คัดมาเน้นๆ!  5 โน้ตสรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ในแอป Clearnote

คัดมาเน้นๆ! 5 โน้ตสรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ในแอป Clearnote

English, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สอบเข้าม.ปลาย, แอป Clearnote
คัดมาเน้นๆ! 5 โน้ตสรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ในแอป Clearnote   สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน กลับมาพบกับบล็อกจาก Clearnote กันอีกแล้ว วันนี้บล็อกของเราได้รวบรวมโน้ตสรุป Grammar จาก App Clearnote สุดปัง สุดยอด ดีเลิศ เด็ดขาด อันดับหนึ่ง ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ มาไว้ให้น้องๆ เข้าไปอ่านกันได้เลย สำหรับคนที่อยากทวน Grammar โดยเฉพาะ! 1.New English Grammar 1-3 โดย PREMZ PLAY   โน้ตสรุปรวม Grammar ตั้งแต่ ม.4 - ม.6 จุกๆ ทั้งหมด 3 เล่ม ที่สุดยอดมากๆ เพราะรวมเนื้อหา Grmmar ไว้ได้ครบและจบจริงๆ แถมยังตกแต่งได้สวย น่าอ่านมากๆ อธิบายเข้าใจง่ายๆ มีตัวอย่างประโยคประกอบพร้อมรูป   แต่ที่ทาง Clearnote ถูกใจสุดๆ คือ สัญลักษณ์ที่แสดงว่า tense นั้นใช้พูดถึงเหตุการที่ดำเนินในเวลาไหน ตรงนี้เข้าใจง่ายมากๆ ในตอนที่อ่านครั้งแรก ที่สำคัญเวลากลับมาทวน แค่มองสัญลักษณ์ตรงนี้ก็ทำให้นึกออกได้ง่ายๆ เลย   สำหรับใครที่อยากทวน Grammar ภาษาอังกฤษแต่ไม่รู้จะเริ่มอ่านอะไรก่อน ก็ขอแนะนำให้อ่านสรุปทั้ง 3 เล่มนี้เลยจ้า เพราะรวมเนื้อหาไว้ได้ครบมากๆ ลิงก์ไปอ่าน New English Grammar เล่ม 1 📌 สรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ม.4 (ปรับปรุงล่าสุด) เล่ม 2 📌 สรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ม.5 (ปรับปรุงล่าสุด) เล่ม 3 📌 สรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ม.6 (ปรับปรุงล่าสุด) 2.เทคนิคแกรมม่า จำ 12 Tenses ใน 10 นาที โดย MyLearnVille   จริงๆ แล้วใน Clearnote ไม่ได้มีแต่โน้ตสรุปให้อ่านนะ แต่ยังมีวิดิโอสอนจากติวเตอร์อีกด้วย อย่างวิดิโอนี้เป็นวิดิโอสอนสอนเทคนิคการจำ 12 tenses ใน 10 นาที โดยติวเตอร์จาก MyLearnVille   น้องๆ คนไหนอ่านเรื่อง tenses แล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่จำไม่ได้เพราะไม่รู้จะจับหลักอะไร ขอแนะนำให้ดูวิดิโอนี้เลย…
Read More
ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!

ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!   สวัสดีจ้าทุกคน วันนี้ก็มาพบกับบล็อกของ Clearnote กันอีกแล้วนะ ช่วงสอบแบบนี้น้องๆ หลายคนอาจจะเบื่อๆ เหนื่อย ไม่มีแรงอ่านหนังสือ น้องๆ บางคนก็อาจจะหาเพลงมาเปิดระหว่างอ่านหนังสือ จะได้มีสมาธิอ่านหนังสือมากขึ้น แต่การฟังเพลงของอ่านหนังสือช่วยให้อ่านหนังสือรู้เรื่องขึ้นจริงรึเปล่านะ? บล็อก Clearnote ของเราวันนี้จะพาไปดูกัน! ตกลงฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นไหม?    การฟังเพลง (โดยเฉพาะเพลงที่ชอบ) ช่วยให้รู้สึกดีขึนจริง เพราะพอน้องๆ ฟังเพลงสมองจะหลั่งสารโดปามีนออกมา ช่วยให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้รู้สึกเครียดน้อยลง   แต่เมื่อเราฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ สมองจะรับรู้ว่าเพลงไปด้วย ทำให้สมองแก้ปัญหาหรือเรียกสิ่งที่จำไว้ออกมาใช้ได้น้อยลง(อาการนึกไม่ค่อยออก) เพราะสมองกำลังประมวลผลเพลงที่เราฟังไปด้วยไม่ว่าเราจะต้องการหรือไม่ (นึกถึง CPU คอมที่อาจจะร้อนๆ ค้างๆ ถ้าเราเปิดเกมหลายเกมพร้อมกัน)   เพราะฉะนั้นก็อาจพูดได้ว่า อ่านหนังสือแบบเงียบๆ อาจจะดีกว่าถ้าเทียบกับอ่านโดยเปิดเพลงไปด้วยนะ! (แต่อาจต้องใช้พลังใจในการอ่านมากหน่อย เพราะต้องพยายามไม่เบื่อ ไม่หลับ) แล้ว Mozart effect ล่ะ ตกลงเป็นเรื่องจริงรึเปล่า   Mozart effect หรือความคิดที่ว่าการฟังเพลงของ Mozart ช่วยให้ฉลาดขึ้น ช่วยให้เรียนดีขึ้น หรือคุณแม่ที่ท้องควรเปิดเพลงของ Mozart ให้เด็กฟัง จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ฉลาดขึ้นนั่นเอง   แล้วเจ้า Mozart effect นี่เป็นเรื่องจริงเหรอ?   คำตอบ คือ ไม่จริงจ้า (แป่ว) การฟังเพลงของ Mozart หรือเพลงคลาสสิคไม่ได้มีประโยชน์มากกว่าเพลงของศิลปินคนอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญอะไรเลย ประโยชน์ก็เหมือนกับเพลงอื่นๆ ทั่วไปคือช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นเฉยๆ งั้นฟังเพลงตอนไหนถึงจะดี   ถึงแม้งานวิจัยจะบอกว่าการฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียน จะทำให้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา (เช่น แก้โจทย์เลข) ลดลง และเรียกซึ่งที่จดจำไว้ออกมาใช้ได้น้อยลงทำ   แต่การฟังเพลงระหว่างช่วงพักเบรคก็ยังให้ผลดีอยู่นะ เพราะทำให้สมองหลั่งโดปามีนอย่างที่บอกไป ช่วยให้มีความสุข ผ่อนคลาย ช่วยเปลี่ยนอารมณ์ที่เบื่อๆ ง่วงๆ เพราะอ่านหนังสือได้ดีเลย ทำให้มีแรง มีไฟกลับมาอ่านหนังสือต่อได้ดีขึ้นกว่าพักเฉยๆ เบื่อๆ ถ้าอยากฟังเพลงตอนเรียน ควรฟังเพลงแบบไหน   ถ้าน้องๆ ยังอยากฟังเพลงตอนเรียน เพราะเบื่อไม่ไหวจริงๆ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cambridge บอกว่า น้องๆ ควรฟังเพลงช้า ใช้คอร์ดไมเนอร์ในเพลงและให้ความรู้สึกเศร้าๆ นิดหน่อย เช่น  prelude in E major ของ Chopin https://www.youtube.com/watch?v=CU9RgI9j7Do   นอกจากนี้เพลงไม่มีเนื้อร้องก็ไม่รบกวนสมาธิระหว่างอ่านหนังสือมากเท่ากับเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง แต่ถ้าน้องๆ ไม่ได้ชอบเพลงบรรเลงก็ไม่ต้องฝืนฟังนะ เดี๋ยวจะได้ผลตรงกันข้าม ถ้าน้องๆ ชอบเพลงที่มีคำร้อง อาจจะลองเปลี่ยนไปฟังเวอร์ชั่น off-vocal ดู ก็อาจจะช่วยได้เหมือนกัน ยังได้ฟังเพลงที่ชอบโดยไม่รบกวนสมาธิ   หรือถ้าไม่มีศิลปินที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจลองค้นหาใน Youtube หรือ Spotify ว่า "Music for study" ดูก็อาจจะเจอเพลงที่เหมาะกับการเรียนก็ได้นะ!   สรุปแล้ว การฟังเพลงก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง อาจจะขึ้นอยู่กับตัวน้องๆ…
