รวมเด็ด! 6 โน้ตสรุปภาษาญี่ปุ่นในแอป Clearnote

รวมเด็ด! 6 โน้ตสรุปภาษาญี่ปุ่นในแอป Clearnote

GAT/PAT, PAT7, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, รีวิว, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, เรียนภาษาญี่ปุ่น, แอป Clearnote
  สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน รู้รึเปล่าว่าแอป Clearnote ไม่ได้มีแต่สรุปวิชา คณิค วิทย์ เคมี ชีวะ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยนะ แต่ยังมีสรุปวิชาอื่นๆ และภาษาอื่นๆ อีกด้วย!   วันนี้บล็อก Clearnote ของเราจะขอมาแนะนำ "โน้ตสรุปภาษาญี่ปุ่น" สุดปัง น่าอ่าน แถมยังได้ความรู้ไปสอบกลางภาค สอบปลายภาค Pat 7.3 สอบวัดระดับกันแบบเต็มๆ ไปเลย 1.Click To Learn[เรียนออนไลน์]สำนวนทักทาย,แนะนำตัว โดย TOEY_🌚tone   โน้ตสรุปนี้เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มเรียน เพราะรวมสำนวนแนะนำตัว ทักทาย ขอโทษ แสดงความยินดี ตอบรับอย่างง่ายๆ ไว้ครบ แถมมีคำอ่านเป็นโรมาจิให้ด้วย เพราะฉะนั้นถึงจะอ่านตัวฮิรางานะไม่ออกก็ไม่เป็นไร แถมรูปประกอบยังน่ารักด้วย (น้งหมี!) ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: Click To Learn[เรียนออนไลน์]สำนวนทักทาย,แนะนำตัว 2.คำช่วยญี่ปุ่น は を が/ に へ で/と の から~まで โดย ちふゆくん   คำช่วยเป็นอะไรที่ขาดไม่ได้ในการใช้ภาษาญี่ปุ่น แต่ก็ใช้ยากใช้เล่น ใครที่ยังสับสน งงๆ กับวิธีใช้คำช่วยก็ขอให้ลองไปอ่านสรุปนี้กันเลย เพราะสรุปได้เข้าใจง่าย สวยน่าอ่านมากๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: 1.คำช่วยญี่ปุ่น は を が/ 2.คำช่วยญี่ปุ่น に へ で/ 3.คำช่วยญี่ปุ่น と の から~まで 3.สรุปมินนะ เล่ม 1-2-3 โดย IG : bxstudy_   ใครใช้มินนะเรียนแล้วอยากได้สรุปไวยากรณ์คร่าวๆ ว่ามีอะไรบ้าง สั้นๆ อ่านทบทวนง่ายๆ คลิกเข้าไปอ่านโลด สรุปได้เข้าใจง่าย สะอาด สวยงามมากๆ ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: 1.สรุปมินนะ เล่ม 1 /2.สรุปมินนะ เล่ม 2 /3.สรุปมินนะ เล่ม 3 4.แนวข้อสอบภาษาญี่ปุ่น7.3พร้อมเฉลยข้อสอบอย่างละเอียด(1) โดย Clicktolearn   อ่านเนื้อหาไปแล้ว มาลองทำข้อสอบกันบ้าง โน้ตสรุปนี้เป็นโน้ตสรุปเฉลยข้อสอบ Pat 7.3 เก่าจากติวเตอร์โดยตรงเลย ใครอยากดูแนวข้อาอบ แนวคำตอบก่อนฝึกทำโจทย์จริงด้วยจัวเอง ควรเข้ามาอ่านมากๆ เพราะจะทำให้จับแนวข้อสอบได้มากขึ้น! ลิงก์ไปอ่านโน้ตสรุป: แนวข้อสอบภาษาญี่ปุ่น7.3พร้อมเฉลยข้อสอบอย่างละเอียด(1) 5.ตารางสกรรมกริยาอกรรมกริยาที่ออกข้อสอบPAT7.3 โดย Clicktolearn   เชื่อว่าใครเรียนภาษาญี่ปุ่นต้องมีตอนที่จำไม่ได้หรือสับสน สกรรมกริยา อกรรมกริยาตัวร้าย!โน้ตสรุปนี้ได้รวบรวมสกรรม อกรรมกริยาที่มักออกสอบในPat7.3มาให้ดูง่ายๆ แล้ว พร้อมคำแปลแบบครบๆ แถมตัวอย่างการใช้ อ่านแล้วฝึกใช้บ่อยๆ รับรองต้องจำได้มากขึ้นแน่ๆ…
Read More

