Blog

จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

Uncategorized, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!   น้องๆ สงสัยกันไหม จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง วันนี้ Clearnote จะมาชี้แจ้งแถลงไขประโยชน์ของการจดโน้ตให้น้องๆ ได้รู้กันเอง! 1.ช่วยให้เราเรียนรู้เรื่อง   การจดโน้ตช่วยให้น้องๆ ต้องตั้งใจฟังคุณครูโดยอัตโนมัติ เพราะถ้าจะจดโน้ตก็ต้องทำความเข้า กลั่นกรอง สิ่งที่อาจารย์พูดเพื่อจะจด เพราะน้องๆ คงไม่สามารถจดคำพูดทุกคำที่อาจารย์พูดได้ทัน และต่อให้จดทัน ก็มีงานวิจัยบอกว่าการที่น้องๆ ได้คิดวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะจดลงไป ไม่จดทุกคำพูดที่อาจารย์พูดนั้นให้ผลดีกว่า!    นอกจากนี้การจดโน้ตยังทำให้น้องๆ ไม่พลาดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจารย์สอนและอาจจำได้ไม่หมดถ้าไม่จดไว้ การจดโน้ตจึงทำให้เรียนรู้เรื่องมากกว่าการนั่งฟังครูอธิบายผ่านไปเฉยๆ มาก 2.ช่วยให้เรามาทวนทีหลังได้   การจดโน้ตไม่ได้มีประโยชน์แต่ตอนที่จดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กลับมาทวนเนื้อหาทีหลังได้โดยไม่ลืม การจดโน้ตจะทำให้น้องๆ กลับมาทวนเนื้อหาที่อาจารย์สอนเมื่อไรก็ได้ กี่รอบก็ได้ แถมทวนได้ง่ายกว่าด้วย เพราะไม่ต้องมานั่งอ่านหนังสือใหม่ทั้งเล่มตลอดเวลา   ที่สำคัญจากผลการวิจัย การจดโน้ตจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการทวนซ้ำๆ ย้ำๆ หลายๆ รอบเท่านั้น น้องๆ จึงควรทบทวนโน้ตที่จดไว้ให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ไม่ใช่แค่จดแล้วเก็บเข้ากรุเฉยๆ!   นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า ไม่ใช่แค่การจดโน้ตเท่านั้น แต่การไฮไลท์ และการเขียนทวนสิ่งที่เคยเรียนแล้วอีกรอบ ก็จะช่วยให้น้องๆ คิด วิเคราะห์ และทำความเข้าใจสิ่งที่เราเรียนมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดี ก็ควรทำทั้ง 3 อย่างเลย จะได้จำได้แม่น แถมเอามาใช้ได้จริง! 3.ช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีกว่า   การจดโน้ตแบบที่ใช้ลูกศร รูปร่างรูปทรงต่างๆ ช่วย เช่น Mind maping ทำให้ให้สิ่งที่เราจด อยู่ใน long term memory (ความทรงจำระยะยาว) ได้ดีกว่า   การจดโน้ตต้องอาศัยความพยายามในการจด ไม่ใช่แค่ฟังหรืออ่านให้ผ่านไปเฉยๆ  นอกจากนี้การมีรูป มีลูกศร ในโน้ตยังช่วยแสดงความสัมพันธ์ แสดงคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาให้อยู่ในลักษณะที่เป็นภาพ ทำให้สิ่งที่เราเรียนเข้าไปอยู่ในสมองทั้งในลักษณะคำศัพท์และรูป ช่วยให้น้องๆ ดึงสิ่งที่เรียนจากความทรงจำระยะยาวได้ดีกว่า ทำให้ไม่ลืมสิ่งที่เรียนไปง่ายๆ 4.ช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น   การจดโน้ตช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory (ความทรงจำเพื่อใช้งาน) ซึ่งเป็นความทรงจำระยะสั้นๆ ระยะเวลาหนึ่ง เช่น การจดจำที่อยู่ขณะที่คิดว่าจะไปที่นั่นได้ยังไงเป็นต้น    การจดโน้ตทำให้เราไม่ต้องจดจำสิ่งที่เรียนทั้งหมดทุกอย่างภายในคราวเดียว จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory ตรงนี้ จึงช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนขึ้นได้ดีกว่าเดิม เช่น แก้โจทย์เลขยากๆ ซับซ้อนๆ เพราะไม่ต้องแบกข้อมูลไว้ในสมองจำนวนมาก 5.ช่วยให้ชีวิตมีระเบียบมากขึ้น   การจดโน้ตไม่ใช่จำกัดแค่การจดโน้ตตอนเรียนเท่านั้น แต่การจดโน้ตสิ่งที่เราจะทำหรือ to-do list ยังช่วยให้น้องๆ ไม่ลืมสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ลืมว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง วางแผนชีวิตได้ มีชีวิตที่มีระเบียบมากขึ้นกว่าการไม่จดโน้ตอีกด้วยนะ    การจดโน้ตมีประโยชน์มากมายจริงๆ เพราะฉะนั้นตอนเรียนก็ไม่ควรฟังอาจารย์แบบผ่านๆ แต่ควรจะจดโน้ตสิ่งที่น้องๆ ได้เรียนไว้ด้วยนะ เพราะจะทำให้เก็บเกี่ยวความรู้ได้มากกว่ากันเยอะเลย!!! Reference Boch, F. & Piolat, A. (2005). Note Taking and Learning: A…
Read More
เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเองภายใน 5 นาที

