“การจดโน้ตในห้องเรียน” ให้มีประสิทธิภาพฉบับนักเรียนญี่ปุ่น

ไม่ว่าตอนนี้คุณจะเรียนอยู่ชั้นระดับไหนหรืออยู่ในวัยทำงานแล้ว เชื่อว่าหลายๆคนในนี้จะต้องเคยจดโน้ตระหว่างเรียนอย่างแน่นอน

การจดโน้ตในห้องเรียนก็อาจจะมีหลากหลายวิธีตามแต่ละคนถนัด ทั้งการตั้งใจจดสิ่งที่คุณครูเขียนบนหน้ากระดานทำให้ไม่ได้ฟังที่คุณครูพูดเพื่ม การจดโน้ตตามที่คุณครูเขียนบนหน้ากระดานไปพร้อมกับฟังสิ่งที่คุณครูพูด เป็นต้น 

จากที่กล่าวไปข้างต้นไม่มีวิธีจดโน้ตไหนที่ทำผิดหรือถูก เพียงแต่วิธีไหนที่สร้างประสิทธิภาพให้กับโน้ตของเรา แต่รู้หรือไม่ว่า การจดบันทึกในชั้นสร้างความแตกต่างในการทบทวนบทเรียนอย่างมาก หากเราจดบันทึกให้ง่ายต่อการทบทวนก็จะเป็นประโยชน์ตอนที่ต้องอ่านหนังสือก่อนสอบ

ใครเคยประสบปัญหาต่อไปนี้นี้กันมั้ยคะ!!! ตอนที่เอาโน้ตที่จดมาอ่านแล้วอ่านอีกก็ยังไม่เข้าใจหรือใช้เวลาในการทบทวนมากแต่ก็ยังจำไม่ได้หรือ ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองสรุปให้ต้องมาเสียเวลานั่งสรุปโน้ตใหม่อีกรอบ

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนั้นละก็ วันนี้เราก็เลยจะมาแชร์วิธีการจดโน้ตให้ดีและมีประสิทธิภาพสไตล์คนเรียนเก่งฉบับนักเรียนญี่ปุ่นค่ะ

การจดทุกสิ่งทุกอย่างบนกระดานลงสมุด ไม่เรียกว่า “การจดโน้ต”


สิ่งที่เด็กที่จดบันทึกไม่เก่งมีเหมือนกันคือ จดทุกสิ่งที่ครูเขียนไว้บนกระดานและถ้าคุณครูบางคนสอนเร็ว จนเหนื่อยล้ากับการจดโน้ตแล้วเลิกจดไปกลางคัน

สิ่งที่ต้องทำจริงๆ คือ “ทำความเข้าใจ” หากมัวหมกมุ่นอยู่กับการจดบันทึกจนไม่ได้พยายามทำความเข้าใจสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียน เมื่อกลับมาทบทวนก็จะทำให้ไม่เข้าใจสิ่งที่ได้เขียนได้

ในช่วงแรกอาจจะยังไม่ชินกับวิธีนี้จึงอยากจะแนะนำให้ค่อยๆ ปรับตัวและฝึกทำให้เป็นนิสัย ซึ่งสามารถฝึกได้ง่ายๆ ได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ตั้งใจฟังและทำความเข้าใจ หากไม่เข้าใจเนื้อหาในระหว่างจดบันทึก ให้ถามครูให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องแล้ว และค่อยจดบันทึกลงไป
  • สรุปเป็นภาษาของตัวเอง ถ้าเริ่มที่จะชินกับการจดสิ่งผ่านความเข้าใจแล้ว ให้ลองฝึกสรุปเนื้อหาที่เรียนไปออกมาเป็นภาษาของตัวเองก็จะช่วยให้จำเนื้อหาได้แม่นยำยิ่งขึ้น

เมื่อฝึกฝนเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง น้องๆ จะไม่ต้องเสียเวลาเอาสรุปในห้องเรียนมาสรุปเป็นโน้ตอีกครั้ง

เทคนิคที่นักเรียนชาวญี่ปุ่นใช้จดโน้ต


การตั้งกฎของตัวเองเพื่อใช้ตอนที่เขียนลงในสมุดโน้ตของคุณ :

  1. อย่าลืมใส่วันที่ด้วย เพื่อให้รู้ว่าเป็นเนื้อหาที่เรียนในวันไหน ให้ง่ายต่อการกลับมาทบทวนในภายหลัง
  2. เขียนเว้นบรรทัด เพื่อที่เมื่อย้อนมาทบทวนอีกครั้ง สามารถเขียนข้อมูลที่ต้องการเน้นหรือเพิ่มเติมข้อมูลภายหลังได้
  3. ตัดสินใจเลือกสีและขนาดและเน้นในจุดที่สำคัญในเด่น ทำให้เข้าใจและจดจำได้ง่าย โดยใส่ส่วนที่สำคัญเป็น สีแดงและเขียนตัวใหญ่
  4. ไม่ควรใช้ปากกาเกิน 3 สี แม้ว่าจะตัดสินใจเลือกสีจากข้อที่แล้ว แต่หากมีลวดลายมากเกินไป จะไม่รู้ว่าสีใดมีความสำคัญ ควรใช้ปากกา 2-3 สีดีกว่า
  5. พยายามสรุปเนื้อหาหัวข้อเดียวกันไว้หน้าเดียว และถ้าจดไปถึงหน้า 3 ให้เว้นหน้าฝั่งขวาและเริ่มหัวข้อใหม่บนหน้าซ้ายเสมอ

ในช่วงแรก อาจจะขอดูวิธีการจดโน้ตของเพื่อนที่เก่งเรื่องการเรียนและค่อยๆ นำมาประยุกต์ใช้กับการจดบันทึกฉบับของตัวเอง หรือไม่ก็นำเอาเทคนิคที่ได้แชร์ไปข้างต้นมาปรับใช้ให้เข้ากับการจดบันทึกของตัวเองได้นะคะ

หวังว่าบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ 

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sanook.com/campus/1385201/

        https://benesse.jp/kyouiku/201510/20151026-3.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *