จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ

จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, TCAS, Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดยังไงให้ปังพร้อมสอบ: รวม 5 วิธีจดโน้ตเตรียมสอบ   เคยเป็นกันไหม?   จดโน้ตไม่ทันที่อาจารย์พูด หรือจดแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ไม่สวยไม่เป็นระเบียบ ไม่รู้ว่าตัวเองจดอะไร ทำเอาไม่อยากอ่านโน้ตที่ตัวเองจดไว้เลย...   เชื่อว่าน้องๆ หลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาแบบนี้(เพราะคนเขียนก็เคยเป็นบ่อยๆ) แถมช่วงนี้เป็นช่วงสอบปลายภาคอันแสนน่าปวดหัว วันนี้ Clearnote เลยขอแนะนำ 5 วิธีจดโน้ตให้สวยปัง เป็นระเบียบน่าอ่าน เตรียมพร้อมสอบให้น้องๆ ได้นำไปใช้กันได้เลย! 1.วิธีจดโน้ตแบบ Cornell (The Cornell Method)   วิธีจดโน้ตแบบ Cornell เป็นวิธีจดโน้ตที่พัฒนาขึ้นโดย Dr.Walter Pauk หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย Cornell สหรัฐอเมริกา   วิธีการจดโน้ตแบบ Cornell เริ่มจากการแบ่งหน้ากระดาษของน้องๆ เป็น 3 ส่วน ด้านซ้ายของหน้ากระดาษ: แบ่งเป็นพื้นที่ยาวๆ จนเกือบสุดหน้ากระดาษ ส่วนนี้เอาไว้จด​ Keyword ของเนื้อหาด้านขวาของหน้ากระดาษ: แบ่งเป็นพื้นที่ยาวๆ จนเกือบสุดหน้ากระดาษเช่นกัน แต่ให้กว้างกว่าด้านซ้ายประมาณ 2 เท่า (สัดส่วนประมาณ 2/3) ส่วนนี้เอาไว้จดเนื้อหาตอนเรียนในคาบท้ายหน้ากระดาษ: ส่วนท้ายของหน้ากระดาษ เอาให้เขียนได้ประมาณหนึ่ง (3-4 บรรทัด) ส่วนนี้เอาไว้สรุปเนื้อหาในส่วนด้านขวาอย่างสั้นๆ   เวลาที่เราเรียนในคาบ ให้จดเนื้อหาที่อาจารย์สอนลงในด้านขวาของกระดาษ จากนั้นให้เราทวนเนื้อหาให้เข้าใจ จากนั้นเขียน Keyword ของเนื้อหาในด้านขวาลงในช่องด้านซ้าย จากนั้นเวลาจะทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปอีก ก็ให้ใช้กระดาษหรือสมุดอะไรก็ได้มาบังด้านขวาของกระดาษเอาไว้ ให้เห็นแต่เพียง Keyword ฝั่งซ้าย แล้วก็พยายามพูด อธิบายเนื้อหาในหน้ากระดาษฝั่งขวาเอาไว้เท่าที่ทำได้ ถ้ายังจำไม่ได้ก็ลองอ่านเนื้อหาฝั่งขวาอีกรอบ วนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจำได้ สุดท้ายก็จดสรุปสั้นๆ ลงในช่องท้ายหน้ากระดาษ   วิธีการจดโน้ตแบบนี้จะเหมาะกับน้องๆ ที่ต้องจดโน้ตในห้องเรียน แล้วอยากกลับมาทบทวนทีหลังได้ง่ายๆ มีระเบียบ สวยงาม ไม่งง https://www.youtube.com/watch?v=Qyj6ZeL-eHc 2.วิธีจดโน้ตแบบเป็นประโยค (The Sentence Method)   วิธีการจดโน้ตแบบเป็นประโยคคือการจดโน้ตแบบเป็นข้อๆ ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ไปเรื่อยๆ โดยแต่ละข้ออยู่ในลักษณะประโยคสั้นๆ ที่มีใจความหลักเพียงอย่างเดียว ขอบคุณข้อมูลเรื่องดวงอาทิตย์จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เรื่องที่ 1 ดวงอาทิตย์ สำหรับเด็กระดับกลาง   วิธีการจดโน้ตแบบเป็นประโยคทำให้เราอ่านโน้ตได้ง่ายกว่าการจดเป็นย่อหน้า เพราะแต่ละข้อจะมีเลขข้อแบ่งย่อยๆ ตลอด และมีแค่ใจความหลักแค่หนึ่งเดียว ทำให้จับใจความได้ง่ายกว่าและไม่สับสน   แต่วิธีจดแบบนี้ก็มีข้อเสียคือ แยกได้ค่อนข้างลำบากว่าข้อไหนเป็นหัวข้อใหญ่หรือหัวข้อย่อย และเชื่อมโยงเกี่ยวพันกันอย่างไร อาจทำให้ทบทวนยากในบางกรณี   วิธีนี้เหมาะกับเวลาที่อาจารย์พูดเร็วมากๆ แต่เนื้อหาที่พูดค่อนข้างเป็นระเบียบอยู่แล้ว ไม่ได้กระโดดข้ามไปมาหรือเปลี่ยนหัวข้อกลางทางกระทันหัน หากใช้วิธีนี้ก็จะทำให้เราจดตามอาจารย์ทัน 3.วิธีจดโน้ตโดยใช้Outline (The Outlining Method)   วิธีจดโน้ตโดยใช้ Outline คือการจดโดยที่ - หรือ dash หรือตัวอักษร ตัวเลขเพื่อบอกว่าอะไรคือหัวข้อ โดยจดให้หัวข้อใหญ่ด้านบนซ้ายสุด…
Read More

