เรียนทีไรง่วงตลอดเลย 6 วิธีแก้ง่วง

เรียนทีไรง่วงตลอดเลย 6 วิธีแก้ง่วง

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, รีวิว, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สุขภาพและความงาม, แอป Clearnote
  พอเปิดหนังสือเรียนทีไรก็ง่วงตลอดเลย จะสอบแล้วแท้ๆ อุตส่าห์พยายามอ่านหนังสือ แต่หนังตาก็ไม่เป็นใจเอาเสียเลย เคยประสบปัญหานี้กันไหมคะ?  วันนี้ Clearnote มีวิธีดีๆ ในการรับมือกับความง่วงมาแบ่งปันกันค่ะ ไปดูกันเลยย 1.งีบสักนิดก่อนเรียน   อาการง่วงระหว่างเรียน ส่วนใหญ่แล้วมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ เผลอดูซีรี่ย์นานไปนิด รู้ตัวอีกทีก็ดึกมากเสียแล้ว ในกรณีแบบนี้ การงีบเอาแรงสักนิดจะดีกว่าค่ะ การงีบจะทำให้สมองเราปลอดโปร่งขึ้น การเรียนก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ แต่อย่างไรตาม อยากให้ระวังเรื่องเวลากันไว้สักหน่อยนะคะ เพียงแค่ 10-15 นาทีเท่านี้ก็เพียงพอแล้วค่ะ หากงีบนานเกินไปอาจจะง่วงกว่าเดิมเอาได้นะคะ 2. ลองเปลี่ยนเนื้อหาที่เรียนดู   หากอ่านวิชาเดิมซ้ำไปมา สมองจะอ่อนล้าและหัวไม่แล่นเป็นที่แน่นอน ทำให้เกิดอาการง่วงหงาวหาวนอนตามมา ลองเปลี่ยนเนื้อหาที่เรียนเช่น อ่านเนื้อหาที่เน้นความจำ (อังกฤษ, ไทย, สังคม เป็นต้น) จากนั้นผลัดมาทบทวนวิชาคำนวณ (คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ เป็นต้น) ช่วยให้ง่วงน้อยลงได้ค่ะ 3. ล้างหน้า แปรงฟันเพิ่มความสดชื่น   ถ้าเริ่มรู้สึกว่าทนไม่ไหวแล้วว ตาจะปิดแล้ว น้ำเย็นสดชื่อนอาจช่วยได้ค่ะ ลองลุกไปล้างหน้าดู ช่วยให้รู้สึกสดชื่น และหายง่วงขึ้นได้ค่ะ หรืออาจจะแปรงฟันด้วยหากมีเวลา เป็นวิธีที่ให้ผลดีขึ้นกว่าเดิมค่ะ 4. เปลี่ยนที่เรียน   บางทีการเรียนในห้องตนเองอาจทำให้ตั้งสมาธิได้ยากขึ้น เพราะว่ามีสิ่งเร้าที่จะทำให้เราวอกแวกได้ง่ายนั่นเอง ลองย้ายไปเรียนในที่ ที่เหมาะสมกับการเรียนมากขึ้น จะช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่อมากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าตรงนั้นเป็นที่สำหรับเรียน เมื่อเข้ามาที่นี่แล้วเราจะต้องเรียนนั่นเอง 5. ยืดเส้นยืดสาย   การนั่งเรียนเป็นเวลานานไป กล้ามเนื้อของเราก็ตึงตามไปด้วย ส่งผลให้เราง่วงขึ้นไปด้วยค่ะ เราอาจพักระหว่างเรียนมายืดเส้นยืดสายกันซักนิด ให้เลือดได้ไหลเวียน อาจเดินไปเดินมาในห้อง หรือยืดหลังง่ายๆ เป็นต้น ทำให้เรากระปรี้กระเปร่าขึ้นค่ะ 6. พูดคุย หรือถามคำถาม   การเรียนเงียบๆ คนเดียว ทำให้เกิดอาการง่วงได้ง่ายใช่ไหมล่ะคะ ลองหาเพื่อนเรียนด้วยกัน ทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนไปด้วยกัน หรือหากมีอาจารย์อยู่ด้วย ก็ลองถามคำถามดูบ้าง การได้ส่งเสียงออกมาทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้นค่ะ ไม่ง่วงแน่นอนน   วิธีเหล่านี้น่าจะทำให้ทุกคนหายง่วงระหว่างเรียนกันได้นะคะ แต่อย่างไรก็ตาม การนอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อร่างกายเราแข็งแรงพร้อมต่อการเรียน การเรียนรู้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ Clearnote เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ Reference ข้อมูลจาก https://www.eikoh-seminar.com/koukoujuken/column/p7184/
Read More
จดน้อย จำได้มาก เรียนดีขึ้นด้วยเทคนิค Mind mapping

จดน้อย จำได้มาก เรียนดีขึ้นด้วยเทคนิค Mind mapping

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