Read More
Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป

Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, TCAS, Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
  Pomodoro Technique เทคนิคที่จะทำให้การอ่านหนังสือไม่ล้าอีกต่อไป          สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนอาจเหนื่อย ๆ เพลีย ๆ เพราะอ่านหนังสือเตรียมสอบไฟนอลกัน  แต่บางครั้งคงรู้สึกกันว่าถึงอ่านหนังสือหนัก เรียนหนักแล้ว แต่เนื้อหาก็ไม่เข้าหัว เบลอ ๆ ไปทำข้อสอบ ทำสอบ คะแนนก็ไม่ดี ไม่คุ้มกับเวลาที่อ่านหนังสือไป           วันนี้ผู้เขียนเลยจะมาแนะนำเทคนิคการบริหารเวลาแบบง่าย ๆ ที่จะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือหรือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ล้าอีกต่อไป นั่นก็คือ Pomodoro Technique           Pomodoro Technique คืออะไร?           น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นชื่อกับPomodoro Technique ดังนั้นผู้เขียนขออธิบายที่มาที่ไปของเทคนิคนี้ง่าย ๆ ว่าเทคนิค Pomodoro เป็นเทคนิคการบริหารเวลาที่คิดค้นขึ้นมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยชื่อ Francesco Cirillo ซึ่งตอนนั้นเขาที่กำลังหาทางที่จะทำให้ตัวเองเรียนและทำงานให้เสร็จภายใต้เงื่อนไขเวลาที่จำกัด จนไอเดียก็มาปิ๊งตอนที่ Cirillo ได้เจอนาฬิกาจับเวลารูปมะเขือเทศที่ห้องครัว ทำให้ไป ๆ มา ๆ ก็เกิดเทคนิค Pomodoroนี้ขึ้นมา (Pomodoro แปลว่า มะเขือเทศ ในภาษาอิตาลี)           โดยเทคนิคPomodoro เป็นเทคนิคการบริหารเวลาที่จะแบ่งช่วงเวลาทำงานหรืออ่านหนังสือออกเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 25 นาที โดยในแต่ละช่วงจะมีช่วงพัก 5 นาที ซึ่งCirillo เชื่อว่าการทำแบบนี้จะทำให้สมองสามารถทำงานได้อย่างมีสมาธิ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ล้าจนเกินไป           How to อ่านหนังสือด้วยเทคนิค Pomodoro           1. ให้เขียน list หนังสือ แบบฝึกหัด หรืองานที่เราต้องทำ           2. ตั้งนาฬิกาจับเวลา 25 นาที และระหว่างนั้นให้ตั้งใจอ่านหนังสือหรือทำงานตามแผนจนกว่าจะครบ 25 นาที ถือว่าจบ 1 เซ็ต           3. พัก 5 นาที (จะเดินไปดื่มน้ำ กินขนม เล่นกับน้องหมาน้องแมว หรือยืดเส้นยืดสายก็ได้ตามใจชอบ แต่ไม่แนะนำให้เล่นโซเชียลหรือเล่นเกม เพราะอาจยาว555)           4. กลับไปอ่านหนังสืออีก 25 นาที ทำวนข้อ2 3 ให้ครบ 4 เซ็ต           5. เมื่อครบ 4 เซ็ตแล้ว…
Read More
เรียนทีไรง่วงตลอดเลย 6 วิธีแก้ง่วง

เรียนทีไรง่วงตลอดเลย 6 วิธีแก้ง่วง

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, รีวิว, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สุขภาพและความงาม, แอป Clearnote