9วิชาสามัญ, English, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาอังกฤษ, หนังสือ
        เคล็ดลับการหาหนังสือภาษาอังกฤษที่เหมาะกับตัวเอง ภายใน 5 นาที          สวัสดีค่า ช่วงนี้คลายล็อกดาวน์แล้ว แต่ผู้เขียนยังอยู่บ้าน Work From Home อยู่ นอกเวลางานก็ไถโซเชียลดูเพลิน ๆ แต่บางครั้งก็รู้สึกเบื่อโลกโซเชียล เลยถือโอกาสนี้มาฝึกสกิลภาษาอังกฤษด้วยการหานิยายภาษาอังกฤษอ่าน           แต่ปัญหาก็คือเราหาหนังสือที่เหมาะกับระดับความรู้ภาษาอังกฤษเราไม่ได้สักที บางเล่มก็รู้สึกว่าง่ายไปไม่ค่อยได้ฝึกคำศัพท์ใหม่ ๆ บางเล่มก็ยากเกินเหมือนภาษาต่างดาว5555 จนเร็ว ๆ นี้เราบังเอิญได้ไปเจอคนที่พูดถึงเรื่องนี้ในyoutube https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0 ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=RVJLw-H0vE0           จากในคลิป คุณUSAiko พูดถึงเรื่องหลัก Five Finger Rule ซึ่งเป็นหลักง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถหาหนังสือภาษาต่างประเทศที่เหมาะกับระดับของเราได้           Five Finger Rule           วิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนที่จะซื้อหนังสือ ให้น้อง ๆ สุ่มเปิดมาหนึ่งหน้า จากนั้นก็ลองกวาดสายตาอ่านดู และเมื่อเจอคำศัพท์ที่เราไม่รู้ก็ให้ชูนิ้วขึ้นมา โดยจำนวนนิ้วที่เราชูขึ้นมาจะบ่งบอกว่าระดับภาษาในหนังสือเล่มนั้นเหมาะสมกับเราหรือเปล่า           0-1 นิ้ว : ระดับภาษาในหนังสือง่ายเกินไป           2 นิ้ว : ระดับภาษาที่เหมาะสมกับน้อง ๆ ที่สุด (คำศัพท์ไม่ยาก ไม่ง่ายเกินไป และน้อง ๆ ยังสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้แบบไม่กดดัน)           3 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง เหมาะกับคนที่ต้องการท้าทาย อยากเรียนรู้คำศัพท์ใหม่เยอะ ๆ           4 นิ้ว : ระดับภาษาอาจจะยากขึ้นมาอีกระดับ ไม่ค่อยแนะนำเพราะอ่านไปนาน ๆ อาจรู้สึกเหนื่อย ถอดใจไปได้           5 นิ้วขึ้นไป : ระดับภาษายากเกินไป ควรเปลี่ยนเล่มใหม่เป็นเล่มที่ง่ายกว่านี้ ที่มา: https://www.asiabooks.com/breasts-and-eggs-249270.html           อย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนลังเลอยู่ว่าจะซื้อหนังสือเรื่อง BREASTS AND EGGS ดีไหม (แต่พออ่านแล้วก็ขอขายว่าเรื่องนี้ดีจริง สะท้อนด้านมืดของสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงต้องเจอ น้องคนไหนสนใจก็ไปตำได้จ้า) เพราะเป็นคนถอดใจง่าย ถ้าศัพท์ยากเกินไป ความอยากอ่านก็จะลดลง เราเลยเอาหลัก Five Finger Rule มาใช้ โดยสุ่มเปิดมาหน้าหนึ่งแล้วอ่าน นับจำนวนคำที่ตัวเองไม่รู้           จากในภาพจะเห็นว่ามีคำศัพท์ที่ผู้เขียนไม่รู้ 3 คำตามที่ได้ขีดเส้นใต้สีแดงเอาไว้ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้ก็อาจจะยากกว่าความสามารถของผู้เขียนนิดหนึ่ง แต่ก็เหมาะจะเอาไว้ใช้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ (ดังนั้นผู้เขียนก็รีบคว้าไปจ่ายตังค์เลยค่ะ5555)           น้อง ๆ ผู้อ่านบางคนที่อ่านมาถึงตอนนี้แล้วอาจจะคิดว่า แล้วถ้าตัวน้องอยากรู้ภาษาต่างประเทศไว ๆ ไม่ได้ขี้เกียจหรือถอดใจกับการหาคำศัพท์ง่าย ๆ…
Read More
เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!

เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!

