยากเป็นคนมีชื่อเสียง อยากเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน  แต่เมื่อเรารู้ได้แล้วว่าในอนาคตเราต้องการอะไร เราให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุดในชีวิตการทำงาน และเมื่อเรารู้แล้วกรอบของอาชีพที่ตรงกับเงื่อนไขที่เราคิดก็จะแคบลง…
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS

ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, PAT7, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, เรียนภาษาญี่ปุ่น
ตีแผ่เคล็ดลับการเรียน RM วงBTS            สวัสดีค่ะ ช่วงนี้น้อง ๆ หลายคนคงได้เห็นคลิปไอดอลวง BTS เป็นทูตวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเกาหลีใต้ไปขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงาน Sustainable Develoopment Goals Moment (SDG Moment) ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 76 และได้เต้นเพลง Permission to Dance กลางที่ประชุมสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ประจำกรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา https://www.youtube.com/watch?v=jzptPcPLCnA https://www.youtube.com/watch?v=jzptPcPLCnA https://www.youtube.com/watch?v=9SmQOZWNyWE https://www.youtube.com/watch?v=9SmQOZWNyWE             ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่วง BTS ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ โดยในครั้งแรกที่คิมนัมจุน ลีดเดอร์วง BTS ได้ไปกล่าวสุนทรพจน์ในปี 2018 ก็ได้เรียกเสียงฮือฮาถึงความสกิลภาษาระดับเทพของนัมจุน ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงจะขอมาตีแผ่ (จริง ๆ คืออยากมาอวย5555) วิธีเรียนของนัมจุนให้น้อง ๆ ลองเอาไปปรับใช้กันดู https://www.youtube.com/watch?v=oTe4f-bBEKg https://www.youtube.com/watch?v=oTe4f-bBEKg ประวัติการศึกษา             ก่อนที่จะมาพูดถึงวิธีการเรียนของนัมจุน เรามาดูโปรไฟล์การศึกษากันก่อนว่าเทพขนาดไหน จบการศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนมัธยมปลายอัพกูจอง (Apgujeong High School) โดยได้รับคัดเลือกให้เป็นนักเรียนเกียรตินิยมม.2 ทำคะแนนTOEIC ได้คะแนนสูง 850/990 คะแนน โดยต่อมาปี 2020 นัมจุนได้ลองสอบอีกครั้ง แล้วได้คะแนนสูงถึง 915/990คะแนน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคะแนนตอนม.2 หรือตอนปี 2020 ก็ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของคนเกาหลีที่จะอยู่ที่ 675 คะแนน (ส่วนคะแนนเฉลี่ยของทั้งโลกคือ 500 คะแนน)อายุ 15 ปี สอบวัดระดับความสามารถภาษาอังกฤษ TEPS (Test of English Proficiency) ได้คะแนน 797/990 คะแนน โดยอยู่ในเกณฑ์ 2+ (สูงสุดคือ 1+) ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูงสำหรับเด็กอายุ 15 ปีติดท็อป 1.3% ของประเทศในการสอบเข้าเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ในวิชาภาษาเกาหลี คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษาไอคิว 148 ซึ่งถือเป็นท็อป 0.1% ของประชากรทั้งโลก             หลังจากเห็นโปรไฟล์ความเก่งของนัมจุนแล้ว น้อง ๆ หลายคนคงอยากรู้เคล็ดลับการเรียนของนัมจุนกันแล้วใช่ไหมคะ งั้นเราไปดูกันเลย! 1. ฝึกภาษาด้วยการเสพซีรีส์ https://www.youtube.com/watch?v=IOuFE-6Awos https://www.youtube.com/watch?v=IOuFE-6Awos             นัมจุนได้ฝึกภาษาผ่านทางการดูซีรีส์เรื่อง Friends ซึ่งเป็นซีรีส์อเมริกันซึ่งมีมากถึง 10 ซีซั่น (เรียกได้ว่าดูกันจนตาแฉะเลย) โดยวิธีการฝึกภาษาของนัมจุนจะแบ่งการดูซีรีส์ออกเป็น 3 รอบ             รอบที่ 1: ดูด้วยภาษาแม่            …
Read More