แชร์เคล็ดลับกับการสอบ Open book

Uncategorized
สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ ยังไงช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่น้อง ๆ ทุกคนมักจะมีการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์และที่สำคัญไปกว่านั้นส่วนใหญ่แล้วรูปแบบการสอบในช่วงนี้ก็จะเป็นในรูปแบบของออนไลน์ไปด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วจึงบอกได้เลยว่าน้อง ๆ ส่วนใหญ่กำลังชะล่าใจไม่ยอมอ่านหนังสือเพราะเชื่อว่าอย่างไรอาจารย์ก็คงจะให้สอบแบบ Open book อยู่ดี หลาย ๆ คนเลยเลือกที่จะไม่จำเนื้อหาต่าง ๆ ให้ปวดหัวและไปหวังพึ่งความเร็วในการเปิดหนังสือแทน แต่ก็ไม่อยากจะบอกหรอกนะคะว่าสิ่งที่น้อง ๆ ชะล่าใจกันอยู่เป็นความคิดที่ผิดมหันต์เลย  สำหรับบทความนี้เราก็จะพาทุก ๆ คนไปดูกันว่า การทำข้อสอบแบบ Open book นั้นมีเทคนิคอย่างไรกันบ้าง และมีความแตกต่างจากการสอบในรูปแบบปกติอย่างไรกันบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ การสอบแบบ Open book คืออะไร การสอบแบบ Open book ถ้าแปลแบบตรงตัวก็คือการสอบแบบสามารถเปิดหนังสือได้ในระหว่างการสอบ พ่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายๆคนก็คงจะคิดว่าการสอบแบบ Open book นั้นง่ายเพราะว่าไม่ต้องจำเนื้อหาอะไรมากแต่แท้จริงแล้วการสอบแบบ Open book นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายคนเข้าใจนะคะเพราะว่าในความเป็นจริงแล้วมันยากกว่าการสอบแบบปิดหนังสือเรียนเสียอีกค่ะ เพราะส่วนมากแล้วข้อสอบแบบ Open book นั้นจะเป็นข้อสอบที่วัดความเข้าใจของตัวผู้เรียนเป็นหลัก ตัวโจทย์ส่วนมากก็เลยมีแนวโน้มที่จะเน้นการวิเคราะห์ของตัวผู้เรียนไปด้วย แล้วยิ่งไปกว่านั้นเองหากเราหวังว่าเราจะดวงดีสามารถเปิดหาคำตอบของคำถามได้ภายในระยะเวลาตอบสั้นๆนั้นขอบอกได้เลยว่าคิดผิดค่ะ เพราะโดยส่วนมากแล้วหนังสือและตำราเรียนส่วนมากก็จะมีจำนวนหน้าประมาณ 200-300 หน้าโดยเฉลี่ยอยู่แล้วหากเราไม่ได้ทำความคุ้นชินกับหนังสืออย่างดีพอเราก็จะไม่อาจรู้ได้เลยว่าคำตอบของสิ่งที่โจทย์ถามนั้นอยู่ส่วนไหนของหนังสือค่ะ ดังนั้นวันนี้ดิฉันจึงขอมาแชร์เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบแบบ Open book ให้กับน้องๆได้ฟังและได้นำไปปรับใช้กันดูนะคะ  เคล็ดลับที่ 1 ต้องอ่านตัวบทให้จบ ก่อนวันสอบ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เลยที่ไหลคนชล่าใจในช่วงสอบนะคะซึ่งก็คือการละเลยไม่อ่านหนังสือในช่วงสอบข้อคิดว่าอย่างไรก็ตามที่ครูให้เปิดหนังสือแล้วก็สามารถหาคำตอบได้จากหนังสือที่เรามีตรงหน้าได้อยู่แล้วแต่ขอบอกเลยนะคะว่าในการสอบนั้นเรื่องเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะส่วนมากแล้วการสอบต่าง ๆ มักจะกำหนดเวลามาไม่เกินชั่วโมงอยู่แล้วและถ้าเกิดว่าเราทำส่งไม่ทันก็อาจจะต้องได้คะแนนน้อยหรือตกวิชานั้นไปเลยนะคะ เพราะฉะนั้น เราควรใช้เวลาที่เรามีจากการเรียนออนไลน์มานั่งอ่านหนังสือและทบทวนบทเรียนโดยควรที่จะทำสรุปไปพลางกับการอ่านหนังสือนั้น ๆ ด้วย หรือถ้าบางคนรู้สึกขี้เกียจมากก็อาจจะใช้วิธีการไฮไลท์หรือแปะโพสอิทหาสาระสำคัญเฉพาะหน้าที่ตัวเองรู้สึกว่ามีความสำคัญก็ได้ค่ะ  เพื่อให้เราพอที่จะรู้ว่าสาระสำคัญของเนื้อหาบทนี้อยู่ที่นั่นนี้นั่นเองค่ะเวลาที่เราจำเป็นที่จะต้องใช้เนื้อหานั้นๆจะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาเปิดหากันจ้าละหวั่นนั่นเองค่ะ เคล็ดลับที่ 2 ทำสารบัญแยกสำหรับเนื้อหาสำคัญ เมื่อเราอ่านตัวตำราของเราเสร็จแล้วระหว่างนั้นเราก็ควรที่จะทำสารบัญแยกว่าเนื้อหาสำคัญที่น่าจะออกข้อสอบนั้นอยู่ที่ด้านในของตัวหนังสือบ้างและทำการจดโน๊ตลงไปเช่น หน้าที่ของพืช…หน้า 3,6,9 และอาจจด Keyword สำคัญคร่าว ๆ ลงบน สารบัญนั้นๆด้วยก็ได้ค่ะเผื่อหลายคนลืมว่าแต่ละเรื่องมีสิ่งสำคัญอะไรบ้าง การที่ทำเช่นนี้จะทำให้เราสามารถจัดหมวดหมู่เนื้อหาที่มีความสำคัญได้อย่างเป็นระบบและช่วยประหยัดเวลาในการหาเนื้อหาระหว่างสอบได้อีกด้วยนั่นเองค่ะ เคล็ดลับที่ 3 ควบคุมเวลาการเปิดหนังสือ อย่างที่บอกไปแล้วนะคะว่าในการสอบแบบ Open book นั้นมักจะมีเวลาที่ค่อนข้างจำกัดในการสอบทำให้นักเรียนหลายคนทำข้อสอบไม่ทันและอาจไม่สามารถส่งข้อสอบได้ตามเวลาที่กำหนด นอกจากนี้แล้วอย่าลืมนะคะว่าการส่งข้อสอบออนไลน์นั้นเราต้องเผื่อเวลาเผื่อความผิดพลาดหรือปัญหาทางเทคนิคอื่น ๆ อีกเช่นสัญญาณเน็ต หรือคอมค้าง ดังนั้นขอแนะนำให้ทุกคนนะคะว่าควรที่จะมีนาฬิกาจับเวลาไว้ข้าง ๆ ตัวตอนสอบอยู่เสมอและเผื่อเวลาสักประมาณ 15 นาทีในการตรวจทานคำตอบและจัดเตรียมไฟล์ในการส่งข้อสอบค่ะ  เคล็ดลับที่ 4 เตรียมเนื้อหาที่นอกเหนือจากหนังสือ อันนี้เป็นเทคนิคส่วนตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ นะคะก็คือว่าในเมื่อเราพอจะเกรงแนวข้อสอบได้แล้วว่าอาจารย์จะออกข้อสอบประมาณไหนเราก็ควรที่จะหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาที่เราเรียนไปด้วยนั่นเองค่ะเพื่อแสดงว่าเรามีความทุ่มเทและความพยายามต่อการเรียนมากเพียงไหนเราจึงควรที่จะเตรียมเนื้อหาสำรองไปตอบในข้อสอบด้วยก็ได้ค่ะ แต่เราจะต้องแน่ใจนะคะว่าเนื้อหานอกห้องเรียนที่เราต่อไปนั้นมีความสอดคล้องและไม่ไปขัดแย้งกันเองกับตัวเนื้อหาที่อยู่บนตำราเรียนของเราค่ะ เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับบทความนี้ หวังว่าทุก ๆ คนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการสอบแบบ Open book ไปไม่มากก็น้อยและสำหรับการสอบกลางภาคและปลายภาคนี้ก็ขออวยพรให้ทุกๆคนทำข้อสอบได้อย่าง ที่ได้เตรียมตัวมาและได้คะแนนตามที่ใฝ่ฝันนะคะสำหรับวันนี้ทางเราก็อยากจะฝากไว้เพียงเท่านี้ขอบคุณค่ะแล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า
Read More
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

