จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ

จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, TCAS, Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ   เคยเป็นกันไหม?   จดโน้ตไม่ทันที่อาจารย์พูด หรือจดแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่สวยไม่เป็นระเบียบ ไม่รู้ว่าตัวเองจดอะไร ทำเอาไม่อยากอ่านโน้ตที่ตัวเองจดไว้เลย...   เชื่อว่าน้องๆ หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาแบบนี้(เพราะคนเขียนก็เคยเป็นบ่อยๆ) แถมช่วงนี้เป็นช่วงสอบปลายภาคอันแสนน่าปวดหัว วันนี้ Clearnote เลยขอแนะนำ 5 วิธีจดโน้ตให้สวยปัง เป็นระเบียบน่าอ่าน เตรียมพร้อมสอบให้น้องๆ ได้นำไปใช้กันได้เลย! 1.วิธีจดโน้ตแบบ Cornell (The Cornell Method)   วิธีจดโน้ตแบบ Cornell เป็นวิธีจดโน้ตที่พัฒนาขึ้นโดย Dr.Walter Pauk หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย Cornell สหรัฐอเมริกา   วิธีการจดโน้ตแบบ Cornell เริ่มจากการแบ่งหน้ากระดาษของน้องๆ เป็น 3 ส่วน ด้านซ้ายของหน้ากระดาษ: แบ่งเป็นพื้นที่ยาวๆ จนเกือบสุดหน้ากระดาษ ส่วนนี้เอาไว้จด​ Keyword ของเนื้อหาด้านขวาของหน้ากระดาษ: แบ่งเป็นพื้นที่ยาวๆ จนเกือบสุดหน้ากระดาษเช่นกัน แต่ให้กว้างกว่าด้านซ้ายประมาณ 2 เท่า (สัดส่วนประมาณ 2/3) ส่วนนี้เอาไว้จดเนื้อหาตอนเรียนในคาบท้ายหน้ากระดาษ: ส่วนท้ายของหน้ากระดาษ เอาให้เขียนได้ประมาณหนึ่ง (3-4 บรรทัด) ส่วนนี้เอาไว้สรุปเนื้อหาในส่วนด้านขวาอย่างสั้นๆ   เวลาที่เราเรียนในคาบ ให้จดเนื้อหาที่อาจารย์สอนลงในด้านขวาของกระดาษ จากนั้นให้เราทวนเนื้อหาให้เข้าใจ จากนั้นเขียน Keyword ของเนื้อหาในด้านขวาลงในช่องด้านซ้าย จากนั้นเวลาจะทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปอีก ก็ให้ใช้กระดาษหรือสมุดอะไรก็ได้มาบังด้านขวาของกระดาษเอาไว้ ให้เห็นแต่เพียง Keyword ฝั่งซ้าย แล้วก็พยายามพูด อธิบายเนื้อหาในหน้ากระดาษฝั่งขวาเอาไว้เท่าที่ทำได้ ถ้ายังจำไม่ได้ก็ลองอ่านเนื้อหาฝั่งขวาอีกรอบ วนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำได้ สุดท้ายก็จดสรุปสั้นๆ ลงในช่องท้ายหน้ากระดาษ   วิธีการจดโน้ตแบบนี้จะเหมาะกับน้องๆ ที่ต้องจดโน้ตในห้องเรียน แล้วอยากกลับมาทบทวนทีหลังได้ง่ายๆ มีระเบียบ สวยงาม ไม่งง https://www.youtube.com/watch?v=Qyj6ZeL-eHc 2.วิธีจดโน้ตแบบเป็นประโยค (The Sentence Method)   วิธีการจดโน้ตแบบเป็นประโยคคือการจดโน้ตแบบเป็นข้อๆ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ไปเรื่อยๆ โดยแต่ละข้ออยู่ในลักษณะประโยคสั้นๆ ที่มีใจความหลักเพียงอย่างเดียว ขอบคุณข้อมูลเรื่องดวงอาทิตย์จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องที่ 1 ดวงอาทิตย์ สำหรับเด็กระดับกลาง   วิธีการจดโน้ตแบบเป็นประโยคทำให้เราอ่านโน้ตได้ง่ายกว่าการจดเป็นย่อหน้า เพราะแต่ละข้อจะมีเลขข้อแบ่งย่อยๆ ตลอด และมีแค่ใจความหลักแค่หนึ่งเดียว ทำให้จับใจความได้ง่ายกว่าและไม่สับสน   แต่วิธีจดแบบนี้ก็มีข้อเสียคือ แยกได้ค่อนข้างลำบากว่าข้อไหนเป็นหัวข้อใหญ่หรือหัวข้อย่อย และเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันอย่างไร อาจทำให้ทบทวนยากในบางกรณี   วิธีนี้เหมาะกับเวลาที่อาจารย์พูดเร็วมากๆ แต่เนื้อหาที่พูดค่อนข้างเป็นระเบียบอยู่แล้ว ไม่ได้กระโดดข้ามไปมาหรือเปลี่ยนหัวข้อกลางทางกระทันหัน หากใช้วิธีนี้ก็จะทำให้เราจดตามอาจารย์ทัน 3.วิธีจดโน้ตโดยใช้Outline (The Outlining Method)   วิธีจดโน้ตโดยใช้ Outline คือการจดโดยที่ - หรือ dash หรือตัวอักษร ตัวเลขเพื่อบอกว่าอะไรคือหัวข้อ โดยจดให้หัวข้อใหญ่ด้านบนซ้ายสุด…