  พอเปิดหนังสือเรียนทีไรก็ง่วงตลอดเลย จะสอบแล้วแท้ๆ อุตส่าห์พยายามอ่านหนังสือ แต่หนังตาก็ไม่เป็นใจเอาเสียเลย เคยประสบปัญหานี้กันไหมคะ?  วันนี้ Clearnote มีวิธีดีๆ ในการรับมือกับความง่วงมาแบ่งปันกันค่ะ ไปดูกันเลยย 1.งีบสักนิดก่อนเรียน   อาการง่วงระหว่างเรียน ส่วนใหญ่แล้วมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ เผลอดูซีรี่ย์นานไปนิด รู้ตัวอีกทีก็ดึกมากเสียแล้ว ในกรณีแบบนี้ การงีบเอาแรงสักนิดจะดีกว่าค่ะ การงีบจะทำให้สมองเราปลอดโปร่งขึ้น การเรียนก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ แต่อย่างไรตาม อยากให้ระวังเรื่องเวลากันไว้สักหน่อยนะคะ เพียงแค่ 10-15 นาทีเท่านี้ก็เพียงพอแล้วค่ะ หากงีบนานเกินไปอาจจะง่วงกว่าเดิมเอาได้นะคะ 2. ลองเปลี่ยนเนื้อหาที่เรียนดู   หากอ่านวิชาเดิมซ้ำไปมา สมองจะอ่อนล้าและหัวไม่แล่นเป็นที่แน่นอน ทำให้เกิดอาการง่วงหงาวหาวนอนตามมา ลองเปลี่ยนเนื้อหาที่เรียนเช่น อ่านเนื้อหาที่เน้นความจำ (อังกฤษ, ไทย, สังคม เป็นต้น) จากนั้นผลัดมาทบทวนวิชาคำนวณ (คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ เป็นต้น) ช่วยให้ง่วงน้อยลงได้ค่ะ 3. ล้างหน้า แปรงฟันเพิ่มความสดชื่น   ถ้าเริ่มรู้สึกว่าทนไม่ไหวแล้วว ตาจะปิดแล้ว น้ำเย็นสดชื่อนอาจช่วยได้ค่ะ ลองลุกไปล้างหน้าดู ช่วยให้รู้สึกสดชื่น และหายง่วงขึ้นได้ค่ะ หรืออาจจะแปรงฟันด้วยหากมีเวลา เป็นวิธีที่ให้ผลดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ 4. เปลี่ยนที่เรียน   บางทีการเรียนในห้องตนเองอาจทำให้ตั้งสมาธิได้ยากขึ้น เพราะว่ามีสิ่งเร้าที่จะทำให้เราวอกแวกได้ง่ายนั่นเอง ลองย้ายไปเรียนในที่ ที่เหมาะสมกับการเรียนมากขึ้น จะช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่อมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าตรงนั้นเป็นที่สำหรับเรียน เมื่อเข้ามาที่นี่แล้วเราจะต้องเรียนนั่นเอง 5. ยืดเส้นยืดสาย   การนั่งเรียนเป็นเวลานานไป กล้ามเนื้อของเราก็ตึงตามไปด้วย ส่งผลให้เราง่วงขึ้นไปด้วยค่ะ เราอาจพักระหว่างเรียนมายืดเส้นยืดสายกันซักนิด ให้เลือดได้ไหลเวียน อาจเดินไปเดินมาในห้อง หรือยืดหลังง่ายๆ เป็นต้น ทำให้เรากระปรี้กระเปร่าขึ้นค่ะ 6. พูดคุย หรือถามคำถาม   การเรียนเงียบๆ คนเดียว ทำให้เกิดอาการง่วงได้ง่ายใช่ไหมล่ะคะ ลองหาเพื่อนเรียนด้วยกัน ทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนไปด้วยกัน หรือหากมีอาจารย์อยู่ด้วย ก็ลองถามคำถามดูบ้าง การได้ส่งเสียงออกมาทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้นค่ะ ไม่ง่วงแน่นอนน   วิธีเหล่านี้น่าจะทำให้ทุกคนหายง่วงระหว่างเรียนกันได้นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม การนอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อร่างกายเราแข็งแรงพร้อมต่อการเรียน การเรียนรู้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ Clearnote เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ Reference ข้อมูลจาก https://www.eikoh-seminar.com/koukoujuken/column/p7184/
Read More
จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ

จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, TCAS, Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ   เคยเป็นกันไหม?   จดโน้ตไม่ทันที่อาจารย์พูด หรือจดแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่สวยไม่เป็นระเบียบ ไม่รู้ว่าตัวเองจดอะไร ทำเอาไม่อยากอ่านโน้ตที่ตัวเองจดไว้เลย...   เชื่อว่าน้องๆ หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาแบบนี้(เพราะคนเขียนก็เคยเป็นบ่อยๆ) แถมช่วงนี้เป็นช่วงสอบปลายภาคอันแสนน่าปวดหัว วันนี้ Clearnote เลยขอแนะนำ 5 วิธีจดโน้ตให้สวยปัง เป็นระเบียบน่าอ่าน เตรียมพร้อมสอบให้น้องๆ ได้นำไปใช้กันได้เลย! 1.