Uncategorized, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!   น้องๆ สงสัยกันไหม จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง วันนี้ Clearnote จะมาชี้แจ้งแถลงไขประโยชน์ของการจดโน้ตให้น้องๆ ได้รู้กันเอง! 1.ช่วยให้เราเรียนรู้เรื่อง   การจดโน้ตช่วยให้น้องๆ ต้องตั้งใจฟังคุณครูโดยอัตโนมัติ เพราะถ้าจะจดโน้ตก็ต้องทำความเข้า กลั่นกรอง สิ่งที่อาจารย์พูดเพื่อจะจด เพราะน้องๆ คงไม่สามารถจดคำพูดทุกคำที่อาจารย์พูดได้ทัน และต่อให้จดทัน ก็มีงานวิจัยบอกว่าการที่น้องๆ ได้คิดวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะจดลงไป ไม่จดทุกคำพูดที่อาจารย์พูดนั้นให้ผลดีกว่า!    นอกจากนี้การจดโน้ตยังทำให้น้องๆ ไม่พลาดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจารย์สอนและอาจจำได้ไม่หมดถ้าไม่จดไว้ การจดโน้ตจึงทำให้เรียนรู้เรื่องมากกว่าการนั่งฟังครูอธิบายผ่านไปเฉยๆ มาก 2.ช่วยให้เรามาทวนทีหลังได้   การจดโน้ตไม่ได้มีประโยชน์แต่ตอนที่จดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กลับมาทวนเนื้อหาทีหลังได้โดยไม่ลืม การจดโน้ตจะทำให้น้องๆ กลับมาทวนเนื้อหาที่อาจารย์สอนเมื่อไรก็ได้ กี่รอบก็ได้ แถมทวนได้ง่ายกว่าด้วย เพราะไม่ต้องมานั่งอ่านหนังสือใหม่ทั้งเล่มตลอดเวลา   ที่สำคัญจากผลการวิจัย การจดโน้ตจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการทวนซ้ำๆ ย้ำๆ หลายๆ รอบเท่านั้น น้องๆ จึงควรทบทวนโน้ตที่จดไว้ให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ไม่ใช่แค่จดแล้วเก็บเข้ากรุเฉยๆ!   นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า ไม่ใช่แค่การจดโน้ตเท่านั้น แต่การไฮไลท์ และการเขียนทวนสิ่งที่เคยเรียนแล้วอีกรอบ ก็จะช่วยให้น้องๆ คิด วิเคราะห์ และทำความเข้าใจสิ่งที่เราเรียนมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดี ก็ควรทำทั้ง 3 อย่างเลย จะได้จำได้แม่น แถมเอามาใช้ได้จริง! 3.ช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีกว่า   การจดโน้ตแบบที่ใช้ลูกศร รูปร่างรูปทรงต่างๆ ช่วย เช่น Mind maping ทำให้ให้สิ่งที่เราจด อยู่ใน long term memory (ความทรงจำระยะยาว) ได้ดีกว่า   การจดโน้ตต้องอาศัยความพยายามในการจด ไม่ใช่แค่ฟังหรืออ่านให้ผ่านไปเฉยๆ  นอกจากนี้การมีรูป มีลูกศร ในโน้ตยังช่วยแสดงความสัมพันธ์ แสดงคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาให้อยู่ในลักษณะที่เป็นภาพ ทำให้สิ่งที่เราเรียนเข้าไปอยู่ในสมองทั้งในลักษณะคำศัพท์และรูป ช่วยให้น้องๆ ดึงสิ่งที่เรียนจากความทรงจำระยะยาวได้ดีกว่า ทำให้ไม่ลืมสิ่งที่เรียนไปง่ายๆ 4.ช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น   การจดโน้ตช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory (ความทรงจำเพื่อใช้งาน) ซึ่งเป็นความทรงจำระยะสั้นๆ ระยะเวลาหนึ่ง เช่น การจดจำที่อยู่ขณะที่คิดว่าจะไปที่นั่นได้ยังไงเป็นต้น    การจดโน้ตทำให้เราไม่ต้องจดจำสิ่งที่เรียนทั้งหมดทุกอย่างภายในคราวเดียว จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory ตรงนี้ จึงช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนขึ้นได้ดีกว่าเดิม เช่น แก้โจทย์เลขยากๆ ซับซ้อนๆ เพราะไม่ต้องแบกข้อมูลไว้ในสมองจำนวนมาก 5.ช่วยให้ชีวิตมีระเบียบมากขึ้น   การจดโน้ตไม่ใช่จำกัดแค่การจดโน้ตตอนเรียนเท่านั้น แต่การจดโน้ตสิ่งที่เราจะทำหรือ to-do list ยังช่วยให้น้องๆ ไม่ลืมสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ลืมว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง วางแผนชีวิตได้ มีชีวิตที่มีระเบียบมากขึ้นกว่าการไม่จดโน้ตอีกด้วยนะ    การจดโน้ตมีประโยชน์มากมายจริงๆ เพราะฉะนั้นตอนเรียนก็ไม่ควรฟังอาจารย์แบบผ่านๆ แต่ควรจะจดโน้ตสิ่งที่น้องๆ ได้เรียนไว้ด้วยนะ เพราะจะทำให้เก็บเกี่ยวความรู้ได้มากกว่ากันเยอะเลย!!! Reference Boch, F. & Piolat, A. (2005). Note Taking and Learning: A…
Read More
เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!

เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!