Read More
จดน้อย จำได้มาก เรียนดีขึ้นด้วยเทคนิค Mind mapping

จดน้อย จำได้มาก เรียนดีขึ้นด้วยเทคนิค Mind mapping

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
  ช่วงนี้หลายๆคนคงเข้าสู่ช่วงสอบปลายภาคกันแล้วใช่ไหมคะ หลายคนคงกังวลใจกับการสอบกันอยู่ การอ่านหนังสือกองพะเนิน จดโน้ตจนตาลาย คงทำให้เหนื่อยล้ากันน่าดู  วันนี้เราจึงมาแนะนำเทคนิคดีๆ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ สู้ๆ! ตัวอย่าง Mind mapping สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ 10 Really Cool Mind Mapping Examples | MindMaps Unleashed   Mind mapping หรือแผนผังความคิด, แผนภาพ คือ เครื่องมือในการช่วยคิด และจดบันทึก ใช่เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นแผนภาพ โดยมีหัวข้อหลักเป็นศูนย์กลาง แล้วแตกแขนงประเด็นเป็นหัวข้อย่อยออกมา เทคนิค Mind map เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ และนิยมอย่างกว้างขวาง แพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่งอาจใช้ภาพ สี เส้น ต่างๆ เข้าช่วย <a href="<a href="https://www.freepik.com/vectors/idea">Idea vector created by stories - www.freepik.com Mind map  ดีอย่างไร   Mind map เป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองมนุษย์ เราจึงสามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Mind map ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกัน และเห็นภาพรวมได้มากขึ้น วิธีนี้นอกจากจะทำให้เราสามารถจดจำได้ข้อมูลง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมอง และทำให้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอีกด้วย ทำให้ความจำดีขึ้น   จากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ใช้เทคนิค Mind map สามารถจำข้อมูลได้มากขึ้นถึง 10 - 15% เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทดสอบความทรงจำระยะยาว เพิ่มความคิดสร้างสรรค์   ยังมีผลวิจัยอีกว่า เด็กที่ใช้เทคนิค Mind map มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น เนื่องจาก Mind map  ทำให้เราสามารถคิดได้อย่างอิสระนั่นเอง  เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆได้อย่างอิสระต่างจากการเขียน Mind map ซึ่งในตอนสุดท้ายหากไอเดียวกว้างเกินไป เราอาจกลับมาจัดแผนภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการได้ เชื่อมโยงประเด็นต่างๆได้ดียิ่งขึ้น   โดยส่วนใหญ่เทคนิคในการเขียนมักจะเป็นการจดจำโดยเขียนอธิบายความหมายของหัวข้อนั้นๆ เป็นเส้นตรง แต่เทคนิค Mind map นั้นทำให้เราสามารถจดจำในรูปแบบที่อิสระได้ แต่ก็ยังสามารถจดจ่อกับหัวข้อนั้นๆ ในขณะเดียวกันได้ เราจึงมองภาพรวมได้กว้าง และประติดประต่อข้อมูลไปยังประเด็นอื่นๆ ได้เรื่อยๆ โดยไม่ถูกปิดกั้นความคิด Mind map ให้อะไรมากกว่าการจดบันทึก   หลายคนมักจะใช้ Mind map ในการจดบันทึก แต่ความจริงแล้ว เราสามารถประยุกต์ใช้ Mind map ได้หลายทางเลย เราจึงจะมายกตัวอย่างให้ฟังกันค่ะ การระดมความคิด   ทุกคนเคยระดมความคิดเห็นกับเพื่อนๆ คนอื่น แล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจบ้างไหมคะ นั่นอาจเป็นเพราะว่า เราพยายามคิดให้สอดคล้องกับคนอื่นนั่นเองค่ะ ซึ่งทำให้เราติดอยู่ในกรอบความคิดที่ใกล้เคียงกัน การนำเทคนิค Mind map เข้ามาช่วย…
