9วิชาสามัญ,
English,
GAT,
GAT ENG,
GAT/PAT,
O-NET,
PAT1,
PAT2,
PAT7,
PAT7,
ภาษาญี่ปุ่น,
ภาษาที่3,
ภาษาอังกฤษ,
ภาษาไทย,
สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555) แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1. อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้ เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…