บทสัมภาษณ์จากรุ่นพี่เอกจีนธุรกิจ ม.เกษตร เป็นยังไง!?

บทสัมภาษณ์จากรุ่นพี่เอกจีนธุรกิจ ม.เกษตร เป็นยังไง!?

ช่วงสอบ, บทความสัมภาษณ์, ภาษาที่3, รีวิวคณะในฝัน
     สวัสดีค่าทุกคนนน วันนี้แอดมินมาพร้อมกับบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จากคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาจีนธุรกิจ ม.เกษตรค่า เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับน้องๆที่กำลังสนใจในคณะนี้! จะเป็นยังไงมาดูกั้นนน (more…)
Read More
สัมภาษณ์รุ่นพี่วิศวะคอม จุฬา {เคล็ดลับการเตรียมตัว + รีวิวคณะ}

สัมภาษณ์รุ่นพี่วิศวะคอม จุฬา {เคล็ดลับการเตรียมตัว + รีวิวคณะ}

dek66, dek67, dek68, TCAS, บทความสัมภาษณ์, รีวิว, รีวิวคณะในฝัน, เคล็ดลับการเรียน
 สวัสดีค่ะทุกคนนน ตามที่ได้ทำ Poll ใน IG เอาไว้ และจากผล ผู้ที่อย่างชนะขาดลอยของเราก็คืออ วิศวะคอม ค่ะ!!! ดูท่าจะเป็นคณะในดวงใจของใครหลายๆคนเลยนะคะเนี่ย เราเลยมาตามสัญญาค่า!😆  เนื้อหาบทสัมภาษณ์ของเราก็จะเน้นไปที่การรีวิวคณะ การเรียนในภาค การเตรียมตัว เพื่อให้น้องๆได้ประโยชน์ และสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจหรือวางแผนการเตรียมตัวของตนเองค่ะ 🫶 Q: ทำไมอยากเข้าคณะนี้?  จริงๆอยากเข้าคณะที่ทำเกมส์แบบตรงๆ แต่พอคุยกับพ่อแม่ เขาก็บอกว่าอุสาหกรรมการทำเกมส์ในไทยมันยังไม่ได้ดีมาก ไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าที่ควร เขาเลยอยากให้เรียนสายคอมที่มันสามารถไปต่อยอดอย่างอื่นได้ด้วยมากกว่า เลยมาเข้าที่นี้ Q: เล่าเรื่องคณะหรือภาคที่ตัวเองอยู่ให้ฟังหน่อย  วิศวะ จุฬา ก็มีวิธีเข้าหลายแบบนะ ทั้งรอบโควต้า รอบพอร์ตที่เอาผลงานเก่ามาแสดง (ส่วนมากที่เข้ารอบนี้เป็นแบบภาคตรง) แล้วก็รอบแอดมินชั่นที่ยื่นคะแนน โดยหลักๆการเข้าจะแบ่งเป็นการเข้าแบบภาครวมกับภาคตรง ส่วนมากที่แอดก็จะเข้าแบบภาครวม ในปี 1 วิชาเรียนก็จะไม่ต่างกันมากทั้งภาครวมและภาคตรง ในส่วนของภาครวมก็จะต้องเลือกภาคก่อนขึ้นปี 2 ซึ่งก็คือต้องทำเกรดตอนปี 1 ให้ได้ตามที่ภาคที่เราอยากเข้ากำหนด และถ้าเราเลือกไปแล้วหรือเรียนปี 2 แล้วไม่ชอบก็สามารถเปลี่ยนได้ตามเงื่อนไขของภาคนั้นๆ  ซึ่งก็เป็นข้อดีภาครวม ส่วนคนที่เข้าภาคตรงก็จะมีข้อเสียตรงไม่สามารถเปลี่ยนภาคได้ ต้องซิ่วอย่างเดียว แต่ทดแทนด้วยข้อดีที่ว่าไม่ต้องเครียดเรื่องเกรดมากในปี 1 และอาจจะสบายกว่าเพราะเราอาจจะได้เก็บตัวที่ต้องเรียนในภาคไปก่อนแล้วบางส่วน (แล้วแต่หลักสูตรแต่ละภาค)  วิศวะภาคคอม ถ้าเราคาดหวังว่าจะมาแล้วได้เรียนการเขียนโปรแกรมเลยก็คือไม่ใช่นะ เราจะเรียนพื้นฐานการเขียนโปรแกรม ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์  