10 โน้ตสรุป “ภาษาไทย ม.ปลาย” แห่งปี 2022 ที่ Clearnote ขอแนะนำ!

10 โน้ตสรุป “ภาษาไทย ม.ปลาย” แห่งปี 2022 ที่ Clearnote ขอแนะนำ!

A-Level, dek66, dek67, dek68, ภาษาไทย, แนะนำโน้ตสรุป
. สวัสดีค่าทุกคน 🥰 ในบล็อกที่แล้วเราแนะนำสรุปวิทยาศาสตร์ไปแล้ว บล็อกนี้เราเลยจะมาแนะนำวิชาต่อไปนั่นก็ คือวิชาภาษาไทยนั่นเองค่า โดยจะแบ่งออกเป็นแต่ละม.น้า คือแบ่งตามเนื้อหาม.4-ม.6 และ จะมีเล่มนึงเป็นสรุปม.ปลายสำหรับเตรียมสอบเข้ามหาลัย สรุปในครั้งนี้จะมีอะไรบ้างมาดูกันเล้ย . (more…)
Read More
10 โน้ตสรุป “ภาษาไทย ม.ต้น” แห่งปี 2022 ที่ Clearnote ขอแนะนำ!

10 โน้ตสรุป “ภาษาไทย ม.ต้น” แห่งปี 2022 ที่ Clearnote ขอแนะนำ!

Uncategorized, ช่วงสอบ, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สอบเข้าม.ปลาย, เคล็ดลับการเรียน, แนะนำโน้ตสรุป, แอป Clearnote
  เราได้รวบรวมโน้ตสรุปวิชาภาษาไทยที่อัปโหลดในปี 2022 ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนมาให้ เราคิดว่าสรุปภาษาไทยทำยาก เพราะเหมือนจะไม่มีอะไรให้จดเป็นสรุป แต่ก็ต้องขอบคุณนักเขียนโน้ตใจดีทั้งหลายที่เขียนโน้ต แล้วเอามาแบ่งปันกับพวกเรา สรุปที่เราหามาจะมีทั้งส่วนหลักภาษา และวรรณคดีไทย หวังว่าจะชอบกันน้า (more…)
Read More
รู้จักคณะ “อักษรฯ, มนุษยฯ, ศิลปศาสตร์” ที่ไม่ได้มีดีแค่ภาษา!

รู้จักคณะ “อักษรฯ, มนุษยฯ, ศิลปศาสตร์” ที่ไม่ได้มีดีแค่ภาษา!

A-Level, dek66, dek67, dek68, TCAS, TGAT, TPAT, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, รีวิวคณะในฝัน
  สวัสดีทุกคน วันนี้ Tutor VIP จะมาแนะนำคณะในดวงใจของน้องๆ ทั้งสายศิลป์และสายวิทย์หลายๆ คน นั่นคือคณะอักษรฯ, มนุษยฯ และศิลปศาสตร์ ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไรกันบ้าง?,  มีแค่ภาษาจริงหรือ?, ใช้คะแนนอะไรยื่น รวมไปถึงอาชีพที่รองรับหลังเรียนจบ เพื่อให้น้องๆที่สนใจเตรียมตัวได้ตรงจุดยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วมาทำความรู้จักคณะนี้ไปพร้อมกันเลย! (more…)
Read More
ตั้งเป้าหมายช่วยให้ทำสำเร็จมากขึ้นจริงเหรอ?!

ตั้งเป้าหมายช่วยให้ทำสำเร็จมากขึ้นจริงเหรอ?!

Uncategorized, กิจกรรม, ปิดเทอม, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สุขภาพและความงาม, อาชีพ
  สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน แล้วก็ Merry Christmas And Happy New Year ด้วย ขอให้ปี 2022 เป็นปีที่ดีของน้องๆ ทุกคนจ้า    ใกล้จะปีใหม่แล้ว น้องๆ หลายคนคงจะเริ่มคิด Goal หรือ New Year's Resolution กันบ้างแล้ว ว่าปีหน้าจะตั้งใจทำเรื่องอะไรให้ดีขึ้น ทำเรื่องอะไรให้สำเร็จ แต่บางที (หรือหลายที) เราก็ไม่สามารถทำเป้าหมายเหล่านั้นให้สำเร็จได้เลย หรือสำเร็จแค่ส่วนน้อย ทำให้บางคนอาจสงสัยว่า การตั้ง Goal หรือ Resolution ช่วยให้เราทำเรื่องต่างๆ สำเร็จมากขึ้นจริงรึเปล่า? และด้วยเหตุผลอะไร? วันนี้ Clearnote จะมาไขข้อสงสัยให้น้องๆ กัน!   การตั้งเป้าหมายช่วยให้ทำสำเร็จมากขึ้นจริงรึเปล่า? ภาพโดย Mediamodifier จาก Pixabay   คำตอบก็คือ จริงจ้า การตั้งเป้าหมายช่วยเราทำเรื่องต่างๆ สำเร็จได้มากขึ้นจริง   จากผลการวิจัยพบว่าการตั้งเป้าหมายมีผลต่อการทำงานของสมอง เมื่อเราตั้งเป้าหมายบางอย่าง สมองส่วนที่รับผิดชอบด้านอารมณ์จะประเมินว่าเป้าหมายนี้มีความสำคัญต่อตัวเราขนาดไหน ต่อมาสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับความคิด การแก้ปัญหา ก็จะประมวลว่าเป้าหมายนั้นทำให้เกิดผลอย่างไร สมองทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกัน ทำให้เราทำตามเป้าหมายนั้นๆ จนสำเร็จได้ในที่สุด ตั้งเป้าหมายยังไงถึงจะมีแนวโน้มสำเร็จมากขึ้น ภาพโดย gabrielle_cc จาก Pixabay   แต่มันก็มีเงื่อนไขอยู่ เพราะไม่ใช่ว่าเป้าหมายทุกเป้าหมายที่เราตั้งจะส่งผลต่อสมองเหมือนกัน เพราะผลการวิจัยพบว่า เป้าหมายที่เราอยากทำให้สำเร็จจริงๆ เป้าหมายที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจเราเป็นอย่างมากจะมีแนวโน้มจะสำเร็จมากกว่า (อะไรที่ออกมาจากความตั้งใจแน่วแน่ของเราเองก็มีโอกาสสำเร็จมากกว่าอยู่แล้วเนอะ ^^)   นอกจากนี้เป้าหมายที่ทำสำเร็จได้ยากก็จะส่งผลต่อการทำงานของสมองมากกว่าเป้าหมายที่สำเร็จได้ง่าย เป้าหมายที่ยากเลยอาจมีแนวโน้มที่จะสำเร็จได้มากกว่าเป้าหมายที่ง่ายเกินไป เช่น อยากสอบผ่านวิชาคณิต กับ อยากได้คะแนนดีๆ ในวิชาคณิต เป้าหมายหลังก็จะส่งผลต่อสมองมากกว่าเป้าหมายแรก   ถ้าแค่นี้ยังรู้สึกว่ายังไม่พอ อยากในทุกคนลองเขียนเป้าหมายของตัวเองออกมาเป็นตัวอักษรดู เพราะผลการวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า คนที่เขียนเป้าหมายของตัวเองออกมาเป็นตัวอักษร มีเปอร์เซ็นต์ที่จะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากกว่า คนที่คิดภาพไว้ในหัวเฉยๆ ถึง 33% ด้วยกัน   สรุปก็คือ การตั้งเป้าช่วยให้เราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากขึ้นจริง เพราะการตั้งเป้าหมายส่งผลต่อการทำงานของสมอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกเป้าหมายจะส่งผลต่อสมองเท่ากันหมด เป้าหมายที่เราตั้งใจแน่วแน่จากใจว่าอยากทำได้มีส่งผลต่อสมองมากกว่า จึงมีเปอร์เซ็นต์ที่จะสำเร็จเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การตั้งเป้าหมายให้ยากหน่อยและการเขียนเป้าหมายออกมาให้เป็นลายลักษณ์อักษรก็เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จให้มากขึ้นเช่นกัน   ได้รู้แบบนี้แล้วน้องๆ คงได้รู้แล้วว่าควรจะตั้งเป้าหมายในปีใหม่นี้อย่างไร ต้องทำแบบไหน เป้าหมายที่ตั้งจึงจะมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น ปีหน้าก็ขอให้น้องๆ พยายามต่อไป Clearnote เชื่อว่าต้องมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นบ้างแน่ๆ 😊✨    References James, G. (2019). 5 What Goal-Setting Does to Your Brain and Why It's Spectacularly Effective. Retrieved from https://www.inc.com/geoffrey-james/what-goal-setting-does-to-your-brain-why-its-spectacularly-effective.html Mitchell, P.M. (2018). Goal-Setting…
Read More
รวมโน้ตสรุป GATเชื่อมโยง ไม่กลัว 99H!

รวมโน้ตสรุป GATเชื่อมโยง ไม่กลัว 99H!