เพลย์ลิสต์ปัง ๆ ฟังเพลิน ๆ ตอนติว

Uncategorized
สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับบทความนี้นะคะในบทความนี้เราเชื่อว่าในตอนนี้เองน้อง ๆ ทุกคนต่างก็ต้องกลับเข้าไปเรียนที่โรงเรียนเหมือนเดิมแล้วซึ่งการกลับที่ไปเรียนที่โรงเรียนเนี่ยก็อาจจะเครียดไม่น้อยเลยสำหรับใครหลายๆคนไหนจะการบ้านที่เพิ่มขึ้นหรือ ความพยายามที่จะต้องอ่านหนังสือเพราะว่าต้องกลับมาสอบเป็นปกติแล้ว ในวันนี้พี่ ๆ ทีมงานก็อยากจะแนะนำ Playlist บน spotify ที่จะช่วยพวกเราในการลดความเครียดและเพิ่มสมาธิในระหว่างการอ่านหนังสือหรือทำการบ้านนั่นเองค่ะ ไม่แน่ใจเหมือนกันนะคะว่าปกติแล้วทุกๆคนฟังเพลงกันระหว่างอ่านหนังสือหรือเปล่าแต่สำหรับพี่แล้วฟังเป็นประจำทุกวันเลยค่ะเพราะว่ามีงานวิจัยหลายงานค่ะที่วิจัยมาแล้วว่าดนตรีนั้นมีผลโดยตรงกับคลื่นสมองซึ่งถ้าเราเลือกฟังดนตรีทุกประเภทก็จะช่วยให้สมองมีความผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ ถ้าพร้อมแล้ว ก็ขอแนะนำ Playlist Spotify ทั้ง 5 Playlist นี้เพื่อให้น้อง ๆ ได้ไปเปิดฟังระหว่างอ่านหนังสือกันเลยถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะว่ามี Playlist อะไรบ้าง 1. Brain Food  สำหรับ Playlist นี้นะคะขอแนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ต้องใช้สมาธิในการอ่านหนังสือมากๆเลยค่ะเพราะว่า Playlist นี้นะคะเป็น Playlist รวมเพลงสำหรับการจดจ่อโดยเพลงทุกเพลงนะคะจะเป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้องค่ะเรียกได้ว่าแต่ละช่วงทำนองจะพาเราลอยละล่องไปยังห้วงแห่งสมาธิได้อย่างแน่นอนเลยค่ะ คลิกฟังเพลงใน Playlist ได้ที่นี่เลย 2. Chill Tracks  สำหรับ Playlist นี้นะคะก็เป็นไปตามชื่อเลยค่ะแต่ส่วนมากจะเป็นเพลงแนวสบายๆชิวๆช่วยให้เราผ่อนคลายระหว่างอ่านหนังสือค่ะสำหรับเพลงนี้อาจจะไม่ได้ช่วยให้เราโฟกัสได้เท่ากับเพริสด้านบนนะคะแต่ว่า ก็จะช่วยให้เราผ่อนคลายได้มากขึ้นค่ะก็จะมีบางเพลงใน Playlist นี้นะคะที่จะมีเนื้อร้อง แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะเพราะว่าเนื้อร้องนี้ก็จะเป็นเนื้อร้องที่สบายๆไม่ได้หนักหน่วงอะไรเหมาะสำหรับการเปิดคลอเพื่อทำการบ้านหรืออ่านหนังสือไปด้วยค่ะ  คลิกฟังเพลงใน Playlist ได้ที่นี่เลย 3. Totally Stress Free สำหรับ Playlist ที่สร้างขึ้นโดย Application spotify Playlist นี้นะคะมีความยาวทั้งสิ้นกว่า 5 ชั่วโมงซึ่งเพลงแต่ละเพลงใน Playlist นี้ก็จะเป็นเพลงสบายๆที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดก็จะมีเพลงที่มีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้องสลับกันไปค่ะ ส่วนมากเพลงใน Playlist นี้ก็จะเป็นท่วงทำนองที่นุ่มๆฟังสบายๆ และก็จะมีบางเพลงที่มีจังหวะที่สดใสค่ะ คลิกฟังเพลงใน Playlist ได้ที่นี่เลย 4. House Focus  สำหรับ Playlist ที่สร้างขึ้นบน spotify Playlist นี้นะคะมีความยาวทั้งสิ้น 6 ชั่วโมงค่ะ ซึ่งเพลงทุกเพลงบน Playlist นี้นะคะก็จะมีความพิเศษอยู่ตรงที่ว่าจะเน้นจังหวะที่ค่อนข้างรวดเร็วทำให้เรารู้สึกกระฉับกระเฉงขึ้นมานั่นเองค่ะและที่พิเศษที่สุดเลยก็คือเพลงทุกเพลงใน Playlist นี้จะไม่มีเนื้อร้องค่ะรับรองได้เลยว่าเราจะไม่เสียสมาธิเพราะเนื้อร้องแน่นอนค่ะแถมยังสามารถฟังเพลงได้ยาวๆตั้ง 6 ชั่วโมงรีบไปตำกันเลยนะคะสำหรับสายที่ชอบฟังเพลงระหว่างอ่านหนังสือยาวๆค่ะ คลิกฟังเพลงใน Playlist ได้ที่นี่เลย 5. Trabajo Relax  สำหรับ Playlist มีบน Spotify นะคะก็ขอบอกได้เลยว่าเหมาะสำหรับทุกๆกิจกรรมเลยค่ะไม่ว่าจะเป็นระหว่างทำงานบ้านก่อนนอนหรือว่าเรียน หรือทำการบ้านส่งนะคะเพราะว่าเป็น Playlist ที่ช่วยลดความเครียดของเราค่ะ ถ้าใครเครียดๆอยู่ก็ลองฟังกันก่อนได้นะคะ เผื่อที่จะ ให้บทเพลงใน Playlist นี้ทำให้วันนี้เป็นวันที่ดีสำหรับคุณค่ะ คลิกฟังเพลงใน Playlist ได้ที่นี่เลย สุดท้ายนี้แล้วหากใครได้ลองไปเปิดฟังเพลง List ต่างๆเหล่านี้ดูแล้วชอบหรือไม่ชอบหรือได้ผลระหว่างการอ่านหนังสือบ้างหรือเปล่าก็อย่าลืมทิ้งคอมเมนท์ไว้ได้ที่ใต้บทความนี้ได้เลยนะคะ และสำหรับน้องคนไหนที่มี Playlist ที่ถูกใจอยากจะมาแนะนำก็สามารถแนะนำกันได้ผ่านทาง comment ใต้บทความนี้เช่นกันค่ะ สำหรับวันนี้ก็คงจะฝากไว้เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ
Read More
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part2: แนะนำหนังสือ+เว็บ เตรียมสอบ N5-N4)

วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part2: แนะนำหนังสือ+เว็บ เตรียมสอบ N5-N4)