Uncategorized, รีวิว, อาชีพ
เจาะลึก 5 อาชีพ! ตามหาเส้นทางในอนาคตผ่านอนิเมะญี่ปุ่น!   สวัสดีจ้า น้องๆ ผู้อ่านที่น่ารักทุกคน เรื่องเส้นทางอนาคตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก น้องๆ บางคนอาจหาตัวเองจนเจอและตัดสินใจเลือกอนาคตของตัวเองไว้แล้ว แต่ก็ยังมีน้องๆ บางคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ ยังกังวลและลังเล เพราะไม่รู้ว่าแต่ละอาชีพเขาทำอะไรกันแน่ เลือกไปแล้วเราจะชอบไหม จะทำได้ไหม ไม่แน่ใจตัวเอง   แต่!   ก็ขอให้น้องๆ ไม่ต้องหนักใจไป เพราะวันนี้ CLEARNOTE มีตัวช่วยมาให้น้องๆ ค้นหาตัวเองอย่างไม่น่าเบื่อ เพราะบล็อกของเราวันนี้จะมาแนะนำ 5 อนิเมะที่นำเสนอเกี่ยวกับ 5 อาชีพต่างๆ ที่น่าสนใจกัน พี่เชื่อว่าต้องช่วยน้องๆ ผู้อ่านตัดสินใจได้บ้างแน่ๆ   ว่าแล้วเราก็ไปดูกันเลย! 1.คุณครู: GTO คุณครูพันธุ์หายาก ขอบคุณรูปภาพจาก:https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Great_Teacher_Onizuka_episodes   GTO คุณครูพันธุ์หายาก (great teacher Onizuka) เป็นเรื่องของ โอนิซึกะ เอคิจิ หนุ่มนักเลงที่มีความฝันว่าอยากจะเป็นครู จึงได้มาฝึกสอนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โอนิซึกะ ต้องเจอกับปัญหาและเรื่องราวมากมายของนักเรียนในโรงเรียนที่ผู้ใหญ่ส่วนมากเบือนหน้าหนี   อนิเมะเรื่องนี้จะทำให้น้องๆ เห็นว่าเป็นคุณครูแล้วต้องเจออะไร แล้วนอกจากสอนหนังสือแล้วคุณครูต้องทำอะไรบ้าง ปัญหาต่างๆ ที่คุณครูต้องเจอเวลาที่อยู่ในโรงเรียนมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ความคิดไม่ตรงกันกับคุณครูคนอื่น นักเรียนที่มีปัญหา (แม้ว่าพฤติกรรมบางอย่างของโอนิซึกะจะไม่ควรลอกเลียนแบบก็ตาม) 2.ข้าราชการ: Servant x Sevice ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/   อาชีพข้าราชการดูเหมือนเป็นอาชีพที่ธรรมดาๆ พบเห็นได้ทั่วไป แต่น้องๆ หลายคนอาจยังคิดไม่ออกว่าจริงๆ แล้วข้าราชการเขาทำอะไร ทำงานกันแบบไหนกันแน่ อนิเมะเรื่อง Servant x Service จะพาน้องๆ ไปรู้จักกับอาชีพนี้เอง!    Servant x Service เป็นเรื่องของ ยามากามิ ลูซี่ ที่เพิ่งเรียนจบและได้เข้าทำงานในสำนักงานเขตแห่งหนึ่งในฮอกไกโด พร้อมๆ กับตัวละครเอกอีกสองคนคือ มิโยชิ ซายะ และ ฮาเซเบะ ยูทากะ เรื่องป่วนๆ ในสำนักงานเขตจึงได้เริ่มต้นขึ้น! ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/    อนิเมะเรื่องนี้จึงจะเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่ที่ลูซี่ ตัวเอกของเรื่องนี้เริ่มเข้าทำงาน น้องๆ จึงจะได้เห็นว่าเข้าทำงานแล้วเป็นอย่างไร ในสำนักงานเขตแบ่งเป็นแผนกอะไรบ้าง แล้วปกติข้าราชการทำงานกันยังไงบ้าง มีคนแบบไหนมารับบริการที่สำนักงานเขตด้วยเรื่องอะไรบ้างด้วย (แน่นอนว่าวิธีการทำงานของข้าราชการไทยกับญี่ปุ่นอาจแตกต่างกันบ้าง) ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.servantservice.org/ 3.นักเขียนการ์ตูน: Bakuman ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.nhk.or.jp/anime/bakuman/index.html   เรื่องของเด็กมัธยมปลายสองคน ทาคากิ อาคิโตะ และ มาชิโร่ โมริทากะ ที่มีความฝันจะเป็นนักเขียนการ์ตูนอาชีพ พวกเขาจึงร่วมมือกันเขียนเขียนการ์ตูนขึ้น!   Bakuman จะเริ่มเล่าตั้งแต่ตอนที่ตัวละครเอกทั้งสองคนอยู่มัธยมปลาย และจุดเริ่มต้นที่ตั้งสองคนเริ่มมาเขียนการ์ตูน อาชีพนักเขียนการ์ตูนเป็นยังไง จะเขียนการ์ตูนต้องเริ่มต้นยังไง ใช้อุปกรณ์อะไรวาดการ์ตูน เนมคืออะไร ต้องทำอย่างไรการ์ตูนจึงได้ตีพิมพ์และกลายเป็นนักเขียนชื่อดัง อะไรคือตัวตัดสิน ปัญหาต่างๆ ที่นักเขียนการ์ตูนต้องเจอ  ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.nhk.or.jp/anime/bakuman/3rd/story/08.html   ถึงแม้ว่าในประเทศไทย…
Read More