GAT, GAT/PAT, TCAS, ภาษาไทย, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้า มาพบกับบล็อก Clearnote กันอีกแล้ว อีกไม่นานเท่าไรก็ใกล้วันสอบ GATPAT แล้ว GAT อิ้ง นี่คงไม่ต้องพูดถึง เชื่อว่าคงมีหลายคนตั้งใจอ่านกันอยู่แน่ๆ แต่อย่าเพิ่งลืม GAT เชื่อมโยงกันนะ มีหลายคณะที่ใช้เจ้าคะแนนแกทเชื่อมโยงนี้ยื่นเหมือนกัน   วันนี้บล็อกของเราเลยจะมาแนะนำโน้ตสรุป GAT เชื่อมโยง ในแอปฯ Clearnote กัน! 1.Gat เชื่อมโยง 🚀 วิธีทำ/ข้อควรระวัง🌋 โดย maiipcm_   ใครยังไม่รู้วิธีทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง มาทางนี้เลย เพราะสรุปนี้เขาอธิบายวิธีทำไว้หมดแล้ว ทั้ง เกรด A, D, F และ 99H ชวนงงต่างๆ แถมมีตัวอย่างกระดาษคำตอบให้ดูด้วยนะว่าจะตอบอะไรต้องฝนกระดาษคำตอบแบบไหน ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: Gat เชื่อมโยง 🚀 วิธีทำ/ข้อควรระวัง🌋 2.สรุปgatเชื่อมโยงในสองหน้า✨ โดย Who am I :)   สรุปนี้นอกจากจะอธิบายวิธีทำ GAT เชื่อมโยงว่าอะไรเป็นยังไงแล้ว เขายังสรุปข้อควรระวังไว้ด้วยนะ ดีมากๆ เลย เพราะข้อสอบ GAT เชื่อมโยงมักจะชอบออกมาให้เรางงว่าตรงนี้มันสัมพันธ์ยังไงกันแน่ จะ A ก็ได้ D ก็ดูดี จนสุดท้ายก็ไม่รู้จะตอบอันไหนดี   นอกจากนี้ สรุปนี้ยังมีแบบฝึกหัดให้น้องๆ ได้ลองฝึกทำตามดูด้วยนะ รับรองต้องเข้าใจมากขึ้นอีกนิดแน่ๆ ! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: สรุปgatเชื่อมโยงในสองหน้า✨ 3.[GAT/PAT63] Gat เชื่อมโยง โดย bt_cc♡   ใครอยากอ่านสรุปสั้นๆ อ่านสบายๆ มาทางนี้เลย โน้ตสรุป "[GAT/PAT63] Gat เชื่อมโยง" โดย bt_cc♡   โน้ตสรุปนี้สรุปคำที่เป็นคำใบ้ในโจทย์ของ GAT เชื่อมโยงและวิธีวาดสัญลักษณ์ลงในโจทย์ให้ไม่งง อ่านง่ายๆ มาให้แล้ว (แถมมีตัวอย่างประโยคด้วย) อ่านแล้วเห็นภาพมากๆ แถมเวลาฝึกทำโจทย์ ถ้าเอาโน้ตสรุปนี้มากางดู ก็จะทำได้ง่ายขึ้นนะ เพราะมีแต่วิธีทำให้ดูโดยเฉพาะ ไม่ตาลาย! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: [GAT/PAT63] Gat เชื่อมโยง 4.[styfit]Gatไทย / เชื่อมโยง โดย plln.x_   สรุปนี้เขามีบอกตั้งแต่ลักษณะข้อสอบ GAT เชื่อมโยง เวลาท่ีใช้ในการสอบ จำนวนคะแนนเต็มเลย อ่านสรุปนี้รับรองไม่พลาดข้อมูลเกี่ยวกับข้อสอบ GAT เชื่อมโยงแน่ๆ   นอกจากนี้ยังอธิบายเรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ A, D, F และ 99H จุดหลอกต่างๆ รวมไปถึง ตัวอย่างโจทย์ ในเนื้อหาเพียง 2 หน้าเท่านั้น เหมาะกับคนที่รีบๆ…
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More
ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!

ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, O-NET, TCAS, Uncategorized, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
ฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า?!   สวัสดีจ้าทุกคน วันนี้ก็มาพบกับบล็อกของ Clearnote กันอีกแล้วนะ ช่วงสอบแบบนี้น้องๆ หลายคนอาจจะเบื่อๆ เหนื่อย ไม่มีแรงอ่านหนังสือ น้องๆ บางคนก็อาจจะหาเพลงมาเปิดระหว่างอ่านหนังสือ จะได้มีสมาธิอ่านหนังสือมากขึ้น แต่การฟังเพลงของอ่านหนังสือช่วยให้อ่านหนังสือรู้เรื่องขึ้นจริงรึเปล่านะ? บล็อก Clearnote ของเราวันนี้จะพาไปดูกัน! ตกลงฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ ช่วยให้เรียนดีขึ้นไหม?    การฟังเพลง (โดยเฉพาะเพลงที่ชอบ) ช่วยให้รู้สึกดีขึนจริง เพราะพอน้องๆ ฟังเพลงสมองจะหลั่งสารโดปามีนออกมา ช่วยให้มีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้รู้สึกเครียดน้อยลง   แต่เมื่อเราฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ สมองจะรับรู้ว่าเพลงไปด้วย ทำให้สมองแก้ปัญหาหรือเรียกสิ่งที่จำไว้ออกมาใช้ได้น้อยลง(อาการนึกไม่ค่อยออก) เพราะสมองกำลังประมวลผลเพลงที่เราฟังไปด้วยไม่ว่าเราจะต้องการหรือไม่ (นึกถึง CPU คอมที่อาจจะร้อนๆ ค้างๆ ถ้าเราเปิดเกมหลายเกมพร้อมกัน)   เพราะฉะนั้นก็อาจพูดได้ว่า อ่านหนังสือแบบเงียบๆ อาจจะดีกว่าถ้าเทียบกับอ่านโดยเปิดเพลงไปด้วยนะ! (แต่อาจต้องใช้พลังใจในการอ่านมากหน่อย เพราะต้องพยายามไม่เบื่อ ไม่หลับ) แล้ว Mozart effect ล่ะ ตกลงเป็นเรื่องจริงรึเปล่า   Mozart effect หรือความคิดที่ว่าการฟังเพลงของ Mozart ช่วยให้ฉลาดขึ้น ช่วยให้เรียนดีขึ้น หรือคุณแม่ที่ท้องควรเปิดเพลงของ Mozart ให้เด็กฟัง จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี ฉลาดขึ้นนั่นเอง   แล้วเจ้า Mozart effect นี่เป็นเรื่องจริงเหรอ?   คำตอบ คือ ไม่จริงจ้า (แป่ว) การฟังเพลงของ Mozart หรือเพลงคลาสสิคไม่ได้มีประโยชน์มากกว่าเพลงของศิลปินคนอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญอะไรเลย ประโยชน์ก็เหมือนกับเพลงอื่นๆ ทั่วไปคือช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นเฉยๆ งั้นฟังเพลงตอนไหนถึงจะดี   ถึงแม้งานวิจัยจะบอกว่าการฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียน จะทำให้ประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหา (เช่น แก้โจทย์เลข) ลดลง และเรียกซึ่งที่จดจำไว้ออกมาใช้ได้น้อยลงทำ   แต่การฟังเพลงระหว่างช่วงพักเบรคก็ยังให้ผลดีอยู่นะ เพราะทำให้สมองหลั่งโดปามีนอย่างที่บอกไป ช่วยให้มีความสุข ผ่อนคลาย ช่วยเปลี่ยนอารมณ์ที่เบื่อๆ ง่วงๆ เพราะอ่านหนังสือได้ดีเลย ทำให้มีแรง มีไฟกลับมาอ่านหนังสือต่อได้ดีขึ้นกว่าพักเฉยๆ เบื่อๆ ถ้าอยากฟังเพลงตอนเรียน ควรฟังเพลงแบบไหน   ถ้าน้องๆ ยังอยากฟังเพลงตอนเรียน เพราะเบื่อไม่ไหวจริงๆ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cambridge บอกว่า น้องๆ ควรฟังเพลงช้า ใช้คอร์ดไมเนอร์ในเพลงและให้ความรู้สึกเศร้าๆ นิดหน่อย เช่น  prelude in E major ของ Chopin https://www.youtube.com/watch?v=CU9RgI9j7Do   นอกจากนี้เพลงไม่มีเนื้อร้องก็ไม่รบกวนสมาธิระหว่างอ่านหนังสือมากเท่ากับเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง แต่ถ้าน้องๆ ไม่ได้ชอบเพลงบรรเลงก็ไม่ต้องฝืนฟังนะ เดี๋ยวจะได้ผลตรงกันข้าม ถ้าน้องๆ ชอบเพลงที่มีคำร้อง อาจจะลองเปลี่ยนไปฟังเวอร์ชั่น off-vocal ดู ก็อาจจะช่วยได้เหมือนกัน ยังได้ฟังเพลงที่ชอบโดยไม่รบกวนสมาธิ   หรือถ้าไม่มีศิลปินที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจลองค้นหาใน Youtube หรือ Spotify ว่า "Music for study" ดูก็อาจจะเจอเพลงที่เหมาะกับการเรียนก็ได้นะ!   สรุปแล้ว การฟังเพลงก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง อาจจะขึ้นอยู่กับตัวน้องๆ…
Read More
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!