GAT/PAT, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, หนังสือ, เรียนภาษาญี่ปุ่น
  สวัสดีจ้า กลับมาพบกับวิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษรกันอีกแล้ว วันนี้ก็เข้าสู่ part 2 แล้ว part นี้ เราจะแนะนำหนังสือ เว็บที่เราใช้ตอนอ่านสอบ N5-N4 กัน! (N3 กับ Pat 7.3 ข้อแบ่งไป Part หน้า เพราะเนื้อหาเยอะมาก) สอบวัดระดับ N5   สอบวัดระดับ N5 ค่อนข้างเบสิค เนื้อหาที่ออกสอบมีแค่คำศัพท์พยางค์สองพยางค์ (แต่มีทั้งคาตาคานะและฮิรางานะ นะ)ไวยากรณ์ไม่ซับซ้อน คันจิวัน คันจิตัวเลข ใหม่ เก่า ตอนเช้า ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน พาร์ทฟังก็มีแต่ทักทาย วลีแบบเบสิค ไม่ค่อยยาก แต่เราก็กลัวสอบไม่ผ่าน ก็เลยอ่านไปเผื่อๆ อ่าน มินนะ โนะ นิฮงโกะ เล่ม 1 กับ เล่ม 2 แล้วก็อะกิโกะ โตะ โทะโมะดะจิ เล่ม 1-3   คันจิก็ยึดจากในอะกิโกะเป็นส่วนใหญ่ เพราะมินนะไม่ได้มีสอนวิธีเขียนคันจิให้ คือไม่ใช่ว่ามินนะไม่มีคันจิเลย แต่มินนะโยนคำศัพท์ที่มีคันจิให้จำทั้งดุ้น โดยที่ไม่มีที่มาที่ไป ถ้าไม่ได้เรียนภาษาจีนมาก่อน เราว่ามันเข้าใจยากมากเลยนะ   เทียบกันแล้วอะกิโกะอาจจะมีคันจิให้น้อยว่า แต่ว่ามีลำดับขีด ตัวอย่างคำศัพท์ ความหมาย เสียงอ่านให้ ดูแล้วเข้าใจง่ายกว่ามาก ทางซ้ายคือหนังสืออะกิโกะ ทางขวาคือหนังสือมินนะ   แต่เวลาคัดคันจิรวมๆ ก่อนไปสอบ จะให้มานั่งเปิดหนังสือก็ขี้เกียจ เราเลยดู list คันจิ N5 จากใน เว็บนี้   เว็บนี้มี list Grammar คำศัพท์ วลีที่ใช้บ่อยๆ แยกตามระดับ N5-N2 ให้ด้วย Quiz ก็มีแต่อาจจะไม่เยอะเท่าไร เดี๋ยวนี้ Jeducation เขาทำรวมคันจิ N5 เวอร์ชั่นภาษาไทยแล้วด้วย ถ้าใครไม่ถนัดอิ้งก็ลองดูอันนี้ได้ คลิกดู (แต่เวอร์ชั่นนี้ไม่มีตัวอย่างคำศัพท์ให้)   ส่วนศัพท์ระดับ 5 ภาษาญี่ปุ่นสำหรับ JLPT เล่มนี้ไม่ได้แบบว่าต้องมีขนาดนั้น แต่ว่าเวลาไปโรงเรียน เดินทางไม่มีอะไรทำนอกจากเล่นโทรศัพท์ เราก็เลยลองซื้อหนังสือรวมคำศัพท์ N5 มาท่องดู เพราะเล่มเล็ก พกสะดวก เราว่าใช้ได้เลย มีตัวอย่างการใช้ คำที่เกี่ยวข้องให้ด้วย   ส่วนก่อนสอบอาจจะมีอารมณ์ไม่มั่นใจ อยากทวนเนื้อหาทั้งหมดแล้วก็ทำข้อสอบ เราอ่าน TRY! เตรียมสอบวัดระดับ JLPT N5 เพราะเขารวมเนื้อหาไว้ค่อนข้างครบ ทั้งไวยากรณ์ คำศัพท์ คำช่วย ตัวอย่างข้อสอบ มีข้อสอบฟัง มี CD แถมมาให้ด้วย ลิงก์ไปซื้อหนังสือ TRY! เตรียมสอบวัดระดับ…
Read More
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร

9วิชาสามัญ, GAT/PAT, รีวิวคณะในฝัน, อาชีพ
วิธีค้นหาตัวเองว่าอยากทำอะไร             สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้คิดว่าหลาย ๆ คนก็คงจะยังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้านกันกับครอบครัวใช่ไหมคะ แล้วบทสนทนาส่วนใหญ่ที่พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่จะคุยก็หนีไม่พ้นไปจากถามว่า “โตขึ้นอยากทำอะไร” “จบม.ปลายไปจะไปเรียนอะไร” “จบมหาลัยแล้วจะทำงานอะไร” ฯลฯ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คน (รวมถึงผู้เขียน) พอโดนถามก็ตอบไม่ถูก เพราะก็ยังไม่รู้ว่าอยากทำอะไรจริง ๆ หรือยังค้นหาตัวเองไม่เจอ และคำตอบนี้ของเราก็ไม่ใช่แค่ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ คิดว่าเราเป็นคนไม่มีเป้าหมายเท่านั้น แต่ตัวเราเองก็เกิดความไม่มั่นใจกับอนาคตตัวเองด้วย             จริง ๆ แล้วผู้เขียที่ตอนนี้ก็ยังเป็นนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่ Clearnote และเป็นหนึ่งในคนที่โดนถามด้วยคำถามเหล่านี้ ก็ยังไม่มีแผนการที่แน่ชัดกับอนาคตตัวเอง แต่ในฐานะที่เคยตัดสินใจเส้นทางชีวิตสำคัญ ๆ ของตัวเองมา 2 ครั้ง คือ 1.ตอนที่เลือกสายการเรียนและโรงเรียนม.ปลาย กับ 2. ตอนที่เลือกคณะ มหาวิทยาลัย ป.ตรี เรามีวิธียังไงที่จะช่วยค้นหาตัวตนได้ ไปดูกันเลย !             1. สังเกตตัวเองว่าชอบอะไร             เรียกได้ว่าเป็นวิธีเบสิคที่สุดเลยทีเดียว โดยเราอาจสังเกตดูก็ได้ว่าเราชอบเรียนวิชาอะไร (หรือถ้าไม่รู้ตัวเอง เราอาจดูก็ได้ว่าวิชาไหนที่เรารอ อยากจะเรียนคาบต่อไป) หรือถ้าไม่มีวิชาที่ชอบเป็นพิเศษก็อาจจะหาวิชาที่ทำได้ดี ได้รับคำชมเยอะ หรือก็คือวิชาที่ถนัดนั่นเอง วิธีนี้แน่นอนว่าใช้ได้ไม่ใช่แค่กับวิชาเท่านั้น ยังใช้ได้กับกิจกรรมต่าง ๆ ก็ได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกม เล่นดนตรี ทำขนม ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ             เมื่อเรารู้ตัวเองแล้วว่าชอบอะไรก็ลองตั้งคำถามกับตัวเองก็ได้ว่า เราจะสามารถเอาสิ่งนี้มาเป็นงานได้ไหม หรือสิ่งนี้ ทักษะนี้สามารถเอาไปพัฒนา ต่อยอดเป็นอาชีพอะไรได้บ้าง             2. สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร             จากข้อที่แล้วที่ให้สังเกตว่าตัวเองไม่ชอบอะไร แล้วก็มาดูข้อตรงข้ามกันบ้างก็คือสังเกตว่าตัวเองไม่ชอบ ไม่ถนัด หรือทำอะไรไม่ได้บ้าง อย่างผู้เขียนเป็นคนที่เรียนเลขได้ แต่เรียนวิทย์ หรืออะไรที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีไม่ได้เลย ดังนั้นผู้เขียนเลยเลือกเรียนสายศิลป์ซึ่งเป็นทางที่ผู้เขียนมั่นใจและถนัด นอกจากนี้อาจสังเกตว่าเรากลัวอะไรก็ได้ เช่น ถ้าเป็นคนกลัวเลือดก็อาจจะต้องทำใจว่าถ้าเรียนหมอก็ต้องเจอเลือดอีกเยอะ ถ้าใครใจฮึดสู้ก็ไปเลย แต่ใครไม่ไหวก็อาจต้องลองคำนึงถึง choice อาชีพอื่น ๆ             แต่แน่นอนว่าถ้าน้องคนไหนรู้ว่าตัวเองไม่ถนัด แต่ก็ยังชอบ อยากลองท้าทาย ก็แนะนำว่าลุยเลยยย ถึงเราจะไม่ได้ตอนนี้ แต่ความเก่งสร้างกันได้ ดังนั้นถ้าน้องมีความอดทน มีความพยายาม อะไรก็ไม่ยากเกินเอื้อม!             3. ถามตัวเองว่าให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิต             อยู่ ๆ ก็มาถึงเรื่องที่ดูจริงจังขึ้นมา แต่ในชีวิตจริงเราอาจลองถามตัวเองดูว่าในอีก10 20 ปีข้างหน้า เราอยากให้ตัวเองเป็นแบบไหน อยากเป็นคนที่มีเงิน อยากเป็นคนที่มีความสุข ได้ทำงานในสิ่งที่ตัวเองรัก อยากเป็นคนมีเวลา ไม่ต้องมีชีวิตรีบเร่ง อยากเป็นคนมีชื่อเสียง อยากเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ ฯลฯ ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนก็มีไม่เหมือนกัน  แต่เมื่อเรารู้ได้แล้วว่าในอนาคตเราต้องการอะไร เราให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุดในชีวิตการทำงาน และเมื่อเรารู้แล้วกรอบของอาชีพที่ตรงกับเงื่อนไขที่เราคิดก็จะแคบลง…
Read More
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)

วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)

GAT/PAT, PAT7, PAT7, TCAS, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, รีวิว, เรียนภาษาญี่ปุ่น
วิธีเรียนญี่ปุ่นสไตล์เด็กอักษร เอกญี่ ฬ (Part1: วิธีการอ่านสอบ N5-N3, Pat7.3)   สวัสดีจ้า กลับมาพบกลับบล็อก Clearnote กันอีกแล้ว บล็อกของเราก็กลับมาที่ซีรีส์เด็กอักษรกันอีกแล้ว โดยวันนี้เราก็จะมาบอกวิธีการเรียนภาษาญี่ปุ่นของเด็กอักษร จุฬา เอกญี่ปุ่นกัน ว่ารับมือกับการสอบ N5 N4 N3 Pat7.3 ยังไง!   ที่เรารวม N5-N3 กับ Pat 7.3 ไว้ด้วยกันเพราะ Pat7.3 หรือ Pat ภาษาญี่ปุ่นครอบคลุมเนื้อหาตั้งแต่ N5-N3(นิดหน่อย)นั่นเอง หนังสือที่อ่าน วิธีทบทวนก็เลยคล้ายๆ กันไปด้วย วิธีการอ่านไวยากรณ์ให้เข้าใจ   วิธีการอ่านของเราคือจะไม่อ่านหนังสือเล่มเดียว แต่จะอ่านหนังสือหลายๆ เล่ม ที่มีหัวข้อเดียวกัน แล้วก็เทียบเนื้อหาของหนังสือหลายๆ เล่มที่อ่านไปว่ามีจุดเหมือน จุดต่างกันยังไง เสร็จแล้วก็สรุปเป็นภาษาของตัวเอง ให้ตัวเองเข้าใจ เวลาที่กลับมาทบทวนตอนหลังก็จะไม่ต้องกลับไปเปิดหนังสือหลายๆ เล่มให้ปวดหัว ทำเหมือนเป็นคัมภีร์ของตัวเองไปเลย   ในรูปจะเป็นพวกคำศัพท์ ความรู้รอบตัว Idiom เพราะหาโน้ตสรุปไวยากรณ์ไม่เจอแล้ว หลายปีจัด 555 แต่จดประมาณนี้ วาดรูปได้วาดเลย เอายังไงก็ได้ให้ตัวเองเข้าใจง่ายที่สุด   อย่างตอนแรกๆ ที่เราเรียนภาษาญี่ปุ่นสมัย ม.ปลาย ตอนแรกๆ คือเรียนไม่เข้าใจเลย พวกไวยากรณ์งี้ เพราะมันก็ต่างจากภาษาไทยเยอะอยู่ ผ่านมาเทอมหนึ่งก็เริ่มตามเพื่อนไม่ทัน อาจารย์สอนอะไรเนี่ย ตอนปิดเทอมเลยอ่านทวนที่เคยเรียนมา (โรงเรียนเราใช้ Akiko to tomodachi เรียน) ทั้งเล่ม แล้วก็ไปซื้อหนังสือ Minna no nihongo มาอ่านด้วย พอเปิดเทอมไปเรียนก็เข้าใจมากขึ้นเยอะ พอเข้าใจก็เรียนสนุกมากขึ้น ชอบภาษาญี่ปุ่นมากขึ้นกว่าเดิมอีก คำศัพท์กับคันจิ ทำยังไงให้จำได้   คำตอบคือ ต้องใช้ ต้องผ่านตา เท่านั้นเลยถึงจะจำได้ ถ้าเราไม่ใช่อัจฉริยะ ถ้าไม่ได้ใช้สักสองอาทิตย์ รับรองเลยว่าต้องมีลืมบ้างจริงๆ (จนตอนนี้ได้ N1 แล้วยังลืมคันจิอยู่เลย 5555)   แต่สำหรับน้องๆ มัธยม ไม่ได้มีเพื่อนญี่ปุ่น ไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง จะทำยังไงให้จำได้ดีล่ะ?   สมัยเราเมื่อสัก 5-6 ก่อน(อดีต dek60 นี่กี่ปีแล้วเนี่ย 555) ก็คือคัดเลยจ้า คัดไปเลยเยอะๆ คัดวนไปให้มันได้ผ่านตา วิธีคัดของเราก็คือ เอากระดาษ A4 หันด้านข้าง มาพับเป็นครึ่งไปสัก 2 รอบ แบ่งกระดาษ 4 ส่วน ทำให้เราคัดได้เยอะๆ โดยไม่เปลืองกระดาษมาก   สำหรับเราเราว่ามันเป็นวิธีที่ดีนะ เพราะตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นมันเป็นตัวฮิรางานะกับคันจิ ที่มันมีลำดับขีด มีวิธีการเขียนที่ค่อนข้างตายตัว การคัดเลยไม่ใช่แค่ทำให้เราจำศัพท์ได้ แต่ยังทำให้เราลายมือสวยขึ้นมากๆๆๆ (อย่าลืมเขียนตามลำดับขีดนะ!)   ตอนแรกๆ ที่เรียน เราเขียนตัวคันจิไม่สวยด้วย…
Read More