หลักการคิดการทำงานของคอมพิวเตอร์ด้วย  ในปี 1 เราก็จะได้เรียนวิชาพื้นฐานตัวแรกของภาคคอมคือ Computer Programing สอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python และเราก็จะได้ลองเขียนว่าแต่ละภาษามีหลักการในการเขียนยังไง และในปีต่อๆไปเราก็จะได้เรียนการเขียนโปรแกรมในระดับสูงขึ้น รวมถึงได้เรียนเนื้อหาของสายงานคอมอื่นๆ เช่น การทำเกมส์ การทำกราฟฟิก Q: เตรียมตัวสอบยังไงบ้าง? เริ่มตอนไหน?  โดยส่วนใหญ่เด็กคอมก็มักเป็นเด็กสอวน.มาก่อนแล้ว ก็น่าจะเริ่มเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆแล้วแหละ แต่พี่ไม่ใช่สายนั้น พึ่งมาเริ่มประมาณปิดเทอมม.5 จะขึ้นม.6 แต่ต้องบอกก่อนว่าพี่เป็นคนที่ตั้งใจเรียนในห้องอยู่แล้ว การเตรียมตัว ส่วนมากก็เรียนพิเศษเป็นคอร์สวิศวะเลย รวมถึงคอร์สเลข (แต่น้องๆก็ต้องดูคะแนนที่ใช้ในปีของน้องๆด้วยนะ ว่าเปลี่ยนเป็นใช้อะไรบ้าง)  เพราะเรียนพื้นฐานในห้องเรียนอยู่แล้ว แต่สำหรับเด็กๆที่ไม่ตั้งใจเรียนในห้องก็แนะนำให้เรียนคอร์สพื้นฐานด้วย555 แล้วพอเราเรียนจบก็อ่านทบทวนนิดหน่อย แล้วไปเน้นที่การทำโจทย์แทน พอตอนทำโจทย์ไม่เข้าใจตรงไหนก็เปิดหนังสืออ่านจุดนั้นเลย นอกจากนี้เราก็ต้องลองทำข้อสอบแบบจับเวลาด้วย และที่พิเศษคือใกล้ๆสอบพี่ก็จะสอบแบบจำลองสอบจริงคือตื่นตามเวลาที่จะไปสอบ ใส่ชุดนักเรียน นั่งทำข้อสอบตามเวลาจริง ทำสภาพแวดล้อมให้เหมือนเราสอบที่สนามจริงมากที่สุดเพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้ เพราะเป็นการสอบครั้งสำคัญ รวมถึงต้องรักษาสภาพจิตใจของเราด้วย Q: มีเคล็ดลับยังไงบ้างในการอ่านหนังสือ  คืออย่าไปคิดว่าวิธีการอ่านแบบหามรุ่งหามค่ำเป็นวิธีที่ดีที่สุด ให้หาวิธีการอ่านที่เข้ากับเรา และต้องพักผ่อนให้เพียงพอทุกวัน รักษาสุขภาพ ช่วงที่เราอ่านหนังสือก็อยากลืมพักเบรกระหว่างอ่านหนังสือด้วย เพราะจะทำให้เราไม่ล้า วันก่อนสอบก็ไม่ต้องโต้รุ่ง อ่านทวนให้ครบถ้วนก็พอ  และที่สำคัญคือต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ว่าเราทำได้!!   Q: ช่วงนั้นเครียดไหม? แล้วมีวิธีจัดการกับความเครียดยังไง?  ช่วงเตรียมสอบพี่ไม่ค่อยเครียดนะ รู้สึกแบบอะไรจะเกิดก็ต้องเกิดอ่ะ  ส่วนวิธีจัดการความเครียดคือเล่นเกมส์  พี่อ่านหนังสือ พักก็เล่นเกมส์ เล่นเสร็จก็กลับมาอ่าน บางทีก็อ่านไปเล่นไป5555 ก็เลยไม่ค่อยเครียด  ช่วงนั้นแนะนำให้เล่นเกมส์ที่ไม่เครียดมาก Q: หลังรู้ผลคะแนนแล้วเป็นยังไงบ้าง จัดอันดับยังไง มีเปลี่ยนแปลงจากที่คิดไว้ตอนแรกมั้ย  ก็ได้คะแนนมากกว่าที่คิดไว้นะ¯\_(ツ)_/¯  55555 คือพอดูสถิติคะแนนปีก่อนๆแล้วก็ได้เกินจุดที่อันตรายมาเยอะ…
Read More
สัมภาษณ์รุ่นพี่เภสัช มหิดล💊 {เคล็ดลับการเตรียมตัว}