Uncategorized, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ
จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง!? มาดูกัน!   น้องๆ สงสัยกันไหม จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นจริงรึเปล่า จดโน้ตช่วยให้เรียนดีขึ้นยังไง วันนี้ Clearnote จะมาชี้แจ้งแถลงไขประโยชน์ของการจดโน้ตให้น้องๆ ได้รู้กันเอง! 1.ช่วยให้เราเรียนรู้เรื่อง   การจดโน้ตช่วยให้น้องๆ ต้องตั้งใจฟังคุณครูโดยอัตโนมัติ เพราะถ้าจะจดโน้ตก็ต้องทำความเข้า กลั่นกรอง สิ่งที่อาจารย์พูดเพื่อจะจด เพราะน้องๆ คงไม่สามารถจดคำพูดทุกคำที่อาจารย์พูดได้ทัน และต่อให้จดทัน ก็มีงานวิจัยบอกว่าการที่น้องๆ ได้คิดวิเคราะห์เนื้อหาก่อนที่จะจดลงไป ไม่จดทุกคำพูดที่อาจารย์พูดนั้นให้ผลดีกว่า!    นอกจากนี้การจดโน้ตยังทำให้น้องๆ ไม่พลาดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจารย์สอนและอาจจำได้ไม่หมดถ้าไม่จดไว้ การจดโน้ตจึงทำให้เรียนรู้เรื่องมากกว่าการนั่งฟังครูอธิบายผ่านไปเฉยๆ มาก 2.ช่วยให้เรามาทวนทีหลังได้   การจดโน้ตไม่ได้มีประโยชน์แต่ตอนที่จดเท่านั้น แต่ยังช่วยให้กลับมาทวนเนื้อหาทีหลังได้โดยไม่ลืม การจดโน้ตจะทำให้น้องๆ กลับมาทวนเนื้อหาที่อาจารย์สอนเมื่อไรก็ได้ กี่รอบก็ได้ แถมทวนได้ง่ายกว่าด้วย เพราะไม่ต้องมานั่งอ่านหนังสือใหม่ทั้งเล่มตลอดเวลา   ที่สำคัญจากผลการวิจัย การจดโน้ตจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการทวนซ้ำๆ ย้ำๆ หลายๆ รอบเท่านั้น น้องๆ จึงควรทบทวนโน้ตที่จดไว้ให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ไม่ใช่แค่จดแล้วเก็บเข้ากรุเฉยๆ!   นอกจากนี้งานวิจัยยังบอกอีกด้วยว่า ไม่ใช่แค่การจดโน้ตเท่านั้น แต่การไฮไลท์ และการเขียนทวนสิ่งที่เคยเรียนแล้วอีกรอบ ก็จะช่วยให้น้องๆ คิด วิเคราะห์ และทำความเข้าใจสิ่งที่เราเรียนมากกว่า เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ดี ก็ควรทำทั้ง 3 อย่างเลย จะได้จำได้แม่น แถมเอามาใช้ได้จริง! 3.ช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีกว่า   การจดโน้ตแบบที่ใช้ลูกศร รูปร่างรูปทรงต่างๆ ช่วย เช่น Mind maping ทำให้ให้สิ่งที่เราจด อยู่ใน long term memory (ความทรงจำระยะยาว) ได้ดีกว่า   การจดโน้ตต้องอาศัยความพยายามในการจด ไม่ใช่แค่ฟังหรืออ่านให้ผ่านไปเฉยๆ  นอกจากนี้การมีรูป มีลูกศร ในโน้ตยังช่วยแสดงความสัมพันธ์ แสดงคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาให้อยู่ในลักษณะที่เป็นภาพ ทำให้สิ่งที่เราเรียนเข้าไปอยู่ในสมองทั้งในลักษณะคำศัพท์และรูป ช่วยให้น้องๆ ดึงสิ่งที่เรียนจากความทรงจำระยะยาวได้ดีกว่า ทำให้ไม่ลืมสิ่งที่เรียนไปง่ายๆ 4.ช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น   การจดโน้ตช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory (ความทรงจำเพื่อใช้งาน) ซึ่งเป็นความทรงจำระยะสั้นๆ ระยะเวลาหนึ่ง เช่น การจดจำที่อยู่ขณะที่คิดว่าจะไปที่นั่นได้ยังไงเป็นต้น    การจดโน้ตทำให้เราไม่ต้องจดจำสิ่งที่เรียนทั้งหมดทุกอย่างภายในคราวเดียว จึงช่วยแบ่งเบาภาระของ working memory ตรงนี้ จึงช่วยให้เราคิดเรื่องซับซ้อนขึ้นได้ดีกว่าเดิม เช่น แก้โจทย์เลขยากๆ ซับซ้อนๆ เพราะไม่ต้องแบกข้อมูลไว้ในสมองจำนวนมาก 5.ช่วยให้ชีวิตมีระเบียบมากขึ้น   การจดโน้ตไม่ใช่จำกัดแค่การจดโน้ตตอนเรียนเท่านั้น แต่การจดโน้ตสิ่งที่เราจะทำหรือ to-do list ยังช่วยให้น้องๆ ไม่ลืมสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ลืมว่าต้องทำอะไรก่อนหรือหลัง วางแผนชีวิตได้ มีชีวิตที่มีระเบียบมากขึ้นกว่าการไม่จดโน้ตอีกด้วยนะ    การจดโน้ตมีประโยชน์มากมายจริงๆ เพราะฉะนั้นตอนเรียนก็ไม่ควรฟังอาจารย์แบบผ่านๆ แต่ควรจะจดโน้ตสิ่งที่น้องๆ ได้เรียนไว้ด้วยนะ เพราะจะทำให้เก็บเกี่ยวความรู้ได้มากกว่ากันเยอะเลย!!! Reference Boch, F. & Piolat, A. (2005). Note Taking and Learning: A…
Read More
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา

English, Uncategorized, ภาษาไทย, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค
แฉหมดเปลือก! 7 เคล็ดลับเรียนให้เกรดปังสไตล์เด็กอักษรจุฬา   อยากเริ่มตั้งใจเรียน แต่ทำยังไงๆ ก็เรียนไม่รู้เรื่อง เกรดไม่ดีขึ้น ไม่มีแรงจูงใจอ่านหนังสือ ไม่รู้จะทำยังไงให้รอดจากสอบไปให้ได้!    ถ้าน้องๆ กำลังอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ก็ขอให้เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลย!   เพราะวันนี้ Clear จะขอมาแชร์เทคนิคการเรียนแบบอักษ๊ร อักษรจากเด็กอักษร จุฬา คณะที่เขาว่าเรียนหนัก อ่านหนังสือเยอะกันจ้า! แนะนำตัว   ก็ขอแนะนำตัวกันสักหน่อย พี่ชื่อกิ๊บ เพิ่งจบปี 4 จาก เอกภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬามาหมาดๆ ต้องขอบอกก่อนว่าเราไม่ได้เรียนเก่งถึงมากถ้าเทียบกับคนอื่นๆ ในคณะ แต่เราอาศัยว่าเราได้อยู่ท่ามกลางคนเก่งๆ ขยันๆ ทำให้เราได้เห็นว่าคนเก่งๆ ได้เกรดดีๆ เขาเรียนกันยังไง เราก็เลยได้รู้วิธีเรียนดีๆ เยอะแยะจากทั้งเพื่อนๆ และอาจารย์ในคณะ ที่ทำให้เราเรียนได้ดีขึ้นแถมยังไม่เบื่อด้วย วันนี้เราก็เลยจะขอมาแชร์เทคนิคที่เราลองทำตามแล้วได้ผลให้น้องๆ ทุกคนลองนำไปทำตามดู   ว่าแล้วก็ไปดูกันเลย! 1.ตั้งใจฟังอาจารย์ สงสัยให้รีบถาม    เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่น้องๆ ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าในชีวิตจริง ก็ยังคงมีหลายๆ คนที่รู้สึกว่า ไม่อยากฟังอาจารย์พูดแล้ว! เดี๋ยวค่อยไปอ่านเอาเองทีหลังก็ได้ แต่การไปอ่านเอาเองทีหลังก็อาจทำให้น้องๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาเท่าที่อาจารย์สอน เพราะอาจมีเนื้อหาบางส่วนที่อาจารย์เน้นเป็นพิเศษเพราะออกสอบเยอะด้วย แถมถ้าน้องๆ ไม่ฟังอาจารย์ในคาบ ก็จะถามตรงจุดที่สงสัยไม่ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ยอมฟังแล้วไปอ่านเอาเองก็อาจไม่ได้คะแนนเท่าคนที่ตั้งใจฟังอาจารย์สอนก็ได้นะ! 2.