Read More
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

Uncategorized, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!   น้องๆ สงสัยกันไหม จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง วันนี้ Clearnote จะมาชี้แจ้งแถลงไขประโยชน์ของการจดโน้ตให้น้องๆ ได้รู้กันเอง! 1.ช่วยให้เราเรียนรู้เรื่อง   การจดโน้ตช่วยให้น้องๆ ต้องตั้งใจฟังคุณครูโดยอัตโนมัติ เพราะถ้าจะจดโน้ตก็ต้องทำความเข้า กลั่นกรอง สิ่งที่อาจารย์พูดเพื่อจะจด เพราะน้องๆ คงไม่สามารถจดคำพูดทุกคำที่อาจารย์พูดได้ทัน และต่อให้จดทัน ก็มีงานวิจัยบอกว่าการที่น้องๆ ได้คิดวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะจดลงไป ไม่จดทุกคำพูดที่อาจารย์พูดนั้นให้ผลดีกว่า!    นอกจากนี้การจดโน้ตยังทำให้น้องๆ ไม่พลาดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจารย์สอนและอาจจำได้ไม่หมดถ้าไม่จดไว้ การจดโน้ตจึงทำให้เรียนรู้เรื่องมากกว่าการนั่งฟังครูอธิบายผ่านไปเฉยๆ มาก 2.ช่วยให้เรามาทวนทีหลังได้   การจดโน้ตไม่ได้มีประโยชน์แต่ตอนที่จดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กลับมาทวนเนื้อหาทีหลังได้โดยไม่ลืม การจดโน้ตจะทำให้น้องๆ กลับมาทวนเนื้อหาที่อาจารย์สอนเมื่อไรก็ได้ กี่รอบก็ได้ แถมทวนได้ง่ายกว่าด้วย เพราะไม่ต้องมานั่งอ่านหนังสือใหม่ทั้งเล่มตลอดเวลา   ที่สำคัญจากผลการวิจัย การจดโน้ตจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการทวนซ้ำๆ ย้ำๆ หลายๆ รอบเท่านั้น น้องๆ จึงควรทบทวนโน้ตที่จดไว้ให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ไม่ใช่แค่จดแล้วเก็บเข้ากรุเฉยๆ!   นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า ไม่ใช่แค่การจดโน้ตเท่านั้น แต่การไฮไลท์ และการเขียนทวนสิ่งที่เคยเรียนแล้วอีกรอบ ก็จะช่วยให้น้องๆ คิด วิเคราะห์ และทำความเข้าใจสิ่งที่เราเรียนมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดี ก็ควรทำทั้ง 3 อย่างเลย จะได้จำได้แม่น แถมเอามาใช้ได้จริง! 3.ช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีกว่า   การจดโน้ตแบบที่ใช้ลูกศร รูปร่างรูปทรงต่างๆ ช่วย เช่น Mind maping ทำให้ให้สิ่งที่เราจด อยู่ใน long term memory (ความทรงจำระยะยาว) ได้ดีกว่า   การจดโน้ตต้องอาศัยความพยายามในการจด ไม่ใช่แค่ฟังหรืออ่านให้ผ่านไปเฉยๆ  นอกจากนี้การมีรูป มีลูกศร ในโน้ตยังช่วยแสดงความสัมพันธ์ แสดงคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาให้อยู่ในลักษณะที่เป็นภาพ ทำให้สิ่งที่เราเรียนเข้าไปอยู่ในสมองทั้งในลักษณะคำศัพท์และรูป ช่วยให้น้องๆ ดึงสิ่งที่เรียนจากความทรงจำระยะยาวได้ดีกว่า ทำให้ไม่ลืมสิ่งที่เรียนไปง่ายๆ 4.ช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น   การจดโน้ตช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory (ความทรงจำเพื่อใช้งาน) ซึ่งเป็นความทรงจำระยะสั้นๆ ระยะเวลาหนึ่ง เช่น การจดจำที่อยู่ขณะที่คิดว่าจะไปที่นั่นได้ยังไงเป็นต้น    การจดโน้ตทำให้เราไม่ต้องจดจำสิ่งที่เรียนทั้งหมดทุกอย่างภายในคราวเดียว จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory ตรงนี้ จึงช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนขึ้นได้ดีกว่าเดิม เช่น แก้โจทย์เลขยากๆ ซับซ้อนๆ เพราะไม่ต้องแบกข้อมูลไว้ในสมองจำนวนมาก 5.