เรียนต่อประเทศญี่ปุ่นช่วง COVID-19

Uncategorized
แผนชีวิตของใครหลาย ๆ คนมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) สำหรับนักเรียนมัธยมปลายบางคน ก็อาจจะต้องยกเลิกแผนการไปเรียนต่อต่างประเทศในญี่ปุ่น… แต่เราหวังว่านักเรียนทุกคนที่อยากจะศึกษาต่อในต่างประเทศในญี่ปุ่นมีโอกาสที่จะได้สานฝันนั้นค่ะ! ในบทความนี้เราจะช่วยชี้แจงข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถามต่อไปนี้เกี่ยวกับการศึกษาในต่างประเทศในญี่ปุ่น: 1.เรายังสมัครเรียนต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นสำหรับปีการศึกษา 2564 ได้ไหม2.มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นจัดการกับสถานการณ์ COVID-19 อย่างไร3.สถานการณ์ COVID-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นเป็นอย่างไรหวังว่าการตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้น้อง ๆ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนต่อญี่ปุ่นในช่วงนี้ได้นะคะ! 1.เรายังสมัครเรียนต่อต่างประเทศในญี่ปุ่นสำหรับปีการศึกษา 2564 ได้ไหม คำตอบของคำถามนี้คือ ได้แน่นอนค่ะ! เนื่องจากการเรียนการสอนส่วนใหญ่จะเป็นออนไลน์ การศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นจึงไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางอีกต่อไปค่ะ! รายชื่อข้างล่างนี้คือมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในญี่ปุ่นและนโยบายการรับสมัครระหว่างประเทศสำหรับปีการศึกษา 2564-2565 ในช่วงนี้ มหาวิทยาลัยโตเกียว (โปรแกรม PEAK)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า: ขั้นตอนการสมัครทั้งหมดจะจัดขึ้นทางออนไลน์ รวมถึงการสัมภาษณ์ด้วยระยะเวลาส่งใบสมัคร:[รอบแรก] 7 ธันวาคม 2563 - 7 มกราคม 2564[รอบที่สอง] กุมภาพันธ์ 2564 - มีนาคม 2564แนวทางอย่างเป็นทางการ: [PEAK] มหาวิทยาลัยเคโอ (โปรแกรม PEARL และ GIGA)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า:[PEARL] ไม่จำเป็นต้องเขียนเรียงความ หรือ SAT/ACT[GIGA] การสอบ Winter AO 2564 ไม่มีการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวระยะเวลาส่งใบสมัคร:[PEARL] มีระยะเวลาการสมัครสามช่วง ระยะแรกเริ่มในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และช่วงที่สามสิ้นสุดในวันที่ 21 พฤษภาคม 2564[GIGA] ใบสมัครออนไลน์ครบกำหนด 5 กุมภาพันธ์ 2564 และ ส่งเอกสารครบกำหนด 12 กุมภาพันธ์ 2564หลักเกณฑ์อย่างเป็นทางการ: [PEARL] และ [GIGA] มหาวิทยาลัยวาเซดะ (หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า: การเลื่อนการยื่นคะแนนสอบ (ขึ้นอยู่กับสาขา หลักสูตรระดับภาษาอังกฤษจะอนุญาตให้เลื่อนหรือละเว้นการยื่นคะแนนสอบมาตรฐาน/คะแนนสอบเข้าจากการสมัคร) อย่างไรก็ตามจะต้องส่งหลักฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษ เช่น iBT TOEFL Special Home Editions, Duolingo หรือการทดสอบมาตรฐานที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักระยะเวลาการส่งใบสมัคร: แม้ว่าระยะเวลาการสมัครจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสาขา แต่การยื่นคำร้องส่วนใหญ่จะปิดในปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564รายละเอียดเพิ่มเติม:[รัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์][สังคมศาสตร์] International Christian University (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)สถานะ: เปิดรับสมัครการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า:การสอบเรียงความและสัมภาษณ์ (สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถสอบ SAT/ACT ได้ สำนักงานรับสมัครจะรับเรียงความทางเลือกและตัวเลือกการสัมภาษณ์ออนไลน์)IELTS Indicator หรือ TOEFL iBT Special Home Edition เป็นหลักฐานแสดงความสามารถทางภาษาอังกฤษระยะเวลาส่งใบสมัคร:[ช่วงการสมัครช่วงแรก] 6 มกราคม 2564 - 25 มกราคม 2564[ช่วงการสมัครช่วงที่สอง] 12 กุมภาพันธ์ 2564 - 2 มีนาคม…
Read More
ปัญหายอดฮิตที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอ

ปัญหายอดฮิตที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอ

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, บทความสัมภาษณ์, ภาษาญี่ปุ่น, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แบบสอบถาม ออนไลน์
Amarlin Amarsaikhan | April 01, 2019 โดยสังเขป   ถ้าเพื่อนๆกำลังวางแพลนจะไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ก่อนที่จะไป มาเตรีนมพร้อมกันไว้ก่อนว่านักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักจะต้องพบเจอปัญหาอะไรบ้าง และจะผ่านไปได้อย่างไร   ในที่สุดจดหมายตอบรับเข้าเรียนก็มาถึง หลังจากผ่านกระบวนการต่างๆในการเข้ามหาวิทยาลัยอย่างยาวนาน ตอนนี้ชีวิตบทใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว นั่นก็คือการย้ายไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นนั่นเอง เพื่อนๆเคยทั้งตื่นเต้นและกังวลไปพร้อมๆกันไหมคะ? ไม่ต้องกังวลไป บทความนี้จะมาพูดถึงปัญหาที่นักเรียนต่างชาติในญี่ปุ่นมักเจอกัน และจะรับมือกับมันได้อย่างไรบ้าง   เราได้สร้างแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับปัญหาทีมักพบ และสิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่นสำหรับนักเรียนต่างชาติจากมหาวิทยาลัยวาเซดะ, มหาวิทยาลัยเคโอ, และมหาวิทยาลัยโตเกียว 1.กำแพงภาษา   จากแบบสอบถาม ปัญหาที่พบได้มากที่สุดคือเรื่องกำแพงภาษา มีนักเรียนต่างชาติจำนวนมากที่ได้กล่าวว่า หวังว่าจะเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานก่อนที่จะมาเรียนที่ญี่ปุ่น เนื่องจากที่ญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้ภาษาอังกฤษเท่าไหร่ การเรียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานมาก่อนจึงช่วยได้มาก 2.สร้างบัญชีธนาคาร   ปัญหาต่อมาที่มักพบเจอ คือการสร้างบัญชีธนาคารนั่นเองค่ะ การเปิดบัญชีธนาคารกับธนาคารใหญ่ของญี่ปุ่น (Mizuho, Mitsubishi UFJ, Sumitomo Mitsuiฯลฯ)เป็นที่รู้กันว่ายากมาก สำหรับนักเรียนที่เพิ่งเข้ามาใหม่มักจะมีธนาคารที่จัดให้เปิดบัญชีได้ที่มหาวิทยาลัย (Japan Post Bank, Resona Bank ฯลฯ) Rakuten Bank เป็นอีกตัวเลือกที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นธนาคารที่สามารถใช้บัตร VISA/JCB ผ่านทางออนไลน์ และสะสมแต้ม Rakuten points ได้ สิ่งที่เป็นปัญหาในการเปิดบัญชีธนาคารคือ นักเรียนต่างชาติไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารด้วยตัวเองได้ จำเป็นจะต้องมีผู้ร่วมลงนามในการเปิดบัญชีเพื่อความปลอดภัย ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ทราบเรื่องนี้ดี และจะช่วยเราค่ะ แต่ถึงอย่างนั้นก็อยากให้ทุกคนรู้เรื่องนี้เอาไว้ค่ะ 3.การหาเพื่อน   มาถึงปัญหาที่สามกันแล้วคะ อันดับที่สามได้แก่ปัญหาการหาเพื่อนค่ะ วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาเพื่อนในญี่ปุ่นคือการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมค่ะ เป็นโอกาสที่จะได้พบเพื่อนใหม่ ได้เข้าสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่นมักจะมีชมรมมากมายเลยทีเดียว สิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่น   เราได้รับคำตอบที่หลากหลายในหัวข้อ 'สิ่งที่หวังว่าจะรู้ก่อนมาเรียนที่ญี่ปุ่น' เราจึงเรียบเรียงลิสต์คำตอบที่ได้รับไว้ ดังนี้ ระบบการทำงานพาร์ทไทม์ นักเรียนจะทำงานได้ไม่เกิน 28 ชม./สัปดาห์วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์มากมายที่แตกต่างจากประเทศเรา จึงควรศึกษาก่อนไปสังคมสูงอายุ ที่ญี่ปุ่นมีผู้สูงอายุอยู่มากวัฒนธรรมการดื่มของคนญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นดื่มเพื่อเป็นการเข้าสังคมควรนำเสื้อผ้าสำหรับฤดูกาลต่างๆมา ฤดูกาลที่ญี่ปุ่นมักมีความสุดขั้วค่ะ ร้อนก็ร้อนมากก หนาวก็หนาวมากก การย้ายไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นอาจเป็นเรื่องท้าทาย แต่หากเตรียมตัวดีๆก่อนเดินทางแล้วล่ะก็ ชีวิตในญี่ปุ่นจะเป็นช่วงเวลาที่ลืมไม่ลงเลยทีเดียว และอย่าลืม work hard and have fun นะคะทุกคน ! ผู้เขียน Amarlin Amarsaikhan สวัสดีค่ะ! เราชื่ออมาลิน มาจากอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลียค่ะ ตอนนี้กำลังศึกษาในคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะค่ะ SchooLynk : Most Common Problems for International Students in Japan | SchooLynk Media
Read More
วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น

วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น

Uncategorized, ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
วิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสุดเริ่ด ก่อนไปเรียนต่อญี่ปุ่น โดย Janessa Roque   เริ่มก่อนได้เปรียบ! มาเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นกันก่อนไปเรียนที่ญี่ปุ่นดีกว่า Janessa Roque นักศึกษาฝึกงานจาก SchoolLynk media เธอคนนี้มีดีกรีนักศึกษาปริญญาเอกจากโตเกียวแถมพ่วงด้วยตำแหน่งอาจารย์ จะมาบอกเคล็ดลับการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้เริ่ดสุด น้องๆ นักเรียนและคนที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตัวเองเตรียมตัวอ่านต่อกันได้เลย!   ตอนที่เพิ่งย้ายมาอยู่โตเกียว ตัวเราโชคดีที่มีเพื่อนหลายๆ คนอาศัยอยู่ที่นี่อยู่แล้ว มาช่วยให้เราตั้งหลักได้ แถมยังได้รู้คำทักทายภาษาญี่ปุ่น ประโยคภาษาญี่ปุ่นที่ใช้บ่อยๆ ภาษาปากต่างๆ มากมายจากพวกเพื่อนๆ อีกด้วย   แต่ก็มีเพื่อนๆ หลายคนเหมือนกันที่มาเรียนต่อที่ญี่ปุ่นทั้งๆ ที่แทบจะไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นเลยเหมือนกัน   มันก็เข้าใจได้ เพราะพวกเราส่วนใหญ่เรียนหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก แต่ถึงเราจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักเวลาเรียน ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานกับคำทักทายในชีวิตประจำวันก็ยังสำคัญอยู่ดี ถ้าเตรียมตัวมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เช่น การอ่าน-เขียน ตัวฮิรางานะ คาตาคานะ (เรียกรวมๆ ว่าตัวอักษรคานะ) ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ก็ช่วยได้มากแล้ว ถ้าฝึกบ่อยๆ สัก 2-3 อาทิตย์ ก็น่าจะพอจะอ่านเขียนได้แล้ว   ถึงน้องๆ จะเขียนหรืออ่านได้ช้ามากๆ ก็ไม่เป็นไรเลย เป็นเรื่องปกติมากๆ เพราะน้องๆ กำลังอยู่ในช่วงจดจำคำศัพท์ใหม่อยู่ เลยจะยังเดาไม่ได้ว่าแต่ละคำอ่านว่ายังไง ก็เลยอ่านได้ช้า ในภาษาแม่ถ้าเราเจอคำใหม่ที่เราไม่รู้จักมาก่อน หรือเราอ่านหนังสือที่เก่ามากๆ อ่านข้อความที่ซับซ้อน มีคำยาวๆ มีวลีที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน เราก็จะอ่านได้ช้าแบบนี้เหมือนกัน ที่สำคัญกว่าคือถ้าน้องๆ อ่านตัวอักษรคานะได้ น้องๆ ก็ใกล้จะเข้าใจโลกรอบๆ ตัวเวลามาเรียนที่ญี่ปุ่นขึ้นอีกหนึ่งเสต็ปแล้วนะ   ไม่ใช่แค่นั้นนะ ถ้าน้องๆ อ่านเขียนตัวคานะได้ ก็จะหาเพื่อนได้ง่ายขึ้น แล้วก็เข้าถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้มากกว่าด้วย ทำให้การมาเรียนต่อขอน้องๆ เต็มไปด้วยประสบการณ์ดีๆ มากมายที่ญี่ปุ่น เราทำงานเป็นครูอยู่ที่ประเทศตนเอง เพราะงั้นเราก็หวังว่าเคล็ดลับพวกนี้จะช่วยทุกคนที่อ่าน เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นได้! ถามตัวเองก่อนเลย : แรงจูงใจในการมาเรียนต่อญี่ปุ่นคืออะไร   สิ่งแรกที่น้องๆ จะต้องทำถามตัวเองให้ดีคือ ทำไมถึงอยากเรียนภาษาญี่ปุ่น เพราะอยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ก็เป็นเหตุผลที่ดีแล้วแหละ แต่น้องๆ ก็ต้องถามตัวเองต่อด้วยว่า ทำไมถึงอยากไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น ทำไมต้องเป็นญี่ปุ่น   น้องๆ ต้องรู้ว่าอะไรคือแรงจูงใจของเรา เพราะแรงจูงใจนี่แหละที่จะช่วยให้เราผ่านการเรียนภาษาใหม่ไปได้ เพราะการเรียนภาษาใหม่ โดยเฉพาะถ้าภาษานั้นต่างจากภาษาแม่ของเรามากๆ มันจะยากแล้วก็ทรมานในหลายๆ ช่วง (เช่น คนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ จะเรียนภาษาเยอรมันได้ง่ายกว่า เพราะทั้งสองภาษา เป็นภาษาที่แยกมาจากภาษาเดียวกัน แต่ภาษาญี่ปุ่นอาจจะยากกว่าสำหรับคนที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ เพราะสองภาษานี้แทบไม่มีอะไรเหมือนกันเลย ยกเว้นที่ภาษาญี่ปุ่นยืมคำบางคำมาจากภาษาอังกฤษ) ยิ่งเรียนก็จะรู้สึกยากขึ้น ทรมานขึ้น แรงจูงใจของน้องๆ แล้วก็เป้าหมายที่จะไปเรียนต่อญี่ปุ่นจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้น้องๆ ไม่ยอมแพ้ไปก่อน   รู้จักตนเอง: รู้ว่าตนเองจะเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีไหน   ถ้าน้องๆ ผู้อ่านรู้จักตนเอง รู้ว่าตนเองจะเรียนรู้ จดจำได้ดีด้วยวิธีไหนแล้วละก็ ก็ต้องขอแสดงความยินดีด้วย! เพราะสิ่งนี้จะมีประโยชน์มากๆ ในการเรียนภาษาญี่ปุ่น (แล้วก็การเรียนสิ่งอื่นๆ ด้วย) ถ้ายังไม่รู้ เราก็จะมาบอกเคล็ดลับให้น้องๆ เอง การรู้ว่าตนเองเรียนรู้ได้ดีด้วยวิธีไหน เรียกว่า “การรู้คิด” วิธีนี้เป็นวิธีที่จะทำให้น้องๆ กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการเรียนด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ   ลองคิดดูว่าน้องๆ เป็นยังไง หรือเคยเป็นยังไง…
Read More
เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