4 โน้ตอิ้งสุดปังที่จะอัปเกรดพัง ๆ ให้สวยงาม

Uncategorized
สวัสดีค่ะทุกคนกลับมาพบกันอีกครั้งนะคะสำหรับบทความนี้ในวันนี้นะคะทาง Clearnote ก็อยากจะแนะนำโน้ตสรุปน่ารัก ๆ สดใสเหมาะกับการเตรียมสอบของน้องๆค่ะ โดยสรุปส่วนมากที่เลือกมาในวันนี้ก็จะเป็นในส่วนของวิชาภาษาอังกฤษนะคะ ซึ่งแน่นอนว่าเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษในวันนี้สามารถอ่านได้กันทั้งในระดับมัธยมต้นและในระดับมัธยมปลาย ไปจนถึงระดับอุดมศึกษาเลยค่ะ เพราะว่าไม่ว่าจะระดับชั้นไหน ๆ วิชาภาษาอังกฤษก็รวมเป็นวิชาที่มีความสำคัญมากที่สุดวิชาหนึ่งเลยนะคะ สำหรับโน้ตสรุปที่คัดเลือกมาในวันนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง อย่ารอช้ากันเลยนะคะ ไปดูกันเลยค่ะ 1. แกรมม่าภาษาอังกฤษ by M.srknmy คลิกอ่านฉบับเต็มที่นี่เลย 2. *รวม* 12 Tenses by แมวเหมียว📚 คลิกอ่านฉบับเต็มที่นี่เลย 3. สรุปอังกฤษม.ต้น🥦 by cpqstudies_🌻 คลิกอ่านฉบับเต็มที่นี่เลย 4. Vocabulary คำศัพท์ภาษาอังกฤษ Yurika_a คลิกอ่านฉบับเต็มที่นี่เลย เป็นอย่างไรกันบ้างล่ะคะสำหรับโน้ตสรุปที่ทางเราได้แนะนำกันไปในวันนี้หวังว่าความรู้ทั้งในฝั่งของ Grammar คำศัพท์และความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษอื่น ๆ จะช่วยให้น้อง ๆ ฝ่าฟันและสามารถทำข้อสอบกันได้อย่างราบรื่นนะคะพี่ๆทีมงานเคลียร์เป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ทุกคนค่ะสำหรับวันนี้พี่ ๆ ก็อยากจะฝากไว้เพียงเท่านี้โชคดีนะคะน้อง ๆ ทุกคน สวัสดีค่ะ :)
Read More
ทำยังไงให้ปิดเทอม Productive

ทำยังไงให้ปิดเทอม Productive

Uncategorized, กิจกรรม, ปิดเทอม, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ
ทำยังไงให้ปิดเทอม Produvtive            สวัสดีค่ะ น้อง ๆ ทุกคน ช่วงนี้เป็นช่วงเปิดเทอม คิดว่าน้อง ๆ หลาย ๆ คนคงกำลังพักผ่อนกันอยู่ แต่บางคนก็อาจรู้สึกว่าเรียนมาตั้งนาน จู่ ๆ พอมาพักก็รู้สึกไม่ชิน อยากหาอะไรทำ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี วันนี้ผู้เขียนเลยจะมาเสนอกิจกรรมที่จะทำให้ปิดเทอมของน้อง ๆ มีความ productive ไปดูกันเลยยย!             1. เรียนภาษาจากสื่อบันเทิง             ช่วงเปิดเทอมคงมีน้อง ๆ หลายคนที่เรียนยุ่งมาก ไม่มีเวลาดูหนังฟังเพลงเลย หรือถึงได้ดูก็ต้องดูรีบ ๆ เร็ว ๆ เพื่อที่จะไปทำงาน ทำการบ้านต่อ แต่ตอนนี้ปิดเทอมแล้ว น้อง ๆ ก็สามารถดูหนัง ดูซีรีส์ให้ฉ่ำใจได้เลย แต่ถ้าใครรู้สึกว่าดูหนังอย่างเดียวไม่productiveเลย ก็ลองมาเรียนภาษาจากหนังดูก็ได้ โดยเราอาจประยุกต์วิธีเข้ากับวิธีการเรียนภาษาของ RM วงBTS ซึ่งก็คือการดูหนัง ดูซีรีส์ ทั้งหมด 3 รอบ โดยรอบแรกจะดูด้วยภาษาแม่ รอบที่ 2 ดูแล้วเปิดซับอังกฤษ รอบที่ 3 ดูไปเลยแบบไม่เปิดซับ โดยวิธีนี้แน่นอนว่าใช้ได้ไม่ใช่แค่กับหนังหรือซีรีส์ แต่ยังใช้ได้กับอนิเมะหรือวาไรตี้ก็ได้ เรียกได้ว่าได้ทั้งความบันเทิง ได้ทั้งความรู้ คุ้มสุด ๆ             2. หาคอร์สเรียนออนไลน์เพิ่ม             หลาย ๆ คนพอเห็นหัวข้อนี้คงแอบมองบน คิดว่าแค่นี้ก็เรียนออนไลน์ของที่โรงเรียนมามากพอแล้วใช่ไหม5555 แต่ผู้เขียนคิดว่าปิดเทอมก็เป็นโอกาสดีที่จะได้ลองเรียนอะไรที่เราอยากรู้ หรือไม่เคยเรียนมาก่อน โดยน้อง ๆ สามารถหาคอร์สเรียนออนไลน์ได้ทางเว็บ Coursera ซึ่งเมื่อเรียนแล้ว นอกจากจะได้รับความรู้แล้ว ยังได้รับใบ Certificate หรือใบรับรองด้วย หรือถ้าใครไม่คุ้นหรืออยากเรียนเป็นภาษาไทยก็มีคอร์สของSpace by CBS CHULA หรือก็คือคอร์สออนไลน์ระยะสั้นที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เปิดสอนให้กับบุคคลภายนอก (อย่างผู้เขียนก็ได้ลงคอร์ส excel กับคอร์สการตลาดไป เพราะไม่มีโอกาสได้เรียนที่มหาวิทยาลัยสักที) นอกจากนี้น้อง ๆ สายวิทย์ก็อาจลองมาเรียนวิชาภาษาที่ 3 เพิ่ม หรือน้องสายศิลป์อาจลองเรียนวิชาของสายวิทย์ดูได้ โดยค้นหาจาก Clearnote ก็ได้ (ขออนุญาตขายของ555)             โดยการเรียนเพิ่มเติมในสิ่งที่เราอยากรู้หรือได้ลองผิดลองถูก ทำสิ่งใหม่ ๆ ก็จะเป็นตัวช่วยในการค้นหาตัวเอง ได้รู้ว่าจริง ๆ เราอยากเรียนต่อด้านนี้ สาขานี้ คณะนี้จริง ๆ หรือเปล่า มีอย่างอื่นที่ชอบมากกว่าไหม หรือได้รู้ว่าเราเรียนอะไรไปแล้วไม่มีความสุข ไม่อยากเรียน ก็จะได้เลี่ยงได้             3. เข้าคลาส Workshop             เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลายและสร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี น้อง ๆ อาจหากิจกรรม…
Read More
คัดมาเน้นๆ!  5 โน้ตสรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ในแอป Clearnote