  ช่วงนี้หลายๆคนคงเข้าสู่ช่วงสอบปลายภาคกันแล้วใช่ไหมคะ หลายคนคงกังวลใจกับการสอบกันอยู่ การอ่านหนังสือกองพะเนิน จดโน้ตจนตาลาย คงทำให้เหนื่อยล้ากันน่าดู  วันนี้เราจึงมาแนะนำเทคนิคดีๆ ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ สู้ๆ! ตัวอย่าง Mind mapping สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ 10 Really Cool Mind Mapping Examples | MindMaps Unleashed   Mind mapping หรือแผนผังความคิด, แผนภาพ คือ เครื่องมือในการช่วยคิด และจดบันทึก ใช่เพื่อถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นแผนภาพ โดยมีหัวข้อหลักเป็นศูนย์กลาง แล้วแตกแขนงประเด็นเป็นหัวข้อย่อยออกมา เทคนิค Mind map เป็นเทคนิคที่ได้รับการยอมรับ และนิยมอย่างกว้างขวาง แพร่หลายไปทั่วโลก ซึ่งอาจใช้ภาพ สี เส้น ต่างๆ เข้าช่วย <a href="<a href="https://www.freepik.com/vectors/idea">Idea vector created by stories - www.freepik.com Mind map  ดีอย่างไร   Mind map เป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองมนุษย์ เราจึงสามารถใช้ศักยภาพของสมองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ Mind map ช่วยให้เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกัน และเห็นภาพรวมได้มากขึ้น วิธีนี้นอกจากจะทำให้เราสามารถจดจำได้ข้อมูลง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยพัฒนาสมอง และทำให้เกิดจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆอีกด้วย ทำให้ความจำดีขึ้น   จากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ใช้เทคนิค Mind map สามารถจำข้อมูลได้มากขึ้นถึง 10 - 15% เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทดสอบความทรงจำระยะยาว เพิ่มความคิดสร้างสรรค์   ยังมีผลวิจัยอีกว่า เด็กที่ใช้เทคนิค Mind map มีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้น เนื่องจาก Mind map  ทำให้เราสามารถคิดได้อย่างอิสระนั่นเอง  เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆได้อย่างอิสระต่างจากการเขียน Mind map ซึ่งในตอนสุดท้ายหากไอเดียวกว้างเกินไป เราอาจกลับมาจัดแผนภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการได้ เชื่อมโยงประเด็นต่างๆได้ดียิ่งขึ้น   โดยส่วนใหญ่เทคนิคในการเขียนมักจะเป็นการจดจำโดยเขียนอธิบายความหมายของหัวข้อนั้นๆ เป็นเส้นตรง แต่เทคนิค Mind map นั้นทำให้เราสามารถจดจำในรูปแบบที่อิสระได้ แต่ก็ยังสามารถจดจ่อกับหัวข้อนั้นๆ ในขณะเดียวกันได้ เราจึงมองภาพรวมได้กว้าง และประติดประต่อข้อมูลไปยังประเด็นอื่นๆ ได้เรื่อยๆ โดยไม่ถูกปิดกั้นความคิด Mind map ให้อะไรมากกว่าการจดบันทึก   หลายคนมักจะใช้ Mind map ในการจดบันทึก แต่ความจริงแล้ว เราสามารถประยุกต์ใช้ Mind map ได้หลายทางเลย เราจึงจะมายกตัวอย่างให้ฟังกันค่ะ การระดมความคิด   ทุกคนเคยระดมความคิดเห็นกับเพื่อนๆ คนอื่น แล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจบ้างไหมคะ นั่นอาจเป็นเพราะว่า เราพยายามคิดให้สอดคล้องกับคนอื่นนั่นเองค่ะ ซึ่งทำให้เราติดอยู่ในกรอบความคิดที่ใกล้เคียงกัน การนำเทคนิค Mind map เข้ามาช่วย…
Read More
เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

9วิชาสามัญ, English, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาอังกฤษ, หนังสือ
        เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที          สวัสดีค่า ช่วงนี้คลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ผู้เขียนยังอยู่บ้าน Work From Home อยู่ นอกเวลางานก็ไถโซเชียลดูเพลิน ๆ แต่บางครั้งก็รู้สึกเบื่อโลกโซเชียล เลยถือโอกาสนี้มาฝึกสกิลภาษาอังกฤษด้วยการหานิยายภาษาอังกฤษอ่าน           แต่ปัญหาก็คือเราหาหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ภาษาอังกฤษเราไม่ได้สักที บางเล่มก็รู้สึกว่าง่ายไปไม่ค่อยได้ฝึกคำศัพท์ใหม่ ๆ บางเล่มก็ยากเกินเหมือนภาษาต่างดาว5555 จนเร็ว ๆ นี้เราบังเอิญได้ไปเจอคนที่พูดถึงเรื่องนี้ในyoutube https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0           จากในคลิป คุณUSAiko พูดถึงเรื่องหลัก Five Finger Rule ซึ่งเป็นหลักง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถหาหนังสือภาษาต่างประเทศที่เหมาะกับระดับของเราได้           Five Finger Rule           วิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนที่จะซื้อหนังสือ ให้น้อง ๆ สุ่มเปิดมาหนึ่งหน้า จากนั้นก็ลองกวาดสายตาอ่านดู และเมื่อเจอคำศัพท์ที่เราไม่รู้ก็ให้ชูนิ้วขึ้นมา โดยจำนวนนิ้วที่เราชูขึ้นมาจะบ่งบอกว่าระดับภาษาในหนังสือเล่มนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า           0-1 นิ้ว : ระดับภาษาในหนังสือง่ายเกินไป           2 นิ้ว : ระดับภาษาที่เหมาะสมกับน้อง ๆ ที่สุด (คำศัพท์ไม่ยาก ไม่ง่ายเกินไป และน้อง ๆ ยังสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้แบบไม่กดดัน)           3 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เหมาะกับคนที่ต้องการท้าทาย อยากเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เยอะ ๆ           4 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกระดับ ไม่ค่อยแนะนำเพราะอ่านไปนาน ๆ อาจรู้สึกเหนื่อย ถอดใจไปได้           5 นิ้วขึ้นไป : ระดับภาษายากเกินไป ควรเปลี่ยนเล่มใหม่เป็นเล่มที่ง่ายกว่านี้ ที่มา: https://www.asiabooks.com/breasts-and-eggs-249270.html           อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนลังเลอยู่ว่าจะซื้อหนังสือเรื่อง BREASTS AND EGGS ดีไหม (แต่พออ่านแล้วก็ขอขายว่าเรื่องนี้ดีจริง สะท้อนด้านมืดของสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงต้องเจอ น้องคนไหนสนใจก็ไปตำได้จ้า) เพราะเป็นคนถอดใจง่าย ถ้าศัพท์ยากเกินไป ความอยากอ่านก็จะลดลง เราเลยเอาหลัก Five Finger Rule มาใช้ โดยสุ่มเปิดมาหน้าหนึ่งแล้วอ่าน นับจำนวนคำที่ตัวเองไม่รู้           จากในภาพจะเห็นว่ามีคำศัพท์ที่ผู้เขียนไม่รู้ 3 คำตามที่ได้ขีดเส้นใต้สีแดงเอาไว้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะยากกว่าความสามารถของผู้เขียนนิดหนึ่ง แต่ก็เหมาะจะเอาไว้ใช้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ (ดังนั้นผู้เขียนก็รีบคว้าไปจ่ายตังค์เลยค่ะ5555)           น้อง ๆ ผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตอนนี้แล้วอาจจะคิดว่า แล้วถ้าตัวน้องอยากรู้ภาษาต่างประเทศไว ๆ ไม่ได้ขี้เกียจหรือถอดใจกับการหาคำศัพท์ง่าย ๆ…
Read More
เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