เทคนิคใช้สียังไงให้คะแนนสอบออกมาเริ่ด

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
               สวัสดีค่า ตอนนี้ช่วงสอบปลายภาคก็ใกล้เข้ามาแล้ว ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยตัวเองเรียนอยู่มัธยม พอใกล้วันสอบปลายภาคแล้วก็จะรู้สึกเครียด ลนจนไม่มีสมาธิ เพราะรู้สึกว่าวันสอบปลายภาคเหมือนวันตัดสินชี้เป็นชี้ตาย รู้ตัวอีกทีก็อ่านหนังสือไม่ทัน ต้องยัดเนื้อหาเข้าสมอง 1 คืนก่อนสอบรัว ๆ เลย ซึ่งตอนนั้นผู้เขียนก็คิดว่าถ้ามีตัวช่วยอ่านหนังสือก็คงดี           ผู้เขียนเชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงคิดเหมือนกัน วันนี้เลยอยากมาแนะนำตัวช่วยอ่านหนังสือสอบ นั่นก็คือเทคนิคการใช้จิตวิทยาสีในการอ่านหนังสือนั่นเอง!           อะไรคือ Brain-Based Learning?           ก่อนอื่นผู้เขียนขอแนะนำการจัดการการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ Brain-based Learning (BBL) ก่อน โดยแนวคิดนี้เป็นการนำความรู้ในเรื่องระบบการทำงานของสมอง มาใช้ในการออกแบบพัฒนาจัดการการเรียนรู้ของมนุษย์ และแนวคิดดังกล่าวได้มีการผูกโยงกับหลักการแนวคิดหลักการด้านจิตวิทยาสี (Psycology of color) เนื่องจากสีเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและส่งผลต่อสภาพจิตใจของมนุษย์           วรรณะสีกับความรู้สึก           สีสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 วรรณะ ได้แก่           สีวรรณะร้อน (Warm Tone)           เมื่อพูดถึงสีวรรณะร้อน ดูตามชื่อเลยก็คือสีที่ทำให้นึกถึงไฟหรือความร้อน มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกสว่างไสว ร้อนแรง นอกจากนี้ยังเป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์เกิดความรู้สึกกระฉับกระเฉง ตื่นเต้น รุนแรง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะร้อน เช่น สีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีแดง สีม่วงแดง           สีวรรณณะเย็น (Cool Tone)           สีวรรณะเย็นก็คือสีที่ทำให้นึกถึงความหนาวเย็น มีอิมเมจที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ  เป็นสีที่กระตุ้นให้มนุษย์รู้สึกสงบเงียบ อ่อนโยน สบายลดความตึงเครียด ไปจนถึงรู้สึกเศร้าสลด หม่นหมอง ตัวอย่างสีที่อยู่ในวรรณะเย็น เช่น สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง           ทั้งนี้ก็ยังมีสีพิเศษหลายสีที่อยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น เช่น สีเหลือง สีม่วง           สีแบบไหนที่จะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้ได้ดี?           เกริ่นก่อนว่าการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นพื้นฐานนั้น ความรู้สึกที่ตื่นตัวแบบผ่อนคลาย ไม่กดดัน แต่มีความท้าทาย ชวนให้จดจ่อและค้นหาคำตอบนั้นจะทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นสีที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถมีสมาธิได้นั้นจะต้องเป็นสีที่ให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลาย           สีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างสมาธิมากที่สุดคือ สีน้ำเงิน เนื่องจากสีน้ำเงินเป็นสีที่อยู่ในวรรณะเย็น และอยู่ในโทนเข้ม (ในทางจิตวิทยา สีโทนเข้มจะช่วยเพิ่มความจำได้มากกว่าสีโทนอ่อน) สึน้ำเงินจึงเป็นสีที่นอกจากจะช่วยให้ผู้เห็นรู้สึกสงบ ผ่อนคลายลงแล้ว ยังช่วยดึงสติและสมาธิได้อีกด้วย           ที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้สีน้ำเงินกับเทคนิดการเรียนที่ชื่อว่า「青ペン記憶法」หรือถ้าแปลตรงตัวเลยก็คือ “เทคนิคช่วยจำด้วยปากกาน้ำงิน” โดยวันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอวิธีการใช้ปากกาน้ำเงิน 3 วิธี           1. เขียนทุกอย่างด้วยปากกาสีน้ำเงิน           เป็นวิธีที่ฮิตที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยวิธีทำก็ง่าย ๆ เลยคือก่อนอื่นให้น้อง ๆ ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในหัวก่อนว่าอยากเขียนเกี่ยวกับอะไร เช่น จะเขียนสรุปหัวข้อที่ตัวเองไม่แม่นอันนี้ ๆ หรืออยากเขียนทวนเรื่องนี้ ๆ 3…
Read More
เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น