สัมภาษณ์รุ่นพี่เภสัช มหิดล💊 {เคล็ดลับการเตรียมตัว}

dek66, dek67, dek68, TCAS, บทความสัมภาษณ์, รีวิว, รีวิวคณะในฝัน, เคล็ดลับการเรียน
 สวัสดีค่ะทุกคน😆 วันนี้เรามีบทความสุดพิเศษสุดพรีเมี่ยมมาฝากค่ะ! นั่นก็คือบทสัมภาษณ์จากรุ่นพี่เภสัช มหิดลนั้นเองงง คณะในดวงใจของใครหลายๆคน หรือแม้แต่น้องๆที่อยากเข้าเภสัช เด็กวิทย์ที่กำลังเลือกที่กำลังเลือกคณะในดวงใจอยู่ ห้ามพลาดเลยนะ!!! (more…)
Read More
รีวิวคณะอักษร จุฬา Ver.เอกญี่ปุ่น

รีวิวคณะอักษร จุฬา Ver.เอกญี่ปุ่น

dek66, dek67, dek68, บทความสัมภาษณ์, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, รีวิวคณะในฝัน
 สวัสดีค่ะทุกคนนน หลังจากครั้งที่แล้วที่เรารีวิวการเตรียมตัวสอบเข้าและคะแนนกันไปแล้ว ครั้งนี้เราจะมารีวิวคณะอักษรปีแรกสำหรับคนที่อยากเข้าเอกญี่ปุ่นอย่างคร่าวๆค่าา😆 (more…)
Read More
รีวิวเตรียมตัวสอบเข้าอักษรญี่ปุ่น🇯🇵 จุฬา

รีวิวเตรียมตัวสอบเข้าอักษรญี่ปุ่น🇯🇵 จุฬา

Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, รีวิวคณะในฝัน, เคล็ดลับการเรียน, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
 สวัสดีค่ะทุกคนน ไหนมีใครอยากเข้าอักษรจุฬาบ้างเอ่ยยย🙌 วันนี้เราจะมาบอกข้อมูลว่าใช้คะแนนอะไรบ้าง เตรียมตัวตั้งแต่ตอนไหน เรียนพิเศษที่ไหนบ้างโดยคร่าวๆค่ะ!!!😆 (more…)
Read More
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่