อ่านหนังสือแล้วไม่เคลียร์ให้รีบจดคำถามไว้กันลืม   เวลาที่น้องๆ อ่านหนังสือทบทวนด้วยตัวเอง แน่นอนว่าคงมีหลายจุดที่อ่านแล้วไม่เข้าใจ สงสัยขึ้นมา ขอแนะนำให้รีบจดคำถามนั้นใส่กระดาษหรือโน้ตไว้เลย เพราะถ้าเราอ่านหนังสือนานๆ จนเกิดข้อสงสัยหลายๆ จุดขึ้นมา กว่าจะอ่านจบ น้องๆ ก็อาจจะลืมสิ่งที่ตัวเองสงสัยไปแล้วหรือสับสนว่าเราสงสัยอะไรกันแน่ ถ้าเรารีบจดไว้ ก็จะทำให้ไม่ลืม แล้วก็ไปหาคำตอบเองทีหลังได้ หรือถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ก็ยังเอาคำถามพวกนี้ไปถามอาจารย์ต่อได้อีกด้วย วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่ดูพื้นๆ เป็นวิธีอุดจุดบอดที่ดีมากๆ เลย 3.อ่านหนังสือหลายๆ เล่มเทียบกัน ไม่อ่านเล่มเดียว   ในคณะอักษร เราถูกสอนมาให้ตรวจสอบแหล่งข้อมูลและความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ ทำให้เด็กอักษรมักไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมักหาข้อมูลจากหลายๆ ที่ เวลาอ่านหนังสือก็มักจะอ่านหลายๆ เล่ม แม้จะเป็นเนื้อหาเดียวกันก็ตาม   แต่จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเดียวกันหลายๆ เล่มยังมีประโยชน์มากกว่าการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอีกนะ! เพราะการอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ทำให้เราวิเคราะห์เนื้อหาที่เรามีอยู่แล้วในหัวโดยอัตโนมัติว่า ตรงนี้ที่เราเคยอ่านมาแล้วสินะ ตรงนี้อธิบายคล้ายกับเล่มนั้นเลยนะ ทำให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้มากขึ้น เพราะไม่ได้แค่อ่านให้ผ่านๆ ไป เฉยๆ แต่ยังคิดตามเนื้อหาที่อ่านอยู่เสมอโดยอัตโนมัติด้วย   ยังไม่พอนะ การอ่านแบบนี้น้องๆ ยังจะได้ความรู้เพิ่มขึ้นด้วย เพราะหนังสือแต่ละเล่มก็จะมีจุดที่แตกต่างกัน หนังสือเล่มนั้นอาจจะเขียนข้อมูลบางส่วนละเอียดกว่าหนังสืออีกเล่ม หนังสืออีกเล่มอาจไม่มีข้อมูลที่เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ รับรองเลยว่าอ่านไปสัก 3-4 เล่ม จะต้องเก่งขึ้นอย่างแน่นอน 4.หาวิธีสนุกกับการเรียน   เวลาที่เราทำอะไรแล้วรู้สึกสนุก ไม่ฝืน เราก็จะทำสิ่งนั้นได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน การเรียนก็เหมือนกัน น้องๆ ทุกคนควรหาวิธีเรียนที่ทำให้เรารู้สึกสนุกกับการเรียนให้ได้ แน่นอนว่ากับบางวิชาที่เราไม่ชอบ การหาวิธีสนุกกับมันก็อาจจะยาก แต่ถ้าน้องๆ หาเจอ ก็อาจจะเริ่มสนุกกับวิชาที่เราเคยเกลียดและอาจจะไปถึงขั้นชอบวิชานั้นขึ้นมาก็ได้นะ   วันนี้เราก็จะมาขอแนะนำวิธีที่เคยเห็นเพื่อนๆ ใช้กัน เปิดวิดิโอ study with me เรียนไปพร้อมๆ…
Read More