ช่วยให้ชีวิตมีระเบียบมากขึ้น   การจดโน้ตไม่ใช่จำกัดแค่การจดโน้ตตอนเรียนเท่านั้น แต่การจดโน้ตสิ่งที่เราจะทำหรือ to-do list ยังช่วยให้น้องๆ ไม่ลืมสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ลืมว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง วางแผนชีวิตได้ มีชีวิตที่มีระเบียบมากขึ้นกว่าการไม่จดโน้ตอีกด้วยนะ    การจดโน้ตมีประโยชน์มากมายจริงๆ เพราะฉะนั้นตอนเรียนก็ไม่ควรฟังอาจารย์แบบผ่านๆ แต่ควรจะจดโน้ตสิ่งที่น้องๆ ได้เรียนไว้ด้วยนะ เพราะจะทำให้เก็บเกี่ยวความรู้ได้มากกว่ากันเยอะเลย!!! Reference Boch, F. & Piolat, A. (2005). Note Taking and Learning: A…
Read More
เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
               สวัสดีค่า ตอนนี้ช่วงสอบปลายภาคก็ใกล้เข้ามาแล้ว ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยตัวเองเรียนอยู่มัธยม พอใกล้วันสอบปลายภาคแล้วก็จะรู้สึกเครียด ลนจนไม่มีสมาธิ เพราะรู้สึกว่าวันสอบปลายภาคเหมือนวันตัดสินชี้เป็นชี้ตาย รู้ตัวอีกทีก็อ่านหนังสือไม่ทัน ต้องยัดเนื้อหาเข้าสมอง 1 คืนก่อนสอบรัว ๆ เลย ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนก็คิดว่าถ้ามีตัวช่วยอ่านหนังสือก็คงดี           ผู้เขียนเชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงคิดเหมือนกัน วันนี้เลยอยากมาแนะนำตัวช่วยอ่านหนังสือสอบ นั่นก็คือเทคนิคการใช้จิตวิทยาสีในการอ่านหนังสือนั่นเอง!           อะไรคือ Brain-Based Learning?           ก่อนอื่นผู้เขียนขอแนะนำการจัดการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Brain-based Learning (BBL) ก่อน โดยแนวคิดนี้เป็นการนำความรู้ในเรื่องระบบการทำงานของสมอง มาใช้ในการออกแบบพัฒนาจัดการการเรียนรู้ของมนุษย์ และแนวคิดดังกล่าวได้มีการผูกโยงกับหลักการแนวคิดหลักการด้านจิตวิทยาสี (Psycology of color) เนื่องจากสีเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและส่งผลต่อสภาพจิตใจของมนุษย์           วรรณะสีกับความรู้สึก           สีสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 วรรณะ ได้แก่           สีวรรณะร้อน (Warm Tone)           เมื่อพูดถึงสีวรรณะร้อน ดูตามชื่อเลยก็คือสีที่ทำให้นึกถึงไฟหรือความร้อน มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกสว่างไสว ร้อนแรง นอกจากนี้ยังเป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นเต้น รุนแรง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะร้อน เช่น สีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง สีม่วงแดง           สีวรรณณะเย็น (Cool Tone)           สีวรรณะเย็นก็คือสีที่ทำให้นึกถึงความหนาวเย็น มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ  เป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์รู้สึกสงบเงียบ อ่อนโยน สบายลดความตึงเครียด ไปจนถึงรู้สึกเศร้าสลด หม่นหมอง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะเย็น เช่น สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง           ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษหลายสีที่อยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น เช่น สีเหลือง สีม่วง           สีแบบไหนที่จะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้ได้ดี?           