               สวัสดีค่า ตอนนี้ช่วงสอบปลายภาคก็ใกล้เข้ามาแล้ว ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยตัวเองเรียนอยู่มัธยม พอใกล้วันสอบปลายภาคแล้วก็จะรู้สึกเครียด ลนจนไม่มีสมาธิ เพราะรู้สึกว่าวันสอบปลายภาคเหมือนวันตัดสินชี้เป็นชี้ตาย รู้ตัวอีกทีก็อ่านหนังสือไม่ทัน ต้องยัดเนื้อหาเข้าสมอง 1 คืนก่อนสอบรัว ๆ เลย ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนก็คิดว่าถ้ามีตัวช่วยอ่านหนังสือก็คงดี           ผู้เขียนเชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงคิดเหมือนกัน วันนี้เลยอยากมาแนะนำตัวช่วยอ่านหนังสือสอบ นั่นก็คือเทคนิคการใช้จิตวิทยาสีในการอ่านหนังสือนั่นเอง!           อะไรคือ Brain-Based Learning?           ก่อนอื่นผู้เขียนขอแนะนำการจัดการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Brain-based Learning (BBL) ก่อน โดยแนวคิดนี้เป็นการนำความรู้ในเรื่องระบบการทำงานของสมอง มาใช้ในการออกแบบพัฒนาจัดการการเรียนรู้ของมนุษย์ และแนวคิดดังกล่าวได้มีการผูกโยงกับหลักการแนวคิดหลักการด้านจิตวิทยาสี (Psycology of color) เนื่องจากสีเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและส่งผลต่อสภาพจิตใจของมนุษย์           วรรณะสีกับความรู้สึก           สีสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 วรรณะ ได้แก่           สีวรรณะร้อน (Warm Tone)           เมื่อพูดถึงสีวรรณะร้อน ดูตามชื่อเลยก็คือสีที่ทำให้นึกถึงไฟหรือความร้อน มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกสว่างไสว ร้อนแรง นอกจากนี้ยังเป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นเต้น รุนแรง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะร้อน เช่น สีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง สีม่วงแดง           สีวรรณณะเย็น (Cool Tone)           สีวรรณะเย็นก็คือสีที่ทำให้นึกถึงความหนาวเย็น มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ  เป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์รู้สึกสงบเงียบ อ่อนโยน สบายลดความตึงเครียด ไปจนถึงรู้สึกเศร้าสลด หม่นหมอง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะเย็น เช่น สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง           ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษหลายสีที่อยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น เช่น สีเหลือง สีม่วง           สีแบบไหนที่จะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้ได้ดี?           เกริ่นก่อนว่าการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นพื้นฐานนั้น ความรู้สึกที่ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ไม่กดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้จดจ่อและค้นหาคำตอบนั้นจะทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นสีที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถมีสมาธิได้นั้นจะต้องเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลาย           สีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสมาธิมากที่สุดคือ สีน้ำเงิน เนื่องจากสีน้ำเงินเป็นสีที่อยู่ในวรรณะเย็น และอยู่ในโทนเข้ม (ในทางจิตวิทยา สีโทนเข้มจะช่วยเพิ่มความจำได้มากกว่าสีโทนอ่อน) สึน้ำเงินจึงเป็นสีที่นอกจากจะช่วยให้ผู้เห็นรู้สึกสงบ ผ่อนคลายลงแล้ว ยังช่วยดึงสติและสมาธิได้อีกด้วย           ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้สีน้ำเงินกับเทคนิดการเรียนที่ชื่อว่า「青ペン記憶法」หรือถ้าแปลตรงตัวเลยก็คือ “เทคนิคช่วยจำด้วยปากกาน้ำงิน” โดยวันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอวิธีการใช้ปากกาน้ำเงิน 3 วิธี           1. เขียนทุกอย่างด้วยปากกาสีน้ำเงิน           เป็นวิธีที่ฮิตที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยวิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนอื่นให้น้อง ๆ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในหัวก่อนว่าอยากเขียนเกี่ยวกับอะไร เช่น จะเขียนสรุปหัวข้อที่ตัวเองไม่แม่นอันนี้ ๆ หรืออยากเขียนทวนเรื่องนี้ ๆ 3…