ข้อมูลเรียนต่อนอก, ชีวิตในญี่ปุ่น, ภาษาญี่ปุ่น, เรียนภาษาญี่ปุ่น
เคล็ดลับเรียนต่อที่ญี่ปุ่น: เจาะลึกความต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนของญี่ปุ่น โดย Janessa Roque          การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชนในระบบการศึกษาญี่ปุ่น อาจเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่น้อง ๆ คุณผู้อ่านหลาย ๆ คนอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน แต่บทความนี้จะมาเจาะลึกว่ามหาวิทยาลัยรัฐ-เอกชนค่าเล่าเรียนต่างกันแค่ไหน ความสามารถและชื่อเสียงทางวิชาการเป็นอย่างไร           เชื่อว่ามีน้อง ๆ หลาย ๆ คนที่สนใจเลือกเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ด้วยระบบการศึกษาของญี่ปุ่นมีหลายจุดที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ๆ  ซึ่งอาจทำให้น้องบางคนรู้สึกไม่คุ้นเคย ดังนั้นถ้าน้องคนไหนกำลังมองหาทุนการศึกษา หรือกำลังคิดอยู่ว่าจะออกเงินไปเรียนเองแบบไม่พึ่งทุน การทำความรู้จักประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยตัดสินใจว่าควรวางแผนอย่างไรบ้าง เมื่อน้อง ๆ อ่านบทความนี้จบและได้เอาปัจจัยเรื่องค่าเล่าเรียน ชื่อเสียงทางด้านวิชาการ และการดูแล supportนักเรียนต่างชาติ มาพิจารณาแล้ว น้อง ๆ ก็จะสามารถเลือกประเภทมหาวิทยาลับยที่เข้ากับตัวเองได้!           ประเภทของมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น           มหาวิทยาลัยที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ(国立大学) มหาวิทยาลัยท้องถิ่น(公立大学) และมหาวิทยาลัยเอกชน(私立大学)           มหาวิทยาลัยแห่งชาติและมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นล้วนเป็นองค์กรการศึกษาของรัฐบาล แต่จะต่างกันตรงที่ระบบการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีรัฐบาลเป็นผู้บริหารโดยตรง ในขณะที่คณะกรรมการบริหารของมหาวิทยาลัยท้องถิ่นนั้นจะจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองตนเองส่วนท้องถิ่น ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชน จัดตั้งโดยเอกชน รัฐบาลจะไม่เข้ามาบริหารจัดการ แต่จะให้เงินอุดหนุน           ประเทศญี่ปุ่นมีมหาวิทยาลัยทั้งหมด 782 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติมีจำนวน 93 แห่ง มหาวิทยาลัยท้องถิ่นมีจำนวน 86 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนมีจำนวน 603 แห่ง               ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ           จุดหลัก ๆ ที่ทำให้มหาวิทยาลัยแต่ละประเภทแตกต่างกันคือค่าการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่น้อง ๆ ควรเอามาพิจารณาในการเลือกมหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยท้องถิ่นโดยทั่วไปแล้วจะเสียค่าเล่าเรียนน้อยที่สุดใน 3 ประเภทข้างต้น โดยค่าเล่าเรียนรวมค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ สำหรับนักศึกษาป.ตรี จะอยู่ที่ประมาณ 820,00 0เยน (ประมาณ 241,785 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) ในขณะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงกว่าเล็กน้อย ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 930,000 เยน (ประมาณ 274,220 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564)           ส่วนมหาวิทยาลัยเอกชนจะมีค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมแรกเข้าต่าง ๆ ประมาณ1,100,000-1,640,000 เยน (ประมาณ 324,346–483,570 บาท ตามอัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) จะเห็นได้ว่าค่อนข้างสูงกว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 2 ประเภทที่ได้พูดถึงไปด้านบน ทั้งนี้โดยทั่วไปค่าการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ ทันตศาสตร์ และเภสัชศาสตร์จะสูงกว่าจำนวนเงินข้างต้น…
Read More
เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