เกริ่นก่อนว่าการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นพื้นฐานนั้น ความรู้สึกที่ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ไม่กดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้จดจ่อและค้นหาคำตอบนั้นจะทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นสีที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถมีสมาธิได้นั้นจะต้องเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลาย           สีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสมาธิมากที่สุดคือ สีน้ำเงิน เนื่องจากสีน้ำเงินเป็นสีที่อยู่ในวรรณะเย็น และอยู่ในโทนเข้ม (ในทางจิตวิทยา สีโทนเข้มจะช่วยเพิ่มความจำได้มากกว่าสีโทนอ่อน) สึน้ำเงินจึงเป็นสีที่นอกจากจะช่วยให้ผู้เห็นรู้สึกสงบ ผ่อนคลายลงแล้ว ยังช่วยดึงสติและสมาธิได้อีกด้วย           ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้สีน้ำเงินกับเทคนิดการเรียนที่ชื่อว่า「青ペン記憶法」หรือถ้าแปลตรงตัวเลยก็คือ “เทคนิคช่วยจำด้วยปากกาน้ำงิน” โดยวันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอวิธีการใช้ปากกาน้ำเงิน 3 วิธี           1. เขียนทุกอย่างด้วยปากกาสีน้ำเงิน           เป็นวิธีที่ฮิตที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยวิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนอื่นให้น้อง ๆ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในหัวก่อนว่าอยากเขียนเกี่ยวกับอะไร เช่น จะเขียนสรุปหัวข้อที่ตัวเองไม่แม่นอันนี้ ๆ หรืออยากเขียนทวนเรื่องนี้ ๆ 3…
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

English, Uncategorized, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา   อยากเริ่มตั้งใจเรียน แต่ทำยังไงๆ ก็เรียนไม่รู้เรื่อง เกรดไม่ดีขึ้น ไม่มีแรงจูงใจอ่านหนังสือ ไม่รู้จะทำยังไงให้รอดจากสอบไปให้ได้!    ถ้าน้องๆ กำลังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ขอให้เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลย!   เพราะวันนี้ Clear จะขอมาแชร์เทคนิคการเรียนแบบอักษ๊ร อักษรจากเด็กอักษร จุฬา คณะที่เขาว่าเรียนหนัก อ่านหนังสือเยอะกันจ้า! แนะนำตัว   ก็ขอแนะนำตัวกันสักหน่อย พี่ชื่อกิ๊บ เพิ่งจบปี 4 จาก เอกภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬามาหมาดๆ ต้องขอบอกก่อนว่าเราไม่ได้เรียนเก่งถึงมากถ้าเทียบกับคนอื่นๆ ในคณะ แต่เราอาศัยว่าเราได้อยู่ท่ามกลางคนเก่งๆ ขยันๆ ทำให้เราได้เห็นว่าคนเก่งๆ ได้เกรดดีๆ เขาเรียนกันยังไง เราก็เลยได้รู้วิธีเรียนดีๆ เยอะแยะจากทั้งเพื่อนๆ และอาจารย์ในคณะ ที่ทำให้เราเรียนได้ดีขึ้นแถมยังไม่เบื่อด้วย วันนี้เราก็เลยจะขอมาแชร์เทคนิคที่เราลองทำตามแล้วได้ผลให้น้องๆ ทุกคนลองนำไปทำตามดู   ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย! 1.