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, TCAS, ภาพยนตร์, ภาษาญี่ปุ่น, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
ตีแผ่เคล็ดลับเตรียมสอบ จากภาพยนตร์เรื่อง “Biri Gal”           สวัสดีจ้า น้อง ๆ มีใครเคยดูภาพยนตร์ญี่ปุ่นชื่อดังเรื่อง「ビリギャル」หรือ “Biri Gal”  บ้างไหมคะ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่เป็นแรงบันดาลใจในการอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยของผู้เขียนเลย ถ้าใครยังไม่รู้จัก เราไปดูเรื่องย่อกันดีกว่า ที่มา : http://birigal.jp/           เรื่องย่อ           ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริง โดยคุโด ซายากะ (รับบทโดย Arimura Kasumi) นางเอกของเรื่อง เป็นสาวแกล ที่โหล่ของห้องที่ถึงจะอยู่ชั้นม.5 แต่ความรู้เทียบได้กับแค่เด็กป.4 และก่อเรื่องไม่เว้นวันจนในโรงเรียนต่างเอือมระอา จนมาวันหนึ่งซายากะถูกพักการเรียน แม่ได้ชักชวนให้เธอไปสมัครเรียนที่โรงเรียนสอนพิเศษแห่งหนึ่ง ซึ่งทำให้ซายากะได้พบกับอาจารย์ท์ซุโบตะ โนบุทากะ (รับบทโดย Ito Atsushi) อาจารย์สอนพิเศษที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตของซายากะให้สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคโอ (Keio University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่นได้ภายใน 1 ปี ที่มา : https://youtu.be/oyqqcgpWzsM           เป็นเรื่องราวการฝ่าฟันอุปสรรคของเด็กม.ปลายคนหนึ่งเพื่อเป้าหมายและความฝันของตัวเองที่น่าประทับใจมาก ๆ น้อง ๆ คนไหนที่สนใจก็ลองไปดูกันได้นะคะ และวันนี้เราจะเอาเคล็ดลับที่ซายากะใช้อ่านหนังสือเตรียมสอบมาตีแผ่ให้น้อง ๆ อ่านกันค่ะ รับรองว่าถ้าเอาวิธีอ่านหนังสือของซายากะไปปรับใช้แล้ว เริ่ดปังทุกคน!           1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน           ก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือหรือทำอะไร เราต้องกำหนดเป้าหมายของตัวเองให้ชัดเจนก่อน โดยจากเรื่องตอนแรกซายากะไม่รู้ถึงความสำคัญของการกำหนดเป้าหมาย แต่อาจารย์ท์ซุโบตะได้พูดออกมาว่า「でもさ、無理って思うことを成し遂げたら、自信になるだろ」ซึ่งแปลว่า “แต่ว่านะ การทำสิ่งที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้ลุล่วง ก็จะกลายเป็นความมั่นใจได้นะ” ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นอ่านหนังสือ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะมีเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป เพราะถ้าเรามีความตั้งใจและความพยายามมากพอ ก็จะสามารถทำให้ความฝันที่ตอนแรกเรามองว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ แล้วความสำเร็จนั้นก็จะทำให้เราเกิดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง           ทั้งนี้แรงบันดาลใจหรือเหตุผลที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องจริงจังก็ได้ เช่น ในตอนแรกที่ซายากะเข้าโรงเรียนม.