คัดมาเน้นๆ! 5 โน้ตสรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ในแอป Clearnote

English, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, TCAS, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สอบเข้าม.ปลาย, แอป Clearnote
คัดมาเน้นๆ! 5 โน้ตสรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ในแอป Clearnote   สวัสดีจ้า น้องๆ ทุกคน กลับมาพบกับบล็อกจาก Clearnote กันอีกแล้ว วันนี้บล็อกของเราได้รวบรวมโน้ตสรุป Grammar จาก App Clearnote สุดปัง สุดยอด ดีเลิศ เด็ดขาด อันดับหนึ่ง ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ มาไว้ให้น้องๆ เข้าไปอ่านกันได้เลย สำหรับคนที่อยากทวน Grammar โดยเฉพาะ! 1.New English Grammar 1-3 โดย PREMZ PLAY   โน้ตสรุปรวม Grammar ตั้งแต่ ม.4 - ม.6 จุกๆ ทั้งหมด 3 เล่ม ที่สุดยอดมากๆ เพราะรวมเนื้อหา Grmmar ไว้ได้ครบและจบจริงๆ แถมยังตกแต่งได้สวย น่าอ่านมากๆ อธิบายเข้าใจง่ายๆ มีตัวอย่างประโยคประกอบพร้อมรูป   แต่ที่ทาง Clearnote ถูกใจสุดๆ คือ สัญลักษณ์ที่แสดงว่า tense นั้นใช้พูดถึงเหตุการที่ดำเนินในเวลาไหน ตรงนี้เข้าใจง่ายมากๆ ในตอนที่อ่านครั้งแรก ที่สำคัญเวลากลับมาทวน แค่มองสัญลักษณ์ตรงนี้ก็ทำให้นึกออกได้ง่ายๆ เลย   สำหรับใครที่อยากทวน Grammar ภาษาอังกฤษแต่ไม่รู้จะเริ่มอ่านอะไรก่อน ก็ขอแนะนำให้อ่านสรุปทั้ง 3 เล่มนี้เลยจ้า เพราะรวมเนื้อหาไว้ได้ครบมากๆ ลิงก์ไปอ่าน New English Grammar เล่ม 1 📌 สรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ม.4 (ปรับปรุงล่าสุด) เล่ม 2 📌 สรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ม.5 (ปรับปรุงล่าสุด) เล่ม 3 📌 สรุป Grammar ภาษาอังกฤษ ม.6 (ปรับปรุงล่าสุด) 2.เทคนิคแกรมม่า จำ 12 Tenses ใน 10 นาที โดย MyLearnVille   จริงๆ แล้วใน Clearnote ไม่ได้มีแต่โน้ตสรุปให้อ่านนะ แต่ยังมีวิดิโอสอนจากติวเตอร์อีกด้วย อย่างวิดิโอนี้เป็นวิดิโอสอนสอนเทคนิคการจำ 12 tenses ใน 10 นาที โดยติวเตอร์จาก MyLearnVille   น้องๆ คนไหนอ่านเรื่อง tenses แล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่จำไม่ได้เพราะไม่รู้จะจับหลักอะไร ขอแนะนำให้ดูวิดิโอนี้เลย…
Read More
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม

9วิชาสามัญ, English, GAT, GAT ENG, GAT/PAT, O-NET, PAT1, PAT2, PAT7, PAT7, ภาษาญี่ปุ่น, ภาษาที่3, ภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, สอบเข้าม.ปลาย
เจาะลึกเคล็ดลับทำข้อสอบเก่ายังไงให้ต๊าชชช ฉบับเด็กเตรียม                สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็ก้าวเข้าสู่ช่วงปิดเทอมเล็กแล้ว คิดว่าคงมีน้อง ๆ มัธยมหลายคนใช้ช่วงเวลานี้ในการอ่านหนังสือเตรียมสอบทั้งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าโรงเรียนดัง ช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้เขียนเริ่มอ่านหนังสือเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแบบจริงจังเหมือนกัน (แต่ย้อนไปหลายปีหน่อย5555)                แต่ด้วยความที่ตอนม.ต้น ผู้เขียนเป็นคนที่เรียนระดับปานกลาง ไม่ได้เก่งอะไร อ่านหนังสือก็อ่านเฉพาะแค่ตอนเตรียมสอบมิดเทอม ไฟนอลของที่โรงเรียน เลยไม่รู้จะเตรียมตัวอ่านหนังสือเพื่อสอบแข่งขันกับคนอื่นยังไงดี ลองผิดลองถูกสารพัดจนในที่สุดก็สอบติดโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา(เยส!) วันนี้ผู้เขียนเลยอยากมาแนะนำเคล็ดลับการเรียนที่สำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือเคล็ดลับการทำข้อสอบเก่ายังไงให้พอไปสอบจริงแล้วคะแนนพุ่ง 1.  อ่านหนังสือก่อนแล้วค่อยทำข้อสอบเก่า                ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วเป็นพื้นฐานเบสิกรึเปล่า แต่ผู้เขียนเคยพลาดตรงนี้มาแล้ว5555 ตอนนั้นผู้เขียนคิดว่าถ้าทำข้อสอบเก่าก่อนก็จะทำให้สร้างความคุ้นเคย รู้ว่าข้อสอบจะออกประเด็นไหนบ้าง เลยบุกตะลุยทำข้อสอบเก่ารัว ๆ เลย แต่พอทำแล้วก็รู้ว่าไม่เวิร์กเลย                ถ้าถามว่าทำไมวิธีนี้ไม่เวิร์กก็เพราะว่าผู้เขียนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าประเด็นที่ผู้เขียนผิดมันคืออะไรและควรไปหาอ่านจากที่ไหนเพิ่ม5555 นอกจากนี้พอทำข้อสอบเก่าผิด ได้คะแนนน้อยหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รู้สึกเฟล ท้อ หมดกำลังใจไปพักใหญ่ ๆ จนมาเปลี่ยนวิธีอีกครั้งเป็นการอ่านหนังสือก่อน (หรือเรียนพิเศษก่อน) แล้วมาทำข้อสอบเก่า                วิธีนี้นอกจากเราจะมีความรู้พื้นฐานที่จะเอามาใช้ทำข้อสอบเก่าได้แล้ว ยังเหมือนเป็นการเอาความรู้ที่เราได้รับจากหนังสือมาประยุกต์ พลิกแพลงปรับใช้กับโจทย์ เหมือนได้ทบทวนและต่อยอดจากความรู้เดิมไปในตัว 2. กลับไปทบทวนข้อที่ผิด                คิดว่าเป็นเทคนิคพื้นฐานอีกเหมือนกัน แต่น้อง ๆ หลาย ๆ คนอาจขี้เกียจทำกัน แต่ขอบอกเลยว่าวิธีนี้จะช่วยให้คะแนนเราพุ่งขึ้นแบบคาดไม่ถึงเลย โดยการกลับไปทบทวนประเด็นข้อที่ผิดก็เหมือนกับการไปซ่อมแซม อุดช่องโหว่ในประเด็นที่เรายังไม่แน่นพอ โดยอาจกลับไปอ่านย้ำพื้นฐานอีกรอบ หรือถ้าผิดเพราะประยุกต์ใช้ไม่ได้ก็กลับไปทำแบบฝึกหัดเจาะหัวข้อนั้น ๆ ให้คล่อง 3. ข้อไหนมั่วทำสัญลักษณ์เอาไว้                เป็นเทคนิคที่ผู้เขียนใช้เวลาทำข้อสอบเก่าบ่อยมากเวลาไม่มั่นใจว่าข้อนี้จะตอบถูกไหมหรือตอนที่มั่วคำตอบ (รู้เลยว่าเป็นคนยังไง5555) เพราะเราเป็นคนที่ถ้าดูเฉลยแล้วตัวเองตอบผิดก็จะกลับมาย้อนดู แต่ข้อที่ถูกเราก็จะข้าม ๆ ไป แต่ถ้าเรามั่วข้อสอบ บางครั้งคำตอบของเราก็อาจจะฟลุกถูกก็ได้ แล้วพอถูกแล้วเราก็จะข้าม ๆ เปิดผ่าน ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วเราก็อาจไม่มีความรู้หรือมีพื้นฐานประเด็นนั้นพอได้ ดังนั้นการทำสัญลักษณ์ เช่น รูปดาว รูปหัวใจเอาไว้ก็จะช่วยเตือนให้เราย้อนกลับมาดูได้ โดยเทคนี้นี้ใช้ได้ไม่ใช่แค่กับข้อที่มั่วหรือข้อที่ไม่มั่นใจเท่านั้น แต่อาจใช้กับข้อที่อยากรู้คำตอบก็ได้ 4.จับเวลาจริง                เชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้อยู่แล้วว่าต้องทำ แต่จากประสบการณ์คนรอบ ๆ ตัวหลาย ๆคน(รวมถึงตัวเองช่วงแรก ๆ )ก็ไม่กล้าจับเวลาทำข้อสอบเพราะกลัวเครียดและกดดันจนผลสอบแย่ แต่จริง ๆ แล้วการจับเวลาจริงขณะทำข้อสอบเก่าจะสร้างความเคยชินว่าข้อสอบพาร์ทนี้ควรใช้เวลาเท่านี้ ๆ ควรบริหารเวลาแบบนี้ ๆ  ความเคยชินนี้เองก็จะช่วยทำให้ตอนทำข้อสอบจริงไม่ลก ไม่กระวนกระวาย 5. จดคะแนนแล้วทำข้อสอบอีกครั้ง                เทคนิคนี้ก็ตามชื่อเลย ก่อนอื่นตอนทำข้อสอบเก่าให้เขียนคำตอบแยกไว้ในกระดาษอีกแผ่นหนึ่งเพื่อที่จะได้กลับมาทำข้อสอบชุดนั้นได้หลาย ๆ รอบ จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้จดคะแนนที่ทำได้ทุก ๆ ครั้งเอาไว้เป็นเหมือนสถิติ ซึ่งวิธีนี้ก็จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของตัวเองว่าดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง ถ้าคะแนนดีขึ้นก็จะเป็นแรงบันดาลใจว่าความพยายามของเราส่งผลแล้ว แต่ถ้าคะแนนแย่ลงก็จะทำให้เราได้สังเกตและรู้ตัวเองได้ทัน สามารถไปปรับแก้ได้ ไม่สายเกินไป โดยส่วนตัวผู้เขียนขอแนะนำให้เว้นระยะเวลาทำข้อสอบหนึ่งชุดเป็นเวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์…
Read More
ทำไมถึงไม่ควรโต้รุ่งอ่านหนังสือ?!