Uncategorized, รีวิว, อาชีพ
เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!   สวัสดีจ้า น้องๆ ผู้อ่านที่น่ารักทุกคน เรื่องเส้นทางอนาคตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก น้องๆ บางคนอาจหาตัวเองจนเจอและตัดสินใจเลือกอนาคตของตัวเองไว้แล้ว แต่ก็ยังมีน้องๆ บางคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังกังวลและลังเล เพราะไม่รู้ว่าแต่ละอาชีพเขาทำอะไรกันแน่ เลือกไปแล้วเราจะชอบไหม จะทำได้ไหม ไม่แน่ใจตัวเอง   แต่!   ก็ขอให้น้องๆ ไม่ต้องหนักใจไป เพราะวันนี้ CLEARNOTE มีตัวช่วยมาให้น้องๆ ค้นหาตัวเองอย่างไม่น่าเบื่อ เพราะบล็อกของเราวันนี้จะมาแนะนำ 5 อนิเมะที่นำเสนอเกี่ยวกับ 5 อาชีพต่างๆ ที่น่าสนใจกัน พี่เชื่อว่าต้องช่วยน้องๆ ผู้อ่านตัดสินใจได้บ้างแน่ๆ   ว่าแล้วเราก็ไปดูกันเลย! 1.คุณครู: GTO คุณครูพันธุ์หายาก ขอบคุณรูปภาพจาก:https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Great_Teacher_Onizuka_episodes   GTO คุณครูพันธุ์หายาก (great teacher Onizuka) เป็นเรื่องของ โอนิซึกะ เอคิจิ หนุ่มนักเลงที่มีความฝันว่าอยากจะเป็นครู จึงได้มาฝึกสอนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โอนิซึกะ ต้องเจอกับปัญหาและเรื่องราวมากมายของนักเรียนในโรงเรียนที่ผู้ใหญ่ส่วนมากเบือนหน้าหนี   อนิเมะเรื่องนี้จะทำให้น้องๆ เห็นว่าเป็นคุณครูแล้วต้องเจออะไร แล้วนอกจากสอนหนังสือแล้วคุณครูต้องทำอะไรบ้าง ปัญหาต่างๆ ที่คุณครูต้องเจอเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ความคิดไม่ตรงกันกับคุณครูคนอื่น นักเรียนที่มีปัญหา (แม้ว่าพฤติกรรมบางอย่างของโอนิซึกะจะไม่ควรลอกเลียนแบบก็ตาม) 2.ข้าราชการ: Servant x Sevice ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/   อาชีพข้าราชการดูเหมือนเป็นอาชีพที่ธรรมดาๆ พบเห็นได้ทั่วไป แต่น้องๆ หลายคนอาจยังคิดไม่ออกว่าจริงๆ แล้วข้าราชการเขาทำอะไร ทำงานกันแบบไหนกันแน่ อนิเมะเรื่อง Servant x Service จะพาน้องๆ ไปรู้จักกับอาชีพนี้เอง!    Servant x Service เป็นเรื่องของ ยามากามิ ลูซี่ ที่เพิ่งเรียนจบและได้เข้าทำงานในสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในฮอกไกโด พร้อมๆ กับตัวละครเอกอีกสองคนคือ มิโยชิ ซายะ และ ฮาเซเบะ ยูทากะ เรื่องป่วนๆ ในสำนักงานเขตจึงได้เริ่มต้นขึ้น! ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/    อนิเมะเรื่องนี้จึงจะเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ที่ลูซี่ ตัวเอกของเรื่องนี้เริ่มเข้าทำงาน น้องๆ จึงจะได้เห็นว่าเข้าทำงานแล้วเป็นอย่างไร ในสำนักงานเขตแบ่งเป็นแผนกอะไรบ้าง แล้วปกติข้าราชการทำงานกันยังไงบ้าง มีคนแบบไหนมารับบริการที่สำนักงานเขตด้วยเรื่องอะไรบ้างด้วย (แน่นอนว่าวิธีการทำงานของข้าราชการไทยกับญี่ปุ่นอาจแตกต่างกันบ้าง) ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/ 3.นักเขียนการ์ตูน: Bakuman ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.nhk.or.jp/anime/bakuman/index.html   เรื่องของเด็กมัธยมปลายสองคน ทาคากิ อาคิโตะ และ มาชิโร่ โมริทากะ ที่มีความฝันจะเป็นนักเขียนการ์ตูนอาชีพ พวกเขาจึงร่วมมือกันเขียนเขียนการ์ตูนขึ้น!   Bakuman จะเริ่มเล่าตั้งแต่ตอนที่ตัวละครเอกทั้งสองคนอยู่มัธยมปลาย และจุดเริ่มต้นที่ตั้งสองคนเริ่มมาเขียนการ์ตูน อาชีพนักเขียนการ์ตูนเป็นยังไง จะเขียนการ์ตูนต้องเริ่มต้นยังไง ใช้อุปกรณ์อะไรวาดการ์ตูน เนมคืออะไร ต้องทำอย่างไรการ์ตูนจึงได้ตีพิมพ์และกลายเป็นนักเขียนชื่อดัง อะไรคือตัวตัดสิน ปัญหาต่างๆ ที่นักเขียนการ์ตูนต้องเจอ  ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.nhk.or.jp/anime/bakuman/3rd/story/08.html   ถึงแม้ว่าในประเทศไทย…
Read More

เรียนต่อประเทศญี่ปุ่นช่วง COVID-19

Uncategorized
แผนชีวิตของใครหลาย ๆ คนมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สำหรับนักเรียนมัธยมปลายบางคน ก็อาจจะต้องยกเลิกแผนการไปเรียนต่อต่างประเทศในญี่ปุ่น… แต่เราหวังว่านักเรียนทุกคนที่อยากจะศึกษาต่อในต่างประเทศในญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะได้สานฝันนั้นค่ะ! ในบทความนี้เราจะช่วยชี้แจงข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้เกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศในญี่ปุ่น: 1.เรายังสมัครเรียนต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นสำหรับปีการศึกษา 2564 ได้ไหม2.มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นจัดการกับสถานการณ์ COVID-19 อย่างไร3.สถานการณ์ COVID-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเป็นอย่างไรหวังว่าการตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้น้อง ๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนต่อญี่ปุ่นในช่วงนี้ได้นะคะ! 1.เรายังสมัครเรียนต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นสำหรับปีการศึกษา 2564 ได้ไหม คำตอบของคำถามนี้คือ ได้แน่นอนค่ะ! เนื่องจากการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเป็นออนไลน์ การศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นจึงไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางอีกต่อไปค่ะ! รายชื่อข้างล่างนี้คือมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในญี่ปุ่นและนโยบายการรับสมัครระหว่างประเทศสำหรับปีการศึกษา 2564-2565 ในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยโตเกียว (โปรแกรม PEAK)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า: ขั้นตอนการสมัครทั้งหมดจะจัดขึ้นทางออนไลน์ รวมถึงการสัมภาษณ์ด้วยระยะเวลาส่งใบสมัคร:[รอบแรก] 7 ธันวาคม 2563 - 7 มกราคม 2564[รอบที่สอง] กุมภาพันธ์ 2564 - มีนาคม 2564แนวทางอย่างเป็นทางการ: [PEAK] มหาวิทยาลัยเคโอ (โปรแกรม PEARL และ GIGA)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า:[PEARL] ไม่จำเป็นต้องเขียนเรียงความ หรือ SAT/ACT[GIGA] การสอบ Winter AO 2564 ไม่มีการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวระยะเวลาส่งใบสมัคร:[PEARL] มีระยะเวลาการสมัครสามช่วง ระยะแรกเริ่มในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และช่วงที่สามสิ้นสุดในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564[GIGA] ใบสมัครออนไลน์ครบกำหนด 5 กุมภาพันธ์ 2564 และ ส่งเอกสารครบกำหนด 12 กุมภาพันธ์ 2564หลักเกณฑ์อย่างเป็นทางการ: [PEARL] และ [GIGA] มหาวิทยาลัยวาเซดะ (หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า: การเลื่อนการยื่นคะแนนสอบ (ขึ้นอยู่กับสาขา หลักสูตรระดับภาษาอังกฤษจะอนุญาตให้เลื่อนหรือละเว้นการยื่นคะแนนสอบมาตรฐาน/คะแนนสอบเข้าจากการสมัคร) อย่างไรก็ตามจะต้องส่งหลักฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ เช่น iBT TOEFL Special Home Editions, Duolingo หรือการทดสอบมาตรฐานที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักระยะเวลาการส่งใบสมัคร: แม้ว่าระยะเวลาการสมัครจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา แต่การยื่นคำร้องส่วนใหญ่จะปิดในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564รายละเอียดเพิ่มเติม:[รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์][สังคมศาสตร์] International Christian University (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า:การสอบเรียงความและสัมภาษณ์ (สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบ SAT/ACT ได้ สำนักงานรับสมัครจะรับเรียงความทางเลือกและตัวเลือกการสัมภาษณ์ออนไลน์)IELTS Indicator หรือ TOEFL iBT Special Home Edition เป็นหลักฐานแสดงความสามารถทางภาษาอังกฤษระยะเวลาส่งใบสมัคร:[ช่วงการสมัครช่วงแรก] 6 มกราคม 2564 - 25 มกราคม 2564[ช่วงการสมัครช่วงที่สอง] 12 กุมภาพันธ์ 2564 - 2 มีนาคม…
Read More
วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น

วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น

Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น โดย Janessa Roque   เริ่มก่อนได้เปรียบ! มาเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นกันก่อนไปเรียนที่ญี่ปุ่นดีกว่า Janessa Roque นักศึกษาฝึกงานจาก SchoolLynk media เธอคนนี้มีดีกรีนักศึกษาปริญญาเอกจากโตเกียวแถมพ่วงด้วยตำแหน่งอาจารย์ จะมาบอกเคล็ดลับการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้เริ่ดสุด น้องๆ นักเรียนและคนที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเองเตรียมตัวอ่านต่อกันได้เลย!   ตอนที่เพิ่งย้ายมาอยู่โตเกียว ตัวเราโชคดีที่มีเพื่อนหลายๆ คนอาศัยอยู่ที่นี่อยู่แล้ว มาช่วยให้เราตั้งหลักได้ แถมยังได้รู้คำทักทายภาษาญี่ปุ่น ประโยคภาษาญี่ปุ่นที่ใช้บ่อยๆ ภาษาปากต่างๆ มากมายจากพวกเพื่อนๆ อีกด้วย   แต่ก็มีเพื่อนๆ หลายคนเหมือนกันที่มาเรียนต่อที่ญี่ปุ่นทั้งๆ ที่แทบจะไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นเลยเหมือนกัน   มันก็เข้าใจได้ เพราะพวกเราส่วนใหญ่เรียนหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ถึงเราจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักเวลาเรียน ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานกับคำทักทายในชีวิตประจำวันก็ยังสำคัญอยู่ดี ถ้าเตรียมตัวมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เช่น การอ่าน-เขียน ตัวฮิรางานะ คาตาคานะ (เรียกรวมๆ ว่าตัวอักษรคานะ) ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็ช่วยได้มากแล้ว ถ้าฝึกบ่อยๆ สัก 2-3 อาทิตย์ ก็น่าจะพอจะอ่านเขียนได้แล้ว   ถึงน้องๆ จะเขียนหรืออ่านได้ช้ามากๆ ก็ไม่เป็นไรเลย เป็นเรื่องปกติมากๆ เพราะน้องๆ กำลังอยู่ในช่วงจดจำคำศัพท์ใหม่อยู่ เลยจะยังเดาไม่ได้ว่าแต่ละคำอ่านว่ายังไง ก็เลยอ่านได้ช้า ในภาษาแม่ถ้าเราเจอคำใหม่ที่เราไม่รู้จักมาก่อน หรือเราอ่านหนังสือที่เก่ามากๆ อ่านข้อความที่ซับซ้อน มีคำยาวๆ มีวลีที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน เราก็จะอ่านได้ช้าแบบนี้เหมือนกัน ที่สำคัญกว่าคือถ้าน้องๆ อ่านตัวอักษรคานะได้ น้องๆ ก็ใกล้จะเข้าใจโลกรอบๆ ตัวเวลามาเรียนที่ญี่ปุ่นขึ้นอีกหนึ่งเสต็ปแล้วนะ   ไม่ใช่แค่นั้นนะ ถ้าน้องๆ อ่านเขียนตัวคานะได้ ก็จะหาเพื่อนได้ง่ายขึ้น แล้วก็เข้าถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้มากกว่าด้วย ทำให้การมาเรียนต่อขอน้องๆ เต็มไปด้วยประสบการณ์ดีๆ มากมายที่ญี่ปุ่น เราทำงานเป็นครูอยู่ที่ประเทศตนเอง เพราะงั้นเราก็หวังว่าเคล็ดลับพวกนี้จะช่วยทุกคนที่อ่าน เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นได้! ถามตัวเองก่อนเลย : แรงจูงใจในการมาเรียนต่อญี่ปุ่นคืออะไร   สิ่งแรกที่น้องๆ จะต้องทำถามตัวเองให้ดีคือ ทำไมถึงอยากเรียนภาษาญี่ปุ่น เพราะอยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ก็เป็นเหตุผลที่ดีแล้วแหละ แต่น้องๆ ก็ต้องถามตัวเองต่อด้วยว่า ทำไมถึงอยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ทำไมต้องเป็นญี่ปุ่น   น้องๆ ต้องรู้ว่าอะไรคือแรงจูงใจของเรา เพราะแรงจูงใจนี่แหละที่จะช่วยให้เราผ่านการเรียนภาษาใหม่ไปได้ เพราะการเรียนภาษาใหม่ โดยเฉพาะถ้าภาษานั้นต่างจากภาษาแม่ของเรามากๆ มันจะยากแล้วก็ทรมานในหลายๆ ช่วง (เช่น คนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จะเรียนภาษาเยอรมันได้ง่ายกว่า เพราะทั้งสองภาษา เป็นภาษาที่แยกมาจากภาษาเดียวกัน แต่ภาษาญี่ปุ่นอาจจะยากกว่าสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เพราะสองภาษานี้แทบไม่มีอะไรเหมือนกันเลย ยกเว้นที่ภาษาญี่ปุ่นยืมคำบางคำมาจากภาษาอังกฤษ) ยิ่งเรียนก็จะรู้สึกยากขึ้น ทรมานขึ้น แรงจูงใจของน้องๆ แล้วก็เป้าหมายที่จะไปเรียนต่อญี่ปุ่นจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้น้องๆ ไม่ยอมแพ้ไปก่อน   รู้จักตนเอง: รู้ว่าตนเองจะเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีไหน   ถ้าน้องๆ ผู้อ่านรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองจะเรียนรู้ จดจำได้ดีด้วยวิธีไหนแล้วละก็ ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย! เพราะสิ่งนี้จะมีประโยชน์มากๆ ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น (แล้วก็การเรียนสิ่งอื่นๆ ด้วย) ถ้ายังไม่รู้ เราก็จะมาบอกเคล็ดลับให้น้องๆ เอง การรู้ว่าตนเองเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีไหน เรียกว่า “การรู้คิด” วิธีนี้เป็นวิธีที่จะทำให้น้องๆ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ   ลองคิดดูว่าน้องๆ เป็นยังไง หรือเคยเป็นยังไง…
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