วิธีจดโน้ตแบบ Cornell (The Cornell Method)   วิธีจดโน้ตแบบ Cornell เป็นวิธีจดโน้ตที่พัฒนาขึ้นโดย Dr.Walter Pauk หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย Cornell สหรัฐอเมริกา   วิธีการจดโน้ตแบบ Cornell เริ่มจากการแบ่งหน้ากระดาษของน้องๆ เป็น 3 ส่วน ด้านซ้ายของหน้ากระดาษ: แบ่งเป็นพื้นที่ยาวๆ จนเกือบสุดหน้ากระดาษ ส่วนนี้เอาไว้จด​ Keyword ของเนื้อหาด้านขวาของหน้ากระดาษ: แบ่งเป็นพื้นที่ยาวๆ จนเกือบสุดหน้ากระดาษเช่นกัน แต่ให้กว้างกว่าด้านซ้ายประมาณ 2 เท่า (สัดส่วนประมาณ 2/3) ส่วนนี้เอาไว้จดเนื้อหาตอนเรียนในคาบท้ายหน้ากระดาษ: ส่วนท้ายของหน้ากระดาษ เอาให้เขียนได้ประมาณหนึ่ง (3-4 บรรทัด) ส่วนนี้เอาไว้สรุปเนื้อหาในส่วนด้านขวาอย่างสั้นๆ   เวลาที่เราเรียนในคาบ ให้จดเนื้อหาที่อาจารย์สอนลงในด้านขวาของกระดาษ จากนั้นให้เราทวนเนื้อหาให้เข้าใจ จากนั้นเขียน Keyword ของเนื้อหาในด้านขวาลงในช่องด้านซ้าย จากนั้นเวลาจะทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปอีก ก็ให้ใช้กระดาษหรือสมุดอะไรก็ได้มาบังด้านขวาของกระดาษเอาไว้ ให้เห็นแต่เพียง Keyword ฝั่งซ้าย แล้วก็พยายามพูด อธิบายเนื้อหาในหน้ากระดาษฝั่งขวาเอาไว้เท่าที่ทำได้ ถ้ายังจำไม่ได้ก็ลองอ่านเนื้อหาฝั่งขวาอีกรอบ วนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำได้ สุดท้ายก็จดสรุปสั้นๆ ลงในช่องท้ายหน้ากระดาษ   วิธีการจดโน้ตแบบนี้จะเหมาะกับน้องๆ ที่ต้องจดโน้ตในห้องเรียน แล้วอยากกลับมาทบทวนทีหลังได้ง่ายๆ มีระเบียบ สวยงาม ไม่งง https://www.youtube.com/watch?v=Qyj6ZeL-eHc 2.วิธีจดโน้ตแบบเป็นประโยค (The Sentence Method)   วิธีการจดโน้ตแบบเป็นประโยคคือการจดโน้ตแบบเป็นข้อๆ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ไปเรื่อยๆ โดยแต่ละข้ออยู่ในลักษณะประโยคสั้นๆ ที่มีใจความหลักเพียงอย่างเดียว ขอบคุณข้อมูลเรื่องดวงอาทิตย์จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องที่ 1 ดวงอาทิตย์ สำหรับเด็กระดับกลาง   วิธีการจดโน้ตแบบเป็นประโยคทำให้เราอ่านโน้ตได้ง่ายกว่าการจดเป็นย่อหน้า เพราะแต่ละข้อจะมีเลขข้อแบ่งย่อยๆ ตลอด และมีแค่ใจความหลักแค่หนึ่งเดียว ทำให้จับใจความได้ง่ายกว่าและไม่สับสน   แต่วิธีจดแบบนี้ก็มีข้อเสียคือ แยกได้ค่อนข้างลำบากว่าข้อไหนเป็นหัวข้อใหญ่หรือหัวข้อย่อย และเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันอย่างไร อาจทำให้ทบทวนยากในบางกรณี   วิธีนี้เหมาะกับเวลาที่อาจารย์พูดเร็วมากๆ แต่เนื้อหาที่พูดค่อนข้างเป็นระเบียบอยู่แล้ว ไม่ได้กระโดดข้ามไปมาหรือเปลี่ยนหัวข้อกลางทางกระทันหัน หากใช้วิธีนี้ก็จะทำให้เราจดตามอาจารย์ทัน 3.วิธีจดโน้ตโดยใช้Outline (The Outlining Method)   วิธีจดโน้ตโดยใช้ Outline คือการจดโดยที่ - หรือ dash หรือตัวอักษร ตัวเลขเพื่อบอกว่าอะไรคือหัวข้อ โดยจดให้หัวข้อใหญ่ด้านบนซ้ายสุด…
Read More
จดน้อย จำได้มาก เรียนดีขึ้นด้วยเทคนิค Mind mapping

จดน้อย จำได้มาก เรียนดีขึ้นด้วยเทคนิค Mind mapping

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
  ช่วงนี้หลายๆคนคงเข้าสู่ช่วงสอบปลายภาคกันแล้วใช่ไหมคะ หลายคนคงกังวลใจกับการสอบกันอยู่ การอ่านหนังสือกองพะเนิน จดโน้ตจนตาลาย คงทำให้เหนื่อยล้ากันน่าดู  วันนี้เราจึงมาแนะนำเทคนิคดีๆ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ สู้ๆ! ตัวอย่าง Mind mapping สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ 10 Really Cool Mind Mapping Examples | MindMaps Unleashed   Mind mapping หรือแผนผังความคิด, แผนภาพ คือ เครื่องมือในการช่วยคิด