ทำไมถึงไม่ควรโต้รุ่งอ่านหนังสือ?!

Uncategorized, สอบกลางภาค, สอบปลายภาค, สุขภาพและความงาม, หนังสือ
  สวัสดีจ้า มาพบกันกับบล็อกจาก Clearnote กันอีกแล้ว~   น้องๆ หลายคนยังอยู่ในช่วงสอบปลายภาคหรือเพิ่งจะสอบปลายภาคเสร็จกันไป ช่วงนี้หลายๆ คนก็คงต้องอ่านหนังสือกันหนักมากๆ แบบหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาทำอะไรอย่างอื่นเท่าไร หรือบางคนก็อาจจะถึงขนาดโต้รุ่งกันเลยทีเดียว! (แอบเห็นในทวิตมานะ!)   แต่จริงๆ แล้วการโต้รุ่งอ่านหนังสือมันจะช่วยให้เราสอบได้คะแนนดีขึ้นจริงๆ หรอ?   ในระยะสั้นๆ อาจจะมีผลเสียแค่เหนื่อยๆ เท่านั้น แต่ในระยะยาวล่ะ? ร่างกายของเราจะ ok รึเปล่านะ?   วันนี้ Clearnote ของเราจะพาไปดูกันเลย! การนอนหลับสำคัญกับร่างกายอย่างไร?   การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับมนุษย์อย่างเราๆ การนอนหลับช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้า เป็นเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ และยังช่วยให้ฮอร์โมนต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานของร่างกาย ทำงานได้อย่างเป็นปกติอีกด้วย เพื่อจะได้ตื่นมาใช้ชีวิตตอนกลางวันได้อย่างแข็งแรง แล้วการนอนหลับส่งผลต่อสมองยังไงบ้าง?   นอกจากนี้เวลาที่เรานอนหลับ ยังเป็นเวลาที่สมองกำจัดของเสียต่างๆ เช่น โปรตีนที่ไม่ต้องการออกไปจากสมอง (โปรตีนส่วนหนึ่งที่ถูกกำจัดออกไป ก็เป็นโปรตีนที่ทำให้สมองเสื่อม และเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ด้วย) เป็นช่วงเวลาที่สมองจัดการลบข้อมูลที่ไม่ต้องการ ข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ และยังเป็นช่วงเวลาที่สมองเปลี่ยนความทรงจำระยะสั้นเป็นความทรงจำระยะยาวอีกด้วย   นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับ สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์หรือระบบลิมบิก(Limbic system) จะมีการทำงานมากขึ้น ซึ่งการทำงานนี้จะช่วยให้เราตื่นมามีอารมณ์ปกติ ไม่หงุดหงิด   อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สมองจัดการ จัดระเบียบตัวเอง ให้พร้อมใช้การได้เต็มที่อีกครั้งในตอนที่เราตื่นนั่นเอง การโต้รุ่งอ่านหนังสือส่งผลยังไง   ถ้าเราโต้รุ่งอ่านหนังสือ ร่างกายและสมองของเราไม่สามารถทำงานการกระบวนการที่อธิบายไปได้บนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลต่อร่างกายและสมองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบในระยะสั้น   เริ่มจากความรู้สึกเหนื่อย ปวดเมื่อยและรู้สึกล้า เพราะกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่เหมือนกับตอนที่เราได้หลับเต็มตื่น   กับสมองยิ่งแล้วใหญ่เลย การโต้รุ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองมากๆ แถมสมองเป็นส่วนที่ควบคุมความคิด ความจำและอารมณ์ของเรา ถ้าเราไม่ได้นอนสมองก็จะไม่สามารถกำจัดโปรตีนส่วนเกินได้อย่างที่บอกไปข้างต้น ไม่สามารถจัดการ จัดระเบียบข้อมูลในสมองได้อย่างเต็มที่ สมองส่วนลิมบิกที่จัดการอารมณ์เองก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้เรารู้สึกเครียดง่าย ไม่มีสมาธิจดจ่อ ไม่สามารถใช้ความคิด ความจำได้อย่างเต็มที่   สรุปก็คือ พอเราอดนอนไปสอบ (อย่างเช่นที่ผู้เขียนเองก็เคยทำ) เราก็จะไปสอบแบบสะโหล สะเหล อ่อนเพลีย รู้สึกเครียด รู้สึกกังวลกับการสอบมากกว่าปกติ นอกจากนี้ตอนทำข้อสอบก็ยังไม่สามารถ คิด วิเคราะห์แก้โจทย์ได้อย่างเต็มที่อย่างที่ควรจะเป็น   นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่บอกอย่างชัดเจนว่า การอดนอนอาจส่งผลให้เราจดจำข้อมูลผิดๆ ได้ น้องๆ ลองคิดดูนะ อุตสาห์อ่านมาทั้งคืน แต่สุดท้ายเพราะอดนอน เลยทำให้เราจำข้อมูลผิดๆ ไปตอบข้อสอบ เสียดายแย่เลย ผลกระทบในระยะยาว   ที่สำคัญไปกว่านั้น ในระยะยาว ถ้าเราโต้รุ่งบ่อยๆ ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูงจากความเครียด หัวใจวายเฉียบพลันเพราะสมองส่วนที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ โรคอ้วนเพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล(ฮอร์โมนที่ทำให้เครียด) ฮอร์โมนเกรลิน(ฮอร์โมนที่ทำให้หิว) หลั่งออกมามากขึ้น ทำให้อยากกินมากขึ้น เป็นต้น   นอกจากนี้ ในด้านของจิตใจ การโต้รุ่งในระยะยาว ยังอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลอีกด้วย เพราะเมื่อเรานอนไม่พอ ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยให้เรามีอารมณ์ดี ปกติสุข จะหลั่งออกมาน้อย   สรุปแล้วการโต้รุ่งอดนอนอ่านหนังสือ น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะนอกจากจะทำให้เราไม่สามารถตื่นไปทำข้อสอบได้อย่างเต็มที่แล้ว ในระยะยาวยังอาจทำให้เราเจ็บป่วยได้อีกด้วย เพราะฉะนั้น ถึงจะยาก แต่…
Read More