English, Uncategorized, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา   อยากเริ่มตั้งใจเรียน แต่ทำยังไงๆ ก็เรียนไม่รู้เรื่อง เกรดไม่ดีขึ้น ไม่มีแรงจูงใจอ่านหนังสือ ไม่รู้จะทำยังไงให้รอดจากสอบไปให้ได้!    ถ้าน้องๆ กำลังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ขอให้เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลย!   เพราะวันนี้ Clear จะขอมาแชร์เทคนิคการเรียนแบบอักษ๊ร อักษรจากเด็กอักษร จุฬา คณะที่เขาว่าเรียนหนัก อ่านหนังสือเยอะกันจ้า! แนะนำตัว   ก็ขอแนะนำตัวกันสักหน่อย พี่ชื่อกิ๊บ เพิ่งจบปี 4 จาก เอกภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬามาหมาดๆ ต้องขอบอกก่อนว่าเราไม่ได้เรียนเก่งถึงมากถ้าเทียบกับคนอื่นๆ ในคณะ แต่เราอาศัยว่าเราได้อยู่ท่ามกลางคนเก่งๆ ขยันๆ ทำให้เราได้เห็นว่าคนเก่งๆ ได้เกรดดีๆ เขาเรียนกันยังไง เราก็เลยได้รู้วิธีเรียนดีๆ เยอะแยะจากทั้งเพื่อนๆ และอาจารย์ในคณะ ที่ทำให้เราเรียนได้ดีขึ้นแถมยังไม่เบื่อด้วย วันนี้เราก็เลยจะขอมาแชร์เทคนิคที่เราลองทำตามแล้วได้ผลให้น้องๆ ทุกคนลองนำไปทำตามดู   ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย! 1.ตั้งใจฟังอาจารย์ สงสัยให้รีบถาม    เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่น้องๆ ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าในชีวิตจริง ก็ยังคงมีหลายๆ คนที่รู้สึกว่า ไม่อยากฟังอาจารย์พูดแล้ว! เดี๋ยวค่อยไปอ่านเอาเองทีหลังก็ได้ แต่การไปอ่านเอาเองทีหลังก็อาจทำให้น้องๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาเท่าที่อาจารย์สอน เพราะอาจมีเนื้อหาบางส่วนที่อาจารย์เน้นเป็นพิเศษเพราะออกสอบเยอะด้วย แถมถ้าน้องๆ ไม่ฟังอาจารย์ในคาบ ก็จะถามตรงจุดที่สงสัยไม่ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ยอมฟังแล้วไปอ่านเอาเองก็อาจไม่ได้คะแนนเท่าคนที่ตั้งใจฟังอาจารย์สอนก็ได้นะ! 2.อ่านหนังสือแล้วไม่เคลียร์ให้รีบจดคำถามไว้กันลืม   เวลาที่น้องๆ อ่านหนังสือทบทวนด้วยตัวเอง แน่นอนว่าคงมีหลายจุดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ สงสัยขึ้นมา ขอแนะนำให้รีบจดคำถามนั้นใส่กระดาษหรือโน้ตไว้เลย เพราะถ้าเราอ่านหนังสือนานๆ จนเกิดข้อสงสัยหลายๆ จุดขึ้นมา กว่าจะอ่านจบ น้องๆ ก็อาจจะลืมสิ่งที่ตัวเองสงสัยไปแล้วหรือสับสนว่าเราสงสัยอะไรกันแน่ ถ้าเรารีบจดไว้ ก็จะทำให้ไม่ลืม แล้วก็ไปหาคำตอบเองทีหลังได้ หรือถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ก็ยังเอาคำถามพวกนี้ไปถามอาจารย์ต่อได้อีกด้วย วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดูพื้นๆ เป็นวิธีอุดจุดบอดที่ดีมากๆ เลย 3.อ่านหนังสือหลายๆ เล่มเทียบกัน ไม่อ่านเล่มเดียว   ในคณะอักษร เราถูกสอนมาให้ตรวจสอบแหล่งข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ ทำให้เด็กอักษรมักไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมักหาข้อมูลจากหลายๆ ที่ เวลาอ่านหนังสือก็มักจะอ่านหลายๆ เล่ม แม้จะเป็นเนื้อหาเดียวกันก็ตาม   แต่จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันหลายๆ เล่มยังมีประโยชน์มากกว่าการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกนะ! เพราะการอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ทำให้เราวิเคราะห์เนื้อหาที่เรามีอยู่แล้วในหัวโดยอัตโนมัติว่า ตรงนี้ที่เราเคยอ่านมาแล้วสินะ ตรงนี้อธิบายคล้ายกับเล่มนั้นเลยนะ ทำให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้มากขึ้น เพราะไม่ได้แค่อ่านให้ผ่านๆ ไป เฉยๆ แต่ยังคิดตามเนื้อหาที่อ่านอยู่เสมอโดยอัตโนมัติด้วย   ยังไม่พอนะ การอ่านแบบนี้น้องๆ ยังจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะหนังสือแต่ละเล่มก็จะมีจุดที่แตกต่างกัน หนังสือเล่มนั้นอาจจะเขียนข้อมูลบางส่วนละเอียดกว่าหนังสืออีกเล่ม หนังสืออีกเล่มอาจไม่มีข้อมูลที่เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ รับรองเลยว่าอ่านไปสัก 3-4 เล่ม จะต้องเก่งขึ้นอย่างแน่นอน 4.หาวิธีสนุกกับการเรียน   เวลาที่เราทำอะไรแล้วรู้สึกสนุก ไม่ฝืน เราก็จะทำสิ่งนั้นได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน การเรียนก็เหมือนกัน น้องๆ ทุกคนควรหาวิธีเรียนที่ทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเรียนให้ได้ แน่นอนว่ากับบางวิชาที่เราไม่ชอบ การหาวิธีสนุกกับมันก็อาจจะยาก แต่ถ้าน้องๆ หาเจอ ก็อาจจะเริ่มสนุกกับวิชาที่เราเคยเกลียดและอาจจะไปถึงขั้นชอบวิชานั้นขึ้นมาก็ได้นะ   วันนี้เราก็จะมาขอแนะนำวิธีที่เคยเห็นเพื่อนๆ ใช้กัน เปิดวิดิโอ study with me เรียนไปพร้อมๆ…
Read More
5 เหตุผลทำไมถึงควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น!?

5 เหตุผลทำไมถึงควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น!?

Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เรามีตัวเลือกมากมายให้เลือกเมื่อต้องศึกษาต่อต่างประเทศ แต่ก็ยังเหนื่อยที่จะมานั่งคิดว่าจะเรียนที่ไหนดี ถ้ายังมีปัญหาในการเลือกสถานที่เรียนต่อต่างประเทศ มาอ่านบทความนี้เลยย ต่อไปนี้คือเหตุผล 5 ประการที่เราควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น 1) ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานการครองชีพสูง เหตุผลแรกที่เราควรไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น ก็คือว่ายอมรับเถอะว่า มีสถานที่ไม่มากในโลกที่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ในแง่ของอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำ ในฐานะนักเรียนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญมาก ยิ่งไปกว่านั้นการเดินทางรอบเมืองและสำรวจสถานที่ใหม่ ๆ อย่างรวดเร็วและราคาไม่แพงก็ทำได้ง่ายมาก ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพของญี่ปุ่น ต้องการวางแผนการพักผ่อนช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ชายหาดเหรอ? – แค่จองโรงแรม กระโดดขึ้นรถไฟ ก็พร้อมเที่ยวเลย! อาหารในญี่ปุ่นก็อร่อยมากกกกกก ถ้าหิวตอนตีสองก็แค่แค่หยิบเบนโตะอร่อยๆ สักกล่องจากร้านสะดวกซื้อ! และถ้าคุณคิดว่าอาหารในร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นเนี้ยอร่อยแล้ว แต่อาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหารก็ยิ่งอร่อยกว่านั้นอีก! ลองโอสึมามิสิ (อาหารหลากหลายประเภทเสิร์ฟในจานเล็กๆ ที่บาร์อิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น) 2) การศึกษาคุณภาพราคาไม่แรง พร้อมทุนการศึกษามากมาย เหตุผลต่อมาที่เราควรมาเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะว่าการศึกษาระดับวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีราคาไม่แพงมากเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาหรือสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยรัฐในญี่ปุ่นมักมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า 600,000 เยนต่อปี ซึ่งคร่าวๆ ก็ประมาณ 162,250 บาท แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000,000 เยนต่อปี แต่ก็มีโอกาสในการมอบทุนการศึกษามากมายสำหรับนักศึกษาต่างชาติ นอกจากทุนการศึกษาที่มีชื่อเสียงจาก MEXT และ JASSO แล้ว ยังมีทุนการศึกษาอื่น ๆ อีกมากมายที่มอบให้โดยตรงจากมหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชน ลองอ่านบทความนี้เพื่อรับทุนการศึกษาเต็มทุนสำหรับการศึกษาต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นที่คุณอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนด้วยนะ!? 3) โอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตในการเรียนรู้ภาษาใหม่ในสภาพแวดล้อมที่สนุกสนาน เหตุผลข้อที่สามที่เราควรเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะว่าการเรียนรู้ภาษาใหม่จะง่ายขึ้นถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่พูดภาษาเป้าหมายที่จะเรียน เราเองก็ได้มีโอกาสได้สัมผัสกับจุดนี้โดยตรงด้วยการเรียนหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สอนด้วยภาษาอังกฤษในญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าเราจะพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้เลยเมื่อมาถึงที่นี่ครั้งแรก แต่ทักษะภาษาญี่ปุ่นก็พัฒนาขึ้นอย่างมากภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี ฉันผ่าน JLPT N2 ได้ภายในสามปี ต้องขอบคุณสภาพแวดล้อมที่รายล้อมด้วยผู้ใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ช่วยอดทนต่อความผิดพลาดของฉันนะคะ! เราคงไม่สามารถบรรลุผลทั้งหมดนี้ได้หากตัดสินใจไปเรียนที่อื่น จากประสบการณ์ส่วนตัว แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นมากนักในชั้นเรียน (ยกเว้นหลักสูตรภาษาภาคบังคับ) แต่ก็ได้เรียนรู้มากขึ้นจากการสื่อสารในชีวิตประจำวันกับเพื่อนและผู้คน เราคิดว่าเราได้เรียนรู้ภาษาโดยไม่รู้ตัวเวลาฟังเสียงรอบข้างในที่สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟ 4) โอกาสทางอาชีพที่ดีหลังเรียนจบ ถัดมาที่เราควรเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นก็เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยโอกาส ด้วยอัตราการเกิดที่ลดลง รัฐบาลญี่ปุ่นจึงพยายามดึงดูดเยาวชนที่มีความสามารถจากทั่วโลก อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำอย่างน่าสนใจ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ระเบียบการขอวีซ่าได้รับการแก้ไขเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้มากขึ้น มีกิจกรรมหางานมากมายสำหรับชาวต่างชาติโดยเฉพาะ! ถ้ากำลังมองหาอาชีพใหม่ในต่างประเทศ การเรียนที่ญี่ปุ่นถือเป็นก้าวแรกที่ยอดเยี่ยมเลยนะ 5) ความแน่นแฟ้นในสังคม ตรงกันข้ามกับที่หลายคนอาจคิดไปเองว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรกับชาวต่างชาติ จริง ๆ หากอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น โตเกียว นาโกย่า หรือโอซาก้า การหาการชุมนุมทางสังคมและกิจกรรมประเภทอื่นๆ ที่จัดโดยชุมชนชาวต่างชาติในพื้นที่นั้นมีเยอะมาก ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากคนญี่ปุ่นเริ่มให้ความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมขึ้นเป็นประจำ และถ้าสนใจในวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม อย่าลืมดูตารางกิจกรรมประจำปีด้วยนะคะ การเข้าร่วมกิจกรรมในญี่ปุ่นจะช่วยให้ดื่มด่ำกับวัฒนธรรมและทำความรู้จักกับผู้คนนอกวิทยาลัยได้มากขึ้น แล้วยังช่วยเพิ่มสีสันในชีวิตให้ด้วยนะคะ เพราะเราอาจเจอกลุ่มต่างๆ ที่เหมาะกับความสนใจของเราค่ะ! Credit by SchooLynk: https://schoolynk.com/media/articles/d710d0ec-944d-4d50-8bce-14612b6a7065
Read More
3 ขนม-เครื่องดื่มยอดฮิต ขวัญใจเด็กเตรียมสอบ