9วิชาสามัญ, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT7, PAT7, บทความสัมภาษณ์, ภาษาอังกฤษ, เคล็ดลับการเรียน
เจาะเคล็ดลับเข้านิเทศ จุฬาฯ ผ่านบทสัมภาษณ์รุ่นพี่จบใหม่ สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน วันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสัมภาษณ์พี่ทราย สาวจบใหม่ดีกรีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งน่าจะเป็นคณะในฝันของใครหลาย ๆ คน ว่าแล้วไปดูกันเลยดีกว่าว่าพี่ทรายมีเคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนสอบอะไรบ้าง Q: แนะนำตัวกันหน่อย ทราย: สวัสดีค่ะ พี่ชื่อทรายนะคะ ตอนนี้ก็เพิ่งเรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาการโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า “AD (แอด)” แต่ต้องบอกน้อง ๆ ก่อนว่าคณะของเรามีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรตั้งแต่ปี2561ทำให้ชื่อสาขานี้เปลี่ยนไปเป็น “สาขาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า หรือABC” นั่นเองค่า ละครนิเทศ จุฬาฯ เรื่อง THE VILLA SMARIS ละครที่เป็นแรงบันดาลใจของทราย ที่มา: https://teen.mthai.com/activities/104835.html Q: ทำไมอยากเข้าคณะนี้ ทราย: ที่จริงเราไม่ได้มีเป้าหมายชัดเจนขนาดนั้นว่าอยากทำงานแบบไหน แต่ตอนม.ปลายเราเอนจอยกับการทำงานที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ชอบถ่ายรูป งานที่ต้องตัดต่อถ่ายคลิปวิดิโอ เลยคิดว่าถ้าได้เรียนได้ทำนู่นทำนี่คงจะสนุกดี พอดีกับที่เราได้ไปดูละครนิเทศ จุฬาฯ ตอนม.5 ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้สนใจและอยากเรียนต่อที่คณะนี้ Q: เล่าเรื่องภาค AD ให้ฟังหน่อย ทราย: เราก็จะเรียนตั้งแต่พฤติกรรมผู้บริโภค การวางแผนสื่อ การวิจัยตลาด ทำแคมเปญ การเขียนบท งานศิลป์ ไปจนถึงงานกราฟฟิคโฆษณา เป็นสาขาที่ทำให้ได้เรียนรู้สกิลหลาย ๆ อย่าง อย่างเราเป็นคนที่ก่อนหน้านี้ใช้Photoshop AIไม่เป็นเลย แต่หลังจากที่ลองเรียนเทอมเดียว เราก็ใช้เป็นและมีประโยชน์กับเรามาจนถึงทุกวันนี้ Q: เริ่มเตรียมตัวสอบตอนไหน ทราย: คือนิเทศ จุฬาฯ ใช้คะแนน GPAX+GAT+PAT7 (หรือPAT1) ซึ่งตัวเราก็รู้ตัวว่าวิชาหลัก ๆ อย่างวิชาภาษาอังกฤษ แล้วก็ภาษาที่ 3 เป็นวิชาหลักของเราที่จะต้องใช้การยื่นสมัคร เราก็เลยเริ่มเรียนพิเศษตั้งแต่ม.4เลย แต่ว่าเพิ่งจะมาเริ่มทำโจทย์เตรียมตัวจริงจังตอนม.6 Q: มีเคล็ดลับยังไงบ้าง ทราย: เราไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรเป็นพิเศษ เตรียมตัวตามปกติเลย อย่างมากก็เขียนศัพท์ลง post-it หลาย ๆ ใบแล้วไว้ที่ผนังข้างเตียง พอเราเห็นบ่อย ๆ ก็จำได้เอง แล้วก็ตอนทำโจทย์ก็จับเวลาจริง พยายามปิดโทรศัพท์ เอาไปไว้ไกล อยู่ในห้องคนเดียวไม่ให้ใครรบกวน เราเป็นคนที่ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะ ๆ แล้วก็ไม่ชอบจดโน้ตยาว ๆ เราก็เลยเน้นทำโจทย์ข้อสอบเก่าบ่อย ๆ อย่ากลัวที่จะตอบผิด เพราะยิ่งผิดบ่อย ๆ เรายิ่งจำ พวกแพทเทิร์นข้อสอบข้าวของไทยจะไม่ค่อยเปลี่ยนพอเราทำบ่อย ๆ เราก็จะจับทางได้เอง ถึงเวลาสอบจริงเราก็จะไม่ตื่นข้อสอบด้วยนอกจากนี้เวลาเราผิดเราก็จะเอาปากกาแดงวงไว้ตัวใหญ่ ๆ แล้วกลับมาเปิดทบทวนประเด็นนั้น พอตรวจเสร็จแล้วก็จดคะแนนแล้วเว้นไปแล้วกลับมาทำอีกครั้ง Q: ช่วงนั้นเครียดไหม มีวิธีจัดการกับความเครียดยังไง ทราย: ช่วงเตรียมสอบเราค่อนข้างเครียดน้อย เพราะมีเวลาเตรียมตัวมาเรื่อย ๆ…
Read More
ปัญหายอดฮิตที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอ

ปัญหายอดฮิตที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอ

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, บทความสัมภาษณ์, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แบบสอบถาม ออนไลน์
Amarlin Amarsaikhan | April 01, 2019 โดยสังเขป   ถ้าเพื่อนๆกำลังวางแพลนจะไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ก่อนที่จะไป มาเตรีนมพร้อมกันไว้ก่อนว่านักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักจะต้องพบเจอปัญหาอะไรบ้าง และจะผ่านไปได้อย่างไร   ในที่สุดจดหมายตอบรับเข้าเรียนก็มาถึง หลังจากผ่านกระบวนการต่างๆในการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างยาวนาน ตอนนี้ชีวิตบทใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว นั่นก็คือการย้ายไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นนั่นเอง เพื่อนๆเคยทั้งตื่นเต้นและกังวลไปพร้อมๆกันไหมคะ? ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้จะมาพูดถึงปัญหาที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอกัน และจะรับมือกับมันได้อย่างไรบ้าง   เราได้สร้างแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับปัญหาทีมักพบ และสิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนต่างชาติจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ, มหาวิทยาลัยเคโอ, และมหาวิทยาลัยโตเกียว 1.กำแพงภาษา   จากแบบสอบถาม ปัญหาที่พบได้มากที่สุดคือเรื่องกำแพงภาษา มีนักเรียนต่างชาติจำนวนมากที่ได้กล่าวว่า หวังว่าจะเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานก่อนที่จะมาเรียนที่ญี่ปุ่น เนื่องจากที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้ภาษาอังกฤษเท่าไหร่ การเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานมาก่อนจึงช่วยได้มาก 2.สร้างบัญชีธนาคาร   ปัญหาต่อมาที่มักพบเจอ คือการสร้างบัญชีธนาคารนั่นเองค่ะ การเปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารใหญ่ของญี่ปุ่น (Mizuho, Mitsubishi UFJ, Sumitomo Mitsuiฯลฯ)เป็นที่รู้กันว่ายากมาก สำหรับนักเรียนที่เพิ่งเข้ามาใหม่มักจะมีธนาคารที่จัดให้เปิดบัญชีได้ที่มหาวิทยาลัย (Japan Post Bank, Resona Bank ฯลฯ) Rakuten Bank เป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นธนาคารที่สามารถใช้บัตร VISA/JCB ผ่านทางออนไลน์ และสะสมแต้ม Rakuten points ได้ สิ่งที่เป็นปัญหาในการเปิดบัญชีธนาคารคือ นักเรียนต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารด้วยตัวเองได้ จำเป็นจะต้องมีผู้ร่วมลงนามในการเปิดบัญชีเพื่อความปลอดภัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ทราบเรื่องนี้ดี และจะช่วยเราค่ะ แต่ถึงอย่างนั้นก็อยากให้ทุกคนรู้เรื่องนี้เอาไว้ค่ะ 3.การหาเพื่อน   มาถึงปัญหาที่สามกันแล้วคะ อันดับที่สามได้แก่ปัญหาการหาเพื่อนค่ะ วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาเพื่อนในญี่ปุ่นคือการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมค่ะ เป็นโอกาสที่จะได้พบเพื่อนใหม่ ได้เข้าสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นมักจะมีชมรมมากมายเลยทีเดียว สิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่น   เราได้รับคำตอบที่หลากหลายในหัวข้อ 'สิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่น' เราจึงเรียบเรียงลิสต์คำตอบที่ได้รับไว้ ดังนี้ ระบบการทำงานพาร์ทไทม์ นักเรียนจะทำงานได้ไม่เกิน 28 ชม./สัปดาห์วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มากมายที่แตกต่างจากประเทศเรา จึงควรศึกษาก่อนไปสังคมสูงอายุ ที่ญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุอยู่มากวัฒนธรรมการดื่มของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นดื่มเพื่อเป็นการเข้าสังคมควรนำเสื้อผ้าสำหรับฤดูกาลต่างๆมา ฤดูกาลที่ญี่ปุ่นมักมีความสุดขั้วค่ะ ร้อนก็ร้อนมากก หนาวก็หนาวมากก การย้ายไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่หากเตรียมตัวดีๆก่อนเดินทางแล้วล่ะก็ ชีวิตในญี่ปุ่นจะเป็นช่วงเวลาที่ลืมไม่ลงเลยทีเดียว และอย่าลืม work hard and have fun นะคะทุกคน ! ผู้เขียน Amarlin Amarsaikhan สวัสดีค่ะ! เราชื่ออมาลิน มาจากอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลียค่ะ ตอนนี้กำลังศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะค่ะ SchooLynk : Most Common Problems for International Students in Japan | SchooLynk Media
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
“โน้ตพรีเมี่ยม” ฟังก์ชั่นที่เกิดมาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบทำสรุป

“โน้ตพรีเมี่ยม” ฟังก์ชั่นที่เกิดมาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบทำสรุป

บทความสัมภาษณ์, แอป Clearnote
  สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน วันนี้แอดมิน S จะมาแนะนำฟังก์ชั่น"โน้ตพรีเมี่ยม" ให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น คิดว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงจะเคยเห็น หรือรู้จักฟังก์ชั่นนี้กันอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบอย่างละเอียดว่าฟังก์ชั่นนี้มีดีอย่างไรบ้าง?   พอดีกับที่ผ่านมาแอดได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้เขียนโน้ตพรีเมี่ยมทั้ง 2 ท่านคือคุณ "Lecture4u" และคุณ"Pphamaiii_" เลยจะนำบางส่วนของการสัมภาษณ์มาแชร์เพื่อน ๆ กัน เรื่องราวของผู้เขียนโน้ตพรีเมี่ยมทั้ง 2 ท่านนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามไปชมกันเลย! (more…)
Read More