ตั้งใจฟังอาจารย์ สงสัยให้รีบถาม    เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่น้องๆ ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าในชีวิตจริง ก็ยังคงมีหลายๆ คนที่รู้สึกว่า ไม่อยากฟังอาจารย์พูดแล้ว! เดี๋ยวค่อยไปอ่านเอาเองทีหลังก็ได้ แต่การไปอ่านเอาเองทีหลังก็อาจทำให้น้องๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาเท่าที่อาจารย์สอน เพราะอาจมีเนื้อหาบางส่วนที่อาจารย์เน้นเป็นพิเศษเพราะออกสอบเยอะด้วย แถมถ้าน้องๆ ไม่ฟังอาจารย์ในคาบ ก็จะถามตรงจุดที่สงสัยไม่ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ยอมฟังแล้วไปอ่านเอาเองก็อาจไม่ได้คะแนนเท่าคนที่ตั้งใจฟังอาจารย์สอนก็ได้นะ! 2.อ่านหนังสือแล้วไม่เคลียร์ให้รีบจดคำถามไว้กันลืม   เวลาที่น้องๆ อ่านหนังสือทบทวนด้วยตัวเอง แน่นอนว่าคงมีหลายจุดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ สงสัยขึ้นมา ขอแนะนำให้รีบจดคำถามนั้นใส่กระดาษหรือโน้ตไว้เลย เพราะถ้าเราอ่านหนังสือนานๆ จนเกิดข้อสงสัยหลายๆ จุดขึ้นมา กว่าจะอ่านจบ น้องๆ ก็อาจจะลืมสิ่งที่ตัวเองสงสัยไปแล้วหรือสับสนว่าเราสงสัยอะไรกันแน่ ถ้าเรารีบจดไว้ ก็จะทำให้ไม่ลืม แล้วก็ไปหาคำตอบเองทีหลังได้ หรือถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ก็ยังเอาคำถามพวกนี้ไปถามอาจารย์ต่อได้อีกด้วย วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดูพื้นๆ เป็นวิธีอุดจุดบอดที่ดีมากๆ เลย 3.อ่านหนังสือหลายๆ เล่มเทียบกัน ไม่อ่านเล่มเดียว   ในคณะอักษร เราถูกสอนมาให้ตรวจสอบแหล่งข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ ทำให้เด็กอักษรมักไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมักหาข้อมูลจากหลายๆ ที่ เวลาอ่านหนังสือก็มักจะอ่านหลายๆ เล่ม แม้จะเป็นเนื้อหาเดียวกันก็ตาม   แต่จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันหลายๆ เล่มยังมีประโยชน์มากกว่าการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกนะ! เพราะการอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ทำให้เราวิเคราะห์เนื้อหาที่เรามีอยู่แล้วในหัวโดยอัตโนมัติว่า ตรงนี้ที่เราเคยอ่านมาแล้วสินะ ตรงนี้อธิบายคล้ายกับเล่มนั้นเลยนะ ทำให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้มากขึ้น เพราะไม่ได้แค่อ่านให้ผ่านๆ ไป เฉยๆ แต่ยังคิดตามเนื้อหาที่อ่านอยู่เสมอโดยอัตโนมัติด้วย   ยังไม่พอนะ การอ่านแบบนี้น้องๆ ยังจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะหนังสือแต่ละเล่มก็จะมีจุดที่แตกต่างกัน หนังสือเล่มนั้นอาจจะเขียนข้อมูลบางส่วนละเอียดกว่าหนังสืออีกเล่ม หนังสืออีกเล่มอาจไม่มีข้อมูลที่เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ รับรองเลยว่าอ่านไปสัก 3-4 เล่ม จะต้องเก่งขึ้นอย่างแน่นอน 4.หาวิธีสนุกกับการเรียน   เวลาที่เราทำอะไรแล้วรู้สึกสนุก ไม่ฝืน เราก็จะทำสิ่งนั้นได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน การเรียนก็เหมือนกัน น้องๆ ทุกคนควรหาวิธีเรียนที่ทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเรียนให้ได้ แน่นอนว่ากับบางวิชาที่เราไม่ชอบ การหาวิธีสนุกกับมันก็อาจจะยาก แต่ถ้าน้องๆ หาเจอ ก็อาจจะเริ่มสนุกกับวิชาที่เราเคยเกลียดและอาจจะไปถึงขั้นชอบวิชานั้นขึ้นมาก็ได้นะ   วันนี้เราก็จะมาขอแนะนำวิธีที่เคยเห็นเพื่อนๆ ใช้กัน เปิดวิดิโอ study with me เรียนไปพร้อมๆ…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More