O-NET/9วิชาสามัญ ภาษาไทย มาทำให้เป็นวิชาช่วยดึงคะแนนกันดีกว่า!

9วิชาสามัญ, O-NET, ภาษาไทย
สวัสดีจ้า กลับมาพบกันอีกแล้ว กำลังเตรียมตัวสอบ O-NET/9วิชาสามัญ กันอยู่ใช่หรือเปล่า วันนี้เรามาว่ากันด้วยวิชาภาษาไทยดีกว่า จริงๆเราว่าวิชาภาษาไทยก็เป็นวิชาที่แอบปวดหัวเหมือนกันนะ ไหนจะเรื่องไวยากรณ์ วรรณคดี การใช้ภาษาต่าง ๆ มากมาย ดังนั้น ถึงภาษาไทยจะเป็นภาษาแม่ก็ห้ามประมาทโดยเด็ดขาด เพราะถ้าตั้งใจทำวิชานี้ดีๆไม่ว่าจะทั้งสอบ O-NET หรือ 9วิชาสามัญ จะสามารถช่วยดึงคะแนนรวมได้ค่อนข้างเยอะ ถ้าพลาดก็น่าเสียดายเพราะอาจถูกคนอื่นได้คะแนนนำหน้าไปอย่างง่ายๆได้เลย วันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำตัวช่วยเตรียมสอบที่สำคัญมากๆ โดยเฉพาะกับคนที่อ่านไม่ทัน นั่นก็คือ โน้ตสรุปนั หัวข้อที่ออกข้อสอบบ่อยในวิชาภาษาไทย พร้อมโน้ตสรุปคัดพิเศษ! แน่นอนว่า เป็นไปได้ยากที่เราจะสามารถอ่านทุกเนื้อหาเพื่อเตรียมไปสอบ แต่วันนี้เราจะมาช่วยเก็งข้อสอบภาษาไทยให้ทุกคน หัวข้อที่คัดมานี้ถือว่าเด็ดๆทั้งนั้นเลย พิมพ์เกริ่นมายาวแล้ว เริ่มเมื่อยนิ้ว เข้าประเด็นเลยดีกว่า หัวข้อที่มีโอกาสสูงที่จะพบในข้อสอบเข้ามีตามนี้เลย หลักการใช้ภาษาไทย เช่น  ลักษณะของภาษา พยางค์และคำ คำไทย คำต่างประเทศ ฯลฯ โวหารภาพพจน์ เช่น กลยุทธ์การใช้ภาษาในวรรณคดี สุนทรียภาพ ฯลฯ การสะกดคำ คำในภาษาไทยคำง่ายๆแต่สะกดผิดกันบ่อยมีอะไรบ้าง แต่ไม่ต้องเป็นห่วงไป หากคุณเข้ามาอ่านบทความนี้เพื่อหาทางเตรียมตัวสอบภาษาไทย ไม่ว่าจะ สำหรับสอบ O-NET หรือ 9วิชาสามัญ คุณมาถูกที่แล้ว! เพราะต่อไปนี้เรามีโน้ตสรุปวิชาภาษาไทยหัวข้อต่างๆ มาฝาก ไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหนเลย เพราะสามารถอ่านจากโน้ตสรุปในแอพ Clear นี้ทั้งสิ้น!!! ซึ่งตรงนี้เราขอกระซิบบอกเลยว่า โน้ตสรุปที่เตรียมมาให้เอาไปอ่านกันนั้นเนี่ย เนื้อหาครบและปังมากกก ดังนั้นนอกจากใช้เตรียมสอบ O-NETแล้ว ยังเอาไปอ่านเตรียมสอบ 9วิชาสามัญได้อีกด้วย! สำคัญสุดคือ โน้ตเหล่านี้อ่านได้ฟรี!!! คุ้มกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ไปดูกันเลย โน้ตเล่มที่1 [9วิชา61] สรุปภาษาไทย เรื่องเสียงในภาษาไทยประเภทของคำต่าง ๆ มากมาย มาโน้ตเล่มแรกก็ปังเลย ทั้งสวย ทั้งอ่านง่าย เนื้อหาก็มีตั้งแต่พื้นฐาน อย่างเรื่องสระ ไปจนถึงชนิดของคำในภาษาไทย และประเภทของประโยค ดีงามที่สุดเลยเว้ยแก! ถ้าใครสนใจอ่านต่อก็สามารถไปดูโน้ตเล่มนี้กันเต็ม ๆ ได้ที่นี่เลย โน้ตเล่มที่2 [9วิชา] ภาษาไทย ฉบับย่อฝุดๆ รสในวรรณคดีและโวหารภาพพจน์กลวิธีการใช้คำในวรรณคดี ย่อฝุดๆ ตามชื่อจริง ๆ แต่เนื้อหาไม่ได้ย่อเลย ขอบอกว่าจัดเต็มมาก นอกจากรูปที่ให้มาด้านบนแล้วยังมี คำราชาศัพท์ การแยกคำไทยกับคำยืมภาษาต่างประเทศ มากมาย อย่ารีรอ รีบไปสูบความรู้เต็ม ๆ กันได้ที่นี่เลย โน้ตเล่มที่3 [9 วิชา] THAI 1.1 ภาษา ธรรมชาติของภาษาคำยืมภาษาต่างประเทศพร้อม โน้ตสรุปนี้สวยและอ่านง่ายมาก ๆ เนื้อหาเรื่องธรรมชาติของภาษา ลักษณะของภาษาไทย และการสร้างคำในภาษาไทย ที่เด่นคือมีการยกตัวอย่างคำยืมภาษาต่างประเทศมาให้จำเยอะมาก ๆ โน้ตสรุปเล่มนี้ไปตามอ่านกันต่อที่นี่ได้เลย โน้ตเล่มที่4 [9 วิชา] ภาษาไทย คำในชีวิตประจำวันที่คววรระวังสะกดผิดคำลักษณนามที่น่าจำ โน้ตเล่มนี้เนื้อหาจะต่างจากสองเล่มด้านบนนิดหน่อย แต่ก็ดีงามไม่แพ้กันเพราะมีรวมคำในภาษาไทยที่มักสะกดผิดเอาไว้ให้ทวนกันก่อนสอบ…
Read More