และจดบันทึก ใช่เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นแผนภาพ โดยมีหัวข้อหลักเป็นศูนย์กลาง แล้วแตกแขนงประเด็นเป็นหัวข้อย่อยออกมา เทคนิค Mind map เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ และนิยมอย่างกว้างขวาง แพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่งอาจใช้ภาพ สี เส้น ต่างๆ เข้าช่วย <a href="<a href="https://www.freepik.com/vectors/idea">Idea vector created by stories - www.freepik.com Mind map  ดีอย่างไร   Mind map เป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองมนุษย์ เราจึงสามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Mind map ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกัน และเห็นภาพรวมได้มากขึ้น วิธีนี้นอกจากจะทำให้เราสามารถจดจำได้ข้อมูลง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมอง และทำให้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอีกด้วย ทำให้ความจำดีขึ้น   จากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ใช้เทคนิค Mind map สามารถจำข้อมูลได้มากขึ้นถึง 10 - 15% เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทดสอบความทรงจำระยะยาว เพิ่มความคิดสร้างสรรค์   ยังมีผลวิจัยอีกว่า เด็กที่ใช้เทคนิค Mind map มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น เนื่องจาก Mind map  ทำให้เราสามารถคิดได้อย่างอิสระนั่นเอง  เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆได้อย่างอิสระต่างจากการเขียน Mind map ซึ่งในตอนสุดท้ายหากไอเดียวกว้างเกินไป เราอาจกลับมาจัดแผนภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการได้ เชื่อมโยงประเด็นต่างๆได้ดียิ่งขึ้น   โดยส่วนใหญ่เทคนิคในการเขียนมักจะเป็นการจดจำโดยเขียนอธิบายความหมายของหัวข้อนั้นๆ เป็นเส้นตรง แต่เทคนิค Mind map นั้นทำให้เราสามารถจดจำในรูปแบบที่อิสระได้ แต่ก็ยังสามารถจดจ่อกับหัวข้อนั้นๆ ในขณะเดียวกันได้ เราจึงมองภาพรวมได้กว้าง และประติดประต่อข้อมูลไปยังประเด็นอื่นๆ ได้เรื่อยๆ โดยไม่ถูกปิดกั้นความคิด Mind map ให้อะไรมากกว่าการจดบันทึก   หลายคนมักจะใช้ Mind map ในการจดบันทึก แต่ความจริงแล้ว เราสามารถประยุกต์ใช้ Mind map ได้หลายทางเลย เราจึงจะมายกตัวอย่างให้ฟังกันค่ะ การระดมความคิด   ทุกคนเคยระดมความคิดเห็นกับเพื่อนๆ คนอื่น แล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจบ้างไหมคะ นั่นอาจเป็นเพราะว่า เราพยายามคิดให้สอดคล้องกับคนอื่นนั่นเองค่ะ ซึ่งทำให้เราติดอยู่ในกรอบความคิดที่ใกล้เคียงกัน การนำเทคนิค Mind map เข้ามาช่วย…
Read More
เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

9วิชาสามัญ, English, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาอังกฤษ, หนังสือ
        เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที          สวัสดีค่า ช่วงนี้คลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ผู้เขียนยังอยู่บ้าน Work From Home อยู่ นอกเวลางานก็ไถโซเชียลดูเพลิน ๆ แต่บางครั้งก็รู้สึกเบื่อโลกโซเชียล เลยถือโอกาสนี้มาฝึกสกิลภาษาอังกฤษด้วยการหานิยายภาษาอังกฤษอ่าน           แต่ปัญหาก็คือเราหาหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ภาษาอังกฤษเราไม่ได้สักที บางเล่มก็รู้สึกว่าง่ายไปไม่ค่อยได้ฝึกคำศัพท์ใหม่ ๆ บางเล่มก็ยากเกินเหมือนภาษาต่างดาว5555 จนเร็ว ๆ นี้เราบังเอิญได้ไปเจอคนที่พูดถึงเรื่องนี้ในyoutube https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0           จากในคลิป คุณUSAiko พูดถึงเรื่องหลัก Five Finger Rule ซึ่งเป็นหลักง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถหาหนังสือภาษาต่างประเทศที่เหมาะกับระดับของเราได้           Five Finger Rule           วิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนที่จะซื้อหนังสือ ให้น้อง ๆ สุ่มเปิดมาหนึ่งหน้า จากนั้นก็ลองกวาดสายตาอ่านดู และเมื่อเจอคำศัพท์ที่เราไม่รู้ก็ให้ชูนิ้วขึ้นมา โดยจำนวนนิ้วที่เราชูขึ้นมาจะบ่งบอกว่าระดับภาษาในหนังสือเล่มนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า           0-1 นิ้ว : ระดับภาษาในหนังสือง่ายเกินไป           2 นิ้ว : ระดับภาษาที่เหมาะสมกับน้อง ๆ ที่สุด (คำศัพท์ไม่ยาก ไม่ง่ายเกินไป และน้อง ๆ ยังสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้แบบไม่กดดัน)           3 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เหมาะกับคนที่ต้องการท้าทาย อยากเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เยอะ ๆ           4 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกระดับ ไม่ค่อยแนะนำเพราะอ่านไปนาน ๆ อาจรู้สึกเหนื่อย ถอดใจไปได้           5 นิ้วขึ้นไป : ระดับภาษายากเกินไป ควรเปลี่ยนเล่มใหม่เป็นเล่มที่ง่ายกว่านี้ ที่มา: https://www.asiabooks.com/breasts-and-eggs-249270.html           อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนลังเลอยู่ว่าจะซื้อหนังสือเรื่อง BREASTS AND EGGS ดีไหม (แต่พออ่านแล้วก็ขอขายว่าเรื่องนี้ดีจริง สะท้อนด้านมืดของสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงต้องเจอ น้องคนไหนสนใจก็ไปตำได้จ้า) เพราะเป็นคนถอดใจง่าย ถ้าศัพท์ยากเกินไป ความอยากอ่านก็จะลดลง เราเลยเอาหลัก Five Finger Rule มาใช้ โดยสุ่มเปิดมาหน้าหนึ่งแล้วอ่าน นับจำนวนคำที่ตัวเองไม่รู้           จากในภาพจะเห็นว่ามีคำศัพท์ที่ผู้เขียนไม่รู้ 3 คำตามที่ได้ขีดเส้นใต้สีแดงเอาไว้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะยากกว่าความสามารถของผู้เขียนนิดหนึ่ง แต่ก็เหมาะจะเอาไว้ใช้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ (ดังนั้นผู้เขียนก็รีบคว้าไปจ่ายตังค์เลยค่ะ5555)           น้อง ๆ ผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตอนนี้แล้วอาจจะคิดว่า แล้วถ้าตัวน้องอยากรู้ภาษาต่างประเทศไว ๆ ไม่ได้ขี้เกียจหรือถอดใจกับการหาคำศัพท์ง่าย ๆ…
Read More
เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
               สวัสดีค่า ตอนนี้ช่วงสอบปลายภาคก็ใกล้เข้ามาแล้ว ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยตัวเองเรียนอยู่มัธยม พอใกล้วันสอบปลายภาคแล้วก็จะรู้สึกเครียด ลนจนไม่มีสมาธิ เพราะรู้สึกว่าวันสอบปลายภาคเหมือนวันตัดสินชี้เป็นชี้ตาย รู้ตัวอีกทีก็อ่านหนังสือไม่ทัน ต้องยัดเนื้อหาเข้าสมอง 1 คืนก่อนสอบรัว ๆ เลย ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนก็คิดว่าถ้ามีตัวช่วยอ่านหนังสือก็คงดี           ผู้เขียนเชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงคิดเหมือนกัน วันนี้เลยอยากมาแนะนำตัวช่วยอ่านหนังสือสอบ นั่นก็คือเทคนิคการใช้จิตวิทยาสีในการอ่านหนังสือนั่นเอง!           อะไรคือ Brain-Based Learning?           