3 ขนม-เครื่องดื่มยอดฮิต ขวัญใจเด็กเตรียมสอบ

Uncategorized, แบบสอบถาม ออนไลน์
สวัสดีค่ะทุกคนหลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ กันไปมากมายในบทความที่แล้วนะคะในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าในเด็ก ๆ ระดับชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายรวมไปถึงระดับชั้นมหาลัยทั้งหมด 466 คนที่ทำการตอบแบบสอบถามออนไลน์กับทางแอพพลิเคชั่นเคลียร์มาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564 จะมีขนมและเครื่องดื่มแบบไหนบ้างที่เป็นเพื่อนคู่ซี้ยามอ่านหนังสือถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนเลยนะคะว่าน้อง ๆ 466 คนนี้ ปกติแล้วทานของว่างเวลาอ่านหนังสือกันบ่อยแค่ไหน โดยเราจะสามารถเห็นได้จากกราฟนี้นะคะว่านักเรียนส่วนมากเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์เลย จะทานขนมและอาหารว่างเป็นบางครั้งระหว่างการอ่านหนังสือ รองจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มนักเรียนที่ทานบ่อยแต่ไม่ได้ทานทุกครั้งระหว่างอ่านหนังสือ และจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มนักเรียนที่ไม่ค่อยทานและทานทุกครั้งตามลำดับค่ะ ถ้าดูเผิน ๆ แล้วจะเห็นว่านักเรียนที่มักจะทานขนมระหว่างการอ่านหนังสือนั้นก็จะมีเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างมากเลยนะคะโดยเหตุผลส่วนมากที่น้อง ๆ เลือกจะรับประทานขนมและอาหารว่างส่วนมากก็คือเหตุผลที่น้อง ๆ มักจะรู้สึกหิวระหว่างการอ่านหนังสือ ส่วนเหตุผลลำดับถัดมาคือเหตุผลที่ว่าน้อง ๆ ต้องการพักระหว่างการอ่านหนังสือจึงหาอะไรทำเพื่อเป็นการพัก และเหตุผลลำดับที่สามก็คือเมื่อน้อง ๆรู้สึกเครียดหรือหมดหงิดน้องๆก็จะรู้สึกว่าต้องการคบเคี้ยวอะไรบางอย่างเพื่อระบายความเครียดนั้นด้วย แต่ก็ยังมีนักเรียนบางส่วนที่ให้เหตุผลว่าพวกเขามักที่จะรับประทานอาหารว่างเมื่อรู้สึกง่วงและรู้สึกว่าไม่มีสมาธิกับการอ่านหนังสือด้วยค่ะ เมื่อเรารู้แล้วว่า น้องๆในแอปของเราทานขนมกันค่อนข้างที่จะบ่อยในระหว่างการอ่านหนังสือแล้วเราไปดูกันต่อเลยว่าขนมที่ทุกคนมักจะเลือกรับประทานบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือนั้น ได้แก่อะไรบ้าง โดยกลุ่มขนมยอดฮิตอันดับ 1 ที่น้องๆนักเรียนมักจะรับประทานระหว่างการอ่านหนังสือก็คือขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ รองไปจากนั้นก็จะเป็นขนมกลุ่มประเภทช็อกโกแลตและขนมพวกคุกกี้บิสกิต รวมไปถึงลูกอมตามลำดับค่ะ แต่ถ้ามาดูกันในส่วนของอาหารว่างแล้วเราจะเห็นว่าอาหารว่างอันดับ 1 ที่น้อง ๆ มักจะรับประทานระหว่างการอ่านหนังสือก็คือขนมประเภทขนมปังและแซนวิช และนอกจากนี้เองน้อง ๆ ยังนิยมรับประทานขนมอาหารว่างประเภทซีเรียลและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันเป็นจำนวนมากนะคะ และตอนนี้ก็ถึงช่วงเวลาที่หลายๆคนรอคอยนะคะหลังจากนี้ก็จะเป็นการเรียงลำดับ 3 อันดับขนมที่เพื่อน ๆ มักจะเลือกทานระหว่างการอ่านหนังสือนั่นเองค่ะเราไปดูที่อันดับแรกกันเลยนะคะ  อันดับที่ 1 เลย์ อันดับแรกสุดเลยก็จะเป็นในส่วนของขนมขบเคี้ยวซึ่งก็คือเลย์ นั่นเองค่ะ ทั้งนี้ก็เพราะน้องๆส่วนมากให้เหตุผลว่าในนั้นมีความอร่อยเคี้ยวเพลิน และความกรอบนั้นเองทำให้รู้สึกหายง่วงระหว่าง การอ่านหนังสืออีกด้วยค่ะ นอกจากนี้เองเลยยังมีรสชาติให้เลือกหลากหลายรสชาติมาก ๆ ทำให้เมื่อต้องกินบ่อย ๆ แล้วก็ไม่เบื่อเพราะว่าเราสามารถเปลี่ยนรสชาติไปตามอารมณ์ของเราได้ ส่วนรสชาติที่เพื่อน ๆ ให้คำแนะนำก็คือรสชาติที่มีลักษณะจัดจ้านหน่อย ๆเพราะว่าจะทำให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉงมากขึ้นค่ะ หากสนใจชิมสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จาก ที่นี่ อันดับที่ 2 เลย์ ลำดับที่สองก็คือโกโก้ครั้นช์ทั้งนี้ก็เพราะว่าน้อง ๆ เห็นว่าโกโก้ครั้นช์เนี่ยเป็นขนมที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลตซึ่งช็อกโกแลตเนี่ยน้อง ๆ ให้เหตุผลว่าเป็นขนมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วช่วยลดความเครียดได้อีกด้วยนอกจากนี้ลักษณะของโกโก้ครั้นนั้นยังทานง่ายอร่อยและยังทำให้เพลิดเพลินเวลาอ่านหนังสืออีกด้วยและยังมีข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าเกิดว่าเราหรือรับประทานโกโก้ครั้นระหว่างการอ่านหนังสือก็จะทำให้มือไม่เลอะอีกด้วย หากสนใจชิมสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จาก ที่นี่ อันดับที่ 3 Haribo และขนมอันดับที่ 3 ที่เป็นที่ยอดฮิตของ น้องๆเตรียมสอบก็คือเยลลี่ Haribo รูปหมีนั่นเองค่ะ โดยน้องๆให้เหตุผลว่าเยลลี่ตัวนี้มีรสหวานของผลไม้ที่จะรับประทานตอนไหนก็ได้และยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย ทำให้แก้เครียดและบางคนก็ยังเคี้ยวเจ้าหมีนี้เพื่อกันง่วงอีกด้วย เรียกได้ว่าเคี้ยวเพลินจนลืมความง่วงไปเลย หากสนใจชิมสามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้จาก ที่นี่ ที่นี้เรามาดูกันในฝั่งของเครื่องดื่มยอดฮิตที่ เพื่อน ๆ มักจะเลือกดื่มกันระหว่างการอ่านหนังสือกันดีกว่าค่ะ จากกราฟนะคะเราจะเห็นว่าเครื่องดื่มที่เพื่อนๆมักจะดื่มบ่อยๆขณะอ่านหนังสือก็คือเครื่องดื่มประเภทน้ำเปล่าและน้ำแร่ค่ะ อันนี้ก็จะไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่นะคะเพราะว่าหลาย ๆ คนให้ความเห็นตรงกันเขาว่าน้ำเปล่าและน้ำแร่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและเมื่อดื่มแล้วยังทำให้รู้สึกสดชื่นคลายง่วงได้ระดับหนึ่งค่ะและที่สำคัญเป็นเครื่องดื่มที่สามารถหาดื่มได้ง่ายที่สุด จึงได้รับความนิยมที่สุดระหว่างการอ่านหนังสือนั่นเอง นอกจากนี้แล้ว เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอันดับ 2 ก็คือเครื่องดื่มประเภทนมนั่นเองค่ะ เพราะเครื่องดื่มประเภทนม ให้ประโยชน์มากมายแก่ร่างกายค่ะและนอกจากนั้นเองถ้านำนมไปแช่เย็น ๆ ก็ยังทำให้รู้สึกสดชื่นได้ไม่แพ้น้ำเปล่าหรือน้ำแร่เลยนั่นเอง และ ลำดับที่ 3 ก็คือนมเปรี้ยว ต่าง ๆ…
Read More