เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More
กว่าจะเป็นนิสิตอักษร แชร์ทุกกระบวนท่าเคล็ดลับสู่คณะที่ใฝ่ฝัน

กว่าจะเป็นนิสิตอักษร แชร์ทุกกระบวนท่าเคล็ดลับสู่คณะที่ใฝ่ฝัน

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, TCAS, รีวิวคณะในฝัน
สวัสดีจ้าน้อง ๆ ทุกคน ขอแนะนำตัวสักหน่อยพี่ชื่อแอดมิน S น้า เชื่อว่า อักษร เป็น 1 ในคณะที่น้อง ๆ ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ต่างใฝ่ฝันอยากจะเข้าไปเรียน วันนี้แอดเลยจะพาไปสัมภาษณ์รุ่นพี่จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีเคล็ดลับ หรือวิธีการเตรียมตัวในการพิชิตคณะในฝันอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จักกับพี่เขาเลยดีกว่า! 1. แนะนำตัวหน่อยจ้า สวัสดีจ้าเราชื่อแพรว เป็นเด็ก 60 ปัจจุบันเพิ่งจบจาก คณะอักษรจุฬา เอกภาษาอังกฤษ โทภาษาจีนจ้า 2. ทำไมถึงอยากเข้า อักษร เริ่มรู้ตัวเองว่าอยากเข้าตั้งแต่เมื่อไหร่? ขอบอกก่อนเลยว่าจริงๆแล้วเราไม่ค่อยถูกกับวิชาเลขหรือคณิตมาตั้งแต่ต้นแล้วเลยเลือกที่จะเรียนสายศิลป์มาตั้งแต่ตอนมปลาย และก็เริ่มลองหาว่าตัวเองชอบอะไรตั้งแต่ช่วงม. 4 เลยคือลองไปเข้าค่ายเยอะมากๆ ตอนแรกๆนึกว่าตัวเองจะชอบเรียนกฎหมายนะแต่ว่าพอเหมือนเรารู้ว่าถ้าจะเรียนต่อในสาขานี้ จริงๆอาจจะไม่ค่อยสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เราเท่าไหร่ เลย รอไปงาน open house ของจุฬาฯดูแล้วก็ได้เห็นว่าคณะอักษรได้เรียนอะไรบ้างเลยรู้สึกคลิกกับคณะนี้มากๆ  บรรยากาศงาน Open House อักษร จุฬา 3. เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไหร่? เริ่มเตรียมตัววางแผนอนาคตการสอบเข้าตั้งแต่ม 5 เทอม 2 เลยค่ะ จะเรียกว่าเตรียมตัวได้ไหมนะจริง ๆ แค่ เริ่มฝึกท่องศัพท์เฉย ๆ อ่ะค่ะ ฮ่าๆๆ 4. มีเคล็ดลับในการเตรียมสอบเข้า อักษร ยังไงบ้าง? เคล็ดลับในการเตรียมสอบของเราหลัก ๆ เลยคือเรื่องของวินัยค่ะอย่างแรกเลยเพราะหลังจากเราวางแผนเสร็จแล้วคือมันเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ที่แผนของเราจะล่มภายในไม่กี่อาทิตย์ เราเริ่มพยายามสร้างวินัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะคือ การเอาขนมไปแทรกไว้ตรงหน้าหนังสือที่เราตั้งไว้ว่าเป็นเป้าหมายว่าจะต้องอ่านไปให้ถึงให้ได้พอเราเห็นขนมเป็นรูปเป็นร่างกำลังรอคอยเราอยู่ในหน้าหนังสือที่เป็นเป้าหมายนั้นไม่ว่ายังไงเราก็ต้องอ่านหนังสือให้ไปถึงเป้าหมายในแต่ละวันของเราค่ะ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่อย่างนึงนะคะก็คือว่ากว่าจะอ่านจนหมดเล่มก็น้ำหนักขึ้นไปหลายโลแล้วค่ะ ฮ่าๆ 😂 แต่วิธีนี้ได้ผลกับเรามากๆจนสามารถอ่านหนังสือตามเป้าหมายได้ไปหลายเล่มเลย ถ้าน้องหรือเพื่อนๆคนไหนสนใจก็สามารถนำไปใช้กันได้นะคะ ไม่หวงค่ะ! และที่สำคัญเลยที่เราอยากจะแชร์ก็คือเราสอบเข้าอักษรจุฬามาโดยอ่านโน้ตจากในแอป Clear เนี่ยแหละค่ะ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าส่วนตัวเรียนสายศิลป์ภาษาเยอรมันมาแต่เนื่องจากคะแนน PAT ภาษาเยอรมันนั้นฝืดเสียเหลือเกินเลยเปลี่ยนใจมาสอบเป็น PAT ภาษาญี่ปุ่นแทนค่ะ ที่นี้ก็เลยต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านโน้ตของเพื่อนในแอป Clear นี่แหละค่ะ และจะบอกว่ามันช่วยได้จริงๆนะคะเพราะว่าเมื่ออ่านโน้ตของเพื่อนๆหลายๆคนแล้วแต่ละคนก็เหมือนมาแชร์ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อนแล้วเราพอเราอ่านไปหลายๆเล่มก็ทำให้เรามีชุดความรู้ในหัวที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์สามารถสอบได้เลยค่ะ! ที่นี้สำหรับน้องที่อยากเข้าอักษรโดยเฉพาะเลย เราขอเน้นย้ำว่าคะแนนภาษาอังกฤษ คะแนนสังคม ภาษาไทยและคะแนนในส่วนของ PATภาษาต่างประเทศนั้นสำคัญมาก ๆ ค่ะ และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราในการอ่านวิชาพวกนี้ก็คือการเก็บเนื้อหาให้ได้มากๆค่ะไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้รอบตัวหรือว่าทางด้านคำศัพท์มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องทยอยอ่านไปเรื่อย ๆ บางทีก็จะรู้สึกว่าเก็บเท่าไหร่ก็เก็บไม่หมด เลยจะแอบมากระซิบว่าอย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปก่อนจะเก็บเนื้อหาหมดนะคะ! 5. เคยเหนื่อย หรือท้อบ้างมั้ย จัดการกับความรู้สึกของตัวเองยังไง? ถ้าถามว่าเคยเหนื่อย หรือเคยท้อบ้างไหมขอบอกเลยว่าก็จะมีความคิดแบบนี้แว็บเข้ามาในหัวบ่อยๆตอนที่อ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ หรือว่าต้องแบกรับภาระหน้าที่อะไรหลายๆอย่างไปในเวลาเดียวกัน จริงๆส่วนใหญ่ช่วงเวลาแบบนั้นขึ้นก็จะเลือกที่จะคุยกับเพื่อนเยอะๆเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกดาวน์ไปมากกว่านี้ เรารู้สึกว่าการเปิดใจคุยกับใครสักคนไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัวเพื่อนหรือครอบครัวมันจะทำให้เรารู้สึกโล่งและก็ทำให้เราถอยหลังออกมาจากปัญหา มามองปัญหาในภาพรวมกว้างๆมากขึ้น ทำให้เราไม่หมกมุ่นจนเสียสุขภาพจิตจนเกินไปค่ะ นอกจากนี้เองเราก็อาจจะหันไปหาที่พึ่งทางใจคือการทำงานอดิเรกหรือว่าหาสิ่งที่เราชอบ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของเรา เราก็จะชอบดูพวกอนิเมะและอ่านมังงะมาก ๆ เราก็พยายามทำสิ่งนั้นเพื่อทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมาเยอะๆค่ะ อ่ะ พอพูดถึงฮอร์โมนแห่งความสุขจะบอกว่าช่วงม. 6 นอกจากอ่านหนังสือแล้ว เราก็แบ่งเวลามาตีแบตกับเพื่อนด้วยค่ะ ช่วงเวลาหลังจากออกกำลังกายก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้นนะคะ ถือเป็นการได้พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจเลยค่ะ! 6.…
Read More