ก่อนอื่นผู้เขียนขอแนะนำการจัดการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Brain-based Learning (BBL) ก่อน โดยแนวคิดนี้เป็นการนำความรู้ในเรื่องระบบการทำงานของสมอง มาใช้ในการออกแบบพัฒนาจัดการการเรียนรู้ของมนุษย์ และแนวคิดดังกล่าวได้มีการผูกโยงกับหลักการแนวคิดหลักการด้านจิตวิทยาสี (Psycology of color) เนื่องจากสีเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและส่งผลต่อสภาพจิตใจของมนุษย์           วรรณะสีกับความรู้สึก           สีสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 วรรณะ ได้แก่           สีวรรณะร้อน (Warm Tone)           เมื่อพูดถึงสีวรรณะร้อน ดูตามชื่อเลยก็คือสีที่ทำให้นึกถึงไฟหรือความร้อน มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกสว่างไสว ร้อนแรง นอกจากนี้ยังเป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นเต้น รุนแรง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะร้อน เช่น สีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง สีม่วงแดง           สีวรรณณะเย็น (Cool Tone)           สีวรรณะเย็นก็คือสีที่ทำให้นึกถึงความหนาวเย็น มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ  เป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์รู้สึกสงบเงียบ อ่อนโยน สบายลดความตึงเครียด ไปจนถึงรู้สึกเศร้าสลด หม่นหมอง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะเย็น เช่น สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง           ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษหลายสีที่อยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น เช่น สีเหลือง สีม่วง           สีแบบไหนที่จะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้ได้ดี?           เกริ่นก่อนว่าการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นพื้นฐานนั้น ความรู้สึกที่ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ไม่กดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้จดจ่อและค้นหาคำตอบนั้นจะทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นสีที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถมีสมาธิได้นั้นจะต้องเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลาย           สีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสมาธิมากที่สุดคือ สีน้ำเงิน เนื่องจากสีน้ำเงินเป็นสีที่อยู่ในวรรณะเย็น และอยู่ในโทนเข้ม (ในทางจิตวิทยา สีโทนเข้มจะช่วยเพิ่มความจำได้มากกว่าสีโทนอ่อน) สึน้ำเงินจึงเป็นสีที่นอกจากจะช่วยให้ผู้เห็นรู้สึกสงบ ผ่อนคลายลงแล้ว ยังช่วยดึงสติและสมาธิได้อีกด้วย           ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้สีน้ำเงินกับเทคนิดการเรียนที่ชื่อว่า「青ペン記憶法」หรือถ้าแปลตรงตัวเลยก็คือ “เทคนิคช่วยจำด้วยปากกาน้ำงิน” โดยวันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอวิธีการใช้ปากกาน้ำเงิน 3 วิธี           1. เขียนทุกอย่างด้วยปากกาสีน้ำเงิน           เป็นวิธีที่ฮิตที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยวิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนอื่นให้น้อง ๆ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในหัวก่อนว่าอยากเขียนเกี่ยวกับอะไร เช่น จะเขียนสรุปหัวข้อที่ตัวเองไม่แม่นอันนี้ ๆ หรืออยากเขียนทวนเรื่องนี้ ๆ 3…
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More