เคยไหม อ่านเท่าไหร่ก็จำไม่ได้ซักที

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, บทความสัมภาษณ์, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, แอป Clearnote
  ช่วงนี้คงเข้าสู่ช่วงสอบแล้วสำหรับบางคน ตะบี้ตะบันอ่านหนังสือก็แล้ว แต่ก็จำไม่ได้ซักที ท่องศัพท์แล้ว ผ่านไปก็ลืมตลอด ทุกคนเคยมีปัญหาเหล่านี้กันบ้างไหมคะ เราคิดว่ามีคนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหานี้ เราเองก็เคยประสบกับปัญหานี้เช่นกันค่ะ วันนี้จึงอยากมาแบ่งปันวิธีจำให้ได้นานในรูปแบบความจำระยะยาวให้ทุกคนได้ฟังกันค่ะ Cartoon png from pngtree.com/   ก่อนอื่นขอเล่าเกี่ยวกับความจำของคนเราก่อนนะคะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ความทรงจำของเรานั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.ความจำทันที (immediately memory) หมายถึง ความจำที่เกิดทันทีที่มีการรับรู้จากสิ่งเร้า โดยยังไม่มีการทบทวนหรือใส่ใจ ทำให้ลืมได้ง่ายภายในไม่กี่วินาที เช่น ชื่อถนน เบอร์โทรศัพท์ 2.ความจำระยะสั้น(Short-term memory) หมายถึง ความจำซึ่งเราตั้งใจจดจำไว้ชั่วคราวไม่กี่นาที และถ้าไม่มีการทบทวนความทรงจำก็จะลืมไปได้เช่นกัน เช่น สิ่งใหม่ๆที่เรียนรู้ 3.  ความจำระยะยาว (long-term memory) หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ เช่น วิธีขี่จักรยาน brain png from pngtree.com/   สมองเราก็เหมือนกับ hard drive ค่ะ แน่นอนว่ามีพื้นที่จำกัดในการกักเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้เราลืมสิ่งต่างๆ เมื่อข้อมูลของเราเต็ม สมองจะพยายามขจัดข้อมูลที่เราคิดว่าไม่จำเป็นออกไป ถ้าเพื่อนๆยังนึกภาพกันไม่ออก เราจะลองยกตัวอย่างให้ได้เห็นภาพกันมากขึ้นนะคะ เพื่อนๆคงจะรู้จัก เชอร์ล็อค โฮล์มส์ กันใช่ไหมคะ เขาเป็นนักสืบอัจฉริยะนั่นเอง แต่ถึงกระนั้นเขาก็ไม่สามารถจดจำเรื่องระบบสุริยะได้ ไม่ใช่ว่าเพราะเขาไม่เรื่องนี้แต่อย่างใด แต่นั่นเป็นเพราะเขาฉลาดมากๆ มีข้อมูลในหัวมาก สมองของเขาจึงกำจัดข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะที่เขาคิดว่าเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อเขานั่นเอง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้น ข้อมูลใหม่ๆจึงถูกจัดเป็นความจำระยะสั้น หรือ Short-term memory นั่นเองค่ะ   จากผลวิจัยของนักจิตวิทยาชาวเยอรมณี Hermann Ebbinghaus ชี้ให้เห็นว่า ในเวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากเรียนสิ่งใหม่ๆ คนเราลืมสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปถึงมากกว่าครึ่งเสียอีก หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะจำข้อมูลได้เพียงประมาณ 30% เท่านั้น หมายความว่าหากเราต้องการที่จะเก็บข้อมูลไว้ในหัวเราให้ได้นาน เราจะต้องทำให้ข้อมูลนั้นกลายเป็นความทรงจำระยะยาวค่ะ แต่จะทำได้อย่างไร? บทความนี้ได้รวบรวมมาให้เพื่อนๆแล้วค่ะ การทำซ้ำ   หากเพื่อนๆกำลังอ่านบทความนี้ก่อนสอบ มาถูกทางแล้วค่ะ วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนๆจดจำได้เร็วขึ้นค่ะ ก่อนอื่นจดจำข้อมูลที่ต้องการ จากนั้นทำการทบทวน การทบทวนไม่ใช่การอ่านซ้ำอีกรอบ แต่ให้เพื่อนทบทวนกับตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรไป หากทำแล้วพบว่าลืมอะไรตกหล่นไปให้เน้นย้ำตรงจุดนั้นเพิ่มหลังจากนั้นค่ะ  ซึ่งจะทำดังนี้ค่ะ การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป 15-20 นาที การทบทวนครั้งที่ 3 :หลังจากผ่านไป 6-8 ชั่วโมง การทบทวนครั้งที่ 4 : หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ในระหว่างที่ไม่ได้ทบทวนขอให้เพื่อนๆพักผ่อนสมอง โดยไม่จำเป็นต้องจดจ่อกับเนื้อหาที่กำลังจำตลอดเวลานะคะ   ต่อมาจะเป็นวิธีที่ทำให้จำได้นานขึ้นค่ะ ซึ่งยังเป็นการทำซ้ำเหมือนเดิมแต่จะแตกต่างกับวิธีแรกเล็กน้อย การทบทวนครั้งแรก : ทบทวนทันทีหลังจากเรียนรู้ การทบทวนครั้งที่ 2 : หลังจากผ่านไป…
Read More
“โน้ตพรีเมี่ยม” ฟังก์ชั่นที่เกิดมาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบทำสรุป

“โน้ตพรีเมี่ยม” ฟังก์ชั่นที่เกิดมาเพื่อผู้ที่ชื่นชอบทำสรุป

บทความสัมภาษณ์, แอป Clearnote
  สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน วันนี้แอดมิน S จะมาแนะนำฟังก์ชั่น"โน้ตพรีเมี่ยม" ให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น คิดว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงจะเคยเห็น หรือรู้จักฟังก์ชั่นนี้กันอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่ทราบอย่างละเอียดว่าฟังก์ชั่นนี้มีดีอย่างไรบ้าง?   พอดีกับที่ผ่านมาแอดได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้เขียนโน้ตพรีเมี่ยมทั้ง 2 ท่านคือคุณ "Lecture4u" และคุณ"Pphamaiii_" เลยจะนำบางส่วนของการสัมภาษณ์มาแชร์เพื่อน ๆ กัน เรื่องราวของผู้เขียนโน้ตพรีเมี่ยมทั้ง 2 ท่านนี้จะเป็นอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามไปชมกันเลย! (more…)
Read More