ต้นของเธอ ส่วนหนึ่งก็เพราะชุดเครื่องแบบนักเรียนน่ารัก น่าใส่ และในตอนที่ซายากะเลือกสอบที่มหาวิทยาลัยเคโอ ก็เพราะที่มหาวิทยาลัยขึ้นชื่อเรื่องหนุ่มหน้าตาดี ดังนั้นเราอาจหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เช่น อยากเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยนั้น เพราะอาคารสวย เพราะอาหารอร่อย เพราะอยากลองเข้าทำกิจกรรมนี้ ๆ หรือแค่เพราะอยากลองchallengeตัวเอง ก็เป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแล้ว           2. ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานใหม่           จากที่ได้เล่าให้ฟังในเรื่องย่อ ถึงซายากะจะเรียนอยู่ชั้นม.5 แล้ว แต่ความรู้ต่าง ๆ ยังอยู่ชั้นป.4 ทำให้ทำคะแนนpre-testของโรงเรียนกวดวิชาได้0คะแนน ถึงอย่างนั้นซายากะก็ไม่กลัวที่จะปูพื้นฐานของตัวเองใหม่หมดเลยโดยการนั่งอ่านหนังสือและทำแบบฝึกหัดสำหรับนักเรียนชั้นประถม ทำให้ต่อมาซายากะคะแนนดีขึ้นเรื่อย ๆ           การปูพื้นฐานก็เหมือนกับการกำจัดจุดอ่อนของเรา โดยน้อง ๆ อาจลองทำข้อสอบประเมินทุกวิชาก่อนว่าตัวเองมีจุดอ่อนวิชาไหน หรือหัวข้อไหน แล้วเมื่อเรารู้จุดที่อ่อนแล้ว ก็ไปอ่านทำความเข้าใจหลักพื้นฐานของวิชานั้น ๆ หรือประเด็นนั้น ๆ จากนั้นเมื่อพื้นฐานเราแน่นมากพอแล้ว เราก็สามารถไปตะลุยโจทย์ที่มีระดับความยากขึ้นไปอีกได้           อาจารย์สมัยม.ปลายของผู้เขียน (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา) เคยพูดเอาไว้ว่า การเรียนก็เหมือนการก่อปราสาททราย…
Read More
กว่าจะเป็นนิสิตอักษร แชร์ทุกกระบวนท่าเคล็ดลับสู่คณะที่ใฝ่ฝัน

กว่าจะเป็นนิสิตอักษร แชร์ทุกกระบวนท่าเคล็ดลับสู่คณะที่ใฝ่ฝัน

9วิชาสามัญ, English, GAT/PAT, O-NET, TCAS, รีวิวคณะในฝัน
สวัสดีจ้าน้อง ๆ ทุกคน ขอแนะนำตัวสักหน่อยพี่ชื่อแอดมิน S น้า เชื่อว่า อักษร เป็น 1 ในคณะที่น้อง ๆ ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ต่างใฝ่ฝันอยากจะเข้าไปเรียน วันนี้แอดเลยจะพาไปสัมภาษณ์รุ่นพี่จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีเคล็ดลับ หรือวิธีการเตรียมตัวในการพิชิตคณะในฝันอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปทำความรู้จักกับพี่เขาเลยดีกว่า! 1. แนะนำตัวหน่อยจ้า สวัสดีจ้าเราชื่อแพรว เป็นเด็ก 60 ปัจจุบันเพิ่งจบจาก คณะอักษรจุฬา เอกภาษาอังกฤษ โทภาษาจีนจ้า 2. ทำไมถึงอยากเข้า อักษร เริ่มรู้ตัวเองว่าอยากเข้าตั้งแต่เมื่อไหร่? ขอบอกก่อนเลยว่าจริงๆแล้วเราไม่ค่อยถูกกับวิชาเลขหรือคณิตมาตั้งแต่ต้นแล้วเลยเลือกที่จะเรียนสายศิลป์มาตั้งแต่ตอนมปลาย และก็เริ่มลองหาว่าตัวเองชอบอะไรตั้งแต่ช่วงม. 4 เลยคือลองไปเข้าค่ายเยอะมากๆ ตอนแรกๆนึกว่าตัวเองจะชอบเรียนกฎหมายนะแต่ว่าพอเหมือนเรารู้ว่าถ้าจะเรียนต่อในสาขานี้ จริงๆอาจจะไม่ค่อยสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เราเท่าไหร่ เลย รอไปงาน open house ของจุฬาฯดูแล้วก็ได้เห็นว่าคณะอักษรได้เรียนอะไรบ้างเลยรู้สึกคลิกกับคณะนี้มากๆ  บรรยากาศงาน Open House อักษร จุฬา 3. เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เมื่อไหร่? เริ่มเตรียมตัววางแผนอนาคตการสอบเข้าตั้งแต่ม 5 เทอม 2 เลยค่ะ จะเรียกว่าเตรียมตัวได้ไหมนะจริง ๆ แค่ เริ่มฝึกท่องศัพท์เฉย ๆ อ่ะค่ะ ฮ่าๆๆ 4. มีเคล็ดลับในการเตรียมสอบเข้า อักษร ยังไงบ้าง? เคล็ดลับในการเตรียมสอบของเราหลัก ๆ เลยคือเรื่องของวินัยค่ะอย่างแรกเลยเพราะหลังจากเราวางแผนเสร็จแล้วคือมันเป็นเรื่องง่ายมาก ๆ ที่แผนของเราจะล่มภายในไม่กี่อาทิตย์ เราเริ่มพยายามสร้างวินัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ค่ะคือ การเอาขนมไปแทรกไว้ตรงหน้าหนังสือที่เราตั้งไว้ว่าเป็นเป้าหมายว่าจะต้องอ่านไปให้ถึงให้ได้พอเราเห็นขนมเป็นรูปเป็นร่างกำลังรอคอยเราอยู่ในหน้าหนังสือที่เป็นเป้าหมายนั้นไม่ว่ายังไงเราก็ต้องอ่านหนังสือให้ไปถึงเป้าหมายในแต่ละวันของเราค่ะ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่อย่างนึงนะคะก็คือว่ากว่าจะอ่านจนหมดเล่มก็น้ำหนักขึ้นไปหลายโลแล้วค่ะ ฮ่าๆ 😂 แต่วิธีนี้ได้ผลกับเรามากๆจนสามารถอ่านหนังสือตามเป้าหมายได้ไปหลายเล่มเลย ถ้าน้องหรือเพื่อนๆคนไหนสนใจก็สามารถนำไปใช้กันได้นะคะ ไม่หวงค่ะ! และที่สำคัญเลยที่เราอยากจะแชร์ก็คือเราสอบเข้าอักษรจุฬามาโดยอ่านโน้ตจากในแอป Clear เนี่ยแหละค่ะ ทั้งนี้ก็เป็นเพราะว่าส่วนตัวเรียนสายศิลป์ภาษาเยอรมันมาแต่เนื่องจากคะแนน PAT ภาษาเยอรมันนั้นฝืดเสียเหลือเกินเลยเปลี่ยนใจมาสอบเป็น PAT ภาษาญี่ปุ่นแทนค่ะ ที่นี้ก็เลยต้องหาความรู้เพิ่มเติมจากการอ่านโน้ตของเพื่อนในแอป Clear นี่แหละค่ะ และจะบอกว่ามันช่วยได้จริงๆนะคะเพราะว่าเมื่ออ่านโน้ตของเพื่อนๆหลายๆคนแล้วแต่ละคนก็เหมือนมาแชร์ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อนแล้วเราพอเราอ่านไปหลายๆเล่มก็ทำให้เรามีชุดความรู้ในหัวที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์สามารถสอบได้เลยค่ะ! ที่นี้สำหรับน้องที่อยากเข้าอักษรโดยเฉพาะเลย เราขอเน้นย้ำว่าคะแนนภาษาอังกฤษ คะแนนสังคม ภาษาไทยและคะแนนในส่วนของ PATภาษาต่างประเทศนั้นสำคัญมาก ๆ ค่ะ และสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเราในการอ่านวิชาพวกนี้ก็คือการเก็บเนื้อหาให้ได้มากๆค่ะไม่ว่าจะเป็นทางด้านความรู้รอบตัวหรือว่าทางด้านคำศัพท์มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องทยอยอ่านไปเรื่อย ๆ บางทีก็จะรู้สึกว่าเก็บเท่าไหร่ก็เก็บไม่หมด เลยจะแอบมากระซิบว่าอย่าเพิ่งหมดกำลังใจไปก่อนจะเก็บเนื้อหาหมดนะคะ! 5. เคยเหนื่อย หรือท้อบ้างมั้ย จัดการกับความรู้สึกของตัวเองยังไง? ถ้าถามว่าเคยเหนื่อย หรือเคยท้อบ้างไหมขอบอกเลยว่าก็จะมีความคิดแบบนี้แว็บเข้ามาในหัวบ่อยๆตอนที่อ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ หรือว่าต้องแบกรับภาระหน้าที่อะไรหลายๆอย่างไปในเวลาเดียวกัน จริงๆส่วนใหญ่ช่วงเวลาแบบนั้นขึ้นก็จะเลือกที่จะคุยกับเพื่อนเยอะๆเพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกดาวน์ไปมากกว่านี้ เรารู้สึกว่าการเปิดใจคุยกับใครสักคนไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัวเพื่อนหรือครอบครัวมันจะทำให้เรารู้สึกโล่งและก็ทำให้เราถอยหลังออกมาจากปัญหา มามองปัญหาในภาพรวมกว้างๆมากขึ้น ทำให้เราไม่หมกมุ่นจนเสียสุขภาพจิตจนเกินไปค่ะ นอกจากนี้เองเราก็อาจจะหันไปหาที่พึ่งทางใจคือการทำงานอดิเรกหรือว่าหาสิ่งที่เราชอบ ยกตัวอย่างเช่นในกรณีของเรา เราก็จะชอบดูพวกอนิเมะและอ่านมังงะมาก ๆ เราก็พยายามทำสิ่งนั้นเพื่อทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมาเยอะๆค่ะ อ่ะ พอพูดถึงฮอร์โมนแห่งความสุขจะบอกว่าช่วงม. 6 นอกจากอ่านหนังสือแล้ว เราก็แบ่งเวลามาตีแบตกับเพื่อนด้วยค่ะ ช่วงเวลาหลังจากออกกำลังกายก็จะรู้สึกสดชื่นขึ้นนะคะ ถือเป็นการได้พักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจเลยค่ะ! 6.…
Read More

O-NET/9วิชาสามัญ ภาษาไทย มาทำให้เป็นวิชาช่วยดึงคะแนนกันดีกว่า!

9วิชาสามัญ, O-NET, ภาษาไทย
สวัสดีจ้า กลับมาพบกันอีกแล้ว กำลังเตรียมตัวสอบ O-NET/9วิชาสามัญ กันอยู่ใช่หรือเปล่า วันนี้เรามาว่ากันด้วยวิชาภาษาไทยดีกว่า จริงๆเราว่าวิชาภาษาไทยก็เป็นวิชาที่แอบปวดหัวเหมือนกันนะ ไหนจะเรื่องไวยากรณ์ วรรณคดี การใช้ภาษาต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น ถึงภาษาไทยจะเป็นภาษาแม่ก็ห้ามประมาทโดยเด็ดขาด เพราะถ้าตั้งใจทำวิชานี้ดีๆไม่ว่าจะทั้งสอบ O-NET หรือ 9วิชาสามัญ จะสามารถช่วยดึงคะแนนรวมได้ค่อนข้างเยอะ ถ้าพลาดก็น่าเสียดายเพราะอาจถูกคนอื่นได้คะแนนนำหน้าไปอย่างง่ายๆได้เลย วันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำตัวช่วยเตรียมสอบที่สำคัญมากๆ โดยเฉพาะกับคนที่อ่านไม่ทัน นั่นก็คือ โน้ตสรุปนั หัวข้อที่ออกข้อสอบบ่อยในวิชาภาษาไทย พร้อมโน้ตสรุปคัดพิเศษ! แน่นอนว่า เป็นไปได้ยากที่เราจะสามารถอ่านทุกเนื้อหาเพื่อเตรียมไปสอบ แต่วันนี้เราจะมาช่วยเก็งข้อสอบภาษาไทยให้ทุกคน หัวข้อที่คัดมานี้ถือว่าเด็ดๆทั้งนั้นเลย พิมพ์เกริ่นมายาวแล้ว เริ่มเมื่อยนิ้ว เข้าประเด็นเลยดีกว่า หัวข้อที่มีโอกาสสูงที่จะพบในข้อสอบเข้ามีตามนี้เลย หลักการใช้ภาษาไทย เช่น  ลักษณะของภาษา พยางค์และคำ คำไทย คำต่างประเทศ ฯลฯ โวหารภาพพจน์ เช่น กลยุทธ์การใช้ภาษาในวรรณคดี สุนทรียภาพ ฯลฯ การสะกดคำ คำในภาษาไทยคำง่ายๆแต่สะกดผิดกันบ่อยมีอะไรบ้าง แต่ไม่ต้องเป็นห่วงไป หากคุณเข้ามาอ่านบทความนี้เพื่อหาทางเตรียมตัวสอบภาษาไทย ไม่ว่าจะ สำหรับสอบ O-NET หรือ 9วิชาสามัญ คุณมาถูกที่แล้ว! เพราะต่อไปนี้เรามีโน้ตสรุปวิชาภาษาไทยหัวข้อต่างๆ มาฝาก ไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหนเลย เพราะสามารถอ่านจากโน้ตสรุปในแอพ Clear นี้ทั้งสิ้น!!! ซึ่งตรงนี้เราขอกระซิบบอกเลยว่า โน้ตสรุปที่เตรียมมาให้เอาไปอ่านกันนั้นเนี่ย เนื้อหาครบและปังมากกก ดังนั้นนอกจากใช้เตรียมสอบ O-NETแล้ว ยังเอาไปอ่านเตรียมสอบ 9วิชาสามัญได้อีกด้วย! สำคัญสุดคือ โน้ตเหล่านี้อ่านได้ฟรี!!! คุ้มกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ไปดูกันเลย โน้ตเล่มที่1 [9วิชา61] สรุปภาษาไทย เรื่องเสียงในภาษาไทยประเภทของคำต่าง ๆ มากมาย มาโน้ตเล่มแรกก็ปังเลย ทั้งสวย ทั้งอ่านง่าย เนื้อหาก็มีตั้งแต่พื้นฐาน อย่างเรื่องสระ ไปจนถึงชนิดของคำในภาษาไทย และประเภทของประโยค ดีงามที่สุดเลยเว้ยแก! ถ้าใครสนใจอ่านต่อก็สามารถไปดูโน้ตเล่มนี้กันเต็ม ๆ ได้ที่นี่เลย โน้ตเล่มที่2 [9วิชา] ภาษาไทย ฉบับย่อฝุดๆ รสในวรรณคดีและโวหารภาพพจน์กลวิธีการใช้คำในวรรณคดี ย่อฝุดๆ ตามชื่อจริง ๆ แต่เนื้อหาไม่ได้ย่อเลย ขอบอกว่าจัดเต็มมาก นอกจากรูปที่ให้มาด้านบนแล้วยังมี คำราชาศัพท์ การแยกคำไทยกับคำยืมภาษาต่างประเทศ มากมาย อย่ารีรอ รีบไปสูบความรู้เต็ม ๆ กันได้ที่นี่เลย โน้ตเล่มที่3 [9 วิชา] THAI 1.1 ภาษา ธรรมชาติของภาษาคำยืมภาษาต่างประเทศพร้อม โน้ตสรุปนี้สวยและอ่านง่ายมาก ๆ เนื้อหาเรื่องธรรมชาติของภาษา ลักษณะของภาษาไทย และการสร้างคำในภาษาไทย ที่เด่นคือมีการยกตัวอย่างคำยืมภาษาต่างประเทศมาให้จำเยอะมาก ๆ โน้ตสรุปเล่มนี้ไปตามอ่านกันต่อที่นี่ได้เลย โน้ตเล่มที่4 [9 วิชา] ภาษาไทย คำในชีวิตประจำวันที่คววรระวังสะกดผิดคำลักษณนามที่น่าจำ โน้ตเล่มนี้เนื้อหาจะต่างจากสองเล่มด้านบนนิดหน่อย แต่ก็ดีงามไม่แพ้กันเพราะมีรวมคำในภาษาไทยที่มักสะกดผิดเอาไว้ให้ทวนกันก่อนสอบ…
Read More